เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เมทิลออเรนจ์

ดัชนี เมทิลออเรนจ์

มทิลออเรนจ์ (methyl orange) เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นผงสีส้มเหลือง ใช้เป็นตัวบ่งชี้พีเอชในการไทเทรต เนื่องจากให้สีที่ชัดเจน เมทิลออเรนจ์จะเปลี่ยนสีในกรดที่มีความแรงปานกลาง จึงมักใช้ในการไทเทรตสำหรับกรด เมทิลออเรนจ์แตกต่างจากยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์คือ ไม่ได้เปลี่ยนสีครบสเปกตรัม แต่จะเปลี่ยนสีเมื่อถึงจุดยุติ โดยจะให้สีส้มเมื่อเป็นกรดและสีเหลืองเมื่อเป็นเบส ในสารละลายที่เป็นกรดอ่อน เมทิลออเรนจ์จะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้ม และกลายเป็นสีเหลืองในที่สุด และจะกลับกันเมื่อสารละลายมีความเป็นกรดมากขึ้น เมทิลออเรนจ์มีค่า pH 3.47 ในน้ำอุณหภูมิ เมื่อเมทิลออเรนจ์อยู่ในสารละลายไซลีนไซยานอล จะให้สีม่วงเมื่อเป็นกรดและให้สีเขียวเมื่อเป็นเบส เมทิลออเรนจ์มีคุณสมบัติเป็นสารก่อกลายพันธุ์ จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง.

สารบัญ

  1. 2 ความสัมพันธ์: การไทเทรตสารก่อกลายพันธุ์

  2. ตัวบ่งชี้พีเอช
  3. สารประกอบไดเมทิลอะมิโน
  4. อะนิลีน

การไทเทรต

ลักษณะการไทเทรต การไทเทรต (titration) คือ วิธีการทางปริมาณวิเคราะห์ (Quantitative Analysis) ใช้ในการหาปริมาตรของสารละลายมาตรฐาน (สารละลายที่เราทราบความเข้มข้นที่แน่นอนแล้ว) ที่ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายอื่นซึ่งทราบปริมาตร แต่ยังไม่ทราบความเข้มข้น เพื่อนำค่าปริมาตรที่ได้มาคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายอื่นนั้น สำหรับการไทเทรตทุกชนิด จุดที่สารที่เรานำมาไทเทรตทำปฏิกิริยากันพอดี เราเรียกว่า จุดสมมูลหรือจุดสะเทิน (Equivalence Point)จุดที่กรดทำปฏิกิริยากันพอดีหรือสะเทินพอดีกับเบส ส่วนจุดที่อินดิเคเตอร์ (Indicator) เปลี่ยนสี เราเรียกว่า จุดยุติ (End Point) ซึ่งเป็นจุดที่เราจะยุติการไทเทรต โดยถ้าเราใช้อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมจะทำให้จุดยุติตรงกับจุดสมมูลหรือใกล้เคียงกับจุดสมมูลมาก แต่ถ้าเราใช้อินดิเคเตอร์ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้จุดยุติอยู่ห่างจากจุดสมมูลมาก ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้.

ดู เมทิลออเรนจ์และการไทเทรต

สารก่อกลายพันธุ์

ัญลักษณ์สากลสำหรับสารก่อกลายพันธุ์, สารก่อมะเร็งและสารพิษต่อระบบสืบพันธุ์ สารก่อกลายพันธุ์ (mutagen) คือสารที่สามารถเปลี่ยนสารพันธุกรรม โดยเฉพาะดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตและเพิ่มความถี่ของการกลายพันธุ์จนเกินระดับปกติ การกลายพันธุ์หลายแบบก่อให้เกิดโรคมะเร็ง สารก่อกลายพันธุ์จึงมักถูกจัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง อย่างไรก็ตาม สารก่อกลายพันธุ์บางชนิด เช่น โซเดียมอะไซด์ไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง การกลายพันธุ์ที่ไม่ได้เกิดจากสารก่อกลายพันธุ์เรียกว่า "การกลายพันธุ์แบบเกิดเอง" (spontaneous mutations) ซึ่งเกิดได้จากความผิดพลาดของกระบวนการไฮโดรไลซิส การถ่ายแบบดีเอ็นเอและการรวมกลุ่มใหม่ของยีน.

ดู เมทิลออเรนจ์และสารก่อกลายพันธุ์

ดูเพิ่มเติม

ตัวบ่งชี้พีเอช

สารประกอบไดเมทิลอะมิโน

อะนิลีน