โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์

ดัชนี เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์

ต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์ เป็นการแข่งขันโหวตตัวละครการ์ตูนในอะนิเมะที่มีความโมะเอะมากที่สุด โดยเป็นการโหวตแบบออนไลน์ จัดโดยเว็บบอร์ด aenijon ในประเทศเกาหลี เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์จะแบ่งการแข่งขันออกเป็นสองประเภท คือประเภทตัวละครหญิงและตัวละครชาย ประเภทตัวละครหญิงจัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) และประเภทตัวละครชายจัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550).

26 ความสัมพันธ์: ชานะ นักรบเนตรอัคคีฟุล เมทัล พานิก!พ.ศ. 2549พ.ศ. 2550พ.ศ. 2551มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้องรายชื่อตัวละครในลักกีสตาร์รายชื่อตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบานรายชื่อตัวละครในแคลนนาดรายชื่อตัวละครในแคนอนลักกีสตาร์สกูลรัมเบิ้ล สูตรรักฉบับนักเรียนสาวน้อยจอมเวท นาโนฮะสึซึมิยะ ฮารุฮิอะนิเมะอาเรียฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบานคาน่อนซาวาจิกะ เอริประเทศเกาหลีแคลนนาด (วิชวลโนเวล)โมะเอะโรเซ่น ไมเด้นโทซากะ รินโค้ด กีอัส

ชานะ นักรบเนตรอัคคี

นะ นักรบเนตรอัคคี เป็นนิยายแบบไลท์โนเวลที่แต่งโดย ยาชิจิโร ทากาฮาชิ และวาดภาพประกอบโดย โนอิจิ อิโต ต่อมาได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นหนังสือการ์ตูน อะนิเมะ และดราม่าซีดี ตัวเอกของเรื่องคือ ซาคาอิ ยูจิ และ ชานะ ซึ่งถูกเรียกว่า "มือสังหารเกศาเพลิงเนตรอัคคี" ในประเทศไทย ชานะ นักรบเนตรอัคคี ฉบับนิยาย ได้ลิขสิทธิ์ตีพิมพ์โดย บลิส พับลิชชิ่ง (อยู่ในหมวด J-Light) แปลโดย กมลวรรณ สงวนสิริกุล และ ชนินันท์ กิตติปฏิมาคุณ ฉบับหนังสือการ์ตูนได้ลิขสิทธิ์โดย สยามอินเตอร์คอมิกส์ ส่วนฉบับอะนิเมะซีซันแรกได้ลิขสิทธิ์โดย อามีโก้ ใช้ชื่อภาษาไทยว่า เนตรเพลิงชานะ และอะนิเมะซีซันสองและสามได้ลิขสิทธิ์โดย โรส แอนิเมชัน.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และชานะ นักรบเนตรอัคคี · ดูเพิ่มเติม »

ฟุล เมทัล พานิก!

ฟุล เมทัล พานิก! เป็นนิยายวิทยาศาสตร์แนวแอคชัน แต่งโดย โชจิ กาโต ลงตีพิมพ์ในนิตยสารดรากอนแม็กกาซีนรายเดือน ของบริษัทฟุจิมิโชะโบ มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับ โซสุเกะ ซาการะ ทหารหนุ่มแห่งกองกำลังพิทักษ์ความสงบสุขของโลกชื่อ มิทริล ที่ถูกส่งไปเป็นองครักษ์ของ จิโดริ คานาเมะ สาวน้อยอารมณ์ร้ายผู้กำความลับสู่เทคโนโลยีอาวุธสงครามอันร้ายกาจ เนื้อเรื่องของ ฟุล เมทัล พานิก! มีจุดเด่นคือการผสมผสานมุขตลก ชีวิตนักเรียนญี่ปุ่น และฉากต่อสู้ที่ตื่นเต้น ได้อย่างลงตัว ฟุล เมทัล พานิก! ถูกนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนมาแล้วถึง 3 ภาค (บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะภาพยนตร์การ์ตูนภาคแรก ซึ่งใช้ชื่อเดียวกันกับนิยาย) และเป็นหนังสือการ์ตูน 1 เรื่อง เพลงภาคแรก Tomorrow เพลงภาคเสริม Minami Kaze เพลงภาคสอง Sore Ga Ai Deshou.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และฟุล เมทัล พานิก! · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2551

ทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และพ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์

มหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ หรือ เฟท/สเตย์ ไนท์ เป็นเอโรเกะ สร้างโดยไทป์-มูน วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 2547 ต่อมา สตูดิโอดีน ได้นำไปทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนฉายทางโทรทัศน์ โดยมีเจเนออนเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 6 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2549 นอกจากนี้ในปี 2550 ไทป์-มูน ได้นำมหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์มาสร้างใหม่สำหรับเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 ภายใต้ชื่อ "เฟท/สเตย์ ไนท์ " โดยตัดเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้เยาว์ออกทั้งหมด เฟท/สเตย์ ไนท์ ยังถูกดัดแปลงเป็นมังงะ ซึ่งในขณะนี้กำลังตีพิมพ์ลงในนิตยสารโชเน็นเอซ ฉบับรายเดือน.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และมหาสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง

มเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง หรือ แว่วเสียงเรไร (Higurashi When They Cry) เป็นเกมนิยายภาพโดจินชิ แต่งและสร้างโดย 07th Expansion หรือ ริวคิชิ 07 (Ryukishi 07) ในปัจจุบันถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนโดยสตูดิโอดีน ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และยามเมื่อเหล่าจักจั่นกรีดร้อง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในลักกีสตาร์

ทความนี้เป็นบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับรายชื่อตัวละครใน มังงะ, วิดีโอเกม และ อะนิเมะ จากญี่ปุ่น เรื่อง ลักกี้☆สตาร.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และรายชื่อตัวละครในลักกีสตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน

ตัวละครจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน หมายเหตุ: ชื่อและข้อมูลที่เป็นเสียงภาษาญี่ปุ่น จะอิงจากการออกเสียงของอะนิเมะ ฉบับต้นฉบับโดยรวม ไม่อิงจากการแปลของมังงะ และเสียงพากย์ภาษาไท.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และรายชื่อตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในแคลนนาด

ตัวละครหญิงในแคลนนาด: โทโมโยะ (บน-ซ้าย), โคโตมิ (บน-ขวา), นางิสะ (กลาง), ฟูโกะ (ล่าง-ซ้าย) และเคียว (ล่าง-ขวา) ตัวละครในเกมคอมพิวเตอร์ มังงะ และอะนิเมะเรื่อง แคลนน.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และรายชื่อตัวละครในแคลนนาด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในแคนอน

ตัวละครหญิงในคาน่อน: ไม (บน-ซ้าย), นายูกิ (บน-กลาง), ชิโอริ (บน-ขวา), มาโคโตะ (ล่าง-ซ้าย) และอายุ (ล่าง-ขวา) ตัวละครในเกมคอมพิวเตอร์ มังงะ และอะนิเมะเรื่อง คาน่อน.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และรายชื่อตัวละครในแคนอน · ดูเพิ่มเติม »

ลักกีสตาร์

ลักกีสตาร์ (Lucky Star รวมไปถึงการสะกดแบบอื่น, อาจมี เดอะ (The) นำหน้า, หรือในรูปพหูพจน์) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และลักกีสตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สกูลรัมเบิ้ล สูตรรักฉบับนักเรียน

กูลรัมเบิ้ล สูตรรักฉบับนักเรียน เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวตลก แต่งเรื่องและวาดภาพโดยจิน โคบายาชิ ปัจจุบันกำลังถูกตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นแม็กกาซีนรายสัปดาห์และแม็กกาซีนสเปเชียลในประเทศญี่ปุ่น และถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนออกแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ทีวีโตเกียวตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2547 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2548 นอกจากนี้ยังมีโอวีเอความยาวสองตอนหนึ่งชุด วิดีโอเกมสำหรับเครื่อง เพลย์สเตชัน 2 หนึ่งเกม และละครเวทีภายใต้ชื่อเดียวกันอีกหนึ่งเรื่อง.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และสกูลรัมเบิ้ล สูตรรักฉบับนักเรียน · ดูเพิ่มเติม »

สาวน้อยจอมเวท นาโนฮะ

วน้อยจอมเวท นาโนฮะ (Magical girl lyrical Nanoha) เป็นอะนิเมะของประเทศญี่ปุ่น แนวสาวน้อยเวทมนตร์ ซึ่งประกอบไปด้วย จอมเวท อุปกรณ์ใช้เวท และเวทมนตร์ ผลงานของบริษัทเซเวนอากส์ (Seven Arcs) กำกับโดย อากิยูกิ ชินโบ เริ่มฉายผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และสาวน้อยจอมเวท นาโนฮะ · ดูเพิ่มเติม »

สึซึมิยะ ฮารุฮิ

ึซึมิยะ ฮารุฮิ เป็นชื่อเรียกนิยายชุดหนึ่ง แต่งโดย นาการุ ทานิกาวะ และวาดภาพประกอบโดย โนอิจิ อิโต ลงตีพิมพ์ในนิตยสารสนีกเกอร์ส ในประเทศญี่ปุ่น นิยายชุด สึซึมิยะ ฮารุฮิ ได้รับการดัดแปลงเป็นมังงะลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นเอซ จากนั้นได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ชิบะ ในปี พ.ศ. 2549 และนำมาฉายซ้ำพร้อมกับฉายตอนที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในปี พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ยังนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนตอนยาวออกฉายในปี พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และสึซึมิยะ ฮารุฮิ · ดูเพิ่มเติม »

อะนิเมะ

รูปแบบอะนิเมะในปัจจุบัน อะนิเมะ (「アニメ」 anime) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้ว.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และอะนิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

อาเรีย

อาเรีย (Aria) เป็นบทร้องเดี่ยว สำหรับให้ตัวละครเพียงตัวเดียวร้องในการแสดงอุปรากร โดยมีดนตรีจากวงออร์เคสตราเป็นส่วนประกอบ เป็นบทร้องที่เต็มไปด้วยลีลาของดนตรีที่งดงาม เน้นการร้องและดนตรีเป็นหลัก ต่างจากรีซิเททีฟ (Recitative) ที่ใช้แทนการสนทนา อาเรีย มีรากศัพท์มาจากภาษาอิตาลี แปลว่า "air" คำพหูพจน์ใช้คำว่า arie หรือ arias ปรากฏครั้งแรกในการแสดงอุปรากรในคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และอาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน

ตะ พ่อบ้านประจัญบาน (Hayate the Combat Butler) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวตลกและต่อสู้ แต่งเรื่องและวาดภาพโดย เค็นจิโร ฮะตะ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กหนุ่มผู้ขยันขันแข็งนามว่า "อายาซากิ ฮายาเตะ" แต่มีพ่อแม่ที่เอาแต่เล่นการพนัน จนเป็นหนี้และชดใช้โดยการขายลูกชายให้พวกมาเฟีย แต่จับพลัดจับผลูไปเจอกับ "ซันเซนอิง นางิ" คุณหนูของตระกูลอภิมหาเศรษฐี จนได้มาเป็นพ่อบ้านตระกูลซันเซนอิงเพื่อใช้หนี้ ปัจจุบันตีพิมพ์ลงในนิตยสาร โชเน็งซันเดย์ ในญี่ปุ่นโดยสำนักพิมพ์โชงะกุกัง และ นีออซ ในไทยโดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และมีจำหน่ายในรูปของเกมบนเครื่องนินเทนโดดีเอส 2 เกม, เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล 1 เกม และนิยายอีก 4 เล่มด้วย สำหรับอะนิเมะนั้น ในไทยได้ลิขสิทธิ์ไปโดยโรส แอนิเมชันสำหรับภาคแรก จุดเด่นสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ การที่นางเอกและพระเอกเข้าใจผิดกันได้เป็นเวลานานมาก และการที่ผู้เขียนนิยมเอาอะนิเมะหรือมังงะเรื่องอื่นๆ มาเขียนล้อเลียนประกอบในเรื่องแทบทุกตอนนั่นเอง.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน · ดูเพิ่มเติม »

คาน่อน

น่อน เป็นเกมคอมพิวเตอร์แนววิชวลโนเวลที่สร้างโดยคีย์ ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2542 โดยเกมเวอร์ชันแรกนี้เป็นเกมสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และถูกจัดว่าเป็นเกมสำหรับผู้เล่นอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ต่อมาได้มีการออกเกมเวอร์ชันที่สามารถเล่นได้ทุกวัยมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2543 และได้มีเวอร์ชันดังกล่าวสำหรับเครื่องเล่นอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ ดรีมแคสต์ เพลย์สเตชัน 2 และเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล เกม คาน่อน แบบมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ออกจำหน่ายเป็นแผ่นดีวีดีในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ประกอบด้วยเวอร์ชันสำหรับผู้ใหญ่ และเวอร์ชันที่เล่นได้ทุกวัย ทั้งสองเวอร์ชันรองรับในวินโดวส์ 2000 และวินโดวส์เอกซ์พี เนื้อหาของเกมมีลักษณะเป็นการดำเนินเรื่องไปตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้ โดยผู้เล่นจะสามารถตัดสินใจเลือกดำเนินเรื่องไปตามตัวเลือกต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอในแต่ละครั้งได้ เนื้อเรื่องในตอนจบจะแยกออกเป็น 5 ฉากหลัก แต่ละฉากจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับตัวละครหญิงแต่ละตัว เป็นที่เชื่อกันว่าชื่อของเกมนี้อาจนำมาจากชื่อของเพลงคาน่อน ซึ่งภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์เรื่องที่สองที่สร้างขึ้นจากเกมนี้ก็ได้นำเพลง "คาน่อน ในบันไดเสียงดีเมเจอร์" ของพาเคลเบลมาใช้เป็นดนตรีประกอบในเรื่องด้วย ได้มีการนำเกม คาน่อน มาสร้างเป็นสื่ออื่น ๆ จำนวนมาก ได้แก่ ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์จำนวน 2 เรื่อง โดยเรื่องแรกจัดทำโดยโตเอแอนิเมชัน มีทั้งหมด 13 ตอน ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมพ.ศ. 2545 และรวมถึงโอวีเออีกหนึ่งตอน ซึ่งออกฉายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 และเรื่องที่สองจัดทำโดยเกียวโตแอนิเมชัน มีทั้งหมด 24 ตอน ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 และยังได้มีการนำไปสร้างเป็น ไลท์โนเวล ดรามาซีดี และหนังสือการ์ตูนจำนวน 2 เล่ม.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และคาน่อน · ดูเพิ่มเติม »

ซาวาจิกะ เอริ

ซาวาจิกะ เอริ เป็นหนึ่งในตัวละครจาก หนังสือ/ภาพยนตร์การ์ตูน เรื่องสกูลรัมเบิ้ล สูตรรักฉบับนักเรียน.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และซาวาจิกะ เอริ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลี

แผนที่ประเทศเกาหลีก่อนที่จะถูกแบ่งออกเป็นเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ ธงรวมเกาหลี ธงสัญลักษณ์ร่วมสำหรับเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในการแข่งขันกีฬานานาชาตินับตั้งแต่ ค.ศ. 1994 ประเทศเกาหลี (한국 หรือ 조선, ฮันกุก หรือ โชซ็อน) เป็นอดีตประเทศ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็นประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และประเทศเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

แคลนนาด (วิชวลโนเวล)

แคลนนาด (Clannad) เป็นชื่อเกมประเภทวิชวลโนเวล (visual novel) ซึ่งบริษัทคีย์ (Key) ผลิตขึ้นและเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2547 สำหรับเล่นบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการของวินโดวส์ ต่อมาจึงพัฒนาให้เล่นกับเพลย์สเตชัน 2, เพลย์สเตชันแบบพกพา, เอกซ์บอกซ์ 360 และเพลย์สเตชัน 3 ได้ด้วย เกมนี้เป็นผลงานลำดับที่สามของคีย์ถัดจาก แอร์ (Air) และ แคนอน (Kanon) ตามลำดับ แต่ต่างกันตรงที่เกมทั้งสองนั้นเมื่อแรกประกอบไปด้วยเนื้อหาลามกอนาจารมุ่งเร้ากำหนัดเป็นสำคัญ ต่อภายหลังจึงทำฉบับที่ปราศจากสื่อดังกล่าววางจำหน่ายในตลาดผู้เยาว์ ขณะที่เกมนี้ไม่มีเนื้อหาทำนองเช่นว่ามาแต่ต้น และได้รับการจัดประเภทว่าเหมาะสมสำหรับทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ดี ภายหลังได้ออกตอนพิเศษของเกมนี้โดยมีเนื้อหาเร้ากามารมณ์ ชื่อ โทะโมะโยะอาฟเตอร์: อิตส์อะวันเดอร์ฟูลไลฟ์ (Tomoyo After: It's a Wonderful Life) เกมนี้ว่าด้วยชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งต้องพบปะกับผู้คนมากหน้าหลายตาตั้งแต่เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไปจนถึงเติบใหญ่ทำมาหาเลี้ยงชีพ และต้องช่วยเหลือคนเหล่านั้นแก้ไขปัญหาเป็นรายไป เนื้อหาแบ่งเป็นสององก์ต่อเนื่องกัน องก์แรกเรียก "ชีวิตวัยเรียน" (School Life) และองก์ที่สองเรียก "เรื่องราวให้หลัง" (After Story) แรกจำหน่าย ฉบับเล่นบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นขายดีเป็นอันดับหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ในเวลาต่อมาก็ติดอันดับเกมห้าสิบเกมที่ขายดีที่สุดในประเทศอีกหลายครั้ง เกมนี้ได้รับการดัดแปลงเป็นสื่ออื่น ๆ อีกจำนวนมาก ได้แก่ มังงะสี่ชุด ชุดแรกลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสาร คอมิกรัช (Comic Rush) ชุดสองลง คอมิกดิจิ + (Comi Digi +) ชุดสามลง เด็งเงะกิจีส์แมกาซีน (Dengeki G's Magazine) และชุดสี่ลง แดรก็อนเอจเพียวร์ (Dragon Age Pure) นอกจากนี้ ยังมีประชุมการ์ตูน ไลท์โนเวล สมุดภาพ ละครเสียง และอัลบัมเพลงอีกหลายชุด ต่อมาบริษัทโทเอแอนิเมชัน (Toei Animation) ดัดแปลงเป็นอะนิเมะโรง เข้าฉาย ณ วันที่ 15 กันยายน 2550 เป็นวันแรก และบริษัทเกียวโตแอนิเมชัน (Kyoto Animation) ดัดแปลงเป็นอะนิเมะโทรทัศน์จำนวนสองฤดูกาล สี่สิบเจ็ดตอน กับโอวีเอ (original video animation) อีกสองตอน เผยแพร่ในระหว่างปี 2550 ถึง 2553 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันมากทั้งในประเทศและต่างประเท.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และแคลนนาด (วิชวลโนเวล) · ดูเพิ่มเติม »

โมะเอะ

มะเอะ เป็นศัพท์สแลงในภาษาญี่ปุ่น มีความหมายถึงความรักความชอบหรืออารมณ์ทางเพศที่มีต่อตัวละครในมังงะ อะนิเมะ หรือวิดีโอเกม ที่มาของคำว่า "โมะเอะ" ไม่แน่ชัด บางที่กล่าวว่ามาจากชื่อตัวละครในการ์ตูนญี่ปุ่น (เช่น โทโมเอะ โฮตารุ จากเรื่อง เซเลอร์มูน หรือ ซางิซาวะ โมเอะ จากเรื่อง Kyoryu Wakusei) ในขณะที่บางแห่งกล่าวว่า เกิดจากการเล่นคำจากคำว่า "โมะเอะรุ" ที่แปลว่า "เผาไหม้" กล่าวคือตัวละครที่เป็นโมะเอะทำให้เกิด "เพลิงพิศวาส" ขึ้นในใจของผู้ชมนั่นเอง ทะมะกิ ไซโต (Saitou Tamaki) นักจิตวิทยาผู้ศึกษาพฤติกรรมของโอะตะกุ (บุคคลที่คลั่งไคล้การ์ตูน) เห็นว่าโมะเอะมีความหมายตรงตัว แปลว่าการ "แตกหน่อ" หรือ "แรกงอก" ของพืช ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับคนจะหมายถึงตัวละครเด็กวัยกระเตาะ (มักเป็นผู้หญิง) ที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ ต้องพึ่งพาคนอื่น ทำให้ผู้ชมการ์ตูนอยากปกป้องดูแล จนถึงขั้นหลงรักได้ในที.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และโมะเอะ · ดูเพิ่มเติม »

โรเซ่น ไมเด้น

รเซ่น ไมเด้น (Rozen Maiden) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ผลงานของ Peach-Pit จากผู้วาดเรื่อง Dears, ZOMBIE-LOAN, Shugo Chara, Shugo Chara Doki และ Shugo Chara Party! โดยผู้วาดเรื่อง Rozen Maiden ชิบุโกะ เอบาระ โดยลงในนิตยสารการ์ตูน BIRZ โรเซ่น ไมเด้น ได้รับการดัดแปลงเป็นอะนิเมะหลายภาค อะนิเมะสองภาคแรกแปลงมาจากมังงะชุดแรก มีโอวีเอตอนพิเศษ "Ouvertüre" มีเนื้อเรื่องเล่าปูมหลังของตัวละครในเรื่อง และนอกจากนี้ยังมีตอน "Duell Walzer OVA" ซึ่งเป็นการ์ตูนที่มีอยู่ในเรื่องนี้ โดยในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการฉายภาคต่อ "Zurückspulen" ซึ่งกำลังฉายอยู่ในปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และโรเซ่น ไมเด้น · ดูเพิ่มเติม »

โทซากะ ริน

ทซากะ ริน ตัวละครจากเกมซาวนด์โนเวลของ ไทป์-มูน และการ์ตูนเรื่อง เฟท/สเตย์ ไนท์ เป็นนักเรียนดีเด่นและดาวประจำโรงเรียนที่ชิโร่ศึกษาอยู่ ฉากหน้าเธอเป็นนักเรียนดีเด่นคนหนึ่ง แต่เบื้องหลังเธอเป็น 1 ในจอมเวทย์ทั้ง 7 ที่มาเข้าร่วมสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 5 ทีมีสายเลือดตระกูลจอมเวทย์ติดตัวอยู่ เธอมีความรู้ความสามารถในเชิงเวทย์เป็นอย่างมาก และสามารถใช้เวทมนตร์ได้อย่างคล่องแคล่วและเฉียบขาด พ่อของเธอเสียชีวิตในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 4 เธอจึงตั้งใจฝึกฝนการใช้เวทมนตร์สืบต่อจากเขา ในสงครามจอกศักดิ์สิทธิ์ครั้งที่ 5 เธอพยายามที่จะอัญเชิญข้ารับใช้สายเซเบอร์ออกมา แต่ในระหว่างการอัญเชิญ เกิดความผิดพลาด ทำให้ข้ารับใช้ที่เธออัญเชิญมานั้นเป็นสายอาเชอร์แทน วันเกิดของเธอคือวันที่ 2 กุมภาพันธ์ กรุ๊ปเลือด O ในช่วงของ เฟท/ซีโร่ เธอสูง 124 ซม.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และโทซากะ ริน · ดูเพิ่มเติม »

โค้ด กีอัส

้ด กีอัส(CODE GEASS) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นสร้างโดยบริษัทซันไรส์ กำกับโดยโกะโร ทะนิงุชิ เขียนบทโดยอิชิโร โอโกชิ และออกแบบตัวละครโดยแคลมป์ โดยโฟกัสไปที่ ทำอย่างไรที่อดีตเจ้าชาย ลูลูช วี บริทาเนีย ซึ่งได้พลังเหนือธรรมชาติอย่างกีอัสมาครอบครอง จะใช้พลังที่ได้รับมาอย่างไรเพื่อทำลายจักรวรรดิบริทาเนียอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นชาติอภิมหาอำนาจที่แผ่ขยายอาณาเขตอย่างไพศาลให้สิ้นซาก ภาคแรกมีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช เริ่มออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นระหว่าง 5 ตุลาคม 2549 ถึง 28 กรกฎาคม 2550 และภาคที่สองที่มีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการปฏิวัติของลูลูช R2 ออกอากาศระหว่าง 6 เมษายน 2551 ถึง 28 กันยายน 2551 จากกระแสตอบรับที่ล้นหลามทำให้เกิดเป็นมังงะและไลต์โนเวลออกมาอีกจำนวนมากซึ่งมีเนื้อเรื่องแยกจากฉบับอะนิเมะ ในมหกรรมฉลองครบรอบ 10 ปีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2559 อะนิเมะเรื่องนี้จะถูกทำเป็นฉบับไตรภาค โดยภาคที่สามมีชื่อว่า โค้ด กีอัส ภาคการฟื้นคืนของลูลูช ซึ่งจะเป็นเหตุการณ์ไม่กี่ปีหลังจากภาคก่อนหน้า ผู้กำกับได้ออกมาเปิดเผยว่าในภาคใหม่นี้ก็จะยังคงมีลูลูชตัวเป็นๆเป็นตัวละครเอก อะนิเมะเรื่องนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลก เฉพาะในญี่ปุ่นสามารถขาย DVD และ Blu-ray ได้มากกว่าล้านแผ่น และยังชนะรางวัลมากมายในมหกรรมต่างๆอย่าง งาน Tokyo International Anime Fair, งาน Animage Anime Grand Prix และงาน Animation Kobe.

ใหม่!!: เบสต์โมะเอะทัวร์นาเมนต์และโค้ด กีอัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เบสท์โมเอะทัวร์นาเมนต์เบสต์โมเอะทัวร์นาเมนต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »