สารบัญ
7 ความสัมพันธ์: ทรงสี่หน้าคลอโรฟอร์มคลอโรมีเทนคาร์บอนเตตระฟลูออไรด์แอลกอฮอล์ไดคลอโรมีเทนเบนซีน
- สารก่อมะเร็งกลุ่ม 2บี โดย IARC
- สารมลพิษอันตราย
- แก๊สเรือนกระจก
ทรงสี่หน้า
ทรงสี่หน้าปรกติ ทรงสี่หน้า (tetrahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 4 หน้า ทรงสี่หน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ ทรงสี่หน้าปรกติ (regular tetrahedron) เป็นทรงหลายหน้าที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 4 หน้า มี 4 จุดยอด 6 ขอบ ทรงสี่หน้าปรกติ เป็นหนึ่งในทรงตันเพลโต (Platonic solid) หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น พีระมิดสามเหลี่ยม (triangular pyramid).
ดู คาร์บอนเตตระคลอไรด์และทรงสี่หน้า
คลอโรฟอร์ม
คลอโรฟอร์ม หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไตรคลอโรมีเทน (trichloromethane: TCM) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมี CHCl3 ไม่เกิดการเผาไหม้ในบรรยากาศปกติยกเว้นเมื่อผสมกับสารที่ไวไฟกว่าอื่น ๆ เป็นสารประกอบในกลุ่มไตรฮาโลมีเทน คลอโรฟอร์มมีประโยชน์ใช้งานหลายอย่าง เป็นสารตั้งต้น ตัวทำปฏิกิริยา และเป็นตัวทำละลาย ไตรคลอโรมีเทนเป็นสารควบคุมเพราะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หมวดหมู่:สารเคมี.
ดู คาร์บอนเตตระคลอไรด์และคลอโรฟอร์ม
คลอโรมีเทน
คลอโรมีเทน หรือที่เรียกว่า เมทิลคลอไรด์ (R-40 หรือ HCC 40) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เรียกว่าฮาโลอัลเคน ครั้งหนึ่งเป็นสารทำความเย็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นสารไม่มีสีที่ไวไฟมากและมีกลิ่นหวานเล็กน้อย ซึ่งอาจสามารถรับรู้ได้ในระดับที่เป็นเป็นพิษ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเป็นพิษนี่เองจึงได้เลิกใช้ผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับครัวเรือน หมวดหมู่:แก๊สเรือนกระจก หมวดหมู่:สารก่อมะเร็งกลุ่ม 3 โดย IARC หมวดหมู่:สารเคมี.
ดู คาร์บอนเตตระคลอไรด์และคลอโรมีเทน
คาร์บอนเตตระฟลูออไรด์
เตตระฟลูออโรมีเทน หรือ คาร์บอนเตตระฟลูออไรด์ เป็นสารฟลูออโรคาร์บอนอย่างง่ายที่สุด (CF4) มีพันธะทางเคมีที่แข็งแรกเนื่องจากเป็นพันธะระหว่างคาร์บอนกับฟลูออรีน สามารถจัดอยู่ในกลุ่มสารฮาโลอัลเคนหรือฮาโลมีเทน เนื่องจากพันธะระหว่างคาร์บอนและฟลูออรีนถึงสี่พันธะและค่าอิเล็กโตรเนกาติวิตีของฟลูออรีนที่สุด คาร์บอนในโมเลกุลนี้จึงมีประจุบวกอย่างมีนัยสำคัญซึ่งทำให้ทำให้มีลักษณะของพันธะไอออนิก เตตระฟลูออโรมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจก หมวดหมู่:แก๊สเรือนกระจก หมวดหมู่:ฟลูออไรด์ หมวดหมู่:สารเคมี.
ดู คาร์บอนเตตระคลอไรด์และคาร์บอนเตตระฟลูออไรด์
แอลกอฮอล์
รงสร้างของแอลกอฮอล์ ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าโรคพิษสุรา (alcoholism) เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล).
ดู คาร์บอนเตตระคลอไรด์และแอลกอฮอล์
ไดคลอโรมีเทน
ลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์ (Dichloromethane หรือ Methylene chloride) คือ สารประกอบชนิดหนึ่ง มีสูตรเป็น CH2Cl2 เป็นของเหลวไม่มีสี ระเหยได้ง่าย มีกลิ่นหอม มักใช้เป็นตัวทำละลาย เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าเป็นสารประกอบคลอโรคาร์บอนที่มีอันตรายน้อยที่สุดชนิดหนึ่ง การเตรียมไดคลอโรมีเทนสามารถทำได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1840 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า อองรี วิกเตอร์ เรโญลต์ (Henri Victor Regnault) โดยแยกไดคลอโรมีเทนออกจากของผสมของคลอโรมีเทนกับคลอรีนระหว่างที่ถูกแสงอาทิต.
ดู คาร์บอนเตตระคลอไรด์และไดคลอโรมีเทน
เบนซีน
เบนซีน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง มีสูตรทางเคมีคือ C6H6 บางครั้งอาจเขียนเป็นตัวย่อเป็น Ph–H เบนซีนไม่มีสีแต่ไวไฟและมีกลิ่นหอมหวาน เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็งจึงไม่นิยมใช้เป็นสารเติมแต่งน้ำมันในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสารนี้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยา พลาสติก ยางสังเคราะห์และสีย้อม เบนซีนเป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติของปิโตรเลียมและสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียอื่นๆ เบนซีนเป็นสารประกอบอะโรมาติกชนิดหนึ่ง หมวดหมู่:สารก่อมะเร็ง หมวดหมู่:สารก่อวิรูป หมวดหมู่:สารเคมี หมวดหมู่:อาชีวอนามัยและความปลอดภัย.
ดู คาร์บอนเตตระคลอไรด์และเบนซีน
ดูเพิ่มเติม
สารก่อมะเร็งกลุ่ม 2บี โดย IARC
- กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติก
- คลอริเนเตท พาราฟิน แวกซ์
- คาร์บอนเตตระคลอไรด์
- ซัลซิตาบีน
- ซิโดวูดีน
- ดิช็อกซิน
- ตะกั่ว
- นิกเกิล
- น้ำมันดีเซล
- น้ำมันเตา
- น้ำมันเบนซิน
- ฟีนอล์ฟทาลีน
- ยางมะตอย
- เขม่าดำ
- เฟนิโทอิน
- เอชไอวี
- เฮปตาคลอร์
- แนฟทาลีน
- แอนติโมนีไตรออกไซด์
- แอสปาร์แตม
- โคบอลต์
- โทลูอีนไดไอโซไซยาเนต
- ไครซีน
สารมลพิษอันตราย
- คลอรีน
- คลอโรฟอร์ม
- คลอโรมีเทน
- คาร์บอนเตตระคลอไรด์
- ฟอร์มาลดีไฮด์
- อะคริลาไมด์
- เบนซีน
- เมทานอล
- เอทิลีนออกไซด์
- เอทิลีนไกลคอล
- เฮกเซน
- แนฟทาลีน
- แร่ใยหิน
- โทลูอีน
- ไดคลอโรมีเทน
- ไนโตรเจนไดออกไซด์
- ไฮโดรเจนคลอไรด์
- ไฮโดรเจนฟลูออไรด์
แก๊สเรือนกระจก
- คลอโรฟลูออโรคาร์บอน
- คลอโรมีเทน
- คาร์บอนเตตระคลอไรด์
- คาร์บอนเตตระฟลูออไรด์
- คาร์บอนไดออกไซด์
- ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์
- น้ำ (โมเลกุล)
- มีเทน
- เอทิลีน
- แก๊สเรือนกระจก
- โอโซน
- ไนตรัสออกไซด์
- ไอน้ำ
หรือที่รู้จักกันในชื่อ BenziformCCl4Carbon tetCarbon tetrachlorideFreon 10Halon 104Methane tetrachlorideTetrachloromethaneเตตระคลอโรมีเทน