เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อุโมงค์เขาพลึง

ดัชนี อุโมงค์เขาพลึง

อุโมงค์เขาพลึง อุโมงค์เขาพลึง เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของไทย และเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่าง ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ กับ ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ระหว่างที่หยุดรถไฟเขาพลึง(จ.อุตรดิตถ์)กับ ห้วยไร่(จ.แพร่) มีความยาว 362.44 เมตร อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 516.410-516.773 ภายในอุโมงค์เป็นผนังคอนกรีต แต่จะมีบางส่วนที่เป็นหินล้วนๆ ไม่ได้มีการดาดคอนกรีตลอดอุโมงค์ ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12 เมตร) บริเวณปากอุโมงค์ฯ จะมีที่หยุดรถไฟเขาพลึง ที่ผู้โดยสารสามารถลงที่นี่ได้ โดยมีขบวนรถที่หยุด ณ สถานีนี้เพียง 2 ขบวนรถท้องถิ่น คือ นครสวรรค์-เชียงใหม่ (ขาขึ้น-ขาล่อง) อุโมงค์เขาพลึง อยู่ห่างกันกับอุโมงค์ปางตูบขอบ เพียง 2 กิโลเมตร หากเดินทางจากสถานีรถไฟปางต้นผึ้ง ไปยังที่หยุดรถไฟเขาพลึง ต้องผ่านอุโมงค์ทั้ง 2 แห่งนี้.

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนืออำเภอเมืองอุตรดิตถ์อำเภอเด่นชัยอุโมงค์ปางตูบขอบจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดแพร่ที่หยุดรถไฟเขาพลึง

รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ

รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายเหนือ หมายเหตุ: ที่หยุดรถ หมายถึง สถานีรถไฟที่ไม่มีอาคารสถานีและนายสถานีประจำ แต่อาจมีที่พักผู้โดยสารและที่ขายตั๋วแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจถูกยุบเลิกหรือตั้งใหม่ได้ ที่หยุดรถบางที่อาจไม่มีรถหยุดเลยแม้แต่รถธรรมดา สำหรับสถานีทุกแห่ง รถธรรมดาจะหยุดทุกสถานี รถเร็ว จะหยุดเป็นบางสถานี รถด่วนและด่วนพิเศษ จะหยุดห่างขึ้นตามศักดิ์ของขบวน.

ดู อุโมงค์เขาพลึงและรายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ

อำเภอเมืองอุตรดิตถ์

อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ชื่อเดิม อำเภอบางโพ ขึ้นอยู่กับเมืองพิชัย มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงใช้ชื่ออำเภอบางโพเป็นอำเภอเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ปัจจุบันตัวอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ที่ตั้งของอำเภอเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ ธุรกิจ เศรษฐกิจของจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักวีรบุรุษของชาวอุตรดิตถ์ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิต.

ดู อุโมงค์เขาพลึงและอำเภอเมืองอุตรดิตถ์

อำเภอเด่นชัย

อำเภอเด่นชัย (38px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดแพร่ ทั้งทางถนน และ ทางรถไฟ มีสถานีรถไฟเด่นชัยเป็นสถานีประจำจังหวัดแพร่ และ ถนนที่เชื่อมไปยังจังหวัดต่างๆ ทั้งทางภาคเหนือตอนบนและกรุงเทพมหานคร.

ดู อุโมงค์เขาพลึงและอำเภอเด่นชัย

อุโมงค์ปางตูบขอบ

อุโมงค์ปางตูบขอบ เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างสถานีรถไฟปางต้นผึ้ง กับที่หยุดรถไฟเขาพลึง มีความยาว 120.09 เมตร ภายในเป็นผนังก่ออิฐ ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12 เมตร) อยู่บนเส้นทางรถไฟสายเหนือ บริเวณกิโลเมตรที่ 513.721-513.841อุโมงค์ปางตูมขอบ อุโมงค์ปางตูบขอบ อยู่ห่างกันกับอุโมงค์เขาพลึง เพียง 2 กิโลเมตร หากเดินทางจากสถานีรถไฟปางต้นผึ้ง ไปยังที่หยุดรถไฟเขาพลึง ต้องผ่านอุโมงค์ทั้ง 2 แห่งนี้.

ดู อุโมงค์เขาพลึงและอุโมงค์ปางตูบขอบ

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

ดู อุโมงค์เขาพลึงและจังหวัดอุตรดิตถ์

จังหวัดแพร่

ังหวัดแพร่ (25px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อดีตนครรัฐอิสระขนาดเล็ก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา โดยมีทิวเขาล้อมรอบ และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม.

ดู อุโมงค์เขาพลึงและจังหวัดแพร่

ที่หยุดรถไฟเขาพลึง

ที่หยุดรถไฟเขาพลึง เป็นที่หยุดรถไฟ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 521.02 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ที่หยุดรถไฟเขาพลึงตั้งอยู่บริเวณปากทางอุโมงค์เขาพลึง ห่างจากปากอุโมงค์เพียง 250 เมตร เมื่อเดินทางจากสถานีรถไฟปางต้นผึ้ง มายังที่หยุดรถไฟเขาพลึง จะต้องผ่านอุโมงค์ 2 อุโมงค์ คือ อุโมงค์ปางตูมขอบ ความยาว 120.09 เมตร ที่กิโลเมตรที่ 513.72 ถึง 513.84 และอุโมงค์เขาพลึง ความยาว 362.44 เมตร ที่กิโลเมตรที่ 516.41 ถึง 516.77.

ดู อุโมงค์เขาพลึงและที่หยุดรถไฟเขาพลึง