เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ประตู

ดัชนี ประตู

ประตู คือ สิ่งก่อสร้างแบบเคลื่อนที่ได้ใช้ปิดกั้นและเป็นทางเข้าไปยังพื้นที่ที่ถูกปิดไว้ เช่น อาคาร หรือยานพาหนะ โครงสร้างแบบคล้ายกันแต่อยู่ภายนอกเรียกว่า ประตูรั้ว โดยทั่วไป ประตูมีด้านในที่หันเข้าหาพื้นที่ว่าง และด้านนอกหันหน้าไปยังนอกพื้นที่ดังกล่าว ขณะที่บางครั้งด้านในประตูอาจจะมีรูปร่างเหมือนกับด้านนอก หรือทั้งสองด้านของประตูอาจแตกต่างกันก็ได้ เช่น ประตูยานพาหนะ ประตูมักประกอบด้วยแผงที่เหวี่ยงอยู่บนบานพับ หรือเลื่อน หรือหมุนสู่ด้านใน เมื่อประตูเปิด คน สัตว์ ระบบระบายอากาศ และ/หรือแสงจะสามารถเข้าไปภายในได้ ประตูมักใช้ควบคุมบรรยากาศภายในพื้นที่โดยปิดทางกระแสลม เพื่อที่ภายในจะได้มีอากาศเย็นลงหรือร้อนได้ขึ้นอย่างเหมาะสม ประตูเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้ไฟลุกลาม และยังเป็นเกราะป้องกันเสียงรบกวนด้วย ประตูจำนวนมากมักจะมีกลไกการล็อกประตูที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าหรือออกได้ เพื่อความมีมารยาทและความสุภาพ คนจะเคาะประตูก่อนเปิดประตูและเข้าห้อง.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: บรรยากาศระบบระบายอากาศสัตว์แสงไฟเสียงรบกวน

  2. ชนิดของทางเข้าออก

บรรยากาศ

มุมมองของชั้นบรรยากาศที่ตื่นตัวของดาวพฤหัสบดี รวมทั้งจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) บรรยากาศ หมายถึงชั้นแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วดาวเคราะห์หรือวัตถุท้องฟ้านั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละดาว บางดาวไม่มีชั้นบรรยากาศ สำหรับบรรยากาศของโลกนั้นเป็นอากาศที่ห้อหุ้มโลก ประกอบไปด้วยไนโตรเจน, ออกซิเจน และแก๊สอื่น ๆ มีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ดาวเคราะห์ชั้นในมีส่วนประกอบเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกมีไฮโดรเจน, ฮีเลียม และแก๊สอื่นๆ เป็นหลัก.

ดู ประตูและบรรยากาศ

ระบบระบายอากาศ

ในการพยายามอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังภายในชาเปลซิสตินให้คงอยู่ได้อีกเป็นระยะเวลานานทางวาติกันก็ได้ติดตั้งระบบการระบายอากาศใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดโดยเฉพาะสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว หรือความชื้นที่เกิดขึ้นทันที่เปิดให้นักท่องเที่ยวกลุ่มแรกที่เข้ามาในห้องทุกเช้าและเมื่อกลุ่มสุดท้ายออกจากห้องในตอนบ่าย และอื่นๆ ระบบระบายอากาศ (ventilation) คือการจัดระบบการถ่ายเทอากาศจากภายนอกอาคารเข้ามาภายในอาคาร ซึ่งไม่ควรจะสับสนกับคำว่า “ทางระบายอากาศ” (Vent หรือ flue) ที่ใช้ในอุปกรณ์เช่นเครื่องปั่นผ้าให้แห้ง หรือ เครื่องทำน้ำร้อน “ทางระบายอากาศ” นำอากาศที่เกิดจากการทำความร้อนที่จะเป็นต้องกำจัดที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพออกนอกอาคาร ส่วนการเคลื่อนย้ายของอากาศระหว่างอากาศภายในอาคารและไม่ใช่ภายนอกอาคารเรียกว่า “การขนถ่ายอากาศ” (transfer air) “การระบายอากาศ” (Ventilation air) นิยามโดยสมาคมวิศวกรการทำความร้อน, การทำความเย็น และ การปรับอากาศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือมาตรฐานASHRAE 62.1 และ “คู่มือ ASHRAE” ว่าคือระบบการระบายอากาศที่ใช้สำหรับให้อากาศในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามคุณภาพอากาศภายใน (Indoor air quality หรือ IAQ) เมื่อมีมนุษย์หรือสัตว์อยู่ภายในตัวอาคาร การระบายอากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องทำเพื่อกำจัดกลิ่นและลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และ มลสารพิษที่มากับอากาศเช่นฝุ่น ควัน และ สารอินทรีย์ไอระเหย (Volatile organic compound หรือ VOC) การระบายอากาศมักจะหมุนเวียนโดยการใช้อุปกรณ์ที่อาจะทำความร้อน, ความเย็น, ทำความชื้น หรือ ดูดความชื้นไปด้วยในขณะเดียวกัน นอกจากนั้นการเคลื่อนไหวของอากาศเข้ามาภายในตัวอาคารอาจจะเกิดจาก “การรุกเข้ามา” จากอากาศภายนอกที่ไม่อยู่ในการควบคุม หรือการใช้ “ระบบการระบายอากาศตามธรรมชาติ” ระบบการกรองอากาศที่ก้าวหน้าเช่น “การฟอก” (scrubbing) ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการระบายอากาศโดยการทำความสะอาดอากาศที่เสียและส่งบางส่วนกลับไปหมุนเวียนภายในตัวอาคาร.

ดู ประตูและระบบระบายอากาศ

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ดู ประตูและสัตว์

แสง

ปริซึมสามเหลี่ยมกระจายลำแสงขาว ลำที่ความยาวคลื่นมากกว่า (สีแดง) กับลำที่ความยาวคลื่นน้อยกว่า (สีม่วง) แยกจากกัน แสง (light) เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในบางส่วนของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คำนี้ปกติหมายถึง แสงที่มองเห็นได้ ซึ่งตามนุษย์มองเห็นได้และทำให้เกิดสัมผัสการรับรู้ภาพ แสงที่มองเห็นได้ปกตินิยามว่ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400–700 นาโนเมตร ระหวางอินฟราเรด (ที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าและมีคลื่นแคบกว่านี้) และอัลตราไวโอเล็ต (ที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าและมีคลื่นกว้างกว่านี้) ความยาวคลื่นนี้หมายถึงความถี่ช่วงประมาณ 430–750 เทระเฮิรตซ์ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักบนโลก แสงอาทิตย์ให้พลังงานซึ่งพืชสีเขียวใช้ผลิตน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ในรูปของแป้ง ซึ่งปลดปล่อยพลังงานแก่สิ่งมชีวิตที่ย่อยมัน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ให้พลังงานแทบทั้งหมดที่สิ่งมีชีวิตใช้ ในอดีต แหล่งสำคัญของแสงอีกแหล่งหนึ่งสำหรับมนุษย์คือไฟ ตั้งแต่แคมป์ไฟโบราณจนถึงตะเกียงเคโรซีนสมัยใหม่ ด้วยการพัฒนาหลอดไฟฟ้าและระบบพลังงาน การให้แสงสว่างด้วยไฟฟ้าได้แทนแสงไฟ สัตว์บางชนิดผลิตแสงไฟของมันเอง เป็นกระบวนการที่เรียก การเรืองแสงทางชีวภาพ คุณสมบัติปฐมภูมิของแสงที่มองเห็นได้ คือ ความเข้ม ทิศทางการแผ่ สเปกตรัมความถี่หรือความยาวคลื่น และโพลาไรเซชัน (polarization) ส่วนความเร็วในสุญญากาศของแสง 299,792,458 เมตรต่อวินาที เป็นค่าคงตัวมูลฐานหนึ่งของธรรมชาติ ในวิชาฟิสิกส์ บางครั้งคำว่า แสง หมายถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในทุกความยาวคลื่น ไม่ว่ามองเห็นได้หรือไม่ ในความหมายนี้ รังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ ไมโครเวฟและคลื่นวิทยุก็เป็นแสงด้วย เช่นเดียวกับแสงทุกชนิด แสงที่มองเห็นได้มีการเแผ่และดูดซํบในโฟตอนและแสดงคุณสมบัติของทั้งคลื่นและอนุภาค คุณสมบัตินี้เรียก ทวิภาคของคลื่น–อนุภาค การศึกษาแสง ที่เรียก ทัศนศาสตร์ เป็นขอบเขตการวิจัยที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่) ^~^.

ดู ประตูและแสง

ไฟ

ฟ ไฟ เป็นการออกซิเดชันของวัสดุอย่างรวดเร็วในกระบวนการเผาไหม้ชนิดคายความร้อนซึ่งปล่อยความร้อน แสงสว่าง และผลิตภัณฑ์มากมายจากปฏิกิริยา กระบวนการออกซิเดชันที่ช้ากว่านั้น เช่น การขึ้นสนิม หรือการย่อยอาหาร ไม่นับรวมในนิยามนี้ ไฟร้อนเนื่องจากการแปลงพันธะคู่อ่อนของโมเลกุลของออกซิเจน (O2) ไปเป็นพันธะที่แข็งแกร่งกว่าทำให้เกิดผลิตภัณฑ์เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ปล่อยพลังงานออกมา (418 กิโลจูลต่อออกซิเจน 32 กรัม) พลังงานพันธะของเชื้อเพลิงมีส่วนเพียงเล็กน้อยSchmidt-Rohr, K.

ดู ประตูและไฟ

เสียงรบกวน

เสียงรบกวน (noise) หมายความว่า เสียงใด ๆ ที่ไม่เป็นที่ต้องการ เสียงที่ดังเป็นพิเศษซึ่งรบกวนบุคคลหรือทำให้ฟังเสียงที่ต้องการได้ยากจัดเป็นเสียงรบกวน ตัวอย่างเช่น การสนทนากับบุคคลอื่นอาจถือเป็นเสียงรบกวนสำหรับผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสนทนา เสียงที่ไม่เป็นที่ต้องการใด ๆ เช่น สุนัขเห่า เพื่อนบ้านเล่นดนตรีเสียงดัง เลื่อยกลพกพา เสียงการจราจรถนน หรืออากาศยานที่ห่างไกลในชนบทที่เงียบสงบเป็นเสียงรบกวนทั้งสิ้น เสียงรบกวนเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่เสียงที่เงียบแต่น่ารำคาญจนถึงเสียงดังและเป็นโทษ ในด้านหนึ่ง ผู้ใช้การขนส่งสาธารณะบางทีร้องทุกข์เกี่ยวกับเสียงเบา ๆ ที่ดังจากหูฟังสวมศีรษะหรือหูฟัง (earbud) ของบางคนที่กำลังฟังกับเครื่องเล่นเสียงพกพา และในอีกด้านหนึ่ง คือ เสียงดนตรีที่ดังมาก ๆ หรือเสียงเครื่องยนต์เจ็ตในละแวกใกล้ ๆ เป็นต้น สามารถก่อความเสียหายต่อหูอย่างถาวร ที่ระดับกลาง มีฤทธิ์ผลเสียต่อสุขภาพจากเสียงรบกวนมากบ้างน้อยบ้าง "ความวิบัติของพื้นที่มนุษย์อย่างทนไม่ได้" นี้เรียก มลภาวะทางเสียง.

ดู ประตูและเสียงรบกวน

ดูเพิ่มเติม

ชนิดของทางเข้าออก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ 🚪