โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา

ดัชนี เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา

ตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เป็นเขตปกครองของพระภิกษุสงฆ์เถรวาท ฝ่ายมหานิกายระดับตำบล ขึ้นตรงต่อเจ้าคณะเหนือกว่าภายในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ตามการแบ่งเขตพื้นที่การปกครองคณะสงฆ์ไทยในกำกับของมหาเถรสมาคม เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีอาณาเขตการปกครองคณะสงฆ์และรับผิดชอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาทครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ และบางส่วนของตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (ไม่มีวัดธรรมยุติในเขตพื้นที่ปกครองตำบลนี้) ปัจจุบันมีพระครูสุจิตพัฒนพิธาน (สมพงษ์ สมจิตฺโต) (วัดใหม่เจริญธรรม) เป็นเจ้าคณะตำบลแห่งนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีสำนักเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับพระสงฆ์ครบสองแผนกทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี โดยมีสำนักเรียนอยู่ที่วัดใหม่เจริญธรรม อันเป็นวัดเจ้าคณะตำบลในปัจจุบัน และมีสำนักศาสนศึกษาสำหรับคฤหัสถ์ (ธรรมศึกษา) จำนวน 1 แห่ง คือ สำนักศาสนศึกษาวัดคุ้งตะเภา ในปัจจุบันเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา ได้ครอบคลุมถึงพื้นที่บางส่วนในตำบลผาจุกด้วย โดยมีวัดในเขตการปกครองจำนวน 7 วัด และ 2 สำนักสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2552 มีพระภิกษุและสามเณรจำพรรษาในวัดในเขตปกครองประมาณ 40 รูป.

71 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2499พ.ศ. 2500พ.ศ. 2533พ.ศ. 2536พ.ศ. 2537พ.ศ. 2539พ.ศ. 2540พ.ศ. 2541พ.ศ. 2542พ.ศ. 2543พ.ศ. 2546พ.ศ. 2547พ.ศ. 2548พ.ศ. 2549พ.ศ. 2550พ.ศ. 2551พ.ศ. 2552พระวินัยปิฎกพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญพระสงฆ์พระธรรมมหาวีรานุวัตร (อำนวย จนฺทสโร)ภิกษุมหานิกายมหาเถรสมาคมวัดวัดบ่อพระวัดพระศรีรัตนศาสดารามวัดหมอนไม้วัดหาดเสือเต้นวัดหนองปล้องวัดคลองโพธิ์วัดคุ้งตะเภาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารวัดปากน้ำ ภาษีเจริญวัดป่ากล้วยวัดป่าสักเรไรวัดใหม่เจริญธรรมวัดใหม่เจริญธรรม (อุตรดิตถ์)วัดเขาแก้ววัดเด่นกระต่าย (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์)วันอาสาฬหบูชาวิสุงคามสีมาศีลแปดสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)สังฆกรรมสังฆราชสามเณรสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงอำเภอเมืองอุตรดิตถ์...อุบาสก อุบาสิกาอุปสมบทอุปัชฌาย์จังหวัดอุตรดิตถ์ที่พักสงฆ์บ้านหนองบัวตำบลตำบลคุ้งตะเภาประทวนสมณศักดิ์ปริยัติธรรมปาติโมกข์นักธรรมชั้นเอกนาคหลวงโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาเจ้าอาวาสเถรวาทเทศบาลตำบลคุ้งตะเภาเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 5เขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองอุตรดิตถ์เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์เข้าพรรษาเปรียญธรรม 9 ประโยค ขยายดัชนี (21 มากกว่า) »

พ.ศ. 2499

ทธศักราช 2499 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1956 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2499 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2533

ทธศักราช 2533 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1990 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2533 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2537

ทธศักราช 2537 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1994 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2537 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2540 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2541

ทธศักราช 2541 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1998 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2541 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2542

ทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ปีสากลแห่งผู้สูงอายุและเป็นปีมหามงคลในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒).

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2543

ทธศักราช 2543 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2000 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2543 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2546

ทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2547

ทธศักราช 2547 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2004 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน เป็นปีอธิกมาส ปกติวาร ตามปฏิทินไทยจันทรคติ และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2547 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2551

ทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

พระวินัยปิฎก

ระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka วินะยะปิฏะกะ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและภิกษุณี ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์ เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพระวินัยปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ

ระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (นามเดิม: สมชาย แสงสิน) น.ธ.เอก, ปบ.ส., พธ.บ., พธ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 - ปัจจุบัน) เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓, รองเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา พระอุปัชฌาย์ และเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภารูปปัจจุบัน เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 อุปสมบทเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2530 หลังจากสำเร็จการศึกษา น.ธ.เอก ในปี พ.ศ. 2533 ได้ออกธุดงค์และไปอยู่ที่สวนโมกขพลารามเพื่อฝึกปฏิบัติธรรมกับท่านพุทธทาส จนหลังจากท่านพุทธทาสมรณภาพในปี พ.ศ. 2536 ท่านจึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดคุ้งตะเภา จนถึงปัจจุบัน พระสมุห์สมชาย เป็นพระสงฆ์นักพัฒนา เป็นประธานมูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา เป็นนักเผยแผ่ศาสนาพุทธ และนักปฏิบัติธรรมรูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีผลงานเป็นที่ปรากฏชัดเจนในหมู่คณะพระนักเผยแผ่ และคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งในด้านสาธารณูปการ สาธารณสงเคราะห์ และการศึกษาคณะสงฆ์ มานับสิบปี เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิตและคฤหัสถ์ทั่วไปในจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน ด้วยเหตุที่ท่านเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ จึงทำให้ท่านได้รับถวายรางวัลจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ มากมาย จนในปี พ.ศ. 2554 ท่านจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เข้ารับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติสูงสุดที่มอบถวายแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไท.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ · ดูเพิ่มเติม »

พระสงฆ์

ระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญ.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพระสงฆ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมมหาวีรานุวัตร (อำนวย จนฺทสโร)

ระธรรมมหาวีรานุวัตร (อำนวย จนฺทสโร) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ และเจ้าอาวาสวัดคลองโพธิ์รูปปัจจุบัน ท่านเป็นพระนักพัฒนาด้านการศึกษาสงเคราะห์รูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเป็นผู้ก่อตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรมวัดคลองโพธิ์ ในปี พ.ศ. 2513 (ปีที่ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองโพธิ์ และดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูปริยัติสาธร) และพัฒนาสำนักเรียนแห่งนี้จนสำนักเรียนวัดคลองโพธิ์กลายเป็นสำนักเรียนบาลีที่มีพระภิกษุสามเณรสอบไล่ได้คิดจากจำนวนผู้เข้าสอบและสอบได้มากที่สุด 1 ใน 5 ของประเทศ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสำนักเรียนบาลีแห่งที่ 1 ของเขตการปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร และพัดยศประกอบสมณศักดิ์ ในวันที่ 5 เดือนธันวาคม..

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและพระธรรมมหาวีรานุวัตร (อำนวย จนฺทสโร) · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

มหานิกาย

มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกาย หรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ เดิมนั้น คำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยออกเป็นมหานิกายและธรรมยุติกนิกายยังไม่มี เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์ไทยนั้นล้วนแต่เป็นเถรวาทสายลังกาวงศ์ทั้งสิ้น จนเมื่อพระวชิรญาณเถระ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แยกออกจากคณะพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิมซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้น จึงทำให้พระองค์คิดคำเรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เป็นสายเถรวาทลังกาวงศ์เดิมว่า พระส่วนมาก หรือ มหานิกาย ซึ่งคำ มหานิกาย นั้น มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี มหนฺต + นิกาย แปลว่าพวกมาก กล่าวโดยสรุป มหานิกายก็คือ พระสงฆ์สายเถรวาทลังกาวงศ์ดั้งเดิมในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมยุติกนิก.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและมหานิกาย · ดูเพิ่มเติม »

มหาเถรสมาคม

มหาเถรสมาคม (accessdate) เป็นองค์กรสูงสุดในการปกครองคณะสงฆ์ไทยตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2)..

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและมหาเถรสมาคม · ดูเพิ่มเติม »

วัด

วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัด · ดูเพิ่มเติม »

วัดบ่อพระ

วัดบ่อพระ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านบ่อพระ หมู่ที่ 7 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีฐานะเป็นที่พักสงฆ์ สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดบ่อพระ · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาว.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม · ดูเพิ่มเติม »

วัดหมอนไม้

วัดหมอนไม้ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันเป็นวัดที่จำพรรษาของเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิก.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดหมอนไม้ · ดูเพิ่มเติม »

วัดหาดเสือเต้น

วัดหาดเสือเต้น ตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเสือเต้น หมู่ที่ 6 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา ตัววัดมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านหาดเสือเต้น ริมถนนทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1213 สายป่าขนุน-ห้วยฉลอง.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดหาดเสือเต้น · ดูเพิ่มเติม »

วัดหนองปล้อง

วัดหนองปล้อง ตั้งอยู่เลขที่ 258 บ้านหนองปล้อง หมู่ที่ 7 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาขนาดย่อม มีชื่อเดิมว่า วัดพุทธสุวรรณหงษ์บรรพต ตัววัดมีความร่มรื่นและเงียบสงบ ห่างไกลจากหมู่บ้าน ตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ สามารถมองเห็นอาณาบริเวณโดยรอบได้ชัดเจน มีบรรยากาศที่สงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดหนองปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

วัดคลองโพธิ์

วัดคลองโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกของจังหวัดอุตรดิตถ์ วัดคลองโพธิ์ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันวัดคลองโพธิ์เป็นวัดจำพรรษาของเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีสำนักเรียนพระปริยัติธรรมซึ่งถือได้ว่า เป็นสำนักเรียนของคณะสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ มีการศึกษาทั้งแผนกนักธรรม แผนกบาลี โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ และโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิต.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดคลองโพธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดคุ้งตะเภา

วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย และเป็น 1 ใน 9 วัดศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 (ถนนสายเอเชีย) วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รับสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช 1132 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นมาปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี และประทับชำระคณะสงฆ์ จัดการหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งวัดคุ้งตะเภา เป็นเพียงวัดแห่งเดียวในปริมณฑลเมืองพิชัยและสวางคบุรี ที่ปรากฏหลักฐานการสถาปนาวัดในปีนั้น ตำนานวัดเล่าสืบกันมานับร้อยปีว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้คนย้ายกลับมาตั้งครัวเรือน สร้างวัดและศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ณ ริมคุ้งสำเภา พร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดคุ้งตะเภา" ปัจจุบันทางราชการได้นำชื่อคุ้งตะเภาไปใช้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและชื่อตำบลคุ้งตะเภาสืบมาจนปัจจุบัน วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เคยเป็นวัดที่สถิตย์ของพระครูสวางคมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาตั้งแต่โบราณ โดยเป็นวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และสองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสององค์นั้นจัดได้ว่าเป็น 2 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ คือ พระพุทธสุวรรณเภตรา และ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ปัจจุบันวัดคุ้งตะเภาเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3 (สำนักปฏิบัติธรรมภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม)หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ และเป็นวัดประจำตำบลที่มีสถิติพระภิกษุสามเณรจำพรรษามากที่สุดในตำบลคุ้งตะเภา เป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนศึกษาของคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาโดยพฤตินัย โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักเลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ฝ่ายการศึกษาคณะสงฆ์ สำนักศาสนศึกษาประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคุ้งตะเภา (อปต.) ซึ่งเป็นหน่วยอบรมฯ ที่มีผลงานดีเด่นระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) เป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา (จร.).

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งธนบุรี โดยมีเลขทะเบียนวัดที่ 24 ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร การบูรณะวัดส่งผลให้วัดได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 (Award of Excellence) ให้โครงการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์วัดประยุรวงศาวาส ด้านการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก).

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ ณ ที่ราบลุ่มบางกอกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ริมคลองหลวงหรือ คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ก่อนที่จะมีการขุดคลองลัดหน้าวัดอรุณราชวรารามและกลายเป็นลำแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน เนื่องจากวัดตั้งอยู่บริเวณปากคลองด่านที่แยกไปจากคลองบางหลวงอีกทีหนึ่ง ชื่อของวัดจึงถูกเรียกขานตามตำบลที่ตั้งว่า วัดปากน้ำ ซึ่งชื่อนี้มีปรากฏเรียกใช้ในจดหมายเหตุโบราณหลายฉบับ แต่ได้พบชื่อของวัดที่แปลกออกไปในแผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2453 และ พ.ศ. 2474 ว่า วัดสมุทธาราม แต่ไม่เป็นที่นิยมเรียกขานกันอย่างนั้น คงเรียกว่า วัดปากน้ำ มาโดยตลอด ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการขุดคลองภาษีเจริญที่ข้างวัดด้านทิศตะวันตก วัดจึงมีลำน้ำหลักล้อมอยู่ทั้ง 3 ด้าน ส่วนด้านใต้เป็นคลองเล็กแสดงอาณาเขตของวัดในสมัยก่อน วัดปากน้ำ เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง (ระหว่าง พ.ศ. 2031-2172) สถาปนาโดยพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏพระนามแน่ชัด เป็นวัดประจำหัวเมืองธนบุรี ปรากฏในตำนานเรื่องวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาว่าเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา อันหมายถึงพระอารามที่พระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสีทรงสถาปนาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น หลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานภายในวัดมีอายุย้อนไปถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง ได้พบร่องรอยคลองเล็กด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของวัด ที่โบราณขุดไว้เป็นแนวเขตที่ดินของวัดหลวงสมัยอยุธยา ที่ตั้งของวัดปากน้ำจึงมีลักษณะเป็นเกาะรูปสี่เหลี่ยมมีน้ำล้อมอยู่ทุกด้าน สถาปัตยกรรมและศิลปวัตถุที่อยู่คู่วัดมาเช่น หอพระไตรปิฏก ตู้พระไตรปิฎกทรงบุษบก ล้วนเป็นฝีมือช่างหลวงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และตัวพระอุโบสถก็ใช้เทคนิคการก่อสร้างในสมัยนั้น ได้ค้นพบนามเจ้าอาวาส 1 รูป ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) คือ พระครูธนะราชมุนี วัดปากน้ำ ได้มีบทบาทสำคัญมาแต่โบราณเพราะได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวงที่อยู่นอกกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดสำคัญประจำหัวเมืองหน้าด่านทางทะเล ในจดหมายเหตุสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคถวายผ้าพระกฐินหลวง ณ วัดปากน้ำ ตลอดรัชกาลวัดปากน้ำได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด คือ ได้รับพระราชทานพระราชทรัพย์จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในการซ่อมหลังคาพระอุโบสถคราวหนึ่ง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และให้คงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาไว้ ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทางวัดได้รับพระบรมราชานุญาตบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่เกือบทั้งอารามโดยให้อนุรักษ์ศิลปะเดิมไว้ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์นำพระกฐินหลวงมาถวายตลอดรัชกาล ในสมัยรัชกาลที่ 6 วัดปากน้ำได้ชำรุดทรุดโทรมลง ไม่มีเจ้าอาวาสประจำพระอาราม มีแต่ผู้รักษาการที่อยู่ในอารามอื่น ทางเจ้าคณะปกครองได้ส่งพระสมุห์สด จนฺทสโร จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่งท่านได้กวดขันพระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญได้มีการสอนสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมตั้งสำนักเรียนทั้งนักธรรมและบาลี สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ทำให้พระภิกษุสามเณร และสาธุชนเข้ามาขอศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก วัดจึงเจริญขึ้นมาโดยลำดับ กลายเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรม และเป็นศูนย์กลางการศึกษาบาลี ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์มาโดยลำดับ สมณศักดิ์สุดท้ายในพระราชทินนามที่ พระมงคลเทพมุนี แต่ผู้คนทั่วไปรู้จักและเรียกขานนามท่านว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ ในสมัยสมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส (ในกาลต่อมาท่านได้รับพระราชทานสถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช) วัดปากน้ำได้รับการปรับปรุงทัศนียภาพและบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญ เช่น พระอุโบสถ พระวิหาร ช่างได้เปลี่ยนสถาปัตยกรรมเครื่องบนเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์เกือบทั้งอาราม แต่ตัวรากฐานและอาคารยังคงเป็นของโบราณแต่เดิมมา ถึงสมัยพระเดชพระคุณท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำรูปปัจจุบัน วัดปากน้ำได้พัฒนาอย่างมากในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระภิกษุสามเณรสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคในนามวัดปากน้ำเป็นจำนวนมาก และการปฏิบัติภาวนาตามแนวหลวงพ่อวัดปากน้ำก็ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีสถานที่ปฏิบัติ คือ หอเจริญวิปัสสนาเป็นเอกเทศ และมีผู้เข้าปฏิบัติเป็นจำนวนมากทุกวัน.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

วัดป่ากล้วย

วัดป่ากล้วย ตั้งหมู่ที่บ้านป่ากล้วย หมู่ที่ 2 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีฐานะเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (มีอุโบสถ) สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5 วัดป่ากล้วยเป็นวัดโบราณแห่งแรกในตำบลคุ้งตะเภาที่มีอุโบสถ และเป็นวัดที่มีสำนักปฏิบัติธรรม (โดยพฤตินัย) แห่งเดียวของตำบล ตัววัดตั้งอยู่ติดตลิ่งริมแม่น้ำน่าน (ซึ่งตื้นเขินไปแล้ว) ใกล้กับสำนักงานเทศบาลตำบลคุ้งต.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดป่ากล้วย · ดูเพิ่มเติม »

วัดป่าสักเรไร

วัดป่าสักเรไร ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดหัวหาด ตั้งอยู่เลขที่ 48 หมู่บ้านหัวหาด หมู่ที่ 5 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดป่าสักเรไร · ดูเพิ่มเติม »

วัดใหม่เจริญธรรม

วัดใหม่เจริญธรรม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดใหม่เจริญธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วัดใหม่เจริญธรรม (อุตรดิตถ์)

วัดใหม่เจริญธรรม หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดป่าขนุน (ชื่อเดิม: วัดท่าควาย) ตั้งอยู่เลขที่ 109 หมู่บ้านป่าขนุน หมู่ที่ 3 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกป่าขนุน บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 1047 มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5 ปัจจุบันวัดใหม่เจริญธรรม เป็นวัดจำพรรษาของเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา จึงมีความพยายามจัดให้วัดเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมในทุก ๆ ด้านของคณะสงฆ์ โดยนอกจากจะศูนย์กลางการปกครองของพระภิกษุในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาแล้ว วัดใหม่เจริญธรรมยังเป็นที่ตั้งของสภาวัฒนธรรมตำบลคุ้งตะเภา ศูนย์พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักปฏิบัติธรรมประจำตำบล ศูนย์การเรียนนักธรรมชั้นตรีประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลอีกด้วย ปัจจุบันวัดใหม่เจริญธรรมมีพระครูสุจิตพัฒนพิธาน (สมพงษ์ สมจิตฺโต) เจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดใหม่เจริญธรรม (อุตรดิตถ์) · ดูเพิ่มเติม »

วัดเขาแก้ว

ป็นวัดประจำตำบลพยุหะคีรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่บริเวณวัดติดกับเขาแก้ว และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว).

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดเขาแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

วัดเด่นกระต่าย (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์)

วัดเด่นกระต่าย ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 11 ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีฐานะเป็นวัด สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวัดเด่นกระต่าย (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์) · ดูเพิ่มเติม »

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (อาสาฬหปูชา; Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๕, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน..

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวันอาสาฬหบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วิสุงคามสีมา

วิสุงคามสีมา (อ่านว่า วิสุงคามะสีมา) แปลว่า เขตแดนส่วนหนึ่งจากแดนบ้าน คือที่ดินที่แยกต่างหากจากที่ดินของบ้านเมือง เป็นเขตที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์เป็นการเฉพาะเพื่อใช้สร้างอุโบสถโดยประกาศเป็นพระบรมราชโองการ ที่ที่พระราชทานแล้วจะมีเครื่องหมายเป็นเครื่องบอกเขต เครื่องหมายนี้เรียกว่า นิมิต ภายในวิสุงคามสีมานิยมสร้างโรงอุโบสถไว้เพื่อทำสังฆกรรม การที่จะได้เป็นอุโบสถถูกต้องตามพระวินัยนั้นจะต้องได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก่อน แล้วพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันสวดถอนพื้นที่ทั้งหมดในเขตสีมานั้นเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นสีมาเก่า เรียกว่าถอนสีมา หลังจากนั้นจึงสวดประกาศให้เป็นพื้นที่นั้นเป็นสีมา เรียกว่า ผูกสีมา ทำดังนี้จึงจะเป็นสีมาหรือเป็นอุโบสถถูกต้องตามพระวินั.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและวิสุงคามสีมา · ดูเพิ่มเติม »

ศีลแปด

ีลแปด หรือ อุโบสถศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์ หมายถึง อุบาสกอุบาสิกาทั่วไป มิใช่สงฆ์ (ซึ่งมีศีลเฉพาะตนอยู่แล้ว) โดยมักจะรับศีลแปดในวันพระ นิยมรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน หรือ 3 วัน จัดเป็นศีลขั้นต่ำของพระอนาคามี โดยปกติผู้รักษาศีลจะเปล่งวาจาอธิษฐาน ที่จะขอสมาทานศีลตั้งแต่เช้าของวันนั้น หากรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน เรียกว่า "ปกติอุโบสถ" และหากรักษา 3 วัน เรียกว่า "ปฏิชาครอุโบสถ".

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและศีลแปด · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)

มเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ นามเดิม ช่วง สุดประเสริฐ ฉายา วรปุญฺโญ เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (พระอารามหลวง) ประธานสมัชชามหาคณิสสร และอดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆร.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) · ดูเพิ่มเติม »

สังฆกรรม

ังฆกรรมคือการประชุมของพระสงฆ์เพื่อทำกิจตามพระวินัย เพื่อลงมติในเรื่องสำคัญต่าง ๆ เช่น การอนุมัติให้ผู้ขอบวชเป็นพระสงฆ์ หรือการประกาศเขตสีมาตามพระวินัย เป็นต้น สังฆกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำ หมายถึงกิจกรรมทางพระวินัยที่ภิกษุจำนวน 4 รูปขึ้นไปซึ่งถือว่าเป็นสงฆ์จะพึงร่วมกันทำเป็นสังฆสามัคคี ในการทำสงฆ์จะต้องพร้อมเพรียงกันทำ ต้องทำในเขตสีมาที่เรียกว่าอุโบสถหรือโบสถ์ ต้องนั่งให้ได้หัตถบาทอยู่ในที่ประชุมตลอดเวลาที่ทำ เวลามีมติต้องเป็นเอกฉันท์โดยใช้วิธีเงียบหรือรับว่าสาธุ และเป็นไปโดยถูกต้องเป็นธรรม ไม่มีอคติ เช่นนี้จึงจะเป็นสังฆกรรมแท้ สังฆกรรม ตามพระธรรมวินัย มี 4 อย่าง คือ 1.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและสังฆกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สังฆราช

ังฆราช คือพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล ในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศพม่า ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา มักมีพระสังฆราชเป็นของตน พระสังฆราชอาจเป็นประมุขเฉพาะคณะสงฆ์นิกายหนึ่งหรือเป็นประมุขคณะสงฆ์ทั้งปวงทุกนิกายในประเทศนั้น (ซึ่งเรียกว่าสกลมหาสังฆปริณายก) คำว่า สังฆราช เป็นคำสมาสจากคำว่า สงฺฆ (พระสงฆ์) + ราช (พระราชา) ซึ่งแปลว่า พระราชาแห่งคณะสง.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและสังฆราช · ดูเพิ่มเติม »

สามเณร

ผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้ต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และจะบวชอยู่เป็นสามเณรตลอดชีวิตก็ได้ สามเณร และ สามเณรี แปลว่า เหล่ากอของสมณะ, หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ถ้าเป็นนักบวชหญิงอายุน้อยเรียกว่า สามเณรี คำว่า สามเณร สามเณรี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรสามเณรีได้นั้นทางพระวินัยกำหนดอายุอย่างต่ำไว้ประมาณ 7 ขวบซึ่งพอช่วยเหลือตัวเองได้ พระวินัยระบุว่าพอจะไล่กาไล่ไก่ได้ ส่วนสูงไม่มีกำหนดไว้ ผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปีจะบวชเป็นสามเณรตลอดไป ไม่บวชเป็นภิกษุก็ได้.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและสามเณร · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง

ำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ภายใต้การดูแลของมหาเถรสมาคม (คู่กับสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง) ซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย หน้าที่หลักคือกำหนดเปลี่ยนแปลงการใช้คัมภีร์เรียนในหลักสูตรเปรียญธรรม 1-9 ให้เหมาะสมกับชั้นเรียนของแต่ละประโยค รวมทั้งการจัดสอบประเมินผลการศึกษาบาลีระดับชาติ โดยมีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้รับสนองงาน ภายใต้การกำกับดูแลของมหาเถรสมาคม.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง

ำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง (Central Dharma Testing Service Headquarters of Thailand.) คู่กับสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงของคณะสงฆ์ไทย เป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของมหาเถรสมาคมซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย มีหน้าที่หลักคือดำเนินการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษา ชั้นตรี โท เอกของชาติ และจัดให้มีการสอบไล่วัดผลประจำปีตามหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาที่เปิดสอนไปทั่วราชอาณาจักรไทยและต่างประเท.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองอุตรดิตถ์

อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ชื่อเดิม อำเภอบางโพ ขึ้นอยู่กับเมืองพิชัย มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงใช้ชื่ออำเภอบางโพเป็นอำเภอเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ปัจจุบันตัวอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ที่ตั้งของอำเภอเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ ธุรกิจ เศรษฐกิจของจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักวีรบุรุษของชาวอุตรดิตถ์ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิต.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

อุบาสก อุบาสิกา

อุบาสก แปลว่า ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย หมายถึงผู้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ผู้นับถือศาสนาอย่างมั่นคง ถ้าเป็นหญิง ใช้ว่า อุบาสิกา อุบาสก เรียกกร่อนไปว่า ประสก คำว่า อุบาสิกา เรียกกร่อนไปว่าสีกา ก็มี เรียกชายหญิงที่รักษาอุโบสถศีลโดยค้างคืนที่วัดในวันพระว่า อุบาสกอุบาสิกา อุบาสกอุบาสิกา ปกติหมายถึงชาวบ้านทั่วไปที่นับถือพระพุทธศาสนา บำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา ไปวัดทำบุญให้ทาน ถือศีล อุปถัมภ์บำรุงวัด ช่วยเหลือกิจการของวัดเป็นประจำ.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและอุบาสก อุบาสิกา · ดูเพิ่มเติม »

อุปสมบท

อุปสมบท (อ่านว่า อุปะ-, อุบปะ-) แปลว่า การเข้าถึง คือการบวช เป็นศัพท์เฉพาะในศาสนาพุทธ ใช้หมายถึงการบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี เรียกเต็มว่า อุปสมบทกรรม อุปสมบทเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงวางหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติไว้รัดกุมและละเอียดมากโดยทรงบัญญัติให้สวดอนุสาวนาไม่ต้องระบุนามแต่ระบุเพียงโคตร (สกุล) ได้และสวดประกาศครั้งละ 2-3 รูปได้โดยมีอุปัชฌายะ และทรงอนุญาตให้นับอายุผู้บวชว่าครบ 20 ปี โดยคิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ศาสนทายาทที่ดีไว้สืบสานพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยจะถือเป็นประเพณีเลยว่า ลูกชายของครอบครัวเป็นพุทธต้องบวชสักครั้งในชีวิตเพื่อให้แม่เกาะชายผ้าเหลือง ชดใช้ค่าน้ำนม อันเป็นสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาโดยเปลี่ยนจากผู้นับถือพระรัตนตรัยขึ้นไปเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรั.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและอุปสมบท · ดูเพิ่มเติม »

อุปัชฌาย์

อุปัชฌาย์ (/อุ-ปัด-ชา/) ความหมายโดยพยัญชนะว่าผู้เข้าไปเพ่ง กล่าวคือ ได้แก่ผู้คอยดูแลเอาใจใส่ คอยแนะนำพรำเตือนสัทธิวิหาริก (ลูกศิษย์) ของตน ซึ่งก็คือพระเถระผู้ทำหน้าที่เป็นประธานในการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา เรียกทั่วไปว่า พระอุปัชฌาย์ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า "Preceptor" พระอุปัชฌาย์มีหน้าที่หลัก 2 อย่างคือเป็นผู้รับผิดชอบและรับรองผู้บวชในพิธีบรรพชาอุปสมบทและเป็นผู้รับปกครองดูแล แนะนำ ตักเตือนและติดตามความเป็นอยู่ของผู้ที่ตนบวชให้ เหมือนบิดาปกครองดูแลบุตร ตามกฎมหาเถรสมาคมนั้นได้กำหนดให้เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนึ่ง ให้มีพระอุปัชฌาย์เพียงหนึ่งรูป เว้นแต่ มีกรณีพิเศษ.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและอุปัชฌาย์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและจังหวัดอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

ที่พักสงฆ์บ้านหนองบัว

วิหารศิลาแลงและบรรกาศความร่มรื่นภายในวัด ที่พักสงฆ์บ้านหนองบัว ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 9 ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีฐานะเป็นที่พักสงฆ์ สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและที่พักสงฆ์บ้านหนองบัว · ดูเพิ่มเติม »

ตำบล

ตำบลหรือ เขตที่ตั้งเมือง (township) เป็นนิคมมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าหมู่บ้าน แต่เล็กกว่าเมือง ขนาดของเมืองขนาดเล็กอาจแตกต่างกันอย่างมากในทุกภูมิภาคของโลก เมืองขนาดเล็กในประเทศไทยยังหมายถึงเทศบาลตำบล.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและตำบล · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลคุ้งตะเภา

ตำบลคุ้งตะเภา เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลคุ้งตะเภาเป็นตำบลขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าสองร้อยปี เดิมการปกครองของตำบลคุ้งตะเภาขึ้นอยู่กับตำบลท่าเสา อำเภอบางโพ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน) ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2490 จึงได้แยกการปกครองจากตำบลท่าเสามาตั้งเป็นตำบลใหม่ ปัจจุบันแบ่งหน่วยการปกครองเป็นหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน มีประชากร 8,735 คน เป็นชาย 4,265 คน หญิง 4,470 คน ประชากรตำบลคุ้งตะเภาส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีศาสนสถานในเขตตำบล 7 แห่ง สถานีอนามัยประจำตำบล 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับพื้นฐาน 6 โรง มีแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคที่สำคัญคือ แม่น้ำน่าน เส้นทางคมนาคมหลักคือ ถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข 11) ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบัน นายไพทูรย์ พรหมน้อย เป็นกำนันตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งในปัจจุบันตำบลคุ้งตะเภามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับ เทศบาลตำบล มีพื้นที่ตลอดทั้งตำบลคุ้งต.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและตำบลคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

ประทวนสมณศักดิ์

ัดยศพระประทวนสมณศักดิ์ ประทวนสมณศักดิ์เป็นสมณศักดิ์ประเภทหนึ่งในระดับชั้นประทวน เรียกผู้ที่ได้รับสมณศักดิ์ประเภทนี้ว่าพระครูประทวน สมณศักดิ์ชั้นนี้ไม่มีราชทินนาม กล่าวคือเป็นพระครูในนามเดิม เช่น พระครูศรี ธมฺมกาโม,พระครูเจียม วรญาโณ เป็นต้น สำหรับสมณศักดิ์ชั้นประทวนในปัจจุบันสมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาแต่งตั้งพระสังฆาธิการที่ยังไม่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร มีคุณสมบัติเป็นผู้อุปการคุณด้านการศึกษาในด้านต่างๆ เช่น กรรมการสถานศึกษา พระสังฆาธิการผู้อุปการะโรงเรียน มอบทุนการศึกษา สร้างอาคารเรียน มอบสื่อการเรียนการสอน ทั้งในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม และโรงเรียนประถม โรงเรียมมัธยม อาชีวศึกษา มหาวิทยาลัย เป็นต้น ในปัจจุบัน ไม่นิยมตั้งสมณศักดิ์ประเภทนี้แล้ว.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและประทวนสมณศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปริยัติธรรม

ปริยัติธรรม (อ่านว่า ปะริยัดติทำ) หมายถึงธรรมที่พึงศึกษาเล่าเรียน ได้แก่พระพุทธพจน์หรือพระไตรปิฎก เรียกเต็มว่า พระปริยัติธรรม ปริยัติธรรมหรือพระพุทธพจน์ที่พึงศึกษาเล่าเรียนนั้นมี 9 อย่าง คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นวังคสัตถุศาสน์ (คำสอนของพระศาสดา 9 ประเภท) การศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมทั้ง 9 อย่างนี้ของพระภิกษุสามเณรในปัจจุบัน เรียกว่า เรียนนักธรรม เรียนบาลี และแบ่งปริยัติธรรมออกเป็น 2 คือ พระปริยัติธรรมแผนกธรรม พระปริยัติธรรมแผนกบาลี.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและปริยัติธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ปาติโมกข์

ระสงฆ์สวดปาติโมกข์ในอุโบสถ ปาติโมกข์ หมายถึง คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ 227 ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ บทปาติโมกข์เหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก หมวดสุตตวิภังค์ มีพุทธานุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและปาติโมกข์ · ดูเพิ่มเติม »

นักธรรมชั้นเอก

นักธรรมชั้นเอก (ชื่อย่อ น.ธ.เอก; dhamma scholar advanced level) เป็นระดับการศึกษา พุทธศาสนาในประเทศไทย แผนกธรรม โดยเป็นชั้นสูงสุดของการศึกษาระดับพื้นฐานของพระสงฆ์ สามเณรในประเทศไทย แบ่งชั้นเรียนออกเป็น 3 ชั้น คือ นักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท และ นักธรรมชั้นเอก ทั้ง ๓ ชั้นนี้เป็นการศึกษาสำหรับฝ่าย พระภิกษุสามเณรโดยเฉ.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและนักธรรมชั้นเอก · ดูเพิ่มเติม »

นาคหลวง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประเคนพัดรอง ในการพระราชทานอุปสมบทนาคหลวง เนื่องในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบทนาคหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง นาคหลวง หมายถึง ผู้ที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบท นาคหลวง มี 2 ประเภท คือ.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและนาคหลวง · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา

รงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 ใน 2 แห่งของตำบลคุ้งตะเภา และเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนทุกระดับชั้นรวมกันมากที่สุดในเขตตำบล โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ บ้านป่าขนุน ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันโรงเรียนแบ่งการเปิดการสอนเป็น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับประถมศึกษา และระดับก่อนประถมศึกษา โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2500 เดิมชื่อ โรงเรียนวัดใหม่เจริญธรรม เป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้านป่าขนุน มีครูใหญ่คนแรกชื่อ นายแฮ ประมวลทรัพย์ เดิมเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนวัดคุ้งตะเภา ทำการสอนครั้งแรกมีนักเรียน 111 คน ครูจำนวน 3 คน เปิดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา ต่อมาได้ขยายการเรียนการสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในปี พ.ศ. 2536 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา ในปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยาเปิดทำการสอนเป็น 3 ระดับชั้น คือระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา มีนายสุนทร อ่อนวัง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิท.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและโรงเรียนป่าขนุนเจริญวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าอาวาส

้าอาวาส คือพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองวัด มีหน้าที่ปกครองดูแลอำนวยกิจการทุกอย่างเกี่ยวกับวัด กฎหมายกำหนดให้วัดหนึ่งมีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง แต่จะมีรองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้หลายรูปตามควรแก่ฐานะของวัด เจ้าอาวาสเป็น พระสังฆาธิการ และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและเจ้าอาวาส · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลตำบลคุ้งตะเภา

ทศบาลตำบลคุ้งตะเภา เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นเทศบาลตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและเทศบาลตำบลคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 5

ตปกครองคณะสงฆ์ภาค 5 เป็นส่วนหนึ่งของเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2505 ฉบับแก้ไขปรับปรุงพุทธศักราช 2535 ที่ให้อำนาจมหาเถรสมาคมในการจัดแบ่ง และแต่งตั้งผู้ปกครองที่เรียกว่าเจ้าคณะภาค อันมีอำนาจหน้าที่ในการมอบนโยบาย บริหารกิจการคณะสงฆ์ ในเข 4 จังหวัด อันประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดสุโขทัย, จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดตาก ปัจจุบันในฝ่ายมหานิกายมีพระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) (ป.ธ.๙) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นเจ้าคณ.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 5 · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองอุตรดิตถ์

ตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ เป็นเขตปกครองของพระภิกษุสงฆ์เถรวาท ฝ่ายมหานิกายระดับอำเภอ ขึ้นตรงต่อเจ้าคณะเหนือกว่าภายในเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ตามการแบ่งเขตพื้นที่การปกครองคณะสงฆ์ไทยในกำกับของมหาเถรสมาคม เขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ มีอาณาเขตการปกครองคณะสงฆ์และรับผิดชอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาทครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ปัจจุบันมีพระครูเกษมธรรมาลังการ (อุดร) (วัดหมอนไม้) เป็นเจ้าคณะอำเภอแห่งนี้ต่อจาก พระนิมมานโกวิท (หลวงปู่ทองดำ) เขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ มีสำนักเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับพระสงฆ์ครบสองแผนกทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี (วัดคลองโพธิ์ พระอารามหลวง) นอกจากนี้ยังมีห้องเรียนของวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดการศึกษาในระดับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต โดยตั้งอยู่ที่วัดหมอนไม้ อันเป็นวัดเจ้าคณะอำเภอในปัจจุบัน เขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ เป็นการแบ่งเขตการปกครองคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายในจังหวัดอุตรดิตถ์ ตามการแบ่งของมหาเถรสมาคม ในปัจจุบันมีการแบ่งเขตการปกครองคณะสงฆ์ในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ออกเป็น 13 เขต (ตำบล).

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์

การปกครองคณะสงฆ์ระดับจังหวัดเป็นไปตาม พร.คณะสง..

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

เข้าพรรษา

้าพรรษา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและเข้าพรรษา · ดูเพิ่มเติม »

เปรียญธรรม 9 ประโยค

ัดยศเปรียญธรรม 9 ประโยค เปรียญธรรม 9 ประโยค (ชื่อย่อ ป.ธ.9) เป็นระดับชั้นสูงสุด ของการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย แต่เดิมภาษาบาลีคือภาษามคธที่คนในแคว้นมคธใช้พูดกันเท่านั้น เพราะภาษาบาลีไม่มีอักษรใช้เขียนเป็นตัวหนังสือ พระพุทธเจ้าตรัสสอนธรรมด้วยภาษามคธเพราะแคว้นมคธเป็นแคว้นใหญ่ เหตุที่ภาษาบาลีไม่มีอักษรเขียน จึงต้องอาศัยอักษรจากภาษาอื่นเป็นตัวเขียน เช่น อักษรเทวนาครี อักษรขอม อักษรไทย อักษรโรมัน เป็นต้น ในปัจจุบันภาษาบาลีถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว เหมือนภาษาละติน ถึงแม้มีคนใช้พูดอยู่ก็น้อยมาก ในพระพุทธศาสนามีเพียงนิกายเถรวาทที่ใช้ภาษาบาลี เช่นในพระไตรปิฎก เป็นต้น ความหวังผู้ที่สอบได้ ป..๙ สามารถเทียบเท่าระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ ดร.ทางฝ่ายโลกได้ คือ เป็น ดร.

ใหม่!!: เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและเปรียญธรรม 9 ประโยค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

คณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภาเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »