โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เลออโคออนและบุตร

ดัชนี เลออโคออนและบุตร

ลออโคออนและบุตร (Laocoön and His Sons) หรือ กลุ่มเลออโคออน (Laocoön Group) เป็นประติมากรรมหินอ่อนขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกันในนครรัฐวาติกันในประเทศอิตาลี นักประพันธ์และนักปรัชญาพลินิผู้อาวุโสกล่าวว่าเป็นงานที่อาจจะสร้างโดยประติมากรสามคนจากเกาะโรดส์: อเจซานเดอร์แห่งโรดส์ (Agesander of Rhodes), เอธีโนโดรอส (Athenodoros) หรือโพลิโดรัส (Polydorus) ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นภาพของนักบวชโทรจันเลออโคออนและบุตรอันทิฟานทีส (Antiphantes) และ ไทม์บราเอียส (Thymbraeus) ถูกกำลังถูกรัดโดยงูทะเล.

35 ความสัมพันธ์: บาร์โตโลเมโอ บันดีเนลลีชาลส์ ดิกคินส์พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสพลินีผู้อาวุโสพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์พิพิธภัณฑ์วาติกันมีเกลันเจโลม้าโทรจันราฟาเอลลัทธิคลาสสิกใหม่วิลเลียม เบลกสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10สมเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2สงครามกรุงทรอยหอศิลป์อุฟฟีซีหินอ่อนอะพอลโลอัศวินฮอสปิทัลเลอร์อนุสรณ์ผู้ตายอเมริกันอินเดียนจักรพรรดิติตุสจักรพรรดินโปเลียนที่ 1จักรพรรดิแนโรจักรวรรดิโรมันจูเดโอ-คริสเตียนทาสใกล้ตายทิเชียนประติมากรรมประเทศอิตาลีนครรัฐวาติกันโพไซดอนโรดส์เลออโคออนเวอร์จิล

บาร์โตโลเมโอ บันดีเนลลี

“เฮอร์คิวลีสและคาคัส” โดย บาร์โทโลเมโอ บันดิเนลลิ บาร์โทโลเมโอ บันดิเนลลิ (Bartolommeo Bandinelli หรือ Baccio) (17 ตุลาคม ค.ศ. 1493 - ไม่นานก่อนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1560) เป็นประติมากร, ช่างเขียนแบบ และจิตรกรชาวอิตาลีของสมัยฟืันฟูศิลปวิทยาของคริสต์ศตวรรษที่ 16.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและบาร์โตโลเมโอ บันดีเนลลี · ดูเพิ่มเติม »

ชาลส์ ดิกคินส์

ลส์ จอห์น ฮัฟแฟม ดิกคินส์ (Charles John Huffam Dickens; 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1812 – 9 มิถุนายน ค.ศ. 1870) นักประพันธ์ชาวอังกฤษ และมีนามปากกาว่า “โบซ” (Boz) เกิดที่เมืองแลนด์พอร์ท แฮมเชียร์ อังกฤษใต้ สหราชอาณาจักร เป็นบุตรเสมียนฝ่ายเงินเดือนกองทัพเรือ ในปี..

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและชาลส์ ดิกคินส์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (François Ier) (12 กันยายน ค.ศ. 1494 ถึง 31 มีนาคม ค.ศ. 1547) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1515 ถึงค.ศ. 1547 พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ พระองค์แรกของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่ง.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พลินีผู้อาวุโส

ลินีผู้อาวุโส (Pliny the Elder) หรือ กาอิอุส ปลีนิอุส แซกุนดุส (Gaivs Plinivs Secvndvs; ค.ศ. 23 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 79) เป็นนักธรรมชาติวิทยา นักประพันธ์ และแม่ทัพชาวโรมันในสมัยจักรวรรดิโรมันตอนต้น และเป็นพระสหายของจักรพรรดิแว็สปาซิอานุส พลินีใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษา การเขียน และการสืบสวนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและภูมิศาสตร์ งานชิ้นสำคัญที่สุดที่เขียนคือสารานุกรมชื่อ ธรรมชาติวิทยา (Natvralis Historia) ที่กลายมาเป็นแบบอย่างในการเขียนงานประเภทนี้ต่อมา พลินีเป็นลุงของพลินีผู้เยาว์ (Pliny the Younger).

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและพลินีผู้อาวุโส · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

ัณฑ์ลูฟวร์ (Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัวอาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์วาติกัน

ัณฑ์วาติกัน (Musei Vaticani; Vatican Museums) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในนครรัฐวาติกันในกรุงโรมในประเทศอิตาลี “พิพิธภัณฑ์วาติกัน” เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงศิลปะที่สะสมโดยวัดโรมันคาทอริกมาเป็นเวลาหลายร้อยๆ ปี เมื่อวันที่ 11 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและพิพิธภัณฑ์วาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

มีเกลันเจโล

มีเกลันเจโล หรือที่มักรู้จักกันในชื่อ ไมเคิลแองเจโล มีชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บูโอนาร์โรตี ซีโมนี (Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดัง ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีเกลันเจโลเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาปรีส (ปัจจุบันอยู่ในทัสกานี, อิตาลี) เขาเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปสลัก เดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมัน ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโล เดิมทีเป็นคนที่เกลียดเลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะภาพ คำพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี เสียชีวิตที่กรุงโรม เมื่อปี ค.ศ. 1564 รวมอายุได้ 88 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจากสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของมิเกลันเจโลให้ยืนยาวออกไปอีก".

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและมีเกลันเจโล · ดูเพิ่มเติม »

ม้าโทรจัน

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ ม้าโทรจัน (คอมพิวเตอร์) ม้าโทรจัน หรือ ม้าไม้เมืองทรอย (Trojan horse) เป็นม้าขนาดใหญ่ที่ทำจากไม้ จากมหากาพย์อีเลียดเรื่องสงครามเมืองทรอย ม้าไม้นี้เกิดขึ้นจากอุบายของโอดิสเซียส ในการบุกเข้าเมืองทรอย ที่มีป้อมปราการแข็งแรง หลังจากที่รบยืดเยื้อมานานถึง 10 ปีแล้ว ด้วยการให้ทหารสร้างม้าไม้นี้ขึ้นมา แล้วลากไปวางไว้หน้ากำแพงเมืองทรอย แล้วให้ทหารกรีกแสร้งทำเป็นล่าถอยออกไป เมื่อชาวทรอยเห็นแล้วเข้าใจว่าเป็นบรรณาการที่ทางฝ่ายกรีกสร้างขึ้นมาเพื่อบูชาเทพเจ้าและล่าถอยไปแล้ว จึงลากเข้าไปไว้ในเมืองและฉลองชัยชนะ เมื่อตกดึก ทหารกรีกที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ ก็ไต่ลงมาเผาเมืองและปล้นเมืองทรอยได้เป็นที่สำเร็จ ปัจจุบัน ม้าโทรจัน ได้กลายมาเป็นสำนวนในภาษาอังกฤษ และเป็นชื่อของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เมืองชานักกาเล ประเทศตุรกี ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของเมืองทรอยจริงตามประวัติศาสตร์ ทางผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง Troy เมื่อปี ค.ศ. 2004 ก็ได้มอบม้าไม้ตัวที่ใช้ในเรื่องให้แก่เมือง ซึ่งกลายเป็นจุดสนใจและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองด้ว.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและม้าโทรจัน · ดูเพิ่มเติม »

ราฟาเอล

วาดตัวเองของราฟาเอล ราฟาเอล (Raphael) หรือ รัฟฟาเอลโล ซานซีโอ ดา อูร์บีโน (Raffaello Sanzio da Urbino; พ.ศ. 2026-2063) เป็นจิตรกรชาวอิตาลีที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีอายุน้อยกว่าเลโอนาร์โด ดา วินชี 31 ปี และอ่อนกว่ามีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี 8 ปี เมื่อ..

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคลาสสิกใหม่

"แจกันเมดีชี" แจกันกระเบื้อง ตกแต่งด้วยสีปอมเปอีดำและแดง, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ราว ค.ศ. 1830 ลัทธิคลาสสิกใหม่ (neoclassicism, neo-classicism) เป็นชื่อที่ใช้สำหรับขบวนการทางวัฒนธรรมของศิลปะการตกแต่ง ทัศนศิลป์ วรรณคดี การละคร ดนตรี และสถาปัตยกรรมที่มาจากศิลปะคลาสสิกและวัฒนธรรมซึ่งส่วนใหญ่มาจากกรีกโบราณหรือโรมันโบราณ) ขบวนการเหล่านี้มีความนิยมระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 19.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและลัทธิคลาสสิกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เบลก

วิลเลียม เบลก (William Blake; 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1757 - 12 สิงหาคม ค.ศ. 1827) เป็นกวีและนักวาดภาพชาวอังกฤษ ไม่ค่อยมีชื่อเสียงมากนักในระหว่างที่มีชีวิตอยู่ แต่งานของเขาได้รับการยอมรับทั่วไปในแวดวงประวัติศาสตร์ทั้งบทกวีนิพนธ์และภาพวาด ผลงานการวาดภาพนิมิตของเขาได้รับยกย่องว่า "โดดเด่นและก้าวหน้ากว่าศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของบริเตนจะสามารถสร้างขึ้นได้" แม้ว่าเขาแทบไม่เคยเดินทางไปไหน และเคยออกไปพ้นจากกรุงลอนดอนเพียงครั้งเดียวในชีวิต แต่ผลงานของเขาแสดงให้เห็นพลังจินตนาการอันยิ่งใหญ่อย่างมาก ผลงานของเบลกแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของศิลปินในยุคโรแมนติก หรืออาจจะก่อนยุคโรแมนติกด้วยซ้ำ เพราะงานของเขาส่วนมากสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะของผลงานแม้จะเคารพยำเกรงในพระคัมภีร์ไบเบิล แต่แสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อคริสตจักร เบลกได้รับแรงบันดาลใจจากอุดมการณ์และความทะเยอทะยานของกลุ่มนักปฏิวัติฝรั่งเศสและอเมริกัน รวมถึงอิทธิพลจากนักคิดผู้โด่งดังเช่น เจค็อบ โบเฮ็ม และ เอ็มมานูเอล สวีเดนบอร์ก แม้จะทราบถึงแรงบันดาลใจของเขา แต่งานของเบลกก็มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร มีความเป็นอัตลักษณ์สูงจนไม่สามารถจัดประเภทได้ นักวิชาการในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คนหนึ่งอธิบายลักษณะของเบลกว่า เป็นเหมือน "ดวงประทีปอันโชติช่วง"Blake, William and Rossetti, William Michael.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและวิลเลียม เบลก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (ภาษาอังกฤษ: Italian Renaissance) เป็นจุดแรกของการเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งเป็นช่วงเวลาของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สูงสุดในยุโรปที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไปจนสิ้นสุดลงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นช่วงเวลาที่เชื่อมระหว่างยุคกลางของยุโรปกับยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Europe) คำว่า “เรอเนสซองซ์” เป็นคำสมัยใหม่ที่มาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในงานของนักประวัติศาสตร์เช่นเจคอป เบิร์คฮาร์ดท์ (Jacob Burckhardt) ที่มาของขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเริ่มจากการวิวัฒนาการทางวรรณกรรมของผู้ก่อตั้งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ วัฒนธรรมด้านอื่นๆของอิตาลีในขณะนั้นยังคงเป็นวัฒนธรรมของยุคกลาง ปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยามิได้แพร่หลายอย่างเต็มที่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 คำว่า “เรอเนสซองซ์” หรือ “Rinascimento” ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “เกิดใหม่” และเป็นสมัยที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในการฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมของกรีกโรมันหลังจากสมัยที่นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์ (Renaissance humanist) ตั้งชื่อว่ายุคมืด (Dark Ages) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแต่จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มชนชั้นสูงและทิ้งให้ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ต่างจากสมัยกลางที่ผ่านมา สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเริ่มในทัสเคนีโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ฟลอเรนซ์และเซียนา และต่อมาในเวนิสที่มีผลเป็นอันมาก เพราะงานต่างๆ ของกรีกโบราณถูกนำไปรวบรวมไว้ที่เวนิสซึ่งทำให้กลายเป็นแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ใหม่ๆ ให้แก่นักมนุษยนิยม ผู้คงแก่เรียนในเวนิสในขณะนั้น ต่อมาปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยาก็มามีอิทธิพลในกรุงโรม ที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ มากมายที่ส่วนใหญ่โดยการอุปถัมภ์ของพระสันตปาปาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นก็ลดถอยลงหลังจากการรุกรานจากต่างประเทศที่ก่อสงครามในอิตาลี แต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีก็มิได้หยุดนิ่งลงแต่เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือของยุโรปและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอังกฤษและประเทศอื่นๆ ในยุโรป สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในความสำเร็จทางด้านวัฒนธรรม วรรณกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรวมนักมนุษยนิยมผู้มีชื่อเสียงเช่นเปตรากที่รู้จักกันดีในงานซอนเน็ต “Il Canzoniere”; จิโอวานนิ บอคคาซิโอ (Giovanni Boccaccio) ในงานเรื่องเล่า “Decameron” และนักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์เช่นโปลิซิอาโน (Poliziano), มาร์ซิลิโอ ฟิซิโน (Marsilio Ficino), โลเร็นโซ วาลลา (Lorenzo Valla), อัลโด มานูซิโอ (Aldo Manuzio), โพจจิโอ บราชชิโอลินิ (Poggio Bracciolini) นอกจากนั้นก็มีนักประพันธ์มหากาพย์เรอเนสซองซ์เช่นบัลดัสซาเร คาสติกลิโอเน (Baldassare Castiglione) (“The Book of the Courtier”), ลุโดวิโค อริโอสโต (Ludovico Ariosto) (“Orlando Furioso”) และทอร์ควาโท ทาสโซ (Torquato Tasso) (“Jerusalem Delivered”) และนักประพันธ์ร้อยแก้วเช่นนิคโคโล มาเคียเวลลี (“The Prince”) จิตรกรรมเรอเนสซองซ์อิตาลีเป็นจิตรกรรมที่มีอิทธิพลต่อจิตรกรรมตะวันตกต่อมาอีกหลายร้อยปี โดยมีจิตรกรเช่นไมเคิล แอนเจโล, ราฟาเอล, ซานโดร บอตติเชลลี, ทิเชียน และเลโอนาร์โด ดา วินชี และเช่นเดียวกันกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีสถาปนิกเช่นอันเดรอา ปัลลาดีโอ และงานเช่นมหาวิหารฟลอเรนซ์ และมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเห็นว่าเป็นสมัยของความหดตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมามีความก้าวหน้ามากกว่าในวัฒนธรรมของโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 (อังกฤษ: Leo X) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1513 ถึง ค.ศ. 1521 เป็นลูกของ ลอเรนโซ เดอ เมดิชิ พระองค์เป็นพระสันตะปาปาที่ทำให้คริสต์ศาสนจักรเกิดความเสื่อมเสีย เนื่องจากพระองค์สนใจทางโลกมากกว่าศาสนา จึงได้เข้าไปมีส่วนร่วมการเมือง และใช้ชีวิตอย่างหรูหราจนเกือบไม่มีกษัตริย์องค์ใดสู้ได้ซึ่งนักบวชไม่ควรดำเนินชีวิตอย่างนั้น นอกจากนั้นพระองค์ได้หาเงินด้วยการค้าใบบุญไถ่บาปเป็นเพราะพระองค์มีความประสงค์ที่จะบูรณะโบสถ์ให้ดูสวยงามที่เต็มไปด้วยศิลปกรรมวิจิตรงดงามซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมากในการบูรณะ แต่การค้าใบบุญไถ่บาปของพระองค์นั้นกลับทำให้นักบวชมาร์ติน ลูเทอร์ไม่พอใจและได้ตั้ง "ญัตติ 95 ข้อ" (The 95 Theses) ไปปิดไว้ที่ประตู้หน้าโบสถ์เมืองวิตเทนบูร์ก ซึ่งมีเนื้อหาประณามการขายใบยกโทษบาปของสันตะปาปา ทำให้พระองค์ไม่พอใจมากและได้ขับไล่มาร์ติน ลูเทอร์ออกจากศาสนจักร แต่การขับไล่นั้นกลับทำให้นำไปสู่การปฏิรูปการศาสนา เพราะมาร์ติน ลูเทอร์ได้ก่อตั้งนิกายลูเทอแรนซึ่งได้ถือว่าเป็นการก่อตั้งนิกายโปรเตสแตนต์เพื่อต่อต้านศาสจักรโรมันคาทอลิก แต่พระองค์ไม่ได้สนพระทัยในเรื่องนี้นักและไม่คิดจะปฏิรูปการศาสนาใดๆ จนกระทั่งพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม..1521 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2018 ลีโอที่ 10 หมวดหมู่:ตระกูลเมดิชิ หมวดหมู่:บุคคลจากฟลอเรนซ์.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2 (ละติน: Julius II) พระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2 มีพระฉายานามว่า “พระสันตะปาปาผู้เหี้ยมโหด” (Il Papa Terribile) พระนามเมื่อเกิดคือจูเลียโน จูลิอาโน เดลลา โรเวเร ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาระหว่างปี ค.ศ. 1503 ถึง ค.ศ. 1513 สมัยของพระองค์เป็นสมัยที่รู้จักกันว่าเป็นสมัยที่มีนโยบายต่างประเทศที่รุนแรง, สมัยของการก่อสร้าง และสมัยของการอุปถัมภ์ศิลป.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและสมเด็จพระสันตะปาปาจูลิอุสที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรุงทรอย

"การเผากรุงทรอย" (1759/62) โดย Johann Georg Trautmann สงครามกรุงทรอย (Trojan War) เป็นสงครามระหว่างชาวอะคีอันส์ ​(Ἀχαιοί) (ชาวกรีก) กับชาวกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงพระนางเฮเลนมาจากพระสวามี คือพระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายชิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ มหากาพย์อีเลียดเล่าเรื่องการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลงวัฏมหากาพย์ (Epic Cycle) ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิส, อีเลียดน้อย, อีลิอูเพอร์ซิส, นอสตอย, และ เทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วน ฯ การศึกแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฏกรรมกรีก เช่น เอสคิลัส (Aeschylus) โซโฟคลีส (Sophocles) และ ยูริพิดีส (Euripides) นำมาใช้ประพันธ์บทละคร นอกจากนี้กวีชาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิลและโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทรอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันธ์ของตนเช่นกัน สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทพีอะธีนา เฮราและแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิลสีทอง ซึ่งบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ "ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผู้ตัดสินว่าแอโฟรไดที "ผู้งามที่สุด" ควรได้รับแอปเปิลไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดทีเสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัส ตกหลุมรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้ากรุงไมซีนี และพระเชษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะคีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้อมกรุงไว้สิบปี หลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลีสและอาแจ็กซ์ของฝ่ายอะคีอันส์ และเฮกเตอร์และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสียด้วยอุบายม้าโทรจัน ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชีวิตหรือขายเป็นทาส) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ชาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผู้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์ดาเนลส์ เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและสงครามกรุงทรอย · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์อุฟฟีซี

หอศิลป์อุฟฟิซิ (ภาษาอิตาลี: Galleria degli Uffizi) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี “หอศิลป์อุฟฟิซิ” เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาพิพิธภัณฑ์ศิลปะในโลก ตัวพิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของ “พาลัซโซ เดกลิ อุฟฟิซิ” ซึ่งเป็นพาลัซโซ (Palazzo) ในเมืองฟลอเรนซ.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและหอศิลป์อุฟฟีซี · ดูเพิ่มเติม »

หินอ่อน

หินอ่อนในธรรมชาติ หินอ่อนเกิดจากแคลเซียมคาร์บอเนต(หินปูน)ที่สะสมอยู่ในท้องทะเลหรือมหาสมุทรมาก่อน กระทั่งเกิดการเคลื่อนไหวขึ้นในบริเวณดังกล่าว คือที่ๆ เคยเป็นทะเลหรือมหาสมุทรกลับกลายเป็นภูเขาขึ้นมา และที่ๆ เคยเป็นบกเป็นภูเขามากลับ กลายเป็นทะเล รวมถึงผ่านกระบวนการทางธรณี เช่น เกิดมีแมกมาไหลออกมา และพอดีหินที่สะสมไว้ในทะเลไปโดนกับแมกมาเข้า สำคัญคือแมกมานั้นเต็มไปด้วยความร้อน ความดัน และก๊าซ จึงทำให้แคลเซียมคาร์บอเนต(หินปูน)ละลาย แล้วตกผลึก เกิดเป็นหินอ่อนขึ้นมาได้ในที่สุด แต่ในกรณีที่เกิดการหลอมละลาย แล้วตกผลึกไม่หมดทีเดียว ก็จะเกิดหินปูนคล้ายหินอ่อน และจะพบพวกซากเปลือกหอยทะเลต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่รวมกับตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต หมวดหมู่:หิน.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและหินอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

อะพอลโล

อะพอลโล (Apollo; Ἀπόλλων; อะพอลลอน; Apollō) เป็นหนึ่งในพระเจ้าองค์สำคัญที่สุดในพระเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีกและศาสนากรีกโบราณ ตลอดจนเทพปกรณัมโรมันและศาสนาโรมันโบราณ อะพอลโลทรงเป็นอุดมคติของคูรอส (kouros) คือ หนุ่มนักกีฬาไม่ไว้หนวด และทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเทพเจ้าแห่งแสงและดวงอาทิตย์ สัจจะและคำพยากรณ์ การรักษา โรคระบาด ดนตรี กวี ฯลฯ อะพอลโลทรงเป็นพระโอรสของซูสและลีโต และมีพระเชษฐภคินีฝาแฝด คือ อาร์ทิมิสซึ่งเป็นพรานหญิง ปัจจุบัน อะพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น อะพอลโลเป็นเทพเจ้าที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า มหารูปแห่งโรดส์ นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอะพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก หมวดหมู่:สุริยเทพ หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและอะพอลโล · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินฮอสปิทัลเลอร์

ณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ (Knights Hospitaller) หรือคณะฮอสปิทัลเลอร์ (Order of Hospitallers) เป็นคณะบุรุษที่ทำงานที่โรงพยาบาลอมาลฟิที่ตั้งขึ้นในเยรูซาเลมในปี..

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์ผู้ตาย

อนุสรณ์ผู้ตาย หรือ รูปสัญลักษณ์ผู้ตาย หรือ หุ่นพยนต์ (EffigyMerriam-Webster, Definition of Effigy) คือรูปสัญลักษณ์ที่ใช้แทนผู้ตายซึ่งมักจะเป็นรูปปั้นหรือรูปสลักจากหินหรือไม้ รูปสัญลักษณ์มักจะเป็นรูปเต็มตัวของผู้ตายที่มักจะตั้งอยู่ภายในวัดคริสต์ศาสนา อนุสรณ์ผู้ตายแตกต่างจาก “อนุสรณ์ที่เก็บศพ” ตรงที่อนุสรณ์ผู้ตายจะเป็นเพียงสิ่งที่สร้างแทนผู้ตายโดยไม่มี่ร่างของผู้ตายฝังอยู่ด้วยเช่นอนุสรณ์ที่เก็บศพ โดยทั่วไปรูปสัญลักษณ์ที่ทำจะเป็นร่างนอนหงายพนมมือ หรือบางครั้งอาจจะคุกเข่าหรือยืนสวดมนต์ ในบางครั้งอนุสรณ์ผู้ตายจะเป็นเพียงครึ่งตัว เช่นเหรียญที่มีภาพอับราฮัม ลิงคอล์นครึ่งตัว รูปสัญลักษณ์ผู้ตายอาจจะใช้ในพิธีทางศาสนาเพื่อแทนผู้ที่ไม่เป็นที่นิยม เช่นการเผารูปเพื่อแสดงถึงการกำจัดผู้ตาย เช่นในอังกฤษจะมีการเผารูปสัญลักษณ์ที่ทำจากฟางหรือเศษวัสดุเป็นรูปกาย ฟอคส์ (Guy Fawkes) ทุกวันที่ 5 พฤศจิกายนของทุกปี เพี่อเป็นการระลึกถึงกาย ฟอคส์ผู้มีส่วนในการวางการคบคิดระเบิดรัฐสภาอังกฤษ (Gunpowder Plot) โดยผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกเพื่อจะพยายามกำจัดพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1605 แต่ไม่สำเร็.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและอนุสรณ์ผู้ตาย · ดูเพิ่มเติม »

อเมริกันอินเดียน

อเมริกันอินเดียน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและอเมริกันอินเดียน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิติตุส

ติตุส ฟลาวิอุส ไกซาร์ แว็สปาซิอานุส เอากุสตุส (TITVS FLAVIVS CAESAR VESPASIANVS AVGVSTVS; 30 ธันวาคม ค.ศ. 39 – 13 กันยายน ค.ศ. 81) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันของราชวงศ์ฟลาวิอุสองค์ที่สอง ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 79 ถึงวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 81 ราชวงศ์นี้ก่อตั้งโดยพระราชบิดาแว็สปาซิอานุส ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มีจักรพรรดิเพียงสามพระองค์ที่รวมทั้งจักรพรรดิโดมิเซียนุสพระอนุชาผู้ครองราชย์ต่อจากติตุส ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิติตุสเป็นแม่ทัพโรมันผู้มีชื่อเสียงผู้รับราชการภายใต้พระราชบิดาในจังหวัดยูเดีย (Iudaea Province) ระหว่างสงครามยิว-โรมันครั้งที่ 1 (First Jewish-Roman War) ที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและจักรพรรดิติตุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1

นโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoléon Bonaparte) เป็นนายพลในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งกงสุลเอกของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายปี..

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิแนโร

แนโร เกลาดิอุส ไกซาร์ เอากุสตุส แกร์มานิกุส (NERO CLAVDIVS CAESAR AVGVSTVS GERMANICVS) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันองค์ที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 37 ที่เมืองอันติอูง จักรวรรดิโรมัน มีชื่อเต็มตอนเกิดว่า ลูกิอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส (LVCIVS DOMITIVS AHENOBARBVS) บิดาชื่อกไนอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส มารดาชื่ออากริปปีนา ซึ่งมีศักดิ์เป็นถึงน้องสาวของจักรพรรดิกาลิกุลา จักรพรรดิรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอ.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและจักรพรรดิแนโร · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จูเดโอ-คริสเตียน

“อาดัมและเอวาถูกขับจาก สวนเอเดน” โดย กุสตาฟว์ ดอเร (Gustave Doré) (ค.ศ. 1832-1883), เรื่อง“จูเดโอ-คริสเตียน” ของมนุษย์ชาย-หญิงคนแรกและความเชื่อเรื่องปฐมบาป (Original sin) จูเดโอ-คริสเตียน (Judeo-Christian หรือ Judaeo-Christian หรือ Judæo-Christian) เป็นคำที่ใช้บรรยายมโนทัศน์ หรือ แนวความคิดหรือค่านิยมที่เป็นของศาสนายูดาห์และต่อมามาปรับใช้ในศาสนาคริสต์ ที่บางความคิดเห็นมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมคลาสสิกกรีก-โรมันซึ่งเป็นรากฐานของกฎบัตร/กฎหมายต่างๆ และค่านิยมทางจริยธรรมของตะวันตก โดยเฉพาะคำนี้จะมาจากความเชื่อที่มีรากฐานมาจากพันธสัญญาเดิม หรือคัมภีร์ทานัค (Tanak) (อันเป็นพื้นฐานของจริยธรรม และโดยเฉพาะที่มาจากบัญญัติ 10 ประการ) ซึ่งเป็นแสดงถึงความเชื่อร่วมกันที่วิวัฒนาการมาเป็นวัฒนธรรมตะวันตกในปัจจุบัน คำนี้ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมของวัฒนธรรมทั้งสองที่มากไปกว่าที่มีจริงๆ (เปรียบเทียบระหว่าง เอบิออนไนท์ (Ebionite) และ จูไดเซอร์ (Judaizer).

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและจูเดโอ-คริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

ทาสใกล้ตาย

ทาสใกล้ตาย (Dying Slave) เป็นประติมากรรมที่สร้างโดยไมเคิล แอนเจโลประติมากรคนสำคัญชาวอิตาลีของสมัยเรอเนสซองซ์ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีสในประเทศฝรั่งเศส ประติมากรรม “ทาสใกล้ตาย” สลักโดยไมเคิล แอนเจโล ราวระหว่างปี ค.ศ. 1513 ถึงปี ค.ศ. 1516 เป็นประติมากรรมคู่กับประติมากรรม “ทาสหัวรั้น” (Rebellious Slave) ที่สร้างขึ้นประดับอนุสรณ์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 งานชิ้นนี้สลักจากหินอ่อน มีความสูง 2.28 เมตร ข้อมือซ้ายมัดได้กับด้านหลังของคอ และรอบอกมีแถบคาด นอกจากนั้นก็มีลิงที่แกะไว้บางส่วนเกาะอยู่ที่หน้าแข้งซ้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเกี่ยวพันกับโลก งานชิ้นนี้ได้รับอิทธิพลมาจาก งานประติมากรรมของประติมากรจากเกาะโรดส์ชื่อ “เลอาโคอันและบุตร” ในปี..

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและทาสใกล้ตาย · ดูเพิ่มเติม »

ทิเชียน

“ภาพเหมือน” (ราว ค.ศ. 1488) ภาพเหมือนดยุ๊คแห่งเวนิสมาร์คานโตนิโอ เทรวิซานิ (Marcantonio Trevisani) ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่บูดาเพช ประเทศฮังการี เทพดานาเอ” (Danaë) ภาพหนึ่งจากหลายภาพจากตำนานเทพที่ทิเชียนเขียน จ้างโดยพระเจ้าฟิลลิปที่ 2 แห่งสเปนใน ค.ศ. 1554 แม้ว่าไมเคิล แอนเจโลจะติจากมุมมองของการวาดเส้นแต่ทิเชียนก็เขียนภาพนี้อีกหลายภาพให้กับผู้อุปถัมภ์อื่นๆ ทิเซียโน เวเชลลี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ทิเชียน หรือ ทิชัน (Tiziano Vecelli หรือ Tiziano Vecellio หรือ Titian.) (ค.ศ. 1485 - 27 สิงหาคม ค.ศ. 1576) เป็นจิตรกรยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีความสำคัญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน ทิเชียนเป็นจิตรกรผู้นำของศิลปะเรอเนซองส์ของตระกูลการเขียนแบบเวนิส ทิเชียนเกิดที่พิเว ดี คาดอเร (Pieve di Cadore) ใกล้เมืองเบลลูโน ในรัฐอาณาจักรเวนิส จึงรู้จักกันในนามว่า “ดา คอเดเร” ตามเมืองเกิดด้วย ทิเชียน เป็นจิตรกรที่มีความสามารถหลายด้าน ผู้เขียนได้ทั้งภาพเหมือนและภาพภูมิทัศน์อันเป็นสองลักษณะที่ทำให้มีชื่อเสียง และการเขียนตำนานเทพ และศิลปะคริสต์ศาสนา ถ้าทิเชียนเสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 40 ปีก็ยังถือเป็นจิตรกรที่มีอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในสมัยนั้น แต่ทิเชียนก็อยู่ต่อมาอีก 50 ปีในขณะที่เปลี่ยนแปลงวิธีเขียนภาพจากเดิมไปเป็นอย่างมาก นักวิจารณ์บางคนไม่เชื่อว่างานที่สร้างเมื่อสมัยต้นและสมัยปลายของทิเชียนเป็นงานของจิตรกรคนเดียวกัน ลักษณะที่ทำให้ทราบว่าเป็นคนเดียวกันคือความสนใจอย่างลึกซึ้งในการใช้สี งานในสมัยหลังแม้จะไม่ใช้สีสดและเรืองอย่างสมัยแรก แต่ฝีแปรงที่พริ้วที่แฝงให้เห็นความที่จะเป็นสีต่างๆ เพียงเล็กน้อยเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและทิเชียน · ดูเพิ่มเติม »

ประติมากรรม

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด โรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ประติมากรรม (Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและประติมากรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐวาติกัน

นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City; Stato della Città del Vaticano) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลซึ่งน้อยที่สุดในโลกทั้งในแง่พื้นที่และประชากร ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ศูนย์กลางคือมหาวิหารนักบุญเปโตร ซึ่งออกแบบโดยมีเกลันเจโล การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ อำนาจตกอยู่ที่พระสันตะปาปาเพียงผู้เดียว จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ ปัจจุบัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและนครรัฐวาติกัน · ดูเพิ่มเติม »

โพไซดอน

ซดอน (Poseidon,; Ποσειδών) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses) พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด) แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดงว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระเจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระอนุชาของเฮดีสและพระเชษฐาของซูส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกินIn the 2nd century AD, a well with the name of Arne, the "lamb's well", in the neighbourhood of Mantineia in Arcadia, where old traditions lingered, was shown to Pausanias.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและโพไซดอน · ดูเพิ่มเติม »

โรดส์

รดส์ (Rhodes; Ρόδος, Ródos, IPA:ˈro̞ðo̞s; Rodi; ออตโตมันตุรกี:ردوس Rodos; ลาดิโน: Rodi หรือ Rodes) เป็นเกาะของประเทศกรีซที่ตั้งอยู่ราว 18 กิโลเมตรทางตะวันตกเฉียงใต้ของตุรกีทางตะวันออกของทะเลอีเจียน โรดส์เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะโดเดคานีส (Dodecanese) ทั้งทางเนื้อที่และทางจำนวนประชากร โดยมีประชากร 117,007 คน (ค.ศ. 2001) โดย 53,709 พำนักอาศัยอยู่ในเมืองโรดส์ที่เป็นเมืองหลวงของเกาะ โรดส์มีความสำคัญในประวัติศาสตร์เพราะเป็นที่ตั้งของเทวรูปเฮลิออส (Colossus of Rhodes) ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตัวเมืองจากยุคกลางได้รับการสถาปนาให้เป็นมรดกโลก.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและโรดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เลออโคออน

"เลออโคออนและบุตร" ประติมากรรมหินอ่อนที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกันในนครรัฐวาติกันในประเทศอิตาลี เลออโคออน (Laocoön; Λαοκόων) เป็นลูกของอะโคทีส (Acoetes) เป็นนักบวชโทรจันของโพไซดอนในตำนานเทพเจ้ากรีก (หรือเทพเนปจูน) แต่เลออโคออนไปละเมิดกฎอาจจะด้วยการแต่งงานและมีลูก หรืออาจจะโดยการปฏิบัติตัวในทางที่ไม่เหมาะสมโดยการไปสมสู่กับภรรยาต่อหน้ารูปเคารพในวัด บทบาทของเลออโคออนในตำนานสงครามเมืองทรอยคือไปพยายามเตือนฝ่ายทรอยไม่ให้รับม้าโทรจันจากฝ่ายกรีก ซึ่งทำความพิโรธให้แก่เทพเจ้าผู้ส่งงูทะเลสองตัวจากเกาะเทเนดอสมาเข่น.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและเลออโคออน · ดูเพิ่มเติม »

เวอร์จิล

เวอร์จิล ปูบลิอุส แวร์กิลิอุส มาโร (Pvblivs Vergilivs Maro) หรือ เวอร์จิล (Virgil, Vergil; 15 ตุลาคม 70 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 21 กันยายน 19 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นกวีชาวโรมโบราณ บทกวีที่เขาแต่งจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าและนิยายปรัมปรา งานเขียนที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ เอ็กคล็อกส์ (Eclogues), จอร์จิกส์ (Georgics) และมหากาพย์ อีนีอิด (Aeneid) หมวดหมู่:นักเขียนชาวโรมัน.

ใหม่!!: เลออโคออนและบุตรและเวอร์จิล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Laocoon and His SonsLaocoön and His Sonsเลอะคะวันและบุตรเลอาโคอันและบุตร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »