โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฮิซะชิ โอะวะดะ

ดัชนี ฮิซะชิ โอะวะดะ

ซะชิ โอะวะดะ (เกิด 18 กันยายน ค.ศ. 1932) เป็นนักนิติศาสตร์ชาวญี่ปุ่น และตุลาการศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นพระสสุระในมกุฎราชกุมารญี่ปุ่นองค์ปัจจุบัน.

19 ความสัมพันธ์: มหาวิทยาลัยวะเซะดะมหาวิทยาลัยนิวยอร์กมหาวิทยาลัยโตเกียวมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ราชวงศ์ญี่ปุ่นวอชิงตัน ดี.ซี.ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศศาลอนุญาโตตุลาการถาวรสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะสหราชอาณาจักรองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจจังหวัดนีงาตะธนาคารโลกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประเทศญี่ปุ่นประเทศไทยเจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นเจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่นUNSC

มหาวิทยาลัยวะเซะดะ

ในบริเวณมหาวิทยาลัยวะเซะดะ มหาวิทยาลัยวะเซะดะ หรือมักจะเรียกย่อว่า โซได (早大) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนตั้งอยู่ในเขตชินจูกุในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) ถือว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น และอยู่ในลำดับต้น ๆ ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น วะเซะดะมีชื่อเสียงในด้านเศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจและรัฐศาสตร์ และในด้านอื่นหลายด้านซึ่งวะเซะดะมักจะถูกเทียบกับมหาวิทยาลัยเคโอ ที่มีชื่อเสียงมากเช่นกันในญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองมหาวิทยาลัยจะมีกีฬาเบสบอลแข่งกันของทั้งสองมหาวิทยาลัยคล้าย ๆ กับมหาวิทยาลัย Oxford-Cambridge ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของฝั่งอังกฤษและที่มีกีฬาพายเรือแข่งกัน มหาวิทยาลัยวะเซะดะ ยังอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ Tokyo 6 Universities Alliance ซึ่งเทียบเคียงได้กับกลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีกในประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและมหาวิทยาลัยวะเซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก

มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (New York University) (โดยทั่วไปเรียกว่า NYU หรือ เอ็นวายยู) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง นิวยอร์ก ในรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) มหาวิทยาลัยนิวยอร์กเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีจำนวนนักศึกษากว่า 50,000 คน มหาวิทยาลัยนิวยอร์กประกอบไปด้วย 16 คณะและวิทยาลัย โดยมีวิทยาเขตอยู่ทั้งในใจกลางเกาะแมนฮัตตันและบรู๊กลิน นอกจากนี้ยังมีสำนักงานและสถาบันวิจัยอยู่ทั่วโลก อาทิเช่น ลอนดอน ปารีส มาดริด เบอร์ลิน เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ และวิทยาเขตต่างประเทศที่กรุงอาบูดาบี มหาวิทยาลัยนิวยอร์กมีคณาจารย์และศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลโนเบล 31 คน รางวัลอาเบล 3 คน รางวัลพูลิตเซอร์ 16 คน รวมถึงรางวัลออสการ์ รางวัลเอมมี่ รางวัลแกรมมีและรางวัลโทนีรวม 19 คน มหาวิทยาลัยนิวยอร์กมีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษในด้าน กฎหมาย ธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ การแสดงและการภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโตเกียว

หอประชุมยาสุดะในมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยโตเกียว หรือย่อว่า โทได เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะของมหาวิทยาลัยวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองโตเกียว มีพื้นที่แยกออกเป็น 5 วิทยาเขต ใน ฮงโง โคมะบะ คะชิวะ ชิโระงะเนะ และ นะกะโนะ และได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีเกียรติมากที่สุดในญี่ปุ่น และยังจัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยโตเกียวประกอบด้วย 10 คณะซึ่งมีนักศึกษารวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 2,100 คนเป็นนักศึกษาไทยประมาณ 150 คน (ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงทีสุดในบรรดามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น) ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมสาขาวิทยาการเกือบทั้งหมด แต่ที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษคือ กฎหมาย รัฐศาสตร์ วรรณกรรม เศรษฐศาสตร์ แพทยศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ผลิตนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงของญี่ปุ่นจำนวนมาก นับแต่อดีตจนปัจจุบันแม้ว่าสัดส่วนจะลดลงก็ตาม อัตราส่วนของรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละช่วงคริสต์ศตวรรษจะอยู่ที่ประมาณ 2/3 1/2 1/4 1/5 และ1/6 ในช่วงคริสศตวรรษที่ 1950 60 70 80 และ 90 ตามลำดับ มหาวิทยาลัยโตเกียวมีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูงในหลากหลายสาขาวิชา และมีอัตราการแข่งขันในการเข้าศึกษาสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียวมีมหาวิทยาลัยคู่แข่งอยู่หกมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเคโอซึ่งก่อตั้งก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากในหมู่คนญี่ปุ่นและเปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเกียวโตซึ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมาก หนึ่งในศิษย์เก่าเจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยโตเกียวคืออธิการบดีมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพิเรียลชื่อ ศาสตราจารย์ คิคุจิ ไดโรกุ ในด้านกีฬา ทีมเบสบอลมหาวิทยาลัยโตเกียว ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในระดับมหาวิทยาลัยของกรุงโตเกียว ศูนย์ฮงโหงะเป็นศูนย์หลักของมหาวิทยาลัยซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของตระกูล "มาเอดะ" ช่วงสมัยเอโดะผู้เป็นเจ้าเมืองเคหงะ สัญลักษณ์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักและอยู่จนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยคือ "อะกามง" (ประตูแดง) ส่วนตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปใบแปะก๊วย ซึ่งปลูกอยู่เรียงรายทั่วทั้งบริเวณของมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและมหาวิทยาลัยโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกและยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า อ๊อกซบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College)หมายถึง คณะที่เป็นที่อยู่ของนักศึกษาจากหลายสาขาวิชา นักศึกษาจะพักอาศัยกินอยู่และทบทวนวิชาเรียนในคณะอาศัย แต่การเรียนการทำวิจัยต้องทำในคณะวิชา จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอแรม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้ว.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ญี่ปุ่น

ราชวงศ์ญี่ปุ่น (Imperial House of Japan.) บ้างเรียก ราชวงศ์ยะมะโตะ หรือ ราชวงศ์เบญจมาศ เป็นหนึ่งในราชวงศ์มีการสืบทอดสันตติวงศ์มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิจินมุ (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1203 ตามตำนาน) โดยเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศนานที่สุดในโลกถึง 1,348 ปี และเป็นราชวงศ์ที่มีการสืบสันติวงศ์มากที่สุดในโลก จนถึงปัจจุบันรวมได้ถึง 125 รัชกาลแล้ว แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนมากอ้างว่าจักรพรรดิ 14 พระองค์แรกเป็นจักรพรรดิในตำนาน อนึ่งเนื่องจากประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นนั้นเริ่มทีหลังจากการมีจักรพรรดิ 14 พระองค์แรก จึงเป็นเรื่องถกเถียงกันว่า หากยังไม่ได้มีการรวมชาติใด ๆ จะมีจักรพรรดิได้เช่นไร สัญลักษณ์ประจำราชวงศ์คือ คิกุ (เรียกเต็มว่า คิกกะมนโช แปลว่า ลัญจกรดอกเบญจมาศ ราชวงศ์ญี่ปุ่นเป็นราชวงศ์แห่งเดียวในโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ถึงแม้จะพ่ายแพ้ในสงคราม แต่พระราชวงศ์ก็มิได้ถูกล้มล้าง แม้สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะจะเป็นผู้ให้การต่อต้านการทำสงครามแต่ก็เป็นผู้คุมอำนาจสำคัญของการทำศึกต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ยินยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมญี่ปุ่นแทนการถูกนำตัวไปขึ้นศาลโลกในฐานะอาชญากรสงครามและล้มล้างพระราชวงศ์ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเรียก "จักรพรรดิ" ว่า เท็นโน หมายถึง เทพเจ้าที่มาจากสวรรค์ ซึ่งเป็นคำจำกัดความของ "กษัตริย์ญี่ปุ่น" ราชวงศ์ญี่ปุ่นเคยได้รับการเคารพในฐานะอวตารเทพ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1946 สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะมีพระโองการว่า ทรงเป็นคนธรรมดา และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและราชวงศ์ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

วอชิงตัน ดี.ซี.

กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตปกครองพิเศษโคลอมเบีย (District of Columbia) มักเรียกทั่วไปว่า กรุงวอชิงตัน (Washington) หรือ ดี.ซี (D.C.) เป็นเมืองหลวงของสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา โดยชื่อ วอชิงตัน มาจากชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนหนึ่ง วอชิงตันเป็นนครหลักนครหนึ่งของเขตมหานครวอชิงตัน (Washington Metropolitan Area) โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในวอชิงตันจำนวนประมาณ 6,131,977 คน โดยวอชิงตันได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางการเมืองของโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางสหรัฐและสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำนวนมากเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น กรุงวอชิงตันเป็นนครที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดนครหนึ่งในโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวอชิงตัน ปีละประมาณ 20 ล้านคน การลงนามรัฐบัญญัติที่ตั้งในสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและวอชิงตัน ดี.ซี. · ดูเพิ่มเติม »

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice; ICJ) หรือภาษาปากว่า ศาลโลก (World Court) เป็นศาลซึ่งตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติ เมื่อ..

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร

ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration, ย่อ: PCA) เป็นองค์การระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งขึ้นในปี 2442 ในการประชุมสันติภาพเฮกครั้งแรก PCA ส่งเสริมการแก้ไขข้อพิพาทซึ่งเกี่ยวข้องกับรัฐ หน่วยการปกครองรัฐ (state entity) องค์การระหว่างประเทศและภาคีเอกชนโดยสนับสนุนการสถาปนาศาลอนุญาโตตุลาการและส่งเสริมงานของศาลเหล่านั้น PCA ต่างจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในอาคารเดียวกัน คือ วังสันติภาพในกรุงเฮก หมวดหมู่:องค์การระหว่างรัฐบาล หมวดหมู่:องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2499 หมวดหมู่:องค์การที่ตั้งอยู่ในกรุงเฮก หมวดหมู่:ศาลและศาลชำนัญพิเศษอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและศาลอนุญาโตตุลาการถาวร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ

มเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่น และเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 125 ของญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณกาล ในปัจจุบันนี้พระองค์เป็นพระประมุขเพียงพระองค์เดียวในโลกที่ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นจักรพรรดิ ในญี่ปุ่น การเอ่ยถึงพระจักรพรรดิ จะเรียกพระนามของพระองค์โดยตรงไม่ได้ แต่จะเอ่ยถึงพระองค์ว่า เท็นโน เฮกะ หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิ และรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะจะเรียกว่า ยุคเฮเซ หลังจากที่สิ้นยุคของพระองค์แล้ว อาจมีการขนานพระนามพระองค์ว่า จักรพรรดิเฮเซ.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ โออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก แต่เดิมองค์กรนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในนามองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรปหรือโออีอีซี (Organization for European Economic Co-operation: OEEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 (พ.ศ. 2491) ในช่วงสมัยสงครามเย็น วัตถุประสงค์คือเพื่อร่วมมือกันฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้กลับคืนมาและคงไว้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจทุนนิยมโดยแผนการมาร์แชลล์ สัญญาในการก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 เมษายน..1948 โดยมีสมาชิกประเทศยุโรปตะวันตกจำนวน 19 ประเทศ เป็นผู้ลงนาม ได้แก่ ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, ฝรั่งเศส, กรีซ, ไอซ์แลนด์, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, นอร์เวย์, เนเธอร์แลนด์,โปรตุเกส, อังกฤษ, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ตุรกี, สหรัฐอเมริกา,เยอรมนีตะวันตกและแคว้นอิสระของตรีเอสเต โปสเตอร์สำหรับแผนมาร์แชลล์แสดงธงชาติของประเทศในยุโรปตะวันตก รวมไปถึงแคว้นอิสระตรีเอสเตที่มีพื้นหลังสีฟ้าอย่างเป็นทางการของสหประชาชาติ นอกจากจะเป็นการฟื้นฟูยุโรปแล้วยังเป็นการต่อต้านหยุดยั้งไม่ให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตมาเผยแพร่ที่ยุโรปตะวันตกและยังเป็นการโน้มน้าวให้ยุโรปตะวันออกที่เป็นประเทศบริวารให้เห็นด้วยและเข้าร่วม แต่ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตภายใต้การนำของโจเซฟ สตาลินได้หวาดระแวงแผนการมาร์แชลล์ โดยมองว่า เป็นแผนการร้ายของสหรัฐฯที่จะขยายอิทธิพลและเผยแพร่ลัทธิระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจทุนนิยมเข้าสู่ยุโรปตะวันออกจึงทำการบีบบังคับประเทศบริวารในยุโรปตะวันออกให้ปฏิเสธแผนการดังกล่าวและได้เสนอแผนการโมโลตอฟ(Molotov Plan)ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ขึ้นมาแทนเพื่อเป็นการโต้ตอบแผนการมาร์แชล พร้อมก่อตั้งสภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือคอมิคอน (Council for Mutual Economic Assistance, Comecon) เพื่อเป็นการคานอำนาจจากองค์กรโออีอีซีเช่นเดียวกับสนธิสัญญาวอร์ซอต่อต้านองค์กรนาโต (แต่จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1991 คอมิคอนก็ได้ถูกยกเลิกไปพร้อมกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต) ต่อมาในช่วงหลังสงครามเย็นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากองค์กรโออีอีซีมาเป็นโออีซีดี และมีการลงนามกันใหม่อีกครั้ง ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนีงาตะ

ังหวัดนีงาตะ หรือ นีกาตะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่บริเวณภาคชูบุของญี่ปุ่น มีเมืองเอกในชื่อเดียวกัน นีงาต.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและจังหวัดนีงาตะ · ดูเพิ่มเติม »

ธนาคารโลก

นาคารโลก (World Bank) หรือเรียกว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ (International Bank for Reconstruction and Development; IBRD) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยประเทศมหาอำนาจในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นองค์กรอยู่ในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 188 ประเทศ เงินทุนของธนาคารโลกได้มาจากการจำหน่ายพันธบัตรในตลาดการเงินสำคัญของโลก ค่าบำรุงจากประเทศสมาชิก และเงินค่าหุ้นของประเทศสมาชิก.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและธนาคารโลก · ดูเพิ่มเติม »

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council; UNSC) เป็นหนึ่งใน 6 เสาหลักของสหประชาชาติ และเป็นองค์กรในสหประชาชาติที่มีอิทธิพลรองลงมาจากสมัชชาใหญ่ เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการเรียกระดมพลจากรัฐสมาชิกในสหประชาชาติเพื่อจัดตั้งเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพในประเทศและสงครามต่างๆ และยังมีอำนาจในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศต่าง.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น

้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมาร หรืออดีต เจ้าฮิโระ ประสูติ ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกะคุชูอิน และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ทรงสนพระทัยในเรื่องของประวัติศาสตร์และดนตรี และยังโปรดปรานการสีวิโอลาอีกด้วย พระองค์ทรงอภิเษกกับมะซะโกะ โอะวะดะ ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสาขาเศรษฐศาสตร์ และทางด้านการทูตที่กระทรวงการต่างประเท.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและเจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น

้าหญิงมะซะโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น (ประสูติ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506) พระชายาในเจ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ โดยสมาชิกราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่นหลังจากการอภิเษกสมร.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและเจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

UNSC

UNSC อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ฮิซะชิ โอะวะดะและUNSC · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hisashi OwadaOwada Hisashi

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »