โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จูเดโอ-คริสเตียน

ดัชนี จูเดโอ-คริสเตียน

“อาดัมและเอวาถูกขับจาก สวนเอเดน” โดย กุสตาฟว์ ดอเร (Gustave Doré) (ค.ศ. 1832-1883), เรื่อง“จูเดโอ-คริสเตียน” ของมนุษย์ชาย-หญิงคนแรกและความเชื่อเรื่องปฐมบาป (Original sin) จูเดโอ-คริสเตียน (Judeo-Christian หรือ Judaeo-Christian หรือ Judæo-Christian) เป็นคำที่ใช้บรรยายมโนทัศน์ หรือ แนวความคิดหรือค่านิยมที่เป็นของศาสนายูดาห์และต่อมามาปรับใช้ในศาสนาคริสต์ ที่บางความคิดเห็นมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมคลาสสิกกรีก-โรมันซึ่งเป็นรากฐานของกฎบัตร/กฎหมายต่างๆ และค่านิยมทางจริยธรรมของตะวันตก โดยเฉพาะคำนี้จะมาจากความเชื่อที่มีรากฐานมาจากพันธสัญญาเดิม หรือคัมภีร์ทานัค (Tanak) (อันเป็นพื้นฐานของจริยธรรม และโดยเฉพาะที่มาจากบัญญัติ 10 ประการ) ซึ่งเป็นแสดงถึงความเชื่อร่วมกันที่วิวัฒนาการมาเป็นวัฒนธรรมตะวันตกในปัจจุบัน คำนี้ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมของวัฒนธรรมทั้งสองที่มากไปกว่าที่มีจริงๆ (เปรียบเทียบระหว่าง เอบิออนไนท์ (Ebionite) และ จูไดเซอร์ (Judaizer).

12 ความสัมพันธ์: บัญญัติ 10 ประการบาปกำเนิดพันธสัญญาเดิมกรีก-โรมันการตกในบาปกุสตาฟว์ ดอเรวัฒนธรรมศาสนายูดาห์ศาสนาคริสต์สวนเอเดนคัมภีร์ฮีบรูเอวา

บัญญัติ 10 ประการ

ระบัญญัติ 10 ประการ หรือ บทบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandments; עשרת הדיברות; ܥܣܪܐ ܦܘܩܕܢܐ; Δέκα εντολές) คือรายการคำสอนและข้อปฏิบัติตามคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานแก่วงศ์วานอิสราเอล ผ่านทางโมเสส ที่ภูเขาซีนาย บัญญัตินี้สลักไว้บนแผ่นหิน 2 แผ่น บัญญัติ 10 ประการใช้ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ ในภาษายิดดิช ใช้คำว่า Aseret ha-Dvarîm עשרת הדברים ในภาษาฮีบรูและภาษาฮีบรูมิซนะห์ ใช้คำว่า Aseret ha-Dibrot עשרת הדברות ซึ่งทั้งสองคำหมายถึง บัญญัติ 10 ประการ และมีการใช้ในภาษากรีก ซึ่งแปลมาจากภาษาฮีบรูว่า δέκα λόγοι (dekalogoi) หมายถึง คำสิบคำ (the ten words) อีกด้ว.

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและบัญญัติ 10 ประการ · ดูเพิ่มเติม »

บาปกำเนิด

เอวาชวนอาดัมให้กินผลไม้จาก “ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว” ที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ที่วาราลโลในประเทศอิตาลี บาปกำเนิดราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 392 (Original sin) ตามหลักเทววิทยาศาสนาคริสต์ คือสถานภาพความมีบาปของมนุษย์ซึ่งเป็นผลมาจากการตกในบาปของอาดัมและเอวาCross, F. L., ed.

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและบาปกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

พันธสัญญาเดิม

ันธสัญญาเดิม (Old Testament) เป็นศัพท์ศาสนาคริสต์ใช้เรียกคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ของชาววงศ์วานอิสราเอลโบราณ ที่รวมกันเป็นส่วนแรกของคัมภีร์ไบเบิลในศาสนาคริสต์ จำนวนหนังสือในพันธสัญญาเดิมจะแตกต่างกันตามแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ยอมรับเฉพาะหนังสือ 24 เล่มในคัมภีร์ทานัคว่าเป็นพันธสัญญาเดิม แต่แบ่งใหม่เป็น 39 เล่ม ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ คอปติกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรแห่งเอธิโอเปีย มีจำนวนหนังสือที่รับเข้าในสารบบพันธสัญญาเดิมของตนมากกว.

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและพันธสัญญาเดิม · ดูเพิ่มเติม »

กรีก-โรมัน

ลกกรีก-โรมัน (Greco-Roman world หรือ Greco-Roman culture หรือ Greco-Roman) ถ้าใช้เป็นคำคุณศัพท์จะเป็นที่เข้าใจโดยนักวิชาการและนักเขียนสมัยปัจจุบันว่าหมายถึงอาณาบริเวณหรือประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมโดยตรงหรือมีความเกี่ยวข้องทางภาษา วัฒนธรรม การปกครอง และศาสนาของกรีก และ โรมัน ความหมายโดยตรงคือ “โลกเมดิเตอเรเนียน” ที่มีศูนย์กลางในบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนและทะเลดำ.

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและกรีก-โรมัน · ดูเพิ่มเติม »

การตกในบาป

อาดัมและเอวาถูกขับจากสวนเอเดนโดยพระเจ้าหลังจากกระทำบาปกำเนิด โดย โดเม็นนิชิโน การตกในบาป (Fall of Man หรือ the Fall) หมายถึงการเปลื่ยนแปลงเป็นครั้งแรกของมนุษย์จากสภาวะของความบริสุทธิ์ที่เชื่อฟังพระเจ้าไปเป็นสภาวะของความรู้สึกผิดเพราะความไม่เชื่อฟังในพระเจ้า ในบาปกำเนิด ในศาสนาคริสต์, มนุษย์คนแรกอาดัมและเอวาเมื่อแรกเริ่มอาศัยอยู่กับพระเจ้าภายในสวรรค์ แต่มาถูกล่อลวงโดยงูให้กินผลไม้จาก “ต้นไม้แห่งความรู้ดีรู้ชั่ว” (Tree of Knowledge of Good and Evil) ซึ่งพระเจ้าทรงสั่งห้ามไว้ว่าไม่ให้แตะต้อง หลังจากที่กินเข้าไปแล้วก็เกิดความละอายในความเปลือยเปล่าของร่างกาย และในที่สุดก็ถูกการตกในบาปโดยพระเจ้า การถูกการตกในบาปมิได้กล่าวถึงโดยตรงในคัมภีร์ไบเบิล แต่กล่าวถึงทั้งเรื่องของความไม่เชื่อฟังและการถูกขับไล่ ในศาสนาอื่นเช่นศาสนายูดาห์, ศาสนาอิสลาม หรือ ไญยนิยม (Gnosticism) ตีความหมายของการถูกการตกในบาปต่างกันไป ในเทววิทยาศาสนาคริสต์, “การถูกขับจากสวรรค์” มีความหมายที่กว้างหมายถึงมวลมนุษย์ผู้มาจากบาปของอาดัมและเอวาที่เรียกว่า “บาปกำเนิด” (original sin) เช่นในคำสอนของนักบุญพอลแห่งทาซัสที่บันทึกไว้ใน จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม 5:12-19 และ จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 15:21-22 ผู้นับถือศาสนาคริสต์บางคนเชื่อว่า “การถูกขับจากสวรรค์” เป็นการทำความเสียหายให้แก่ธรรมชาติของโลกทั้งหมดโดยเฉพาะธรรมชาติของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เกิดมาพร้อมกับบาปกำเนิด ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่ทำให้สามารถมีชีวิตชั่วนิรันดรโดยไม่ต้องให้พระเจ้าเข้ามาช่วย ผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์เชื่อว่าความตายของพระเยซูเป็น “ค่าไถ่” ซึ่งทำให้มนุษย์ปราศจาก “บาปกำเนิด” ที่เกิดจาก “การถูกขับจากสวรรค์” ตลอดไป นิกายอื่น ๆ เชื่อว่า “การถูกขับจากสวรรค์” ทำให้มนุษย์มีอิสระจากบาปโดยมิต้องหาทางแก้บาปอีก คำว่า “ปราศจากบาป” (prelapsarian) หมายถึง สภาวะที่เป็นอิสระจากความมีบาปก่อน “การถูกขับจากสวรรค์” หรือบางครั้งก็เป็นคำที่ใช้ในการรำลึกถึงเวลาในอดีตที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน หรือสถานะการณ์ที่เรียกว่า “คำนึงถึงความหลัง” (nostalgia).

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและการตกในบาป · ดูเพิ่มเติม »

กุสตาฟว์ ดอเร

ปอล กุสตาฟว์ ลูย คริสต็อฟ ดอเร (Paul Gustave Louis Christophe Doré) หรือ กุสตาฟว์ ดอเร (6 มกราคม ค.ศ. 1832 – 23 มกราคม ค.ศ. 1883) เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศส ดอเรเกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและกุสตาฟว์ ดอเร · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สวนเอเดน

“อาดัมและอีฟในสวรรค์” (Adam and Eve in Paradise) โดย ลูคัส ครานาคผู้พ่อ คริสต์ศตวรรษที่ 16 สวนอีเด็น หรือ สวนเอเดน (Garden of Eden; ภาษาฮิบรู: גַּן עֵדֶן - Gan ‘Ēden) เป็นสถานที่บรรยายไว้ในพระธรรมปฐมกาลว่าเป็นสถานที่มนุษย์สองคนแรกที่พระเจ้าสร้าง -- อาดัม และ อีฟ -- อาศัย ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อของศาสนาเอบราฮัม การสร้างโลกในพระธรรมปฐมกาลจะกล่าวถึงที่ตั้งของสวนอีเด็นว่าอยู่ในบริเวณแม่น้ำสำคัญสี่สาย: แม่น้ำพิชอน แม่น้ำกิฮอน แม่น้ำไทกริส และแม่น้ำยูเฟรทีสซึ่งอยู่ในบริเวณอาร์มีเนีย, ยอดเขาอารารัต, เยเรวาน หรือที่ราบสูงอาร์มีเนีย) (พระธรรมปฐมกาล บทที่ 2 ข้อที่ 10-14) ซึ่งอยู่ในบริเวณประเทศอิรักในปัจจุบัน ซึ่งน่าจะเป็นบริเวณคอเคซัสโบราณโดยเฉพาะบริเวณใกล้กับอาร์มีเนีย แต่ที่ตั้งของแม่น้ำทั้งสี่ยังเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่มีหลักฐานเป็นที่แน่นอนที่สนับสนุนที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำนอกจากที่กล่าวในพระธรรมปฐมกาลเอง และ วรรณกรรมยิว-คริสเตียนเช่น “จูบิลี” สมมุติฐานอื่นก็ว่าตั้งอยู่ที่เมโสโปเตเมีย ทวีปแอฟริกา หรือ อ่าวเปอร์เซีย สมมุติฐานหลังมาจากหลักฐานของลุ่มแม่น้ำสี่สายที่มาพบกันที่เป็นที่ผลิตทองคำ และยางไม้หอม Bdellium แต่ก็ยังต้องมีการตีความหมายของเนื้อหาของพระธรรมปฐมกาลเพิ่มเพื่อยึนยัน.

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและสวนเอเดน · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ฮีบรู

ต้นฉบับ “คัมภีร์ฮีบรู” พร้อมกับคำแปลภาษาแอราเมอิก คัมภีร์ฮีบรู (Hebrew Bible; Biblia Hebraica) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (Tanakh; תנ"ך) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม "คัมภีร์อธิกธรรม" และ Anagignoskomena เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง.

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและคัมภีร์ฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

เอวา

อวา โดย Juan Antonio Vera Calvo เอวา (חַוָּה‎, Ḥawwāh; Eve อีฟ) เป็นผู้หญิงคนแรก ที่หนังสือปฐมกาลบันทึกไว้ โดยคำว่า เอวา เป็นคำมาจากภาษาฮีบรู แปลว่า มีชีวิตอยู่ ตามบันทึกพระคัมภีร์ มนุษย์ผู้หญิงถูกตั้งชื่อว่า เอวา หรือ อีฟ เพราะนางเป็นมารดาของปวงชนที่มีชีวิต ภาษาอาหรับเรียกว่า เฮาวาอ.

ใหม่!!: จูเดโอ-คริสเตียนและเอวา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Judeo-Christianจูเดโอ คริสเตียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »