โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุโมงค์ปางตูบขอบ

ดัชนี อุโมงค์ปางตูบขอบ

อุโมงค์ปางตูบขอบ เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างสถานีรถไฟปางต้นผึ้ง กับที่หยุดรถไฟเขาพลึง มีความยาว 120.09 เมตร ภายในเป็นผนังก่ออิฐ ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12 เมตร) อยู่บนเส้นทางรถไฟสายเหนือ บริเวณกิโลเมตรที่ 513.721-513.841อุโมงค์ปางตูมขอบ อุโมงค์ปางตูบขอบ อยู่ห่างกันกับอุโมงค์เขาพลึง เพียง 2 กิโลเมตร หากเดินทางจากสถานีรถไฟปางต้นผึ้ง ไปยังที่หยุดรถไฟเขาพลึง ต้องผ่านอุโมงค์ทั้ง 2 แห่งนี้.

6 ความสัมพันธ์: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือสถานีรถไฟปางต้นผึ้งอำเภอเมืองอุตรดิตถ์อุโมงค์เขาพลึงจังหวัดอุตรดิตถ์ที่หยุดรถไฟเขาพลึง

รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ

รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายเหนือ หมายเหตุ: ที่หยุดรถ หมายถึง สถานีรถไฟที่ไม่มีอาคารสถานีและนายสถานีประจำ แต่อาจมีที่พักผู้โดยสารและที่ขายตั๋วแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจถูกยุบเลิกหรือตั้งใหม่ได้ ที่หยุดรถบางที่อาจไม่มีรถหยุดเลยแม้แต่รถธรรมดา สำหรับสถานีทุกแห่ง รถธรรมดาจะหยุดทุกสถานี รถเร็ว จะหยุดเป็นบางสถานี รถด่วนและด่วนพิเศษ จะหยุดห่างขึ้นตามศักดิ์ของขบวน.

ใหม่!!: อุโมงค์ปางตูบขอบและรายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟปางต้นผึ้ง

นีรถไฟปางต้นผึ้ง เป็นสถานีรถไฟระดับ 3 อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 509.36 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 10 บ้านปางต้นผึ้ง ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อักษรย่อของสถานีคือ ปต.

ใหม่!!: อุโมงค์ปางตูบขอบและสถานีรถไฟปางต้นผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองอุตรดิตถ์

อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ชื่อเดิม อำเภอบางโพ ขึ้นอยู่กับเมืองพิชัย มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงใช้ชื่ออำเภอบางโพเป็นอำเภอเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ปัจจุบันตัวอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ที่ตั้งของอำเภอเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ ธุรกิจ เศรษฐกิจของจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักวีรบุรุษของชาวอุตรดิตถ์ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิต.

ใหม่!!: อุโมงค์ปางตูบขอบและอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

อุโมงค์เขาพลึง

อุโมงค์เขาพลึง อุโมงค์เขาพลึง เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของไทย และเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ระหว่าง ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ กับ ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ระหว่างที่หยุดรถไฟเขาพลึง(จ.อุตรดิตถ์)กับ ห้วยไร่(จ.แพร่) มีความยาว 362.44 เมตร อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 516.410-516.773 ภายในอุโมงค์เป็นผนังคอนกรีต แต่จะมีบางส่วนที่เป็นหินล้วนๆ ไม่ได้มีการดาดคอนกรีตลอดอุโมงค์ ใช้หมอนไม้เนื้อแข็งและราง 70 อาร์ (12 เมตร) บริเวณปากอุโมงค์ฯ จะมีที่หยุดรถไฟเขาพลึง ที่ผู้โดยสารสามารถลงที่นี่ได้ โดยมีขบวนรถที่หยุด ณ สถานีนี้เพียง 2 ขบวนรถท้องถิ่น คือ นครสวรรค์-เชียงใหม่ (ขาขึ้น-ขาล่อง) อุโมงค์เขาพลึง อยู่ห่างกันกับอุโมงค์ปางตูบขอบ เพียง 2 กิโลเมตร หากเดินทางจากสถานีรถไฟปางต้นผึ้ง ไปยังที่หยุดรถไฟเขาพลึง ต้องผ่านอุโมงค์ทั้ง 2 แห่งนี้.

ใหม่!!: อุโมงค์ปางตูบขอบและอุโมงค์เขาพลึง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

ใหม่!!: อุโมงค์ปางตูบขอบและจังหวัดอุตรดิตถ์ · ดูเพิ่มเติม »

ที่หยุดรถไฟเขาพลึง

ที่หยุดรถไฟเขาพลึง เป็นที่หยุดรถไฟ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 521.02 กิโลเมตร ตั้งอยู่ในอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ที่หยุดรถไฟเขาพลึงตั้งอยู่บริเวณปากทางอุโมงค์เขาพลึง ห่างจากปากอุโมงค์เพียง 250 เมตร เมื่อเดินทางจากสถานีรถไฟปางต้นผึ้ง มายังที่หยุดรถไฟเขาพลึง จะต้องผ่านอุโมงค์ 2 อุโมงค์ คือ อุโมงค์ปางตูมขอบ ความยาว 120.09 เมตร ที่กิโลเมตรที่ 513.72 ถึง 513.84 และอุโมงค์เขาพลึง ความยาว 362.44 เมตร ที่กิโลเมตรที่ 516.41 ถึง 516.77.

ใหม่!!: อุโมงค์ปางตูบขอบและที่หยุดรถไฟเขาพลึง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อุโมงค์ปางตูมขอบ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »