โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์

ดัชนี เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์

้าหญิงเอลีซาแบ็ต เตแรซ มารี เอแลน ดัชเชสแห่งบราบันต์ (Élisabeth Thérèse Marie Hélène, Elisabeth Theresia Maria Helena.; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544) เป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์เบลเยียม เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปแห่งเบลเยียมและสมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม มีพระอิสริยยศเป็น "ดัชเชสแห่งบราบันต์" หลังจากที่สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม พระอัยกาธิราชของพระองค์ทรงสละราชสมบัติ โดยมีพระราชบิดาของพระองค์สืบราชสมบัติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2013.

15 ความสัมพันธ์: รอยัลไฮเนสลำดับการสืบราชสันตติวงศ์เบลเยียมสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียมสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียมสมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียมสมเด็จพระราชินีอัสตริดแห่งเบลเยียมสมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียมสมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียมสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียมสิทธิของบุตรหัวปีทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงดยุกแห่งบราบันต์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาเอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียมเจ้าชายกาบรีแยลแห่งเบลเยียม

รอยัลไฮเนส

รอยัลไฮเนส (Royal Highness) หรือ รอยัลไฮนิส (/ˈhʌɪnɪs/) เป็นฐานันดรศักดิ์ของสมาชิกราชวงศ์บางชั้นในทวีปยุโรป มักใช้นำพระนามเจ้าชายหรือเจ้าหญิงที่เป็นพระราชบุตรในสมเด็จพระราชาธิบดีหรือสมเด็จพระราชินีนาถ ฐานันดรศักดิ์รอยัลไฮเนสมีศักดิ์ต่ำกว่า "อิมพีเรียลไฮเนส" แต่สูงกว่า "แกรนด์ดิวคัลไฮเนส", "ไฮเนส" และ "เซอรีนไฮเนส" เป็นต้น.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และรอยัลไฮเนส · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์เบลเยียม

ทธิในพระราชบัลลังก์นั้นมาจากผู้สืบเชื้อสายของสมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งเบลเยียม ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นรายพระนามที่จัดเรียงไว้ของบุคคลที่ในสายลำดับการสืบราชสมบัติแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และลำดับการสืบราชสันตติวงศ์เบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม

มเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม (การออกเสียงภาษาอื่น: His Majesty King Philippe of the Belgians; Sa Majesté le Roi Philippe des Belges; Zijne Majesteit de Koning Filip der Belgen; Seine Majestät der König Philipp der Belgier, เสด็จพระราชสมภพ 15 เมษายน ค.ศ. 1960) เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในอดีตสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 และสมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม ทรงสืบราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ภายหลังจากการสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชบิดาอันเนื่องมาจากปัญหาพระพลานามัย โดยหลังจากการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ จึงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น ดัชเชสแห่งบราบันท์ รัชทายาทพระองค์ต่อไปของเบลเยียม.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม

มเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งชาวเบลเยียม หรือ พระเจ้าอัลเบิร์ตที่ 2 (Albert Félix Humbert Théodore Christian Eugène Marie, ดัตช์: Albert Felix Humbert Theodoor Christiaan Eugène Marie) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่หก และเป็นพระราชบิดาของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของประเทศเบลเยียม ทรงครองราชย์ตั้งแต่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2536 จนกระทั่งสละราชสมบัติแก่พระโอรสของพระองค์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 มีพระราชดำรัสผ่านสถานีโทรทัศน์ว่าทรงมีพระราชพระสงค์สละราชสมบัติให้เจ้าชายฟิลิป มกุฎราชกุมาร ในวันที่ 21 เดือนและปีเดียวกัน เนื่องจากทรงมีพระชนมพรรษามากและพระวรกายที่ไม่แข็งแรงเช่นในอดีต จึงทำให้พระองค์เป็นประมุขแห่งราชวงศ์พระองค์ที่ 4 ที่ทรงสละราชสมบัติในปีค.ศ. 2013 ตามจากสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16, สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานีแห่งกาตาร์ และยังเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 ของเบลเยียมที่สละราชสมบัติต่อจากพระราชบิดา คือ สมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 3 ซึ่งทรงสละราชสมบัติในปีค.ศ. 1951.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม

มเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม (Mathilde, Reine des Belges; Mathilde, koningin der Belgen; พระราชสมภพ: 20 มกราคม ค.ศ. 1973) หรือพระนามเดิมว่า มาตีลด์ มารี คริสตียาน กีแลน ดูว์เดอแกม ดาโก (Mathilde Marie Christiane Ghislaine d'Udekem d'Acoz) สมเด็จพระราชินีในสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม มีเชื้อสายสืบแต่สกุลขุนนางของโปแลนด์ พระองค์เป็นพระราชินีพระองค์แรกที่ถือสัญชาติเบลเยียม ภายหลังจากการขึ้นครองราชย์ของพระราชสวามี.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และสมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีอัสตริดแห่งเบลเยียม

้าหญิงอัสตริดแห่งสวีเดน (Princess Astrid of Sweden พระนามเต็ม อัสตริด โซเฟีย โลวิซา ธือรา; 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2478) เป็นพระมเหสีของสมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม และพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน โดยทรงเกี่ยวข้องเป็นพระอัยยิกาในฝ่ายพระชนกในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน เนื่องจากทรงมีศักดิ์เป็นพระญาติชั้นที่สองในเจ้าชายกุสตาฟ อดอล์ฟแห่งสวีเดน ดยุคแห่งวาสเตอร์บ็อตเต็น และเป็นพระราชชนนีของกษัตริย์แห่งเบลเยียมสองพระองค์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง และ สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 อีกด้วย เจ้าหญิงประสูติในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2448 ณ กรุงสต็อกโฮล์ม โดยเป็นพระธิดาพระองค์เล็กในเจ้าชายคาร์ล ดยุกแห่งเวสเตร์เกิตลันด์ กับ เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเดนมาร์ก ดัชเชสแห่งเวสเตร์เกิตลันด์ พระอัยกาฝ่ายพระชนกคือ สมเด็จพระราชาธิบดีออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดน ส่วนพระอัยกาฝ่ายพระชนนีคือ สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดริคที่ 8 แห่งเดนมาร์ก เจ้าหญิงมาร์ธาแห่งสวีเดน พระภคินีทรงอภิเษกกับสมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ ส่วนเจ้าหญิงมาร์กาเรธา พระภคินีองค์ใหญ่ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายแอ็กเซลแห่งเดนมาร์ก พระญาติชั้นที่หนึ่งในฝ่ายพระชนนี ขณะที่พระอนุชาพระองค์เล็กคือ เจ้าชายคาร์ลแห่งสวีเดน ดยุคแห่งออสเตอเกิตลานด์ ทรงอภิเษกสมรสต่างฐานันดรศักดิ์กับหญิงสาวสามัญชน.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และสมเด็จพระราชินีอัสตริดแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม

มเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม และเป็นสมเด็จพระราชชนนีในสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิป พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียมพระองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และสมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม

มเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 (8 เมษายน ค.ศ. 1875 - 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียมตั้งแต่ปีค.ศ. 1909 ถึงค.ศ. 1934 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประเทศเบลเยียมเนื่องจากอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) เมื่อประเทศเบลเยียมเกือบทั้งหมดถูกบุกรุก ยึดครอง และปกครองโดยจักรวรรดิเยอรมัน นอกจากนั้นยังมีอีกเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ คือ การร่วมลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย, การปกครองเบลเยียมคองโกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเบลเยียม การปฏิรูปประเทศภายหลังสงคราม และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (ค.ศ. 1929 - 1934) สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 เสด็จสวรรคตเนื่องจากทรงประสบอุบัติเหตุจากการปีนเขาในภาคตะวันออกของเบลเยียมในปีค.ศ. 1934 มีพระชนมายุ 58 พรรษา ราชสมบัติจึงตกเป็นของพระโอรสพระองค์ใหญ่ คือ เจ้าชายเลโอโปล.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และสมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม

มเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม (3 พฤศจิกายน 1901 - 25 กันยายน 1983) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิของบุตรหัวปี

ทธิของบุตรคนแรก (primogeniture) เป็นสิทธิทางคอมมอนลอว์ ของบุตรคนแรก (firstborn) ในการได้รับทรัพย์สินทั้งหมดเป็นมรดก โดยละเว้นสิทธิของบุตรคนรองอื่น ๆ ทั้งหมด สิทธินี้นำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยนอร์มันในปี ค.ศ. 1066 ตามธรรมเนียมของนอร์มันบุตรชายคนแรกจะได้รับดินแดน ทรัพย์สิน และตำแหน่งที่เป็นของบิดาทั้งหมด ในกรณีที่ไม่มีลูก ทรัพย์สินก็จะผ่านต่อไปยังญาติตามลำดับความเหมาะสมตามอาวุโส สิทธิของบุตรคนแรกก็มีการประยุกต์กันไปหลายอย่าง เช่นการยกเลิกการให้อภิสิทธิ์นี้เฉพาะแต่ผู้เป็นชาย เช่นในเดนมาร์กในปี..

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และสิทธิของบุตรหัวปี · ดูเพิ่มเติม »

ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง

้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ “รัชทายาท” แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง (Heir apparent) คือทายาทผู้ (นอกจากมีเหตุการณ์อันคาดไม่ถึง) ที่ไม่สามารถมีผู้ใดมาแทนได้ในการรับตำแหน่งหรือมรดก เป็นคำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ทายาทโดยสันนิษฐาน” (heir presumptive) ผู้เป็นทายาทอยู่ในสายที่มีสิทธิแต่อาจจะมาแทนได้เมื่อใดก็ได้ กรณีที่หมายถึงทายาทตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลโดยเฉพาะในกรณีของพระมหากษัตริย์จะเรียกว่ารัชทายาท (heir to the throne) และใช้เป็นอุปลักษณ์ว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้ผ่านพิธีในการยอมรับในตำแหน่งเช่นว่าอย่างเป็นทางการ (“anointed”) ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมืองหรือผู้นำทางธุรกิจ “ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง” ไม่ปรากฏบ่อยนักและถ้าใช้ในภาษาอังกฤษก็มักจะใช้ในรูป “Heir Apparent” สถาบันพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีตำแหน่งเป็นทางการสำหรับรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงเช่น “มกุฎราชกุมาร” หรือมีตำแหน่งที่มีชื่อเฉพาะเช่น “เจ้าชายแห่งออเรนจ์” (Prince of Orange) ในเนเธอร์แลนด์ “เจ้าชายแห่งเวลส์” ในสหราชอาณาจักร หรือ เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส ในสเปน ดยุกแห่งบราบันต์ ใน เบลเยียม.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งบราบันต์

กแห่งบราบันต์ หรือ ดยุกแห่งบราบ็อง (Duke of Brabant) เป็นบรรดาศักดิ์ที่จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงสถาปนาให้แก่อ็องที่ 1 โอรสของก็อดฟรีที่ 3 เคานต์แห่งลูแวง (ซึ่งเป็นดยุกแห่งโลธารินเจีย อีกบรรดาศักดิ์หนึ่งด้วย) ซึ่งดัชชีบราบันต์นั้นถูกสถาปนาขึ้นราวปี..

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และดยุกแห่งบราบันต์ · ดูเพิ่มเติม »

ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา

ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา (Sachsen-Coburg und Gotha; Saxe-Coburg and Gotha) เป็นชื่อของดัชชีเยอรมันสองรัฐคือ ซัคเซิน-โคบูร์ก และ ซัคเซิน-โกทา ที่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี บริเวณรัฐบาวาเรียและรัฐเทือริงเงินปัจจุบัน ซึ่งเข้ามารวมเป็นรัฐเดียวกันในระหว่างปี พ.ศ. 2369 ถึงปี พ.ศ. 2461 ชื่อ ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา อาจหมายถึงตระกูลหรือราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากมายและหลากหลายทางด้านประวัติศาสตร์การเมืองและราชสำนักยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา · ดูเพิ่มเติม »

เอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม

ัชเชสอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย (พระนามเต็มเมื่อประสูติ: อลิซาเบธ กาบรีเอล วาเลรี มารี ดัชเชสแห่งบาวาเรีย) (ประสูติเมื่อ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1876 และสวรรคต 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965) พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 แห่งเบลเยียม ทรงมีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งชาวเบลเยียม พระองค์เป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3 แห่งเบลเยียม กับสมเด็จพระราชินีมารี-โจเซแห่งอิตาลี และยังเป็นพระอัยยิกาฝ่ายพระชนกของสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง และสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และเอลิซาเบธแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายกาบรีแยลแห่งเบลเยียม

้าชายกาบรีแยลแห่งเบลเยียม (พระนามเต็ม: กาบรีแยล โบดวง ชาลส์ มารี, Gabriel Baudouin Charles Marie, Gabriël Boudewijn Karel Maria; ประสูติ: 20 สิงหาคม พ.ศ. 2546) เป็นพระราชทายาทพระองค์ที่สอง และเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปแห่งเบลเยียมกับสมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม พระองค์ในปัจจุบันอยู่ในลำดับที่สองของการสืบราชสันตติวงศ์ พระองค์เป็นพระอนุชาของเจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์ ในขณะที่พระเชษฐภคินีนั้นได้เลื่อนอันดับเป็นอันดับแรกแห่งการสืบราชสันตติวงศ์ อันเนื่องมาจากการผ่านกฎหมายให้ถือสิทธิของบุตรหัวปีในการเป็นรัชทายาทในปีค.ศ.​ 1991 นอกจากดัชเชสแห่งบราบันต์แล้ว พระองค์ยังมีพระอนุชา คือ เจ้าชายแอมานุแอล และพระขนิษฐา คือ เจ้าหญิงเอเลออนอร์ พ่อและแม่ทูนหัวของพระองค์ได้แก่ เคานต์ชาลส์-อ็องรี ดูว์เดอแกม ดาโก ผู้เป็นพระปิตุลาฝ่ายพระชนนี และบารอนเนสมาเรีย คริสตินา วอน เฟรแบร์ก.

ใหม่!!: เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์และเจ้าชายกาบรีแยลแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งบราบองต์เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งบราบันท์เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งบราบันต์เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ตแห่งเบลเยียม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »