โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน

ดัชนี พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน

ระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เป็นพระที่นั่งองค์ประธาน ของหมู่พระมหามณเฑียร มีความสำคัญเป็นพระราชพิธีมณฑล "พระราชพิธีขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร" ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับที่พระที่นั่งองค์นี้เป็นการถาวร รัชกาลต่อๆมาประทับเป็นเวลาสั้นๆ ตามกำหนดพระราชพิธี ลักษณะพระที่นั่ง เป็นสถาปัตยกรรมไทย 3 หลังแฝด ชั้นเดียว ก่ออิฐปูน ยกฐานสูง เรียงจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก องค์กลางใหญ่ องค์ขนาบสองข้างมีขนาดเท่ากัน แต่ละองค์มีพระทวารเชื่อม หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี ตกแต่ง ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจกสีทอง หน้าบันจำหลักไม้เป็นรูปสมเด็จพระอมรินทราราชในบุษบก พระทวารและพระบัญชรทำซุ้มบันแถลง เป็นลายนาคสามเศียรสองชั้น ประสมซุ้ม รูปไข่ลายดอกเบญจมาศ ระเบียงรอบมีชานตั้งเสานางเรียงรองรับชายคา พระที่นั่งองค์ตะวันออก เป็นที่พระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายในกั้นด้วยพระฉากดาดทองบุตาด ด้านเหนือประดิษฐานพระแท่นบรรจถรณ์ ด้านใต้เป็นห้องทรงเครื่อง ตั้งพระแท่นราชอาสน์ทอดเครื่องสรงพระพักตร์ เครื่องพระสำอางค์ ทั้งสองส่วนกางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่สวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระแท่นราชบรรจถรณ์ พระที่นั่งองค์กลาง เป็นโถงมีพระทวาร และอัฒจันทร์ลงไปมุขกระสันด้านเหนือ เป็นท้องพระโรงหน้า เชื่อมต่อกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทางลงสู่ท้องพระโรงหน้ามีเกยลา ซึ่งรัชกาลที่ 4 สร้างขึ้นสำหรับเสด็จออกแขกเมืองฝ่ายใน ด้านใต้เป็นอัฒจันทร์จากพระทวารไปท้องพระโรงใน ลักษณะเป็นห้องโถงยาว ขนาบด้วยพระปรัศว์ซ้ายขวา ที่รัชกาลที่ 6 ทรงยกขึ้นเป็นพระที่นั่งเทพสถานพิลาส พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล พระที่นั่งองค์ตะวันตก เป็นโถง สำหรับทรงพระบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์ เมื่อปลายรัชกาลที่ 3 พระองค์ประชวร โปรดเกล้าฯให้ตั้งพระแท่นบรรทมสำหรับประทับ และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ และพระแสงนานาชน.

12 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งไพศาลทักษิณพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีพิธีราชาภิเษกลำยองสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีฉัตรเขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษ.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งไพศาลทักษิณ

ระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นส่วนหนึ่งของพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน รัชกาลที่ 1 ประทับทรงพระสำราญ เสวยพระกระยาหาร และประกอบพระราชานุกิจ บางโอกาสโปรดเกล้าฯให้ พระบรมวงศ์ ข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และบำเพ็ญพระราชกุศลภายใน แม้เมื่อปลายรัชกาลทรงพระประชวรได้ประทับบรรทมที่พระที่นั่งองค์นี้ ตลอดทรงว่าราชการ โดยให้ข้าราชการเข้าเฝ้าอยู่ที่ชานชาลา ข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และเสด็จสวรรคตที่พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ 2 ทรงตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ พระที่นั่งองค์นี้ อันเป็นพระราชพิธีสืบมาจวบจนปัจจุบันว่า พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ ณ พระที่นั่งองค์นี้ และยังทรงตั้งพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์และพระที่นั่งภัทรบิฐ อันเป็นพระที่นั่งสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างเทวรูปเพื่อปกปักษ์รักษา กรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานนามว่า "พระสยามเทวาธิราช" ประดิษฐานไว้ในพระวิมานซุ้มเรือนแก้วกลางผนังด้านทิศเหนือ เป็นปูชนียวัตถสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ลักษณะเป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูน ผนังภายนอกฉาบปูนเรียบทาสีขาว ตั้งอยู่ระหว่างท้องพระโรงหน้าพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน และพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ลักษณะเป็นพระที่นั่งโถงยาว 11 ห้อง (ช่วงเสา) ทอดยาวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ยกพื้นสูงสองเมตร ด้านที่ติดต่อกับท้องพระโรงหน้าเป็นคูหาเปิดโล่ง มีอัฒจันทร์ทางขึ้นลงตอนกลาง และที่เฉลียงชั้นลดของสองปีก ด้านที่เชื่อมกับพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน มีผนังกั้น มีประตูตรงกลางเรียกว่า "พระทวารเทวราชมเหศวร" เป็นทางเฉพาะของพระมหากษัตริย์สำหรับเสด็จ สองข้างมีพระทวารเทวราชมเหศวร มีพระบัญชร 10 ช่อง เฉพาะด้านที่เปิดออกสู่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน และลานภายนอกประดับเป็นซุ้มบันแถลง นอกนั้นเป็นเรือนแก้วลายดอกเบญจมาศ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ปิดทองประดับกระจกสีทอง หน้าบันจำหลักไม้ รูปสมเด็จพระอมรินทราธิราชประทับในวิมานปราสาทสามยอด พื้นกระจกสีน้ำเงินประกอบลายก้านขดหัวนาค ผนังด้านทิศตะวันออก มีพระทวารเสด็จฯ ออกไปยังหอพระสุราลัยพิมาน ช่วงบนเขียนภาพเทพเจ้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ 32 องค์ ช่วงล่างระหว่างพระทวารเขียนภาพพระนารายณ์ปางต่าง ๆ ผนังด้านทิศตะวันตก มีพระทวารเสด็จออกไปยังหอพระธาตุมณเฑียร ช่วงบนเขียนภาพเทพชุมนุม เหล่าเทวดาบนวิมาน ช่วงล่างเขียนภาพพระนารายณ์ปางต่าง ๆ หน้าพระทวารประดิษฐานพระที่นั่งภัทรบิฐ พระราชอาสน์ทอดอยู่ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร กลางผนังด้านทิศเหนือ เป็นพระวิมานสำหรับ พระสยามเทวาธิราช ประดิษฐานอยู่ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว เบื้องหน้าตั้งโต๊ะหมู่บูชาแบบจีนพร้อมเครื่องสักการบู.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระที่นั่งไพศาลทักษิณ · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

ระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (15 เมษายน พ.ศ. 2448 — 10 ตุลาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระวรราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ บุตรีของพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) กับคุณเล็ก บุนนาค ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สุวัทนา ได้เข้ารับราชการฝ่ายใน ในตำแหน่งเจ้าจอมสุวัทนา และได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ตามลำดับ พระองค์ได้ให้ประสูติการแก่พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในรัชกาลคือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี แต่หลังจากประสูติพระเจ้าลูกเธอได้เพียงหนึ่งวัน พระราชสวามีได้สวรรคตลง พระองค์และพระธิดาจึงได้เสด็จไปประทับยังสหราชอาณาจักรกว่า 20 ปี ภายหลังจึงได้เสด็จนิวัตประเทศไทยโดยพำนักในวังรื่นฤดี เป็นการถาวรตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

พิธีราชาภิเษก

น ดาร์ก'' (''Jeanne d'Arc'') พ.ศ. 2429-2433 โดยฌูลส์ เออแฌน เลอเนิปเวอ พิธีราชาภิเษก (coronation) เป็นเป็นพิธีการเพื่อสถาปนาพระมหากษัตริย์ และ/หรือ คู่อภิเษกซึ่งมีพระราชอำนาจ อย่างเป็นทางการ เกี่ยวข้องกับการวางมงกุฎบนพระเศียรของพระองค์หรือการนำเสนอเครื่องราชกกุธภัณฑ์รายการอื่น โดยพิธีการนี้อาจหมายรวมถึง การตรัสคำปฏิญาณพิเศษโดยกษัตริย์ การแสดงคารวะจากคนในบังคับ ของผู้ปกครองใหม่ และการแสดงพิธีกรรมอื่น ซึ่งมีความสำคัญพิเศษต่อชาตินั้น.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและพิธีราชาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

ลำยอง

อุโบสถวัดราชนัดดา ลำยอง คือ ส่วนประกอบช่วงบนของปั้นลมปราสาทหรือวิหาร.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและลำยอง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีคำนำหน้าพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ลูกสาวของพี่ชาย) ในรัชกาลที่ 7 และเป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และโดยพระชนมายุพระองค์จึงเคยเป็นพระกุลเชษฐ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ หลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอยู่เป็นนิจ จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระวัยและทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้ กอปรกับพระองค์มีพระชนมายุสูงขึ้นจึงเสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารน้อยลง นอกจากนี้ พระองค์ทรงรับสถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งในส่วนที่สืบสานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และโดยส่วนพระองค์เองไว้ในพระอุปถัมภ์มากกว่า 30 แห่ง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 85 พรรษา 8 เดือน 3 วัน.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี · ดูเพิ่มเติม »

ฉัตร

ระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ประดิษฐานเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ฉัตร เป็นเครื่องสูงสำหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เพื่อเป็นเกียรติยศ ฉัตรมีรูปร่างคล้ายร่มที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ฉัตรถือเป็นของสูง เปรียบเสมือนสวรรค์ซึ่งเป็นศูนย์รวมจักรวาล.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและฉัตร · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง)

ผังบริเวณ ในเขตพระราชฐานชั้นใน เขตพระราชฐานชั้นใน เป็นพื้นที่ที่มีพระตำหนักของเจ้าจอมมารดา พระมเหสี พระชายาต่างๆ เขตนี้ผู้ชายห้ามเข้า หากจะเข้าต้องมีโขลนคอยดูแลอยู่ตลอด ส่วนแถวเต๊ง เป็นตึกแถวยาวที่เคยเป็นกำแพงวังสมัยรัชกาลที่ 1 โดยมีประตูช่องกุดเป็นช่องทางเข้าออกของชาววัง ซึ่งอยู่ใกล้ประตูศรีสุดาวงศ์ ซึ่งเป็นประตูชั้นในที่จะต่อกับแถวเต๊ง บริเวณนั้นมีสวนขวาอันเป็นพระราชอุทยานซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างเป็นพระอภิเนาว์นิเวศน์ และมีสวนเต่า พวกเจ้านายจะทรงพระสำราญที่นี่ และเวลาไว้พระศพเจ้านายชั้นสูงก็จะไว้ที่หอธรรมสังเวชซึ่งอยู่ทางตะวันตกของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท.

ใหม่!!: พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานและเขตพระราชฐานชั้นใน (พระบรมมหาราชวัง) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระที่นั่งเทพอาสนพิไลย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »