โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เฟนิโทอิน

ดัชนี เฟนิโทอิน

ฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือชื่อทางการค้าคือ ไดแลนติน (Dilantin)Drugs.com Page accessed Feb 27, 2016 เป็นยากันชัก ใช้สำหรับป้องกันอาการโคลนัสและการเป็นลมชักอย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ไม่สามารถใช้ป้องกันอาหารชักเหม่อได้ มีแบบรับประทานสำหรับผู้ป่วยทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะชักต่อเนื่อง แพทย์อาจจ่ายยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนเพื่อบรรเทาอาการชัก หากยังไม่ดีขึ้นจึงจะใช้ยาเฟนิโทอินโดยการฉีด ซึ่งจะออกฤทธิภายใน 30 นาทีและจะคงฤทธิได้นานถึง 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ เฟนิโทอินยังถูกใช้เพื่อรักษาอารหัวใจเต้นผิดจังหวะและความเจ็บปวดทางประสาทอีกด้วย ทั้งนี้ แพทย์อาจวัดความดันเพื่อกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสม ผลข้างเคียงของการใช้เฟนิโทอิน ได้แก่ อาการคลื่นไส้, ปวดท้อง, ไม่อยากอาหาร, มองไม่ชัด, ขนขึ้นเร็ว และเหงือกบวม ผลข้างเคียงแบบรุนแรงได้แก่ ง่วงนอน, ทำร้ายตนเอง, โรคตับ, ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดได้น้อย, ความดันโลหิตต่ำ และผิวลอก ยาประเภทนี้ห้ามใช้ระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติในทารก แต่ปลอดภัยหากจะใช้ระหว่างภาวะให้นมบุตร เฟนิโทอินถูกสร้างขึ้นในปี..

9 ความสัมพันธ์: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาวะชักต่อเนื่องยากันชักหัวใจเต้นผิดจังหวะท็อกซิก อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิสความง่วงตับโคลนัสเบ็นโซไดอาเซพีน

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การให้ทารกกินนมจากอกแม่ สัญลักษณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สากล (Matt Daigle, ผู้ชนะการประกวดของนิตยสาร Mothering ปี ค.ศ. 2006) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (breastfeeding, nursing) คือการป้อนนมให้กับทารกหรือเด็กด้วยน้ำนมจากหน้าอกของผู้หญิง ทารกจะมีกลไกอัตโนมัติในการดูดที่จะทำให้เขาสามารถดูดและกลืนน้ำนมได้ มีหลักฐานจากการทดลองชี้ให้เห็นว่า น้ำนมคนเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก แต่ผู้เชี่ยวชาญยังมีความเห็นไม่ตรงกันว่าควรให้ทารกกินนมแม่นานเท่าไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด และจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเท่าไรจากการให้สารทดแทนน้ำนมคนแก่ทารก ทารกอาจจะกินน้ำนมจากอกของแม่ของตัวเองหรือผู้หญิงอื่นที่ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมได้ (ซึ่งอาจจะเรียกว่า แม่นม) น้ำนมอาจจะถูกบีบออกมา (เช่น ใช้เครื่องปั๊มนม) และป้อนให้ทารกโดยใช้ขวด และอาจเป็นน้ำนมที่รับบริจาคมาก็ได้ สำหรับแม่หรือครอบครัวที่ไม่สามารถหรือไม่ต้องการให้ลูกกินนมแม่ก็อาจให้สารทดแทนนมแม่แทน การศึกษาวิจัยยังมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับคุณค่าสารอาหารในสารทดแทนนมแม่ เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าการให้ทารกกินนมผสมที่มีขายในท้องตลาดจะไปรบกวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งในทารกที่คลอดตามกำหนดและคลอดก่อนกำหนด ในหลายๆ ประเทศการให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงในทารกเพิ่มขึ้น แต่ในพื้นที่ที่มีน้ำสะอาดมีเพียงพอ การให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ มีนโยบายของรัฐบาลและความพยายามจากหน่วยงานนานาชาติในการส่งเสริมและสนับสนุนให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเลี้ยงทารกในช่วงปีแรกและนานกว่านั้น องค์การอนามัยโลกและสถาบันกุมารแพทย์ของอเมริกา (American Academy of Pediatrics) ก็มีนโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม.

ใหม่!!: เฟนิโทอินและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะชักต่อเนื่อง

ภาวะชักต่อเนื่องหรือโรคลมชักชนิดต่อเนื่องคือภาวะที่เกิดอาการชักติดต่อกันนานเกิน 30 นาที หรือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการชักสั้นๆ แต่หลายครั้ง ติดต่อกันนานเกิน 30 นาที โดยระหว่างการชักแต่ละครั้งผู้ป่วยไม่ได้ฟื้นคืนสติเป็นปกติ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:โรคลมชัก หมวดหมู่:กุมารเวชศาสตร์.

ใหม่!!: เฟนิโทอินและภาวะชักต่อเนื่อง · ดูเพิ่มเติม »

ยากันชัก

แอนติอิพิเลปติก (อังกฤษ:antiepileptics) มีอีกชื่อว่า แอนติคอนวัลแซนต์ (anticonvulsants) เป็นยาต้านและป้องกันอาการชักเช่นอาการชักจากลมบ้าหมู กลไกการออกฤทธิ์คือการบล็อกโวลเตก-เซนซิตีพ โซเดียมแชแนล (voltage-sensitive sodium channel) ในสมอง.

ใหม่!!: เฟนิโทอินและยากันชัก · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะคือภาวะใดๆ ที่เกิดความผิดปกติขึ้นในการนำไฟฟ้าของหัวใจ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ และมีจังหวะสม่ำเสมอหรือไม่สม่ำเสมอก็ได้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดและเสียชีวิตได้ทันที ชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตนั้นอาจทำให้เกิดความรู้สึกใจสั่น หรือไม่สบายตัวเล็กน้อย ความรู้สึกใจสั่นนี้อาจเกิดจากภาวะหัวใจเต้นแผ่วระรัวไม่ว่าจะเป็นห้องบนหรือห้องล่าง หรือการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หรือภาวะอื่นๆ และบางชนิดอาจไม่มีอาการใดๆ เลย แต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือทำให้เกิดความพิการได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจผิดปกติเพียงเล็กน้อยและมีผลเสียน้อยจนถือเป็นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ถือเป็นโรค หมวดหมู่:หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: เฟนิโทอินและหัวใจเต้นผิดจังหวะ · ดูเพิ่มเติม »

ท็อกซิก อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิส

(toxic epidermal necrolysis, TEN) เป็นโรคผิวหนังในกลุ่มผื่นแพ้ยาที่พบได้น้อยโรคหนึ่งซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนใหญ่เกิดเป็นปฏิกิริยาต่อยา มีลักษณะคือทำให้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (epidermis) แยกออกจากชั้นหนังแท้ (dermis) ทั่วร่างกาย บทวิจัยทางการแพทย์ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า TEN เป็นโรคเดียวกันกับกลุ่มอาการสตีเฟนส์-จอห์นสัน แต่มีอาการรุนแรงกว่า และยังมีการถกเถียงกันว่าจะนับรวมเอา erythema multiforme เข้าเป็นกลุ่มของโรค (spectrum) เดียวกันนี้หรือไม.

ใหม่!!: เฟนิโทอินและท็อกซิก อีพิเดอร์มัล เนโครไลซิส · ดูเพิ่มเติม »

ความง่วง

วามง่วงหรืออาการง่วงซึม (somnolence, sleepiness, หรือ drowsiness) เป็นภาวะที่ร่างกายต้องการหลับอย่างแรง หรือหลับเป็นเวลานานผิดปกติ (เทียบกับอาการนอนมาก) ความง่วงมีความหมายและสาเหตุแยกกัน สามารถหมายถึงภาวะปกติก่อนหลับ สภาพที่อยู่ในภาวะง่วงเนื่องจากความผิดปกติของจังหวะรอบวัน หรือกลุ่มอาการของปัญหาสุขภาพอื่น ความง่วงสามารถเกิดร่วมกับภาวะง่วงงุน (lethargy) ความอ่อนเปลี้ยและการขาดความคล่องทางจิต (lack of mental agility) มักมองว่าความง่วงเป็นอาการมากกว่าโรคด้วยตัวมันเอง ทว่า มโนทัศน์ความง่วงเกิดซ้ำในบางเวลาจากสาเหตุบางอย่างประกอบเป็นความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความง่วงกลางวันมากเกิน (excessive daytime sleepiness) โรคหลับงานกะ (shift work sleep disorder) ฯลฯ และมีรหัสการแพทย์สำหรับความง่วงที่ถือเป็นโรค ความง่วงอาจเป็นอันตรายเมื่อดำเนินงานที่ต้องอาศัยสมาธิต่อเนื่อง เช่น การขับยานพาหนะ เมื่อบุคคลรู้สึกล้าระดับหนึ่ง อาจประสบการหลับเล็ก (microsleep) ได้.

ใหม่!!: เฟนิโทอินและความง่วง · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: เฟนิโทอินและตับ · ดูเพิ่มเติม »

โคลนัส

ลนัส (Clonus) คือการหดตัวของกล้ามเนื้อนอกเหนืออำนาจจิตใจเนื่องจากการยืดกล้ามเนื้ออย่างทันทีทันใด โคลนัสเป็นสัญญาณบอกโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้ และมักเกี่ยวข้องกับปัญหาภายในเซลล์ประสาทสั่งการชุดบน (upper motor neuron lesions) เช่นจากโรคหลอดเลือดสมอง (stroke), โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis), การได้รับบาดเจ็บในไขสันหลัง (spinal cord damage) และโรคทางสมองเนื่องจากภาวะที่ตับ (hepatic encephalopathy) ซึ่งต้องเข้าใจความต่างกันกับอาการฟาสซิคิวเลชัน (fasciculations) ซึ่งมักเกิดจากพยาธิสภาพในเซลล์ประสาทสั่งการชุดล่าง (lower motor neuron pathology) โคลนัสจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งมักสามารถเกิดจากการกระตุ้นของรีเฟล็กซ์ สามารถดูลักษณะของโคลนัสได้จากการทดสอบที่ข้อเท้า ซึ่งสามารถทดสอบได้โดยการงอเท้าขึ้น (dorsiflexion) ทั้งนี้ยังสามารถทดสอบได้ในข้อเข่าโดยการกดกระดูกสะบ้าไปหาด้านนิ้วโป้งเท้า ซึ่งหากเกิดโคลนัสมากกว่า 5 ครั้ง จึงถือว่าผิดปกติ ทั้งนี้ ยาที่เกี่ยวกับสารสื่อประสาทเซโรโทนินยังสามารถทำให้เกิดโคลนัสได้ อันเป็นสัญญาณถึงอาการพิษจากเซโรโทนิน.

ใหม่!!: เฟนิโทอินและโคลนัส · ดูเพิ่มเติม »

เบ็นโซไดอาเซพีน

รงสร้างทางเคมีของเบ็นโซไดอาเซพีน เบ็นโซไดอาเซพีน (Benzodiazepine) หรือเรียกสั้นๆว่า "เบ็นโซส" เป็นกลุ่มยาในหมวดสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เกิดขึ้นจากการทำพันธะโครงสร้างทางเคมีระหว่างเบนซีนกับไดอาเซพีน ทั้งนี้ในปี..

ใหม่!!: เฟนิโทอินและเบ็นโซไดอาเซพีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Phenytoin

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »