โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เบ้งเฮ็ก

ดัชนี เบ้งเฮ็ก

มิ่ง ฮั่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ เบ้งเฮ็ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มณฑลยูนนาน เบ้งเฮ็กได้รับการสนับสนุนจากต้วนอี้ สมุหนายกของวุยก๊ก ทำให้สามารถผนึกกำลังกับ ยงคี เจ้าแคว้นเกียวเหล็ง จูโพ เจ้าแคว้นอวดจุ้น และชนเผ่าอื่นๆ เข้าตีเมืองเองเฉียง (ปัจจุบันคือ เขตเป่าซาน มณฑลยูนนาน) จึงทำให้ขงเบ้งต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเองแล้ววางแผนจับเบ้งเฮ็กถึง 6 ครั้ง แล้วก็ปล่อยไปทุกครั้ง เมื่อครั้งที่เจ็ดก็จับตัวเบ้งเฮ็กได้ก็เชิญไปรับประทานอาหาร เบ้งเฮ็กคิดว่าครั้งนี้ขงเบ้งคงไม่ปล่อยเราเป็นแน่ นี่คงเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของเรา แล้วขงเบ้งก็เอ่ยว่า เจ้าจงกลับไปตั้งทัพแล้วกลับมาสู้กับเราใหม่เถิด เมื่อได้ยินขงเบ้งพูดอย่างนั้นเบ้งเฮ็กถึงกับน้ำตาไหล เบ้งเฮ็กสำนึกในพระคุณของขงเบ้ง จึงยอมแพ้ ขงเบ้งให้อยู่ครองเมืองต่อโดยไม่ทิ้งทหารประจำการ สาเหตุที่ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กแล้วปล่อยไปแล้วถึงเจ็ดครั้ง เพราะเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำเผ่าภาคใต้ คนชนเผ่าให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าประหารเบ้งเฮ็กเสียก็จะทำให้ชนเผ่าแข็งข้อและจะก่อความวุ่นวายให้กับจ๊กก๊กในภายหลังได้ ดังนั้นขงเบ้งก็ได้ใช้แผนการจับเบ้งเฮ็กและปล่อยไปเพื่อเป็นการเอาใจเบ้งเฮ็กจนทำให้ยอมจำนนอย่างเต็มใจ และไม่คิดก่อกบฏอีกเลย คึกฤทธิ์ ปราโมช สันนิษฐานว่าเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำชนชาติ ไต-ไท หากในประวัติศาสตร์ทางการ เบ้งเฮ็กที่จริงแล้วเป็นพลเมืองของจักรวรรดิฮั่น แต่คนมักคิดว่าเบ้งเฮ้กเป็นผู้นำชนเผ่าป่าเถื่อนทางใต้เนื่องจากภาพที่บรรยายในนิยายสามก๊ก.

27 ความสัมพันธ์: กวนสกมณฑลยูนนานม้าตงม้าต้ายยุคสามก๊กราชวงศ์ชิงลุดตัดกุดวรรณกรรมวุยก๊กสามก๊กหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมชอองเป๋งอุยเอี๋ยนจกหยงจูกัดเหลียงจูล่งจ๊กก๊กต้วนอี้ประวัติศาสตร์ประเทศจีนโต้สู้เบ้งฮิวเบ้งเฮ็กเบ้งเจียดเมืองออโกก๊กเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหงเตียวหงี

กวนสก

กวนสก มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่ากวนสั่ว (Guan Suo) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่สองของกวนอูและเป็นขุนพลของจ๊กก๊ก ชื่อของกวนสกไม่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แต่ปรากฏเฉพาะในนิทานพื้นบ้านและในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและกวนสก · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

ม้าตง

ม้าตง (Ma Zhong, ? — ค.ศ. 249) ชื่อรองว่า เต๋อซิน เป็น ทหาร ในเมือง เสฉวน เป็นคนขี้เล่นดูตลกอารมณ์ดีเวลาโมโหจะไม่แสดงท่าทีให้คนอื่นรู้เป็นทหารในกำกับของ ขงเบ้ง ส่วนมากจะออกรบพร้อมกับ ม้าต้.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและม้าตง · ดูเพิ่มเติม »

ม้าต้าย

ม้าต้าย (Ma Dai; ม้าต้าย (馬岱) เป็นขุนพลแห่งจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก ในอดีตนั้น เขาเป็นทหารเอกรับใช้ผู้เป็นลุง คือ ม้าเท้งและม้าเฉียว บุตรคนโตของม้าเท้ง เมื่อม้าเท้งเข้าเมืองหลวงตามคำเชิญของโจโฉ ม้าต้ายได้ติดตามไปด้วย เมื่อม้าเท้งถูกจับโดยกลลวงของโจโฉ เขาจึงหนีออกมาจากเมืองหลวง โดยการปลอมตัวได้สำเร็จ ม้าต้ายมีชื่อเสียงโด่งดังจากการสังหารกบฏอุยเอี๋ยน จากการวางแผนของขงเบ้งและเกียงอุย เมื่ออุยเอี๋ยนก่อกบฏ เขาลวงอุยเอี๋ยนโดยการแสร้งทำเป็นเข้าร่วมทัพกบฏ หลังจากนั้นเมื่อได้โอกาส เขาจึงลอบเข้าไปด้านหลังของอุยเอี๋ยนและสังหารเขาเสีย รางวัลที่เขาได้รับสำหรับการที่เขาสังหารอุยเอี๋ยนก็คือบรรดาศักดิ์ที่ริบมาจากอุยเอี๋ยนนั่นเอง หลังจากที่เล่าปี่ ฮ่องเต้แห่งเสฉวนสิ้นพระชนม์ ม้าต้ายนั้นเป็นแม่ทัพที่ซื่อสัตย์มากผู้หนึ่งของขงเบ้งและเขายังมีส่วนร่วมในชัยชนะสงครามม่านใต้ที่รบกับเบ้งเฮ็กอย่างมาก ไม่แพ้จูล่งและอุยเอี๋ยนเลยทีเดียว.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและม้าต้าย · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ลุดตัดกุด

ลุดตัดกุด (Wu Tugu) เป็นเจ้าเมืองออโกก๊กในดินแดนม่านภายใต้การบัญชาของเบ้งเฮ็ก ทหารออโกก๊กเป็นทหารที่สวมเกราะหวาย ซึ่งเป็นเกราะที่ชุบน้ำมันถึงครึ่งปี ทำให้ฟันแทงไม่เข้าและสามารถลอยน้ำได้ หลังจากเบ้งเฮ็กถูกขงเบ้งจับตัวครั้งที่ 6 แล้วถูกปล่อยไป เบ้งเฮ็กได้ไปร้องขอต่อลุดตัดกุดให้ยกทหารเกราะหวายไปรบกับขงเบ้ง ในศึกแรก กองทัพของขงเบ้งนำโดยจูล่งและอุยเอี๋ยนได้แพ้ทหารเกราะหวายของลุดตัดกุด ขงเบ้งจึงคิดอุบายให้อุยเอี๋ยนไปรบกับลุดตัดกุดและแกล้งแพ้หลายๆครั้งและถอยไปยังหุบเขา ลุดตัดกุดหลงกลเข้าไปในหุบเขาที่ขงเบ้งได้ทิ้งดินระเบิดไว้ แล้วขงเบ้งจึงสั่งให้ทหารจุดเพลิงและทิ้งไปในหุบเขา เกราะหวายเป็นเกราะชุบน้ำมันจึงติดไฟได้ง่าย ทำให้ทหารเกราะถูกเพลิงเผาทั้งเป็นตายสิ้นรวมทั้งลุดตัดกุดด้ว.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและลุดตัดกุด · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและวุยก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ตราจารย์พิเศษ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (20 เมษายน พ.ศ. 2454 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538) นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ นับเป็นปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย เป็นน้องชายแท้ ๆ ของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี 4 สมัย สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกทั้งคู่ว่า "หม่อมพี่ หม่อมน้อง" นอกจากนี้ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ และ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ยังมีพี่สาวคือ หม่อมราชวงศ์บุญรับ พินิจชนคดี (สมรสกับ พลตำรวจเอกพระพินิจชนคดี หรือ พินิจ อินทรทูต) เมื่อปลายปี..

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช · ดูเพิ่มเติม »

อองเป๋ง

อองเป๋ง (Wang Ping) เป็นขุนพลคนหนึ่งของจ๊กก๊ก มีความเฉลียวฉลาด เดิมเป็นนายทหารของฝ่ายโจโฉในสังกัดของซิหลง ต่อมาได้สวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่ แล้วทำงานรับใช้จ๊กก๊กถึงสมัยพระเจ้าเล่าเสี้ยน อองเป๋งเป็นนายทหารที่ขงเบ้งไว้ใจมากคนหนึ่ง มีบทบาทมากมายในการรบ ได้ติดตามขงเบ้งไปตีเบ้งเฮ็กและตีวุยก๊กหลายครั้ง ครั้งหนึ่งที่สุมาอี้ยกทัพจะตีเกเต๋ง ขงเบ้งให้ม้าเจ็กเป็นแม่ทัพใหญ่ อองเป๋งเป็นแม่ทัพรอง ยกทัพไปรักษาเกเต๋ง โดยกำชับว่าให้ตั้งค่ายที่ช่องเขา แต่เมื่อไปถึงม้าเจ๊กกลับตั้งค่ายบนยอดเขา อองเป๋งทัดทานว่าหากตั้งบนเขาจะถูกล้อมโจมตีได้ง่าย ม้าเจ็กไม่ฟังดึงดันจะไปตั้งบนเขา อองเป๋งจึงยกทัพส่วนหนึ่งไปที่ช่องเขา และก็เป็นดังคาดของอองเป๋ง สุมาอี้ได้ตัดทางน้ำและล้อมเขาไว้ อองเป๋งพยายามเข้าไปช่วย แต่เตียวคับมาสกัดไว้ จึงต้องถอยทัพกลับ ส่วนม้าเจ็กเสียทีสุมาอี้ ต้องเสียเกเต๋ง กลับไปหาขงเบ้งและถูกประหารในเวลาต่อมา หลังขงเบ้งตาย อองเป๋งยังคงรับราชการรับใช้พระเจ้าเล่าเสี้ยน จนกระทั่งป่วยเสียชีวิต รูปอองเป๋งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI หมวดหมู่:จ๊กก๊ก.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและอองเป๋ง · ดูเพิ่มเติม »

อุยเอี๋ยน

อุยเอี๋ยน (Wei Yan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนพลแห่งจ๊กก๊กรูปร่างสูงใหญ่ ชื่อรองบุ้นเตีย ใช้ง้าวคู่เป็นอาวุธ ปรากฏบทบาทครั้งแรกที่เมืองเกงจิ๋ว เมื่อเล่าปี่ได้อพยพราษฎรจากซินเอี๋ยและอ้วนเสียข้ามน้ำมาจากการตามล่าของโจโฉขอให้ชาวบ้านอยู่ในเมืองด้วย พวกทหารและเสนาธิการจะแยกไปทันที แต่ชัวมอที่บังคับเล่าจ๋องอยู่ไม่ยอมเปิดประตูให้ อุยเอี๋ยนซึ่งเป็นทหารเกงจิ๋วกลับนำทหารส่วนหนึ่งมาเปิดประตูให้เล่าปี่ยกเข้าเมือง แต่บุนเพ่งแม่ทัพคนหนึ่งของเกงจิ๋วได้ออกมาขัดขวาง พร้อมด่าว่า เจ้าจะเป็นกบฏหรือ อุยเอี๋ยนกับบุนเพ่งจึงได้สู้กัน เล่าปี่อนาถใจที่เห็นทั้งคู่มาสู้กันเอง จึงยกทัพแยกไป.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและอุยเอี๋ยน · ดูเพิ่มเติม »

จกหยง

จกหยง (Lady Zhurong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นภรรยาของเบ้งเฮ็ก เธอเป็นพี่สาวของตั้วไหล 'จกหยง'เป็นผู้หญิงที่มีฝีมือการรบเก่งกล้าไม่แพ้ชาย ครั้งหนึ่งนางจกหยงอาสาเบ้งเฮ็กออกรบกับขงเบ้ง และสามารถจับตัวเตียวหงีกับม้าตงได้ ขงเบ้งจึงใช้อุบายจับตัวนางจกหยงได้ และใช้นางมาแลกตัวกับมาตงและเตียวหงี จกหยง.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและจกหยง · ดูเพิ่มเติม »

จูกัดเหลียง

ูกัดเหลียง ภาพวาดจากหนังสือ "Wan hsiao tang-Chu chuang -Hua chuan"(晩笑堂竹荘畫傳) จูกัดเหลียง (Zhuge Liang) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ขงเบ้ง (孔明; Kǒngmíng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นอกจากนี้ยังมีฉายาอื่นเช่น มังกรหลับ (臥龍先生) หรือ (伏龍) เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นของจีน หรือในสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากกล่าวอ้างอิงตามประวัติศาสตร์ จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่ในตำแหน่งสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งจ๊กก๊ก รวมทั้งมีความสามารถในด้านการเมือง การทูต นักปราชญ์ วิศวกรและได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญ โดยคิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน ศิลปินมักวาดภาพให้จูกัดเหลียงสวมชุดยาวแบบนักปราชญ์ สวมหมวก และถือพัดขนนกกระเรียน (บ้างก็ว่า ขนนก ขนห่าน) อยู่ในมือเสมอ โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้ โดยขงเบ้งมีพี่ชาย และน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็นที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะศิลป์ ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโงลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนาต่าง ๆ จนเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขงเบ้งมักจะเสวนากับผู้รู้เสมอ ๆ โดยเพื่อนร่วมวงเสวนากับเขานั้นได้แก่ ชีซี สื่อกวงเหวียน เมิ่งกงเวย และซุยเป๋ง และขงเบ้งมักจะยกตัวเองเทียบกับขวันต๋งและงักเย สองยอดนักปราชญ์ยุคชุนชิวและราชวงศ์ฉิน ซึ่งเพื่อน ๆ มักแปลกใจที่ขงเบ้งกล้ายกตนเช่นนั้น มีแต่ชีซีเท่านั้น ที่เชื่อว่าไม่ได้เป็นการยกตนเกินเลยไปเลย ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่จากการได้รับคำแนะนำจากชีซี โดยเล่าปี่ต้องมาคาราวะขงเบ้งถึงกระท่อมไม้ไผ่ ที่เขาโงลังกั๋ง ถึง 3 ครั้ง 3 ครา เมื่อขงเบ้งอายุได้เพียง 26 แต่ระยะแรกนั้น ขงเบ้งมิได้เป็นที่ยอมรับของบรรดานายทหารจ๊กก๊ก รวมทั้งกวนอูและเตียวหุยด้วย แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วยการทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋องแล้ว ขงเบ้งก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง ขงเบ้ง ยามออกศึก จะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน โดยมีหมวกและพัดขนนกเป็นของประจำตัว ขงเบ้งเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาอย่างถ่องแท้ มองจิตใจคนทะลุปรุโปร่ง ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ จึงสามารถล่วงรู้ได้ถึงสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเรียกลมได้ ผู้คนจึงกล่าวขานว่า เป็นผู้หยั่งรู้ดินฟ้า ขงเบ้ง เป็นกำลังสำคัญของแคว้นจ๊กก๊ก ภายหลังการสิ้นของเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ผู้นำคนสำคัญ โดยขงเบ้งมีฐานะเป็นเสนาบดีใหญ่ (เสิงเสี้ยน) ดูแลกิจการแทบทุกอย่างของจ๊กก๊ก เนื่องจากความอ่อนแอของพระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) ขงเบ้งประสบความสำเร็จจากการยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็ก อานารยชนที่แดนใต้ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเลยในการยกทัพบุกเหนือถึง 5 ครั้ง เพื่อพิชิตแคว้นวุยก๊ก บั้นปลายชีวิต ขงเบ้งเจ็บออด ๆ แอด ๆ เสมอ ๆ ขงเบ้งสิ้นอายุเมื่อได้ 54 ปี บนรถม้ากลางสนามรบ ก่อนสิ้นชีพ ขงเบ้งได้ตรวจดวงชะตาตนเองแล้วรู้ว่า ใกล้ดับ จึงทำพิธีต่อชะตาอายุ แต่พิธีต้องล่มกลางคัน เมื่ออุยเอี๋ยน ทหารคนหนึ่งวิ่งทะเล่อทะล่าเข้ามา จนตะเกียงน้ำมันดับลง.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและจูกัดเหลียง · ดูเพิ่มเติม »

จูล่ง

ูล่ง เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริง ชื่อจริงว่า เตียวหยุน แม่ทัพคนสำคัญของเล่าปี่ และเป็นหนึ่งในห้าทหารเสือ จูล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสาน" เกิดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ประมาณปี..

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและจูล่ง · ดูเพิ่มเติม »

จ๊กก๊ก

กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและจ๊กก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ต้วนอี้

ต้วนอี้ (Duan Yu) เป็นตัวเอกในนิยายเรื่องแปดเทพอสูรมังกรฟ้า ซึ่งแต่งโดยกิมย้ง ต้วนอี้เป็นองค์ชายต้าหลี่ บุตรของต้วนเจิ้นฉุน นิสัยใจดี มีเมตตา มองโลกในแง่ดี เมื่อทำสิ่งใดแล้ว จะเอาใจใส่จดจ่อ จนบิดาให้ฉายาว่าลูกงมงาย เนื่องจากไม่ชมชอบวิชาการต่อสู้จึงหนีออกจากบ้าน ทำให้ประสบเหตุการณ์อัศจรรย์มากมาย ทั้งกลืนคางคกชาดวัว เจ้าแห่งพิษ ทำให้พิษร้ายใดๆไม่อาจทำร้ายได้ สำเร็จยอดวิชาดรรชนีกระบี่หกชีพจร ลมปราณภูติอุดร และท่าเท้าท่องคลื่น จนกลายเป็นยอดฝีมือ เมื่อพบกับหวังอี้เยี่ยนก็หลงรักทันที แม้ว่านางจะมีชายอื่นในดวงใจ ต่อมาสาบานเป็นพี่น้องกับเฉียวฟง และซีจุ๊ ภายหลังได้เป็นฮ่องเต้ต่อจากพระปิตุลา ต้วนอี้นับเป็นตัวละครที่มีลมปราณสูงสุดในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง เนื่องจากดูดลมปราณของบุคคลต่างๆมากม.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและต้วนอี้ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

โต้สู้

โต้สู้ (Duo Si) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นายถ้ำอิมตองสันในดินแดนม่านภายใต้การบัญชาของเบ้งเฮ็ก ภายหลังจากเบ้งเฮ็กถูกขงเบ้งจับครั้งที่ 3 ขงเบ้งได้ปล่อยตัวไป เบ้งฮิวน้องของเบ้งเฮ็ก ได้แนะนำให้ไปตั้งมั่นที่ถ้ำอิมตองสันเพราะโต้สู้นายถ้ำกับเบ้งฮิวสนิทกัน เบ้งเฮ้กได้กระทำตามนั้น โต้สู้ยินดีให้เบ้งเฮ็กตั้งมั่น ทั้งกำชับว่าขงเบ้งไม่มีวันมาถึงที่นี่เพราะทางไปถ้ำอิมตองสันมี 2 ทางโดยทางหนึ่งให้ทหารไปปิดทางไว้แล้ว อีกทางหนึ่งต้องผ่านป่ามรณะที่มีสัตว์ร้ายมาก และน้ำยังเป็นพิษอีกด้วย ซึ่งนอกจากม้าอ้วนแล้วยังไม่มีใครเคยผ่านมาทางนี้โดยยังมีชีวิตรอดอีกเลย แต่ขงเบ้งกลับยกทัพผ่านป่านี้ได้ด้วยความช่วยเหลือของม้าอ้วนเทพารักษ์และเบ้งเจียด พี่ชายของเบ้งเฮ็ก ต่อมาเอียวหองแห่งเขางินติสันที่ยอมสวามิภักดิ์ต่อขงเบ้งได้แสร้งทำเป็นเข้าร่วมกับเบ้งเฮ็กกับโต้สู้ที่ถ้ำอิมตองสัน และได้จัดงานเลี้ยงฉลอง จากนั้นก็มอมเหล้าเบ้งเฮ้กและโต้สู้จนเมา เอียวหองก็จับทั้งคู่ส่งไปมอบให้กับขงเบ้งได้ในที่สุด แต่โต้สู้ก็ได้รับการปล่อยตัวพร้อมกับเบ้งเฮ้ก รูปโต้สู้จากเกม Romance of the Three Kingdoms XI ตโสู้ en:List of fictional people of the Three Kingdoms#Chapter 89.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและโต้สู้ · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งฮิว

้งฮิว (Meng You) เป็นน้องชายของเบ้งเฮ็ก อ๋องแห่งอาณาจักรม่าน เป็นผู้ที่คอยให้คำปรึกษาเบ้งเฮ็กและรบเคียงบ่าเคียงไหล่เบ้งเฮ็ก จึงถูกขงเบ้งจับตัวพร้อมกับเบ้งเฮ็ก แล้วปล่อยไปหลายครั้ง เบ้งฮิวเป็นเพื่อนสนิทของโต้สู้ จึงได้แนะนำให้เบ้งเฮ็กไปขอความช่วยเหลื่อจากโต้สู้ในการรบกับขงเบ้ง แต่เบ้งเฮ็กก็ยังถูกจับได้ ต่อมา เบ้งฮิวได้สวามิภักดิ์ต่อขงเบ้งพร้อมกับเบ้งเฮ็กพี.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและเบ้งฮิว · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งเฮ็ก

มิ่ง ฮั่ว ตามสำเนียงกลาง หรือ เบ้งเฮ็ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เป็นผู้นำประเทศอิสระบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของจ๊กก๊ก ซึ่งปัจจุบันคือ เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิงผ่อ เต๋อหง มณฑลยูนนาน เบ้งเฮ็กได้รับการสนับสนุนจากต้วนอี้ สมุหนายกของวุยก๊ก ทำให้สามารถผนึกกำลังกับ ยงคี เจ้าแคว้นเกียวเหล็ง จูโพ เจ้าแคว้นอวดจุ้น และชนเผ่าอื่นๆ เข้าตีเมืองเองเฉียง (ปัจจุบันคือ เขตเป่าซาน มณฑลยูนนาน) จึงทำให้ขงเบ้งต้องยกทัพมาปราบด้วยตัวเองแล้ววางแผนจับเบ้งเฮ็กถึง 6 ครั้ง แล้วก็ปล่อยไปทุกครั้ง เมื่อครั้งที่เจ็ดก็จับตัวเบ้งเฮ็กได้ก็เชิญไปรับประทานอาหาร เบ้งเฮ็กคิดว่าครั้งนี้ขงเบ้งคงไม่ปล่อยเราเป็นแน่ นี่คงเป็นอาหารมื้อสุดท้ายของเรา แล้วขงเบ้งก็เอ่ยว่า เจ้าจงกลับไปตั้งทัพแล้วกลับมาสู้กับเราใหม่เถิด เมื่อได้ยินขงเบ้งพูดอย่างนั้นเบ้งเฮ็กถึงกับน้ำตาไหล เบ้งเฮ็กสำนึกในพระคุณของขงเบ้ง จึงยอมแพ้ ขงเบ้งให้อยู่ครองเมืองต่อโดยไม่ทิ้งทหารประจำการ สาเหตุที่ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กแล้วปล่อยไปแล้วถึงเจ็ดครั้ง เพราะเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำเผ่าภาคใต้ คนชนเผ่าให้ความเคารพนับถือมาก ถ้าประหารเบ้งเฮ็กเสียก็จะทำให้ชนเผ่าแข็งข้อและจะก่อความวุ่นวายให้กับจ๊กก๊กในภายหลังได้ ดังนั้นขงเบ้งก็ได้ใช้แผนการจับเบ้งเฮ็กและปล่อยไปเพื่อเป็นการเอาใจเบ้งเฮ็กจนทำให้ยอมจำนนอย่างเต็มใจ และไม่คิดก่อกบฏอีกเลย คึกฤทธิ์ ปราโมช สันนิษฐานว่าเบ้งเฮ็กเป็นผู้นำชนชาติ ไต-ไท หากในประวัติศาสตร์ทางการ เบ้งเฮ็กที่จริงแล้วเป็นพลเมืองของจักรวรรดิฮั่น แต่คนมักคิดว่าเบ้งเฮ้กเป็นผู้นำชนเผ่าป่าเถื่อนทางใต้เนื่องจากภาพที่บรรยายในนิยายสามก๊ก.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและเบ้งเฮ็ก · ดูเพิ่มเติม »

เบ้งเจียด

้งเจียด (Meng Jie) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นพี่ชายของเบ้งเฮ็ก เมื่อครั้งเบ้งเฮ็กกำเริบเสิบสานคิดแข็งเมืองต่อจ๊กก๊ก เบ้งเจียดได้พยายามห้ามปรามแต่ไม่สำเร็จ จึงได้ปลีกตัวไปเป็นนักพรตอาศัยอยู่ในป่าที่มีแม่น้ำที่เต็มไปด้วยพิษด้วยความสงบ เมื่อครั้งที่กองทัพของขงเบ้งหลงทางในป่าได้ไปกินน้ำในแม่น้ำพิษ ทำให้เป็นใบ้พูดไม่ได้ ขงเบ้งได้พบเบ้งเจียด เบ้งเจียดทราบเรื่องก็ได้ช่วยเหลือด้วยการบอกขงเบ้งให้เหล่าทหารที่ถูกพิษให้กินน้ำหลังบ้านตน และบอกว่าให้ขุดน้ำบ่อกิน นอกจากนั้นยังบอกความลับแก่ขงเบ้งที่จะออกจากป่ามรณะที่เต็มไปด้วยลมพิษอย่างปลอดภัยด้วยการคาบใบไม้หอม ที่ชื่อว่า หุ่ยเหียบ เบ้งเจียดยังได้แนะนำเอียวหองแห่งเขางินติสันต่อขงเบ้งเพราะเบ้งเฮ็กกับเอียวหองเป็นคู่อริกันซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการจับตัวเบ้งเฮ็ก และแล้วขงเบ้งได้เกลี้ยกล่อมเอียวหองจนยอมสวามิภักดิ์และได้ทำการจับตัวเบ้งเฮ็กและโต้สู้ที่ถ้ำอิมตองสันนำมามอบให้ขงเบ้งได้ในที.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและเบ้งเจียด · ดูเพิ่มเติม »

เมืองออโกก๊ก

เมืองออโกก๊ก กล่าวว่าเจ้าเมืองคือลุดตัดกุด ชาวเมืองนี้จะขุดถ้ำเพื่ออาศัย เลี้ยงสัตว์ร้ายต่างๆเพื่อทำสงคราม หนังสือบางเล่มก็บอกว่ากินงูดิบด้วย หมวดหมู่:สามก๊ก.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและเมืองออโกก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหง

ตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหง หรือเขตปกครองตนเองใต้คง (ไทเหนือ: 60px; เต๋อหง ไต่จู๋ จิ่งพัวจู๋ จื้อจื้อโจว) คือหนึ่งในเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีพื้นที่ประมาณ 11,526 ตร.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งพัว เต๋อหง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวหงี

ตียวหงี เป็นนายทหารของจ๊กก๊กในยุคสามก๊กในประวัติศาสตร์จีน เป็นบุคคลสำคัญในปราบปรามอนารยชนซึ่งกบฏต่อจ๊กก๊ก ถูกสังหารเมื่อครั้ง เกียงอุย นำทัพจ๊กตีทัพวุยก๊ก ขณะที่พยายามขัดขวางข้าศึกไม่ให้ขับไล่ตามเกียงอ.

ใหม่!!: เบ้งเฮ็กและเตียวหงี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มังวะเมิ่งวะเม็งวะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »