โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล

ดัชนี อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล

อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล (Cathedral of the Immaculate Conception) เป็นอาสนวิหารประจำมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรี ตั้งอยู่บริเวณริมคลองจันทบุรี ตรงข้ามชุมชนเก่าแก่จันทบูร ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี วิหารปัจจุบันนี้เป็นหลังที่ 5 ซึ่งบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ ชาวฝรั่งเศส ได้ทำพิธีเสกขึ้นในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2452และก่อสร้างขึ้นโดยคุณพ่อเปรีกาล เดิมวิหารติดยอดแหลมบริเวณหอระฆังทั้ง 2 หอ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปี พ.ศ. 2483, ผู้จัดการ.สืบค้นเมื่อ 05/06/2559 ทางรัฐบาลได้มีคำสั่งให้ทำการรื้อออกด้วยเหตุผลว่าจะเป็นเป้าทิ้งระเบิดจากเครื่องบินรบ, amazing Thailand.สืบค้นเมื่อ 05/06/2559 จนภายหลังสงครามยุติก็ได้นำมาติดตั้งอีกครั้งในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552 วิหารแห่งนี้มีอายุรวมแล้วกว่า ปี อาสนวิหารนับเป็นวิหารที่อยู่คู่ชุมชนชาวจันทบูรมาช้านาน นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 วิหารแห่งแรกได้ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มชาวญวน 130 คน ที่หนีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในประเทศเวียดนาม เข้ามาตั้งรกรากในปี พ.ศ. 2254 โดยมีบาทหลวงเฮิ้ต โตแลนติโน เป็นผู้ดูแลกลุ่มชาวญวนเหล่านี้ และได้ทำการก่อสร้างวิหารหลังแรกขึ้นในระหว่างปี..

32 ความสัมพันธ์: ชาวญวนชาวฝรั่งเศสพ.ศ. 2254พ.ศ. 2295พ.ศ. 2377พ.ศ. 2398พ.ศ. 2449พ.ศ. 2452พ.ศ. 2483พ.ศ. 2552กอทิกการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนรายชื่อโบราณสถานในจังหวัดจันทบุรีสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9สถาปัตยกรรมกอทิกสงครามโลกครั้งที่สองอาสนวิหารอำเภอเมืองจันทบุรีจังหวัดจันทบุรีงานกระจกสีประเทศไทยประเทศเวียดนามโรมันคาทอลิกโนอาห์เรือโนอาห์เอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์เขตมิสซังจันทบุรีเครื่องบินทิ้งระเบิด10 มกราคม11 ธันวาคม6 มกราคม

ชาวญวน

วญวน หรือ เวียดนาม เรียกตนเองว่า เหวียต หรือ เหยียก (người Việt) หรือ กิญ (người Kinh) ภาษาไทยถิ่นอีสานและลาวเรียกว่า แกวแกว คือคำว่า แกว ๆ มีความหมายถึงเสียงดังแซดแต่ไม่ได้ศัพท์ ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์มองว่าน่าจะเป็นการล้อเลียนเสียงพูดในภาษาเวียดนามที่มีเสียงสูงต่ำตัดกันชัดเจนกว่าภาษาไทย-ลาว นอกจากนี้ยังมีคำลาวในวรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่งเรียกชาวเวียดนามอย่างเหยียดหยามว่า แย้, แกวแย้ และแกวม้อย (จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:ชนนิยม. 2556, หน้า 242-243) เป็นประชากรหลักของประเทศเวียดนาม และกระจายตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน เรียกว่า จิง จากการวิจัยของโรงพยาบาลแซ็ง-ลูยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในการเปรียบเทียบชาวเวียดนามกับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพันธุกรรมของประชากรอันใกล้ชิดด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยมีตัวแสดงเอกลักษณ์เจ็ดประการที่ไม่ซ้ำกัน ผลลัพธ์บ่งชี้ว่าเวียดนามเป็นชาติพันธุ์สืบมาจากจีนและไทย ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 ได้มีการศึกษายีน Human Leukocyte Antigen ที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลมักคายในกรุงไทเป ได้จำแนกชาวเวียดนามไว้ในกลุ่มพันธุกรรมเดียวกับม้ง, ฮั่นตอนใต้, ปู้อี และไทย พร้อมกับครอบครัวที่หลากหลายอันประกอบด้วยไทยเชื้อสายจีน, สิงคโปร์เชื้อสายจีน, ชนหมิ่นหนาน (ฮกโล้) และจีนแ.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและชาวญวน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2254

ทธศักราช 2254 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและพ.ศ. 2254 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2295

ทธศักราช 2295 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและพ.ศ. 2295 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2377

ทธศักราช 2377 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1834.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและพ.ศ. 2377 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2398

ทธศักราช 2398 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1855.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและพ.ศ. 2398 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2449

ทธศักราช 2449 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1906 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและพ.ศ. 2449 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2452

ื พุทธศักราช 2452 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1909 เป็ๆนปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและพ.ศ. 2452 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2483

ทธศักราช 2483 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1940 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและพ.ศ. 2483 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

กอทิก

กอทิก (Gothic) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ในภาพคริสตชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ การข่มเหงคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Persecution of Christians) หมายถึงการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกถูกเบียดเบียนทั้งจากชาวยิวและจักรวรรดิโรมันซึ่งปกครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ในขณะนั้น การเบียดเบียนครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 จนมาสิ้นสุดตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรรดิลิซิเนียสทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นการรับรองเสรีภาพทางศาสนาทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน จนต่อมาศาสนาคริสต์จึงกลายเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมันอย่างเป็นทางการ มิชชันนารีและผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ก็มักตกเป็นเป้าของการเบียดเบียน เป็นที่มาให้เกิดมรณสักขีในศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก แม้แต่ระหว่างนิกายในศาสนาคริสต์เองก็ยังเบียดเบียนกันเพราะกล่าวหาคริสต์ศาสนิกชนนิกายอื่นว่าเป็นพวกนอกรีต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสต์ศาสนิกชนยังคงถูกเบียดเบียนจากชาวมุสลิมและกลุ่มรัฐที่เป็นอเทวนิยม เช่น สหภาพโซเวียต ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2012) กลุ่มโอเพนดอรส์ประเมินว่ามีคริสต์ศาสนิกชนราวหนึ่งร้อยล้านคนถูกเบียดเบียน โดยเฉพาะในประเทศมุสลิม เช่น ประเทศอิหร่าน ประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศคอมมิวนิสต์ เช่น ประเทศเกาหลีเหนือ จากการศึกษาของสันตะสำนักพบว่าร้อยละ 75 ของผู้ที่ถูกฆ่าตายเพราะศาสนาเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดจันทบุรี

ันทบุรี หมวดหมู่:โบราณสถานในจังหวัดจันทบุรี หมวดหมู่:จังหวัดจันทบุรี.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและรายชื่อโบราณสถานในจังหวัดจันทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

ัญลักษณ์สมาคมสถาปนิกสยาม สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage of His Majesty the King) หรือ อาษา (ASA) เป็นสมาคมของบุคคลในวิชาชีพสถาปนิกและผู้ที่สนใจในงานสถาปัตยกรรมของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในสี่สมาคมวิชาชีพออกแบบสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยาม เป็นสมาคมที่มีลักษณะเป็นนิติบุคคล.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9

มเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 347 หรือ พระเจ้าท้ายสระนามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 165 หรือ พระเจ้าภูมินทราชา หรือ พระเจ้าบรรยงก์รัตนาสน์ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง..

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองจันทบุรี

อำเภอเมืองจันทบุรี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและอำเภอเมืองจันทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดจันทบุรี

ังหวัดจันทบุรี เป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 6,388 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้มีประมาณ 3 ใน 10 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และสระแก้วทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดระยองและชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 238 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด โดยอาชีพที่ประชากรในจังหวัดนิยมประกอบอาชีพมากที่สุดคือเกษตรกรรมและประมง และศาสนาที่มีการนับถือมากที่สุดในจังหวัดคือศาสนาพุท.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและจังหวัดจันทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โนอาห์

"การถวายเครื่องบูชาของโนอาห์" โดยดาเนียล แมคลิส โนอาห์ (Noah; נח) เป็นบุตรชายของลาเมค เกิดในปีที่ 1,056 หลังจากพระเจ้าสร้างอาดัม บิดาของเขากล่าวว่า “คน​นี้​จะ​ชู‍ใจ​เรา​ใน​การ‍งาน​ของ​เรา การ​ตราก‌ตรำ​ของ​มือ​เรา และ​จาก​แผ่น‍ดิน​ซึ่งพระยาห์เวห์ทรง​แช่ง‍สาปไว้” เรื่องราวของโนอาห์บันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่ 5 ถึงบทที่ 10 โน‌อาห์​เป็น​คน​ชอบ‍ธรรม ​ดี​พร้อม​ใน​สมัย​ของ​เขา โน‌อาห์​เชื่อฟังปฏิบัติตามพระ‍เจ้า และเป็น​ที่​โปรด‍ปราน​ใน​สาย‍พระ‍เนตร​ของ​พระ‍ยาห์‌เวห์ ท่ามกลางยุคสมัยที่พระ‍ยาห์‌เวห์​ทรง​เห็น​ว่า​ความ​ชั่ว‍ร้าย​ของ​มนุษย์​มี​มาก​บน​แผ่น‍ดิน.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและโนอาห์ · ดูเพิ่มเติม »

เรือโนอาห์

รือโนอาห์ (Noah's Ark) ถูกกล่าวถึงในพระธรรมปฐมกาลบทที่ 6 ก่อนที่พระเจ้าจะทรงทำลายมนุษย์ด้วยการทำให้น้ำท่วมโลก พระองค์ทรงเห็นว่าโนอาห์เป็นคนชอบธรรม ดีพร้อมในสมัยนั้น และดำเนินกับพระเจ้า สัตว์ต่างๆ ชนิดละคู่พากันมาขึ้นเรือ การก่อสร้างเรือโนอาห.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและเรือโนอาห์ · ดูเพิ่มเติม »

เอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์

ทหลวงเอมิล โอกุสต์ โกลงเบต์ (Émile August Colombet เอมีล โอกุสต์ กอลงแบ; 26 พฤษภาคม 1849 - 23 สิงหาคม 1933) บาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ผู้ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญ.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังจันทบุรี

อาณาเขตมัสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรี เขตมิสซังจันทบุรี เป็นมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทยในภาคตะวันออกครอบคลุมพื้นที่เขตปกครอง 8 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา (บางส่วน) นครนายก (เว้น อ.บ้านนา) ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว มี "อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล" หรือโบสถ์คาทอลิกจันทบุรีเป็นอาสนวิหารประจำเขตมิสซัง มุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกจันทบุรีองค์ปัจจุบันคือ พระคุณเจ้าซิลวีโอ สิริพงศ์ จรัสศรี สำนักมิสซังคาทอลิกจันทบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 21/3 ม. 1 ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและเขตมิสซังจันทบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องบินทิ้งระเบิด

รื่องบินทิ้งระเบิดบี-17 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องบินทิ้งระเบิด คือ อากาศยานทางการทหารที่ถูกออกแบบมาเพื่อภารกิจการโจมตีเป้าหมายทางภาคพื้นดินและทางทะเล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้การปล่อยลูกระเบิดลงมาเพื่อทำลายเป้าหมาย ซึ่งระเบิดที่ถูกทิ้งลงมามีหลากหลายชนิด เช่น ระเบิดนาปาล์ม ระเบิดทำลายบังเกอร์ ระเบิดอัจฉริยะ ระเบิดนิวเคลียร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและเครื่องบินทิ้งระเบิด · ดูเพิ่มเติม »

10 มกราคม

วันที่ 10 มกราคม เป็นวันที่ 10 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 355 วันในปีนั้น (356 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและ10 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

11 ธันวาคม

วันที่ 11 ธันวาคม เป็นวันที่ 345 ของปี (วันที่ 346 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 20 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและ11 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

6 มกราคม

วันที่ 6 มกราคม เป็นวันที่ 6 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 359 วันในปีนั้น (360 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลและ6 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »