สารบัญ
21 ความสัมพันธ์: พระพรตพระกฤษณะพระรามพระลักษมีพระลักษมณ์พระวราหะพระวิษณุพระสัตรุดพระแม่ภูมีมณฑปวิหารสวนพฤกษศาสตร์หักกาลาหนุมานปรศุรามประตูประเทศศรีลังกานรสิงห์นางสีดาโบสถ์พราหมณ์เทวรูปเทวสถาน
- โบสถ์ศักติ
พระพรต
ระพรต เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีกายสีแดง (คือจักรแก้วของพระนารายณ์ที่อวตารลงมาพร้อมกับพระราม) เป็นโอรสของท้าวทศรถกับพระนางไกยเกษี คำว่า "พรต" มีความหมายว่า "พระ" (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งเมืองอโยธยา).
พระกฤษณะ
ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย วัดพระศรีมหามาริอัมมันที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งองค์ พระกฤษณะ (कृष्णLord Krishna) เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณ.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและพระกฤษณะ
พระราม
ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.
พระลักษมี
รูปปั้นนูนสูงของพระแม่ลักษมีประดับเทวสถานมุนีศวรัม ประเทศศรีลังกา เทวรูปพระลักษมีสำริด ศิลปะโจฬะ อินเดียใต้ พระลักษมี (ลกฺษฺมี) หรือ พระมหาลักษมี เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพของพระแม่ลักษมีนั้นนอกจากจะพบในศาสนสถานของศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบในศาสนสถานของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ ในบางแห่งอีกด้วย พระลักษมีนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับเทพีของกรีกองค์หนึ่ง คือเทพีอะโฟร์ดิตี้ โดยที่เทพีทั้งสองนี้ ถือกำเนิดจากมหาสมุทรเหมือนกัน และเป็นตัวแทนของความสวยงามเหมือนกันอีกด้วย นอกจากนั้น พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร น้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา (พระธิดาแห่งพระสมุทร) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤๅษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพ ด้วย พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว พระแม่ลักษมี เป็นชายาของ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์ กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนัก.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและพระลักษมี
พระลักษมณ์
ระลักษมณ์ (พงศ์นารายณ์ - วงศ์กษัตริย์แห่งกรุงอโยธยา) เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ พระลักษมณ์ คือพญาอนันตนาคราชที่ประทับของพระนารายณ์และสังข์ของพระนารายณ์มาเกิด เป็นโอรสของท้าวทศรถและนางสมุทรชา มีพระวรกายสีเหลืองดั่งทองทา มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสัตรุด พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง 14 ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญหลายครั้งหลายหน ทรงเคียงคู่พระรามเสมอ ในระหว่างเกิดศึกกรุงลงกา และเมื่อพระรามต้องเสด็จเดินดงเป็นครั้งที่สอง ก็ได้ทูลขอเสด็จตามไปด้วยอีก ทรงร่วมผจญหมู่มารและเหล่าศัตรูเคียงคู่พระรามหลายครั้งหลายครา พระลักษมณ์เคยได้ไปร่วมพิธียกธนูโมลีที่มิถิลา ได้ยกศรก่อนพระราม เมื่อจับศรแล้วศรขยับ แต่แกล้งทำเป็นยกไม่ได้ เพราะรู้ว่าพระรามหลงรักนางสีดาตั้งแต่แรกเห็น อีกทั้งพระลักษมณ์ก็ไม่ได้รักนางสีดาแบบชู้สาว จึงเปิดโอกาสให้พระราม พระรามจึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา ในระหว่างศึกสงคราม พระลักษมณ์ได้ออกรบจนถูกอาวุธได้รับบาดเจ็บเกือบสิ้นพระชนม์ถึง 5 ครั้ง จากหอกโมกขศักดิ์ของกุมภกรรณ ศรนาคบาศกับศรพรหมาสตร์ของอินทรชิต หอกแก้ววราวุธของมูลพลัม และหอกกบิลพัทของทศกัณฐ์ แต่ฝีมือก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ได้สังหารกุมภกาศ อินทรชิต มูลพลัม จิตรไพรี ทศคีรีวัน ทศคีรีธร พระนามของพระลักษมณ์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าผู้มีเครื่องหมายอันเป็นมงคล หรือผู้ที่มีลักษณะดี.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและพระลักษมณ์
พระวราหะ
ประติมากรรมลอยองค์ขนาดใหญ่ของพระวราหะในลักษณะหมูป่าทั้งองค์ ที่ขชุราโห ประเทศอินเดีย พระวราหะ (lord Varaha) หรือ วราหะอวตาร(Varaha avatar) คือเทวดาองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู เป็นอวตารของพระวิษณุ โดยปรากฏตามเนื้อเรื่องในคัมภีร์ปุราณะ อุปนิษัท และคัมภีร์อื่น ๆ ในศาสนาฮินดู มีกายเป็นมนุษย์ แต่ศีรษะเป็นหมูป่า หรือปรากฏองค์เป็นหมูป่าทั้งอง.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและพระวราหะ
พระวิษณุ
ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและพระวิษณุ
พระสัตรุด
ระสัตรุดคือคทาของพระนารายณ์อวตารลงมาพร้อมกับพระองค์ พระสัตรุดเป็นโอรสของท้าวทศรถ บิดาของพระราม กับพระนางสมุทรชา เป็นพระอนุชาฝาแฝดของพระลักษมณ์ เป็นจอมทัพร่วมกับพระพรตผู้เป็นพระเชษฐา ตอนศึกกรุงลงกาครั้งที่ 2และศึกเมืองมลิวัน ภายหลังได้เป็นเจ้าอุปราชแห่งเมืองไกยเกษ แม้พระสัตรุดจะเป็นพระอนุชาร่วมพระมารดากับพระลักษมณ์ คือ นางสมุทรชา แต่ทั้งในรามายณะของอินเดียและรามเกียรติ์ของไทย ก็มักกล่าวถึงพระสัตรุดคู่ไปกับพระพรต และกล่าวถึงพระรามคู่กับพระลักษมณ์ ในรามเกียรติ์ตอนต้นจนถึงตอนกลางเรื่อง พระสัตรุดมีบทบาทน้อย แต่มีบทบาทมากขึ้นในตอนท้ายเรื่อง พระนามพระสัตรุดในรามเกียรติ์เขียน สัตรุด แต่ในรามายณะ เขียน ศตฺรุฆฺน (อ่านว่า สะ -ตฺรุ-คฺนะ) แปลว่า ผู้สังหารศัตรู.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและพระสัตรุด
พระแม่ภูมี
ระแม่ภูมี (भूमि; Bhūmi) หรือ พระแม่ภู เป็นพระเทวีแห่งโลก ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดู ในฐานะชายาองค์ที่สองของพระวิษณุ ซึ่งเป็นธิดาองค์ที่3ของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา แล้วยังเป็นพี่น้องกับพระแม่คงคาและพระแม่อุมาเทวีอีกด้วย โดยคล้ายกับความเชื่อเรื่องพระแม่ธรณีในศาสนาพุท.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและพระแม่ภูมี
มณฑป
พระมณฑปภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มณฑป คือ เรือนยอดหรือเครื่องยอดหลังคาขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัด มุม หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห หมวดหมู่:สถาปัตยกรรมไทย.
วิหาร
วิหาร คืออาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคล้ายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า คู่กับอุโบสถ แต่ไม่มีวิสุงคามเหมือนพระอุโบสถ คำว่า วิหาร แต่เดิมใช้ในความหมายว่า วัด เช่นเดียวกับคำว่า อาราม อาวาส เช่น เวฬุวัน วิหาร เชตวันมหาวิหาร วิหารมีหลายแบบ เช่น.
สวนพฤกษศาสตร์หักกาลา
ีตาอัมมัน โกยิลซึ่งอุทิศถวายแด่นางสีดา ในสวนขวัญเดิม สวนพฤกษศาสตร์หักกาลา เป็นสวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศศรีลังกา มีพื้นที่ประมาณ 500 000 ไร่ อยู่ในแขวงหักกาลา เขตนูวาลาอินลยา ทางตอนใต้ของประเทศศรีลังกา เดิมเป็นสวนประจำพระราชวังหลวง ในประเทศศรีลังกา เชื่อกันว่า ราวณะ (ทศกัณฐ์) ได้ลักพานางสีดามาไว้ที่นี่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเทวสถานสีตาอัมมัน โกยิล ซึ่งอุทิศถวายแด่นางสีดา ในรามเกียรติ์ของประเทศไทยเป็นที่รู้จักดีในนาม สวนขวัญกรุงลงก.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและสวนพฤกษศาสตร์หักกาลา
หนุมาน
1.
ปรศุราม
ปรศุราม หรือ ปรศุรามาวตาร เป็นอวตารปางที่ ๖ ของพระวิษณุ โดยทรงอวตารเป็นพราหมณ์นามว่า "ปรศุราม" (มีอีกชื่อว่า ภควาจารย์)เพื่อลงมาปราบกษัตริย์ผู้ชั่วช้านามว่า "อรชุน" ซึ่งมี ๑,๐๐๐ มือ ซึ่งปรศุรามาวตารถือว่าเป็นปางแรกของพระวิษณุในช่วงทวาปรยุค ซึ่งเป็นยุคที่ ๓ จากทั้งหมด ๔ ยุคตามความเชื่อของศาสนาฮินดูอันได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค ทวาปรยุค กลียุค โดยพราหมณ์ปรศุรามมีอาวุธคือขวานวิเศษซึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้แก่ปรศุราม ซึ่งต่อมาปรศุรามได้ใช้ขวานนี้สังหารกษัตริย์อรชุน(กรรตวีรยะ)นั่นเอง หลังจากการสังหารกษัตริยอรชุน หรือ กรรตวีรยะ แล้วนั้น.โอรสของกษัตริย์อรชุนเมื่อรู้เข้า ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เดินทาไปแก้แค้นให้พระบิดาด้วยการสังหารฤๅษีชมทัคนี ผู้เป็นบิดาของปรศุราม จนถึงแก่ความตาย เมื่อปรศุรามมาเห็นร่างของบิดาที่ไร้ลมหายใจเพราะถูกสังหาร พร้อมกับสภาพของบ้านของตนที่ถูกทำลาย จึงเกิดความรู้สึกโกรธแค้น และได้สัญญาเอาไว้ว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อกษัตริย์ทั้งโลกา พร้อมกับนำขวานคู่ใจเดินทางไปสังหารโอรสของกษัตริย์อรชุนพร้อมทั้งเหล่าเชื้อพระวงศ์ทั้งหลายที่เป็นผู้ชาย จะยกเว้นราชินีและเชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้หญิงไว้ ซึ่งปรศุรามได้ทำอย่างนี้ถึง 21 ครั้ง ก่อนที่จะวางขวานและบำเพ็ญเพียรเพื่อไถ่บาป ปรศุรามเป็นหนึ่งผู้มีอายุยืนทั้ง 7 ในวรรณคดีอินเดีย ซึ่งมีบทบาทในรามายณะและมหาภารตะ ซึ่งเขาจะมีชีวิตจนถึงการอวตารร่างที่ 10 ของพระนารายณ์คือ กัลกยาวตาร (พระกัลกี/อัศวินขี่ม้าขาว) ซึ่งเขาจะเป็นผุ้ส่งมอบอาวุธพระกัลกี ใน มหาภารตะ ปรศุรามเป็นอาจารย์ของ ภีษมะ,โทรณาจารย์ และ กรรณะ หมวดหมู่:ศาสนาฮินดู หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ หมวดหมู่:ตัวละครในรามเกียรติ์.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและปรศุราม
ประตู
ประตู คือ สิ่งก่อสร้างแบบเคลื่อนที่ได้ใช้ปิดกั้นและเป็นทางเข้าไปยังพื้นที่ที่ถูกปิดไว้ เช่น อาคาร หรือยานพาหนะ โครงสร้างแบบคล้ายกันแต่อยู่ภายนอกเรียกว่า ประตูรั้ว โดยทั่วไป ประตูมีด้านในที่หันเข้าหาพื้นที่ว่าง และด้านนอกหันหน้าไปยังนอกพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่บางครั้งด้านในประตูอาจจะมีรูปร่างเหมือนกับด้านนอก หรือทั้งสองด้านของประตูอาจแตกต่างกันก็ได้ เช่น ประตูยานพาหนะ ประตูมักประกอบด้วยแผงที่เหวี่ยงอยู่บนบานพับ หรือเลื่อน หรือหมุนสู่ด้านใน เมื่อประตูเปิด คน สัตว์ ระบบระบายอากาศ และ/หรือแสงจะสามารถเข้าไปภายในได้ ประตูมักใช้ควบคุมบรรยากาศภายในพื้นที่โดยปิดทางกระแสลม เพื่อที่ภายในจะได้มีอากาศเย็นลงหรือร้อนได้ขึ้นอย่างเหมาะสม ประตูเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้ไฟลุกลาม และยังเป็นเกราะป้องกันเสียงรบกวนด้วย ประตูจำนวนมากมักจะมีกลไกการล็อกประตูที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าหรือออกได้ เพื่อความมีมารยาทและความสุภาพ คนจะเคาะประตูก่อนเปิดประตูและเข้าห้อง.
ประเทศศรีลังกา
รีลังกา (ශ්රී ලංකා; இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและประเทศศรีลังกา
นรสิงห์
ประติมากรรมนูนต่ำนรสิงห์สังหารหิรัณยกศิปุอสูร นรสิงห์แบบพม่า ที่เจดีย์ชเวดากอง นรสิงห์ หรือ นรสีห์ (नरसिंह, Narasimha) เป็นอวตารร่างที่ 4 ของพระนารายณ์ตามเนื้อเรื่องในคัมภีร์ปุราณะ อุปนิษัท และคัมภีร์อื่น ๆ ของศาสนาฮินดู โดยมีร่างกายท่อนล่างเป็นมนุษย์ และร่างกายท่อนบนเป็นสิงโต นรสิงห์เป็นผู้สังหารหิรัณยกศิปุ อสูรตนซึ่งได้รับพรจากพระพรหมว่าจะไม่ถูกสังหารโดยมนุษย์หรือสัตว์ นรสิงห์เป็นที่รู้จักและบูชาโดยทั่วไป หิรัณยกศิปุบำเพ็ญตบะเป็นเวลานาน จนได้รับพรจากพระพรหม ให้เป็นผู้ที่ฆ่าไม่ตายจากมนุษย์, สัตว์, เทวดา ให้ฆ่าไม่ตายทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ให้ฆ่าไม่ตายทั้งจากอาวุธและมือ ให้ฆ่าไม่ตายทั้งในเรือนและนอกเรือน หิรัณยกศิปุ ได้อาละวาดสร้างความเดือดร้อนไปทั่วทั้งสามภพ พระอินทร์จึงทูลเชิญพระนารายณ์อวตารเกิดมาเป็น นรสิงห์ คือ มนุษย์ครึ่งสิงห์ นรสิงห์สังหารหิรัณยกศิปุด้วยกรงเล็บด้วยการฉีกอก ที่กึ่งกลางบานประตู ในเวลาโพล้เพล้ ก่อนตาย นรสิงห์ได้ถามหิรัณยกศิปุว่า สิ่งที่ฆ่าเจ้าเป็นมนุษย์หรือสัตว์หรือเทวดาหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ สิ่งที่สังหารเป็นมือหรืออาวุธหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ ในเรือนหรือนอกเรือนหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ และเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืนหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ นรสิงห์จึงประกาศว่า บัดนี้ พรที่ประทานจากพระพรหมได้สลายไปสิ้นแล้ว เทวดาทั้งสามภพจึงยินดี รูปประติมากรรมหรือรูปวาดของนรสิงห์ตอนสังหารหิรัณยกศิปุ จึงมักสลักมีรูปเทวดาองค์เล็ก ๆ 2 องค์อยู่ข้างล่างแสดงกิริยายินดีด้ว.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและนรสิงห์
นางสีดา
นางสีดา จากการแสดง รามายณะ ที่ยอกจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสีดาในรามายณะฉบับอินโดนีเซีย แต่งตัวด้วยการนำเอาใบหญ้ามาคลุมตัวหน้า 13 ประชาชื่น, ''''เยี่ยมบ้าน ส.พลายน้อย 88 ปี วันนี้...สบายดี "สนุกกับการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ในทะเลหนังสือ"'' โดย พนิดา สงวนเสรีวานิช.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและนางสีดา
โบสถ์พราหมณ์
ราหมณ์ หมายถึง เทวสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาฮินดู มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแลและประกอบพิธี.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและโบสถ์พราหมณ์
เทวรูป
ทวรูปพระพรหม ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ จากจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เทวรูป (Cult image) เป็นประติมากรรมลอยตัว สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของเทพเจ้า (ถ้าสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของสิ่งที่เคารพนับถือที่ไม่ใช่เทพเจ้าเรียกว่า "รูปเคารพ") เทวรูปนั้นได้มีการนำมาใช้เพื่อกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนา และการสักการบูชาเคารพ มีการสักการบูชาที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น การถวายข้าวตอกดอกไม้ การไหว้ หรือมีพิธีกระบวนแห่ต่างๆ เป็นต้น.
เทวสถาน
ทวสถาน หรือ เทวาลัย คือศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อเป็นที่สมมุติว่าเป็นที่ประทับของเทพเจ้าหรือเทวดา เทวสถาน ในประเทศไทยหรือประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ มักเป็นโบสถ์พราหมณ์ สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏมักเป็นปราสาทหิน ปรางค์ หรือวัดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เทวสถาน ในต่างประเทศอื่น ๆ จะเป็นศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อบูชาเทพเจ้าตามลัทธิความเชื่อของประเทศเหล่านั้น เช่น วิหารพาร์เธนอน ในประเทศกรีซ สร้างขึ้นเพื่อบูชาและสักการะเทพเจ้ากรีก, วิหารลักซอร์ ในประเทศอียิปต์ สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าอียิปต์โบราณ.
ดู เทวสถานสีตาอัมมันและเทวสถาน
ดูเพิ่มเติม
โบสถ์ศักติ
หรือที่รู้จักกันในชื่อ เทวสถานสีตาอัมมัน โกยิล