เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ฮิสตามีน

ดัชนี ฮิสตามีน

ีสตามีน (Histamine) เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบ หลั่งจากมาสต์เซลล์ (Mast cell) เบโซฟิล และเกล็ดเลือด เมื่อเนื้อเยื่อถูกทำลาย ฮีสตามีนที่หลังมาจากเซลล์เหล่านี้จะจับกับตัวรับ (Receptor) ที่เส้นเลือดฝอยและเส้นเลือดดำขนาดเล็ก (Venule) ทำให้เส้นเลือดขยายตัวและเพิ่มการไหลผ่านของพลาสมาในเส้นเลือ.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: การอักเสบสารต้านฮิสตามีนหลอดเลือดดำเบโซฟิลเกล็ดเลือด

  2. ระบบภูมิคุ้มกัน
  3. สารสื่อประสาท
  4. เอมีน

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ดู ฮิสตามีนและการอักเสบ

สารต้านฮิสตามีน

รต้านฮิสตามีน (antihistamine) หรือ ทั่วไปเรียกว่า ยาแก้แพ้ เป็น ยา ที่ใช้กำจัดหรือลดผลของ ฮิสตามีน (histamine) ซึ่งเป็นเป็นสารเคมีที่ถูกปลดปล่อยภายในร่างกายจาก ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (allergic reactions) โดยผ่านการกระทำที่ ตัวรับฮิสตามีน (histamine receptors) สารที่มีผลในการรักษาจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งตัวรับฮีสทามีนนี้จึงถูกเรียกว่า สารต้านฮีสตามีน - สารอื่นที่มีผลต้านฮีสทามีนแต่ไม่ออกฤทธิ์ที่ ตัวรับฮิสตามีน จะไม่เป็นสารต้านฮีสทามีนที่แท้จริง โดยทั่วไป สารต้านฮีสตามีนจะหมายถึง ตัวรับปฏิปักษ์ H1 ซึ่งเรียกว่า สารต้านฮิสตามีน-H1 เราพบว่า สารต้านฮิสตามีน-H1เป็น ตัวทำการกลับ (inverse agonist) ที่ตัวรับฮิสตามีน-H1มากกว่าที่จะเป็น ตัวรับปฏิปักษ์ per se.

ดู ฮิสตามีนและสารต้านฮิสตามีน

หลอดเลือดดำ

ในระบบไหลเวียนโลหิต หลอดเลือดดำ (vein) เป็นหลอดเลือดที่นำพาเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ หน้าที่หลักของหลอดเลือดดำคือการขนส่งเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่หัวใจ ยกเว้นหลอดเลือดดำจากปอด (pulmonary vein) และหลอดเลือดดำอัมบิลิคัล (umbilical vein) ที่ขนส่งเลือดที่มีออกซิเจนสูง.

ดู ฮิสตามีนและหลอดเลือดดำ

เบโซฟิล

ลักษณะของ Basophil เบโซฟิล (Basophil) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล มีขนาดประมาณ 10-14 ไมครอน ปกติจะมีนิวเคลียส 2 lobe แต่อาจจะมองไม่เห็น เนื่องจากถูกแกรนูลบังไว้ แกรนูลนั้นจะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน โดยมีขนาดประมาณ 0.2-1 ไมครอน ซึ่งจะติดสีม่วงอมดำเมื่อมองจากฟิล์มเลือด ภายในแกรนูลนั้นจะมีสาร histamine ซึ่งจะตอบสนองต่อโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ โดยปกติเราสามารถพบ Basophil ในไขกระดูกประมาณ 0-1 เปอร์เซนต์ และในกระแสเลือด ประมาณ 0-2 เปอร์เซนต์ต่อเม็ดเลือดขาวทั้งหมด หรือประมาณ 0-216 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร Basophil สร้างจากไขกระดูกโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 7 ชั่วโมง ก่อนที่จะเคลื่อนที่ไปยังกระแสเลือด และเนื้อเยื่อ ตามลำดับ หน้าที่ของ basophil จะเกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อการแพ้ต่าง ๆ โดยการหลั่งสารพวก histamine เป็นต้น โดยเราสามารถพบภาวะที่ basophil สูงขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น Hypersensitivity reactions หรือพวก Myeoloproliferative disorder เป็นต้น.

ดู ฮิสตามีนและเบโซฟิล

เกล็ดเลือด

กล็ดเลือด (platelet หรือ thrombocyte, เซลล์ลิ่มเลือด) เป็นส่วนประกอบของเลือดซึ่งมีหน้าที่ทำให้เลือดหยุดร่วมกับปัจจัยเลือดจับลิ่ม (coagulation factors) โดยเกาะกลุ่มและจับลิ่มการบาดเจ็บของหลอดเลือด เกล็ดเลือดไม่มีนิวเคลียสของเซลล์ เป็นส่วนหนึ่งของไซโทพลาซึมที่มาจากเมกาคาริโอไซต์ (megakaryocyte) ของไขกระดูก แล้วเข้าสู่ระบบไหลเวียน เกล็ดเลือดที่ยังไม่ปลุกฤทธิ์มีโครงสร้างคล้ายจานนูนสองข้าง (ทรงเลนส์) เส้นผ่านศูนย์กลางมากสุด 2–3 ไมโครเมตร เกล็ดเลือดพบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนสัตว์อื่น เกล็ดเลือดไหลเวียนเป็นเซลล์นิวเคลียสเดี่ยวMichelson, Platelets, 2013, p.

ดู ฮิสตามีนและเกล็ดเลือด

ดูเพิ่มเติม

ระบบภูมิคุ้มกัน

สารสื่อประสาท

เอมีน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Histamine