โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เพลงชาติสาธารณรัฐจีน

ดัชนี เพลงชาติสาธารณรัฐจีน

ลงชาติสาธารณรัฐจีน (จงหัวหมินกั๋วกั๋วเกอ) เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐจีนซึ่งตั้งมั่นอยู่บนเกาะไต้หวันในปัจจุบัน เนื้อหากล่าวถึงวิสัยทัศน์และความหวังของรัฐชาติใหม่และประชาชนในรัฐนั้นจะเป็นจริงได้ด้วยการดำเนินตามหลักลัทธิไตรราษฎร์ หรือ หลัก 3 ประการ แห่งประชาชน เพลงนี้มักมีการเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "ซานหมินจู่อี้" อันเป็นชื่อของหลักลัทธิไตรราษฎร์ที่ปรากฏในวรรคแรกของเพลง แต่ชื่อดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการเรียกขานอย่างเป็นทางการแต่อย่างใ.

27 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2467พ.ศ. 2473พ.ศ. 2480พ.ศ. 2486พินอินก๊กมินตั๋งภูมิศาสตร์ไต้หวันมาร์ชทหารอาสาราชวงศ์โจวลัทธิไตรราษฎร์สหประชาชาติอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็มอักษรไทยจู้อินซุน ยัตเซ็นประเทศจีนประเทศไต้หวันโดยพฤตินัยโดยนิตินัยเพลงชาติเพลงธงชาติสาธารณรัฐจีนเวด-ไจลส์เจียง ไคเชก16 กรกฎาคม24 มีนาคม3 มิถุนายน

พ.ศ. 2467

ทธศักราช 2467 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1924 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและพ.ศ. 2467 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2473

ทธศักราช 2473 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1930 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและพ.ศ. 2473 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2480

ทธศักราช 2480 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1937.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและพ.ศ. 2480 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2486

ทธศักราช 2486 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1943.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและพ.ศ. 2486 · ดูเพิ่มเติม »

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

ก๊กมินตั๋ง

รรคชาตินิยมจีน (Chinese Nationalist Party) หรือมักเรียกว่า ก๊กมินตั๋ง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กั๋วหมินตั่ง ตามสำเนียงกลาง (Kuomintang; ย่อว่า KMT) เป็นพรรคการเมืองแนวอนุรักษนิยมของสาธารณรัฐจีน ซึ่งยังคงดำรงอยู่ในไต้หวัน.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและก๊กมินตั๋ง · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์ไต้หวัน

กาะไต้หวัน เกาะไต้หวัน (ไถวาน; ภาษาไต้หวัน: Tâi-oân) เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้จีนแผ่นดินใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันปกครองโดยสาธารณรัฐจีน แยกเป็นเอกเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือว่าสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช แม้เรามักจะเรียกกันติดปากว่าประเทศไต้หวันก็ตาม แต่เดิมเกาะไต้หวันมีชื่อว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) หรือ Ilha Formosa ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า "เกาะสวยงาม" เนื่องจากประเทศโปรตุเกสเคยเดินทางมายังเกาะนี้และได้ตั้งชื่อเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ยึดเอามาเป็นอาณานิคม.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและภูมิศาสตร์ไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ชทหารอาสา

ลงชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนมีชื่อว่า มาร์ชทหารอาสา (อ่านว่า "อี่หย่งจินจิ้นสิงชวี"; March of the Volunteers) เดิมเป็นบทเพลงปลุกใจซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดยเถียน ฮั่น ทำนองโดยเนี้ย เอ่อร์ เมื่อ พ.ศ. 2479 แต่ครั้งสมัยที่จีนแผ่นดินยังปกครองโดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ภายใต้พรรคก๊กมินตั๋ง ขณะนั้นการเมืองภายในจีนกำลังปั่นป่วนอย่างหนัก จากการแบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่าต่างๆ และเผชิญหน้ากับการรุกรานของจักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถปฏิวัติและสถาปนารัฐจีนใหม่สำเร็จใน พ.ศ. 2492 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ใช้เพลงมาร์ชทหารอาสาเป็นเพลงชาติตลอดมา แม้ว่าในสมัยหนึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อร้องเพลงนี้ก็ตาม แต่เนื้อร้องเดิมก็ยังคงได้รับความนิยมมากกว่า ภายหลังรัฐบาลจีนจึงนำเนื้อร้องเดิมที่เถึยนฮั่นประพันธ์ไว้ใช้เป็นเนื้อร้องเพลงชาติจีนอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งตราบจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและมาร์ชทหารอาสา · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจว

ราชวงศ์โจว หรือ ราชวงศ์จิว (ภาษาอังกฤษ:Zhou Dynasty, ภาษาจีนกลาง:周朝, พินอิน: Zhōu Cháo) ราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์จีน เริ่มประมาณ 1123 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 256 ปีก่อนคริสต์ศักราช นับเป็นราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุด ด้วยเวลาที่ยาวนานกว่า 867 ปี มีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นการสู้รบระหว่างแว่นแคว้น การกำเนิดของปรัชญาเมธีหลายท่าน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, ซุนวู เป็นต้น ในยุคชุนชิว.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและราชวงศ์โจว · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิไตรราษฎร์

ลัทธิไตรราษฎร์ หรือ สามประชาธรรม (Three Principles of the People, Three People's Principles, San-min Doctrine, หรือ Tridemism) เป็นปรัชญาการเมืองซึ่งซุน ยัดเซ็น หรือ ซุน อี้เซียน (孫逸仙) พัฒนาขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาที่ทำให้ประเทศจีนเป็นดินแดนอันเสรี รุ่งเรือง และทรงอำนาจ ลัทธิไตรราษฎร์ประกอบด้วยหลักการสามข้อ ได้แก่ "ประชาชาติ" (民族; people's rule) คือ ความนิยมชาติ, "ประชาสิทธิ์" (民權; people's right) คือ ประชาธิปไตย, และ "ประชาชีพ" (民生; people's livelihood) คือ ความอยู่สุขสวัสดีของผองชน การนำหลักการทั้งสามไปใช้นั้นก่ออิทธิพลและผลลัพธ์ที่เด่นชัดที่สุดเป็นการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไต้หวัน อนึ่ง มีการกล่าวอ้างว่า หลักการเหล่านี้เป็นดังเสาค้ำชาติไต้หวันที่พรรคชาตินิยม (國民黨) แบกไว้บนบ่า หลักการทั้งสามยังปรากฏในท่อนแรกของเพลงชาติสาธารณรัฐจีนด้วย หมวดหมู่:ทฤษฎีการเมือง หมวดหมู่:ปรัชญาสังคม หมวดหมู่:สาธารณรัฐจีน หมวดหมู่:ประเทศจีน.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและลัทธิไตรราษฎร์ · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

จู้อิน

ู้อินพื้นฐาน เทียบกับพินอิน จู้อิน หรือ จู้อินฝูเฮ่า (แปลว่า เครื่องหมายกำกับเสียง) เป็นระบบสัทอักษรสำหรับการถอดเสียงในภาษาจีน โดยเฉพาะภาษาจีนกลาง เป็นระบบกึ่งพยางค์ที่มีใช้อย่างกว้างขวางในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประกอบด้วยอักษร 37 ตัวและวรรณยุกต์ 4 ตัว ซึ่งเพียงพอที่จะใช้ถอดเสียงที่เป็นไปได้ในภาษาจีนกลาง ถึงแม้ว่าจู้อินจะถูกจัดว่าเป็นชุดตัวอักษร (alphabet) อย่างหนึ่ง ระบบนี้ก็ไม่ได้ประกอบด้วยพยัญชนะกับสระ แต่ประกอบด้วยต้นพยางค์ (syllable onset) กับสัมผัสพยางค์ (syllable rime) ระบบนี้มีพื้นฐานจากตารางสัมผัส (rime table) ของภาษาจีน แต่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritics) แทนเสียงวรรณยุกต์แยกออกจากเสียงสัมผัส ในฐานะชุดตัวอักษร พยัญชนะต้นพยางค์มีอักษรใช้แทน 21 ตัว ที่เหลือเป็นสระเดี่ยว สระประสม และสระที่มีพยัญชนะสะกดซึ่งใช้อักษรแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น luan จะเขียนเป็น ㄌㄨㄢ (l-u-an) ซึ่งอักษรตัวสุดท้ายใช้แทนสระที่มีพยัญชนะสะกด -an ทั้งชุด เป็นต้น (อย่างไรก็ตาม พยัญชนะสะกด -p, -t, -k ไม่มีการใช้ในภาษาจีนกลาง แต่มีในสำเนียงอื่น สามารถเขียนเป็นตัวห้อยของพยัญชนะเหล่านี้หลังเสียงสระแทน) ในภาษาพูดทุกวันนี้ จู้อินมักถูกเรียกว่า ปอพอมอฟอ (ㄅㄆㄇㄈ: bopomofo) ซึ่งเป็นอักษรชุดแรกในระบบนี้ เอกสารอย่างเป็นทางการในบางโอกาสจะเรียกว่า Mandarin Phonetic Symbols I (國語注音符號第一式) หรือย่อเป็น MPS I (注音一式) ซึ่งชื่อนี้ไม่ค่อยปรากฏการใช้ในภาษาอื่น เลขโรมันที่ปรากฏหลังชื่อมีไว้เพื่อแยกแยะออกจากระบบ MPS II ที่คิดค้นขึ้นในยุคเดียวกันแต่ไม่มีการใช้งานแล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและจู้อิน · ดูเพิ่มเติม »

ซุน ยัตเซ็น

นายแพทย์ ซุน ยัตเซ็น (12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1866 - 12 มีนาคม ค.ศ. 1925) เป็นนักปฏิวัติ และ ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "บิดาของชาติ" ในสาธารณรัฐจีน และ "ผู้บุกเบิกการปฏิวัติประชาธิปไตย" ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยความเป็นผู้ริเริ่มจีนชาตินิยมคนสำคัญ ซุนมีบทบาทสำคัญในจุดประกายการโค่นล้มราชวงศ์ชิงที่ปกครองแผ่นดินจีนเป็นราชวงศ์สุดท้ายและเกือบนำประเทศไปสู่ความหายนะ ซุนได้ปลุกกระแสให้ชาวจีนหันมาตระหนักถึงความล้มเหลวของราชวงศ์ชิง กระทั่งกลายเป็นกระแสต่อต้านราชวงศ์และนำไปสู่การปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเปลี่ยนประเทศจีนเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ซุนเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาลคนแรกเมื่อสาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและซุน ยัตเซ็น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

โดยพฤตินัย

ตินัย (De facto) หมายความว่า "by fact" หรือตามความเป็นจริง ซึ่งตั้งใจที่จะหมายความว่า "ในทางปฏิบัติหรือตามความเป็นจริง ที่อาจจะมิได้เป็นไปตามกฎหมายที่วางไว้" “โดยพฤตินัย” มักจะใช้คู่กับ “โดยนิตินัย” (de jure) เมื่อกล่าวถึงกฎหมาย, การปกครอง หรือวิธี (เช่นมาตรฐาน) ที่พบในประสบการณ์ที่สร้างหรือวิวัฒนาการขึ้นนอกเหนือไปจากในกรอบของกฎหมาย เมื่อใช้ในกิจการที่เกี่ยวกับกฎหมาย “โดยนิตินัย” จะหมายถึงสิ่งที่กฎหมายกำหนด และ “โดยพฤตินัย” ก็จะหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับวลี "for all intents and purposes" ("สรุปโดยทั่วไปแล้ว") หรือ "in fact" ("ตามความเป็นจริง") ในทางการปกครอง "de facto government" อาจจะหมายถึงรัฐบาลที่มีอำนาจปกครองที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นที่ยอมรับโดยนานาชาติว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นคำที่ใช้สถานการณ์ที่ไม่มีกฎหรือมาตรฐานแต่มีการปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและโดยพฤตินัย · ดูเพิ่มเติม »

โดยนิตินัย

นิตินัย (De jure) หมายความว่า "เกี่ยวกับกฎหมาย" ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่า “โดยพฤตินัย” (de facto) ("ในทางปฏิบัติหรือตามความเป็นจริง ที่อาจจะมิได้เป็นไปตามกฎหมายที่วางไว้") “โดยนิตินัย” เป็นคำที่ใช้ในทางกฎหมาย หรือ การปกครอง คำว่า de jure และ de facto ใช้แทนคำว่า "in principle" (ในทางมาตรฐาน) และ "in practice" (ในทางปฏิบัติ) ตามลำดับ ในบริบทของกฎหมาย de jure แปลว่า "ตามกฎหมาย" แต่สังคมอาจจะเลือกปฏิบัติ “โดยพฤตินัย” โดยไม่มีกฎหมายกำหนด กระบวนการที่เรียกว่า "กฎหมายล้าสมัย" (desuetude) อาจจะทำให้สิ่งที่ปฏิบัติโดยพฤตินัยมาแทนที่กฎหมายล้าสมัยได้ หรือในทางตรงกันข้ามสังคมอาจจะเลือกปฏิบัติ “โดยพฤตินัย” ตามความนิยมแม้ว่าจะมีกฎหมาย de jure ห้ามไม่ให้ทำ.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและโดยนิตินัย · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติ

ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ มักมีการใช้ภาพประกอบเพลงที่แสดงถึงความฮึกเหิมและปลุกใจให้รักชาติ (ตัวอย่างในที่นี้ เป็นภาพยนตร์เพลงชาติสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487) เพลงชาติ (National anthem) หมายถึง บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้น เพื่อปลุกเร้าให้หวนระลึกถึงหรือสรรเสริญประวัติศาสตร์ชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ หรือการต่อสู้ของชนในชาติ โดยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของชาตินั้น ๆ อย่างเป็นทางการ หรือความตกลงใจร่วมกันของประชาชนในชาติว่า เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติของตน ในหนังสือ "เพลงชาติ" โดย สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงความหมายของเพลงชาติไว้ 4 ประการ คือ.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและเพลงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน

กองทหารเกียรติยศ) เพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน (แปลตามตัวว่า "เพลงธงชาติ" ในภาษาอังกฤษรู้จักในชื่อ "National Banner Song") เป็นเพลงสำหรับใช้ในพิธีเชิญธงชาติสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ขึ้นสู่ยอดเสาและลงจากยอดเสาโดยเฉพาะ แต่เพลงนี้ไม่ใช่เพลงชาติของสาธารณรัฐจีนที่แท้จริง ประพันธ์คำร้องโดย ไต้ฉวนเซี่ยน (จีนตัวเต็ม: 戴傳賢; พินอิน: Dài Chúanxían) ผู้มีส่วนรวมในการเขียนบทร้องของเพลงชาติสาธารณรัฐจีน ทำนองโดย หวงจื้อ (จีนตัวเต็ม: 黃自; พินอิน: Huáng Zì) ในการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติเช่นกีฬาโอลิมปิก โดยที่สาธารณรัฐจีนต้องใช้ชื่อประเทศว่า "จีนไทเป" เพลงนี้ใช้เป็นเพลงสำหรับสาธารณรัฐจีนแทนที่เพลงชาต.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและเพลงธงชาติสาธารณรัฐจีน · ดูเพิ่มเติม »

เวด-ไจลส์

วด-ไจลส์ (Wade-Giles) หรือ เวยถัวหม่าพินอิน บางครั้งก็เรียกโดยย่อว่า เวด เป็นระบบถอดอักษรแบบถ่ายเสียงภาษาจีนกลางด้วยตัวอักษรโรมันใช้กันในปักกิ่ง พัฒนาจากระบบที่สร้างขึ้นโดย ทอมัส เวด (Thomas Wade) ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และปรากฏอยู่ในพจนานุกรมจีน-อังกฤษของ เฮอร์เบิร์ต ไจลส์ (Herbert Giles) ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและเวด-ไจลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจียง ไคเชก

ียง ไคเชก (Chiang Kai-shek; 31 ตุลาคม ค.ศ. 1887 — 5 เมษายน ค.ศ. 1975) หรือชื่อตามภาษาจีนมาตรฐาน คือ เจี่ยง จงเจิ้ง (蔣中正) หรือ เจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石) เป็นผู้นำจีน เจียงจบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยของญี่ปุ่นและกลับมาเป็นขุนศึกค้ำบัลลังก์ของซุน ยัตเซน ได้เป็นผู้นำของจีนระหว่าง..

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและเจียง ไคเชก · ดูเพิ่มเติม »

16 กรกฎาคม

วันที่ 16 กรกฎาคม เป็นวันที่ 197 ของปี (วันที่ 198 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 168 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและ16 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

24 มีนาคม

วันที่ 24 มีนาคม เป็นวันที่ 83 ของปี (วันที่ 84 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 282 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและ24 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

3 มิถุนายน

วันที่ 3 มิถุนายน เป็นวันที่ 154 ของปี (วันที่ 155 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 211 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เพลงชาติสาธารณรัฐจีนและ3 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Anthem of the Republic of ChinaNational Anthem of the Republic of ChinaNational anthem of TaiwanRepublic of China National AnthemZhōnghuá Míngúo gúogēเพลงชาติไต้หวัน中华民国国歌中華民國國歌

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »