โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัดป่าสักเรไรและเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง วัดป่าสักเรไรและเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา

วัดป่าสักเรไร vs. เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา

วัดป่าสักเรไร ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดหัวหาด ตั้งอยู่เลขที่ 48 หมู่บ้านหัวหาด หมู่ที่ 5 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5. ตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เป็นเขตปกครองของพระภิกษุสงฆ์เถรวาท ฝ่ายมหานิกายระดับตำบล ขึ้นตรงต่อเจ้าคณะเหนือกว่าภายในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ตามการแบ่งเขตพื้นที่การปกครองคณะสงฆ์ไทยในกำกับของมหาเถรสมาคม เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีอาณาเขตการปกครองคณะสงฆ์และรับผิดชอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาทครอบคลุมพื้นที่ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ และบางส่วนของตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (ไม่มีวัดธรรมยุติในเขตพื้นที่ปกครองตำบลนี้) ปัจจุบันมีพระครูสุจิตพัฒนพิธาน (สมพงษ์ สมจิตฺโต) (วัดใหม่เจริญธรรม) เป็นเจ้าคณะตำบลแห่งนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีสำนักเรียนพระปริยัติธรรมสำหรับพระสงฆ์ครบสองแผนกทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี โดยมีสำนักเรียนอยู่ที่วัดใหม่เจริญธรรม อันเป็นวัดเจ้าคณะตำบลในปัจจุบัน และมีสำนักศาสนศึกษาสำหรับคฤหัสถ์ (ธรรมศึกษา) จำนวน 1 แห่ง คือ สำนักศาสนศึกษาวัดคุ้งตะเภา ในปัจจุบันเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา ได้ครอบคลุมถึงพื้นที่บางส่วนในตำบลผาจุกด้วย โดยมีวัดในเขตการปกครองจำนวน 7 วัด และ 2 สำนักสงฆ์ ในปี พ.ศ. 2552 มีพระภิกษุและสามเณรจำพรรษาในวัดในเขตปกครองประมาณ 40 รูป.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง วัดป่าสักเรไรและเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา

วัดป่าสักเรไรและเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มหานิกายวัดหาดเสือเต้นวัดคุ้งตะเภาวิสุงคามสีมาจังหวัดอุตรดิตถ์ตำบลคุ้งตะเภาเถรวาทเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 5

มหานิกาย

มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกาย หรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ เดิมนั้น คำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยออกเป็นมหานิกายและธรรมยุติกนิกายยังไม่มี เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์ไทยนั้นล้วนแต่เป็นเถรวาทสายลังกาวงศ์ทั้งสิ้น จนเมื่อพระวชิรญาณเถระ หรือเจ้าฟ้ามงกุฏ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4) ได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แยกออกจากคณะพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิมซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้น จึงทำให้พระองค์คิดคำเรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เป็นสายเถรวาทลังกาวงศ์เดิมว่า พระส่วนมาก หรือ มหานิกาย ซึ่งคำ มหานิกาย นั้น มาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลี มหนฺต + นิกาย แปลว่าพวกมาก กล่าวโดยสรุป มหานิกายก็คือ พระสงฆ์สายเถรวาทลังกาวงศ์ดั้งเดิมในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมยุติกนิก.

มหานิกายและวัดป่าสักเรไร · มหานิกายและเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

วัดหาดเสือเต้น

วัดหาดเสือเต้น ตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเสือเต้น หมู่ที่ 6 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา ตัววัดมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านหาดเสือเต้น ริมถนนทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1213 สายป่าขนุน-ห้วยฉลอง.

วัดป่าสักเรไรและวัดหาดเสือเต้น · วัดหาดเสือเต้นและเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

วัดคุ้งตะเภา

วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย และเป็น 1 ใน 9 วัดศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 (ถนนสายเอเชีย) วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รับสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช 1132 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นมาปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี และประทับชำระคณะสงฆ์ จัดการหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งวัดคุ้งตะเภา เป็นเพียงวัดแห่งเดียวในปริมณฑลเมืองพิชัยและสวางคบุรี ที่ปรากฏหลักฐานการสถาปนาวัดในปีนั้น ตำนานวัดเล่าสืบกันมานับร้อยปีว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้คนย้ายกลับมาตั้งครัวเรือน สร้างวัดและศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ณ ริมคุ้งสำเภา พร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดคุ้งตะเภา" ปัจจุบันทางราชการได้นำชื่อคุ้งตะเภาไปใช้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและชื่อตำบลคุ้งตะเภาสืบมาจนปัจจุบัน วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เคยเป็นวัดที่สถิตย์ของพระครูสวางคมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาตั้งแต่โบราณ โดยเป็นวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และสองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสององค์นั้นจัดได้ว่าเป็น 2 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ คือ พระพุทธสุวรรณเภตรา และ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ปัจจุบันวัดคุ้งตะเภาเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3 (สำนักปฏิบัติธรรมภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม)หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ และเป็นวัดประจำตำบลที่มีสถิติพระภิกษุสามเณรจำพรรษามากที่สุดในตำบลคุ้งตะเภา เป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนศึกษาของคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาโดยพฤตินัย โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักเลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ฝ่ายการศึกษาคณะสงฆ์ สำนักศาสนศึกษาประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคุ้งตะเภา (อปต.) ซึ่งเป็นหน่วยอบรมฯ ที่มีผลงานดีเด่นระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) เป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา (จร.).

วัดคุ้งตะเภาและวัดป่าสักเรไร · วัดคุ้งตะเภาและเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

วิสุงคามสีมา

วิสุงคามสีมา (อ่านว่า วิสุงคามะสีมา) แปลว่า เขตแดนส่วนหนึ่งจากแดนบ้าน คือที่ดินที่แยกต่างหากจากที่ดินของบ้านเมือง เป็นเขตที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์เป็นการเฉพาะเพื่อใช้สร้างอุโบสถโดยประกาศเป็นพระบรมราชโองการ ที่ที่พระราชทานแล้วจะมีเครื่องหมายเป็นเครื่องบอกเขต เครื่องหมายนี้เรียกว่า นิมิต ภายในวิสุงคามสีมานิยมสร้างโรงอุโบสถไว้เพื่อทำสังฆกรรม การที่จะได้เป็นอุโบสถถูกต้องตามพระวินัยนั้นจะต้องได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก่อน แล้วพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันสวดถอนพื้นที่ทั้งหมดในเขตสีมานั้นเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นสีมาเก่า เรียกว่าถอนสีมา หลังจากนั้นจึงสวดประกาศให้เป็นพื้นที่นั้นเป็นสีมา เรียกว่า ผูกสีมา ทำดังนี้จึงจะเป็นสีมาหรือเป็นอุโบสถถูกต้องตามพระวินั.

วัดป่าสักเรไรและวิสุงคามสีมา · วิสุงคามสีมาและเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

จังหวัดอุตรดิตถ์และวัดป่าสักเรไร · จังหวัดอุตรดิตถ์และเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลคุ้งตะเภา

ตำบลคุ้งตะเภา เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลคุ้งตะเภาเป็นตำบลขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าสองร้อยปี เดิมการปกครองของตำบลคุ้งตะเภาขึ้นอยู่กับตำบลท่าเสา อำเภอบางโพ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน) ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2490 จึงได้แยกการปกครองจากตำบลท่าเสามาตั้งเป็นตำบลใหม่ ปัจจุบันแบ่งหน่วยการปกครองเป็นหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน มีประชากร 8,735 คน เป็นชาย 4,265 คน หญิง 4,470 คน ประชากรตำบลคุ้งตะเภาส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีศาสนสถานในเขตตำบล 7 แห่ง สถานีอนามัยประจำตำบล 1 แห่ง และ โรงเรียนระดับพื้นฐาน 6 โรง มีแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคที่สำคัญคือ แม่น้ำน่าน เส้นทางคมนาคมหลักคือ ถนนสายเอเชีย (ทางหลวงหมายเลข 11) ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบัน นายไพทูรย์ พรหมน้อย เป็นกำนันตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งในปัจจุบันตำบลคุ้งตะเภามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับ เทศบาลตำบล มีพื้นที่ตลอดทั้งตำบลคุ้งต.

ตำบลคุ้งตะเภาและวัดป่าสักเรไร · ตำบลคุ้งตะเภาและเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

วัดป่าสักเรไรและเถรวาท · เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 5

ตปกครองคณะสงฆ์ภาค 5 เป็นส่วนหนึ่งของเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2505 ฉบับแก้ไขปรับปรุงพุทธศักราช 2535 ที่ให้อำนาจมหาเถรสมาคมในการจัดแบ่ง และแต่งตั้งผู้ปกครองที่เรียกว่าเจ้าคณะภาค อันมีอำนาจหน้าที่ในการมอบนโยบาย บริหารกิจการคณะสงฆ์ ในเข 4 จังหวัด อันประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดสุโขทัย, จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดตาก ปัจจุบันในฝ่ายมหานิกายมีพระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) (ป.ธ.๙) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นเจ้าคณ.

วัดป่าสักเรไรและเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 5 · เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาและเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 5 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง วัดป่าสักเรไรและเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา

วัดป่าสักเรไร มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มี 71 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 9.30% = 8 / (15 + 71)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง วัดป่าสักเรไรและเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »