สารบัญ
14 ความสัมพันธ์: การอักเสบการฉีดเข้าหลอดเลือดดำภูมิแพ้มะเร็งสเตอรอยด์องค์การอนามัยโลกผิวหนังอักเสบข้ออักเสบรูมาตอยด์ต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอปัสสาวะโรคกระดูกพรุนโรคภูมิต้านตนเองโรคหืดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
การอักเสบ
ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.
การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.
ดู เพรดนิโซโลนและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ภูมิแพ้
ูมิแพ้ (allergy) คือความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินของระบบภูมิคุ้มกัน อาการภูมิแพ้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตอบสนองต่อสสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งสารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองนั้นเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ โดยอาการตอบสนองต่อสารเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติแต่กำเนิด, สามารถคาดเดาได้ และไม่เรื้อรัง ภูมิแพ้เป็นหนึ่งในความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินและถูกเรียกในเชิงวิชาการว่า ประเภทที่หนึ่ง (type I) หรือ ประเภทเฉียบพลัน (immediate) อาการภูมิแพ้เหล่านี้เฉพาะเจาะจงเนื่องจากเกิดขึ้นโดยการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากเกินไป คือ แมสต์เซลล์ และเบโซฟิล โดยแอนติบอดีที่ชื่อว่า อิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) การกระตุ้นนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบซึ่งมีระดับตั้งแต่ทำให้ระคายเคืองไปจนถึงการเสียชีวิต ภูมิแพ้ระดับเบา เช่น เยื่อจมูกอักเสบ พบได้ทั่วไปในหมู่ประชากรของมนุษย์และก่อให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง, การคัน, น้ำมูกไหล, กลาก, ลมพิษ และหอบหืด ซึ่งภูมิแพ้นี้เองที่ในบางสถานการณ์อาจจะเป็นต้นเหตุสำคัญในอาการหอบหืด ในคนไข้บางราย อาการแพ้รุนแรงต่อสภาวะแวดล้อม, สารก่อภูมิแพ้ทางโภชนาการ หรือยาบางชนิด อาจส่งผลให้เกิดอาการตอบสนองที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่เรียกว่าแอนาฟิแล็กซิส นอกจากนี้อาการแพ้อาหารหรืออาการตอบสนองต่อพิษของการกัดต่อยจากแมลง เช่น ต่อและผึ้ง ก็มักเกี่ยวข้องกับอาการรุนแรงเหล่านี้ การทดสอบหลากหลายวิธีเพื่อวินิจฉัยอาการภูมิแพ้ เช่น การนำสารก่อภูมิแพ้ที่น่าจะเป็นไปได้ทาลงบนผิวหนังเพื่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาการบวม หรือการทดสอบเลือด ต่างก็สามารถช่วยให้ค้นพบสารก่อภูมิแพ้แบบเจาะจงที่เป็นอิมมูโนโกลบูลินอีได้ การรักษาภูมิแพ้ เช่น การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือการรับประทานยาต้านฮิสทามีน ก็สามารถป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้แบบเจาะจงได้ หรือไม่ว่าจะเป็นการรับสารสเตอรอยด์ซึ่งจะช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกัน และยาบรรเทาอาการคัดจมูกก็สามารถบรรเทาอาการแพ้ลงได้ ส่วนมากแล้วยาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้รับประทาน ยกเว้นอะดรีนาลินที่จำเป็นต้องรับผ่านทางการฉีดยา นอกจากนี้แล้วยังมีอีกวิธีคือการบำบัดด้วยสารก่อนภูมิแพ้ ซึ่งจะฉีดสารก่อนภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่ออาการแพ้นั้นได้เอง.
มะเร็ง
มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..
สเตอรอยด์
ตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน Steroid skeleton.
องค์การอนามัยโลก
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..
ดู เพรดนิโซโลนและองค์การอนามัยโลก
ผิวหนังอักเสบ
(Dermatitis หรือ Eczema) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ แล้วแต่ระยะของโร.
ดู เพรดนิโซโลนและผิวหนังอักเสบ
ข้ออักเสบรูมาตอยด์
ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis, RA) เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อของร่างกายเป็นหลัก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดที่ข้อต่อ ร่วมกับอาการบวมและร้อน อาการเจ็บปวดและตึงเหล่านี้มักเป็นมากขึ้นหากข้อต่อนั้นได้พัก มักเป็นที่ข้อต่อของมือและข้อมือ และมักเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง นอกจากข้อต่อแล้วยังสามารถแสดงอาการที่ระบบอื่นของร่างกายได้อีก เช่น เม็ดเลือดแดงต่ำ ปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วผู้ป่วยมักมีอาการไข้และอ่อนเพลียร่วมด้วย อาการเหล่านี้มักค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน หมวดหมู่:ข้ออักเสบ หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง หมวดหมู่:โรคของฟาสเชีย หมวดหมู่:โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน.
ดู เพรดนิโซโลนและข้ออักเสบรูมาตอยด์
ต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ
ต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอคือภาวะที่ต่อมหมวกไตส่วนนอกไม่สามารถผลิตฮอร์โมนสเตียรอยด์ โดยเฉพาะคอร์ติซอล ออกมาได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทั้งนี้อาจนับรวมถึงการที่ต่อมหมวกไตส่วนในไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (มิเนอราโลคอร์ติคอยด์) ออกมาได้เพียงพอด้วย ซึ่งอัลโดสเตอโรนมีหน้าที่ควบคุมปริมาณเกลือแร่โซเดียม โพแทสเซียม และสารน้ำ ในร่างกาย อาการอยากกินเกลือหรืออาหารรสเค็มเนื่องจากเสียโซเดียมไปกับปัสสาวะ เป็นอาการที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่ง ภาวะต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพออาจมีสาเหตุจากโรคได้หลายโรค เช่น โรคแอ็ดดิสัน และภาวะต่อมหมวกไตเจริญมากเกินแต่กำเนิด หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องรุนแรง อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ความดันเลือดต่ำ น้ำหนักลด ไตวาย พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง และอาจช็อกได้ โดยมักเรียกว่าภาวะวิกฤติต่อมหมวกไต (adrenal crisis) ซึ่งมักเกิดเมื่อร่างกายของผู้ป่วยต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอต้องเจอกับภาวะเครียด เช่น บาดเจ็บ รับการผ่าตัด ติดเชื้อรุนแรง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว นอกจากสาเหตุข้างต้นแล้วภาวะนี้ยังอาจเกิดจากการที่ไฮโปทาลามัสหรือต่อมพิทูอิทารีไม่สามารถสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของต่อมหมวกไตได้เพียงพอ ภาวะนี้เรียกว่าต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอแบบทุติยภูมิ (secondary adrenal insufficiency) ซึ่งอาจเกิดการที่ต่อมพิทูอิทารีสร้าง ACTH ได้ไม่เพียงพอ หรือไฮโปทาลามัสสร้าง CRH ได้ไม่เพียงพอ.
ดู เพรดนิโซโลนและต่อมหมวกไตทำงานไม่เพียงพอ
ปัสสาวะ
ตัวอย่างปัสสาวะมนุษย์ปัสสาวะ (ภาษาปากว่า ฉี่, เยี่ยว หรือ เบา) เป็นของเสียในรูปของเหลวที่ร่างกายขับถ่ายออกมาโดยไต ด้วยกระบวนการกรองจากเลือดและขับออกทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ (cellular metabolism) แล้วทำให้เกิดสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นของเสียจำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดออกจากกระแสเลือ.
โรคกระดูกพรุน
รคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่ลดความแข็งแรงของกระดูกและเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดกระดูกหัก โรคนี้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ ซึ่งมักเกิดกับกระดูกไขสันหลัง, กระดูกแขนท่อนปลายและกระดูกสะโพก โรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยต้องอาศัยการตรวจกระดูกเท่านั้นจึงจะทราบ ผู้ที่มีภาวะกระดูกหักจะมีอาการปวดเรื้อรังและสมรรถภาพการเคลื่อนไหวลดลง เพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้สูงกว่าเพศชาย มนุษย์เราจะมีมวลกระดูกมากที่สุดในวัยราว 35 ปี มวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆเมื่อพ้นวัยนี้ไป โรคกระดูกพรุนมีสาเหตุมาจากการมีมวลกระดูกที่ต่ำกว่าคนทั่วไป หรือการมีอัตราการเสื่อมของกระดูกที่เร็วกว่าคนทั่วไป อัตราการเสื่อมของกระดูกจะเพิ่มขึ้นในวัยหมดประจำเดือนของสตรี (ราว 40-50 ปี) จากการที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง โรคกระดูกพรุนอาจเกิดขึ้นจากเหตุหรือพฤติกรรมอื่นๆ อาทิ การติดสุรา, ภาวะเบื่ออาหาร, ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน, โรคกระเพาะอาหารและลำไส้, การรับศัลยกรรมผ่าตัดเอารังไข่ออก, โรคไต รวมถึงการสูบบุหรี.
ดู เพรดนิโซโลนและโรคกระดูกพรุน
โรคภูมิต้านตนเอง
โรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune disease) เกิดจากภาวะภูมิต้านตนเองที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดตอบสนองต่อสารหรือเนื้อเยื่อที่มีอยู่เป็นปกติในร่างกาย อาจเกิดกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง (เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบภูมิต้านตนเอง) หรือเนื้อเยื่อประเภทหนึ่งๆ ในบริเวณต่างๆ (เช่น กลุ่มอาการกูดปาสเจอร์ ที่เกิดภูมิต้านตนเองต่อชั้น basement membrane ของปอดและไต) ก็ได้ หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง.
ดู เพรดนิโซโลนและโรคภูมิต้านตนเอง
โรคหืด
รคหืด (asthma) เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอากาศหายใจที่พบบ่อย ลักษณะคือ มีอาการหลายอย่างแบบเป็นซ้ำ มีการอุดกั้นทางเดินอากาศหายใจและหลอดลมหดเกร็งแบบย้อนกลับได้ อาการทั่วไปมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอกและหายใจกระชั้น เชื่อว่าโรคหืดเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมผสมกัน การวินิจฉัยโดยปกติอาศัยรูปแบบของอาการ การตอบสนองต่อการรักษาตามเวลาและการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry) ในทางคลินิก จำแนกตามความถี่ของอาการ ปริมาตรการหายใจออกเบ่งใน 1 วินาที (FEV1) และอัตราการไหลหายใจออกสูงสุด (peak expiratory flow rate) โรคหืดยังอาจจำแนกเป็นภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (atopic) หรือภายนอก (extrinsic) หรือไม่ใช่ภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (non-atopic) หรือภายใน (intrinsic) โดยภูมิแพ้กรรมพันธุ์หมายถึงความไวแฝงรับโรค (predisposition) ต่อการเกิดปฏิกิริยาไวเกินชนิดที่ 1 การรักษาอาการเฉียบพลันโดยปกติใช้ตัวทำการบีตา-2 ที่ออกฤทธิ์สั้นแบบสูด (inhaled short-acting beta-2 agonist) เช่น ซัลบูทามอล และคอร์ติโคสเตอรอยด์ทางปาก ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก อาจต้องใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์ แมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ และให้เข้าโรงพยาบาล อาการสามารถป้องกันได้โดยการเลี่ยงตัวกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้และยาระคาย และโดยการใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูด ตัวทำการบีตาที่ออกฤทธิ์ยาว (LABA) หรือสารต้านลิวโคไตรอีน (antileukotriene) อาจใช้เพิ่มเติมจากคอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูดหากยังควบคุมอาการโรคหืดไม่ได้ การเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ในปี 2554 มีผู้ได้รับวินิจฉัยเป็นโรคหืดทั่วโลก 235–300 ล้านคน และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 250,000 คน ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศกำลังพัฒนา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก ประวัติศาสตร์ของโรคหืดมีย้อนไปถึงสมัยอียิปต์โบราณ.
โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
รคมัลติเพิล สเกลอโรซิส (multiple sclerosis, MS, disseminated sclerosis, encephalomyelitis disseminata) เป็นโรคซึ่งทำให้มีการทำลายปลอกไมอีลินซึ่งหุ้มใยประสาทของสมองและไขสันหลังเอาไว้ ทำให้ใยประสาทไม่มีปลอกไมอีลินหุ้ม เกิดเป็นเนื้อเยื่อแผลเป็น และมีอาการและอาการแสดงอื่นๆ ตามมา ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และมักพบในเพศหญิง มีความชุกอยู่ระหว่าง 2 - 150 ต่อ 100,000 ประชากร โดยพบครั้งแรกเมื่อ..
ดู เพรดนิโซโลนและโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Prednisolone