โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัม

ดัชนี อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัม

อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัม (Arthur Capell, 1st Baron Capell of Hadham; 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1608 - 9 มีนาคม ค.ศ. 1649) อาร์เทอร์ เคเพลล์เป็นนายทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ อาร์เทอร์ เคเพลล์เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1608 เป็นบุตรคนเดียวของเซอร์เฮนรี เคเพลล์ และทีโอโดเซีย เคเพลล์บุตรีของเซอร์เอดเวิร์ด มอนทากิวแห่งโบรห์ตันในนอร์แทมป์ตันเชอร์ เคเพลล์ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของรัฐสภาสั้นและรัฐสภายาว ในปี..

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2151พ.ศ. 2192พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษการล้อมเมืองโคลชิสเตอร์รัฐสภายาวรัฐสภาสั้นสงครามกลางเมืองอังกฤษหอคอยแห่งลอนดอนฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ทอมัส แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 3 แห่งแคเมอรอนนอร์แทมป์ตันเชอร์แควาเลียร์เชชเชอร์เฮนรี ริช เอิร์ลที่ 1 แห่งฮอลแลนด์เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส พระราชินีแห่งอังกฤษเจมส์ แฮมิลตัน ดยุกที่ 1 แห่งแฮมิลตันเจอร์ซีย์20 กุมภาพันธ์8 มีนาคม9 มีนาคม

พ.ศ. 2151

ทธศักราช 2151 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและพ.ศ. 2151 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2192

ทธศักราช 2192 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและพ.ศ. 2192 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมเมืองโคลชิสเตอร์

การล้อมเมืองโคลชิสเตอร์ (Siege of Colchester) เป็นการล้อมเมืองที่เกิดขึ้นในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 ในฤดูร้อนระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน ถึง 28 สิงหาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองโคลชิสเตอร์ในอังกฤษ ก่อนหน้าที่จะเกิดขึ้นสงครามกลางเมืองเริ่มคุกรุ่นขึ้นอีกในหลายบริเวณในบริเตน โคลชิสเตอร์อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งเมื่อฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 พยายามเดินทัพไปยังอีสต์แองเกลียเพื่อไปหนุนพระองค์ แต่ถูกกองทัพของลอร์ดแฟร์แฟกซ์ดักโจมตี ฝ่ายนิยมกษัตริย์เพลี่ยงพล้ำจนต้องถอยเข้าไปในเมืองโคลชิสเตอร์ เมื่อไม่ได้รับชัยชนะลอร์ดแฟร์แฟกซ์ก็ล้อมเมืองไว้ ฝ่ายนิยมกษัตริย์ตั้งมั่นอยู่ได้สิบเอ็ดอาทิตย์ก่อนที่จะยอมแพ้หลังจากการพ่ายแพ้ของยุทธการที่เพรสตันของฝ่ายเดียวกัน.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและการล้อมเมืองโคลชิสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภายาว

การประชุมของรัฐสภายาว รัฐสภายาว (ภาษาอังกฤษ: Long Parliament) เป็นชื่อของรัฐสภาแห่งอังกฤษสมัยหนึ่งที่ถูกเรียกโดยสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1640 หลังจากที่สงครามบาทหลวง (Bishops' Wars) สิ้นสุดลง นามของสภาที่ได้รับเป็นเพราะเป็นสมัยประชุมที่ได้รับอนุมัติจากพระราชบัญญัติพิเศษเพื่อเป็นการป้องกันจากการยุบโดยมิได้รับมติเห็นชอบจากสมาชิกของรัฐสภาเอง สมาชิกของรัฐสภาก็มิได้ยุบสภานี้จนกระทั่งหลังจากสงครามกลางเมืองอังกฤษ และหลังจากสมัยไร้กษัตริย์ ในปี ค.ศ. 1660 16 March 1660 รัฐสภาเริ่มเปิดประชุมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1640 แต่มาหยุดชะงักลงชั่วคราวในปี ค.ศ. 1649 เมื่อผู้สนับสนุน “กองทัพตัวอย่าง” ลาออก รัฐสภาหลังจากการหยุดชะงักก็กลายเป็น “รัฐสภารัมพ์” (Rump Parliament) ระหว่างสมัยการปกครองของรัฐบาลผู้พิทักษ์อังกฤษ (The Protectorate) รัฐสภารัมพ์ก็ถูกแทนด้วยการประชุมรัฐสภาอื่นๆ แต่ก็ถูกเรียกกลับมาหลังจากที่โอลิเวอร์ ครอมเวลล์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1658 โดยฝ่ายทหารเพื่อช่วยพยุงฐานะของการทหาร เมื่อไม่สำเร็จ นายพลจอร์จ มองค์ (George Monck, 1st Duke of Albemarle) ก็อนุญาตให้ผู้ที่ถูกกีดกันจากรัฐสภาในปี ค.ศ. 1649 กลับมาเข้าร่วมประชุมได้อีก เพื่อที่จะทำให้สามารถผ่านกฎหมายที่จำเป็นในการฟื้นฟูราชวงศ์และยุบรัฐสภายาวเอง ซึ่งเป็นการปูทางสำหรับรัฐสภาที่จะได้รับเลือกตั้งใหม่ที่เรียกว่า “รัฐสภาคอนเว็นท์ชั่น” (Convention Parliament).

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและรัฐสภายาว · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาสั้น

รัฐสภาสั้น (Short Parliament; 13 เมษายน ค.ศ. 1640 – 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1640) เป็นชื่อของรัฐสภาแห่งอังกฤษรัฐสภาหนึ่งของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ที่มีอายุเพียงสามอาทิตย์ หลังจากที่พระเจ้าชาร์ลส์ทรงปกครองอังกฤษภายใต้สมัยการปกครองส่วนพระองค์ (Personal Rule) อยู่สิบเอ็ดปี พระองค์ก็เรียกประชุมรัฐสภาในปี ค.ศ. 1640 โดยการถวายคำแนะนำโดยทอมัส เวนท์เวิร์ธ เอิร์ลแห่งสตราฟฟอร์ดที่ 1 พระเจ้าชาร์ลส์ทรงถูกบังคับให้เรียกประชุมรัฐสภาเพื่อที่จะหาทุนในการสนับสนุนสงครามบาทหลวง (Bishops' Wars) ต่อสกอตแลนด์ แต่ก็เช่นเดียวกับรัฐสภาชุดก่อนหน้านั้นที่มีความสนใจในเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ ที่เกี่ยวกับวิธีการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์อันไม่ยุติธรรมแทนที่จะสนใจกับการอนุมัติเงินในการทำสงคราม จอห์น พิม (John Pym) สมาชิกรัฐสภาจากทาวิสสต็อคกลายเป็นผู้นำในการเรียกร้องและกล่าวสุนทรพจน์อย่างยืดยาวเมื่อวันที่ 17 เมษายนที่มีใจความว่านอกจากว่าพระเจ้าชาร์ลส์จะทรงยอมรับฟังข้อเรียกร้องต่างๆ สภาสามัญชนก็จะไม่ยอมออกเสียงสนับสนุนทุนการสงครามของพระองค์ ส่วนจอห์น แฮมพ์เด็น (John Hampden) พยายามชักชวนเป็นการภายในและเป็นสมาชิกของคณะกรรมการต่างๆ เก้าคณะกรรมการ พระเจ้าชาร์ลส์ทรงพยายามต่อรองโดยทรงเสนอว่าจะหยุดเก็บภาษีเรือ แต่ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของรัฐสภา ขณะเดียวกันคำร้องต่างๆ ของการใช้อำนาจในทางที่ผิดก็หลั่งไหลเข้ามาจากทั่วประเทศ เมื่อทรงหมดความอดทนกับการกลับมาโต้แย้งของรัฐสภาที่ทิ้งไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1629 และการบิดเบือนสถานการณ์ที่เลวลงในสกอตแลนด์ พระเจ้าชาร์ลส์ก็ตัดสินพระทัยยุบรัฐสภาเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1640 หลังจากที่ประชุมกันได้เพียงสามอาทิตย์ “รัฐสภาสั้น” ตามมาด้วย “รัฐสภายาว”.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและรัฐสภาสั้น · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองอังกฤษ

“หนูเห็นพ่อครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?” โดย วิลเลียม เฟรดเดอริค ยีมส์ (William Frederick Yeames) เป็นภาพรัฐสภาถามลูกชายของฝ่ายนิยมกษัตริย์ระหว่างสงครามกลางเมือง สงครามกลางเมืองอังกฤษ (English Civil War; ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) เป็นสงครามกลางเมืองของอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ที่ต่อเนื่องกันหลายครั้งระหว่างฝ่ายรัฐสภา และฝ่ายกษัตริย์นิยม สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 1 เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1646; ครั้งที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1648 ถึงปี ค.ศ. 1649 เป็นสงครามของความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ฝ่ายหนึ่งและผู้สนับสนุนรัฐสภายาวอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ครั้งที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1651 เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และผู้สนับสนุนรัฐสภารัมพ์อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามกลางเมืองจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาที่ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 ผลของสงครามกลางเมืองครั้งที่สองนำไปสู่การปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1, การลี้ภัยของพระราชโอรสพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และการเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษจากระบอบพระมหากษัตริย์ไปเป็นระบบเครือจักรภพแห่งอังกฤษ ระหว่างปี ค.ศ. 1649 ถึงปี ค.ศ. 1653 และต่อจากนั้นไปเป็นระบบรัฐผู้พิทักษ์ภายใต้การนำของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างปี ค.ศ. 1653 ถึงปี ค.ศ. 1659 เอกสิทธิ์ในการนับถือคริสต์ศาสนาของนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ในอังกฤษสิ้นสุดลงด้วยการรวม การปกครองโดยโปรเตสแตนต์ (Protestant Ascendancy) ในไอร์แลนด์ ในด้านรัฐธรรมนูญสงครามครั้งนี้เป็นการวางรากฐานว่าการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ไม่สามารถทำได้โดยมิได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แต่อันที่จริงแล้วปรัชญานี้ก็มิได้ปฏิบัติกันอย่างจริงจังจนกระทั่งถึงสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ในปลายคริสต์ศตวรรษ.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและสงครามกลางเมืองอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

หอคอยแห่งลอนดอน

หอคอยแห่งลอนดอน (Tower of London) เป็นพระราชวังหลวงและป้อมปราการตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ เป็นพระราชวังที่เดิมสร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1078 เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ พระราชวังเป็นรู้จักกันในนามว่า “หอคอยแห่งลอนดอน” หรือ “หอ” ในประวัติศาสตร์ ตัวปราสาทตั้งอยู่ภายในโบโรแห่งทาวเวอร์แฮมเล็ทส์และแยกจากด้านตะวันออกของนครหลวงลอนดอน (City of London) ด้วยลานโล่งที่เรียกว่าเนินหอคอยแห่งลอนดอน หรือ “ทาวเวอร์ฮิล” (Tower Hill) หอคอยแห่งลอนดอนมักจะรู้จักกันในการเกี่ยวข้องกับหอขาว (White Tower) ซึ่งแต่เดิมเป็นหอสีขาวที่สร้างโดยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1078 แต่กลุ่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมดของหอคอยแห่งลอนดอนตั้งอยู่รอบวงแหวนสองวงภายในกำแพงและคูป้องกันปราสาท ตัวหอคอยใช้เป็นป้อม พระราชวังของพระมหากษัตริย์ และที่จำขังโดยเฉพาะสำหรับนักโทษที่มียศศักดิ์สูงเช่นพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1ก็เคยทรงถูกจำขังในหอคอยโดยพระราชินีนาถแมรี และยังเป็นที่สำหรับประหารชีวิตและทรมาน คลังเก็บอาวุธ ท้องพระคลัง สวนสัตว์ โรงกษาปณ์หลวง หอเก็บเอกสาร หอดูดาว และตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและหอคอยแห่งลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์

ปราสาทฮาร์ตฟอร์ดในฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ หรือ ฮาร์ตฟอร์ดเชียร์ (Hertfordshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีฐานะเป็นมณฑลภูมิศาสตร์และมณฑลนอกเมโทรโพลิตันที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของอังกฤษโดยมีฮาร์ตฟอร์ดเป็นเมืองหลวง ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์เป็นหนึ่งในมณฑลรอบนครลอนดอนที่มีเขตแดนติดกับนครลอนดอนและปริมณฑล, บัคคิงแฮมเชอร์, เบดฟอร์ดเชอร์, เคมบริดจ์เชอร์ และ เอสเซ็กซ์ ฮาร์ตฟอร์ดเชอร์มีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองเกิดของสมเด็จพระสันตะปาปาเอเดรียนที่ 4.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทอมัส แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 3 แห่งแคเมอรอน

ทอมัส แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 3 แห่งแคเมอรอน (Thomas Fairfax, 3rd Lord Fairfax of Cameron; 17 มกราคม ค.ศ. 1612 - 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1671) เป็นนายพลและผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดของฝ่ายรัฐสภาระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและทอมัส แฟร์แฟกซ์ ลอร์ดแฟร์แฟกซ์ที่ 3 แห่งแคเมอรอน · ดูเพิ่มเติม »

นอร์แทมป์ตันเชอร์

ตึกเทศบาลเมืองนอร์ทแธมป์ตัน นอร์ทแธมป์ตันเชอร์ หรือ นอร์ทแธมป์ตันเชียร์ (Northamptonshire;; ย่อ Northants. หรือ N/hants) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรในภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษโดยมีนอร์ทแธมป์ตันเป็นเมืองหลวง และมีพรมแดนติดกับวอริคเชอร์, เลสเตอร์เชอร์, รัทแลนด์, เคมบริดจ์เชอร์ (รวมทั้งนครปีเตอร์บะระห์), เบดฟอร์ดเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์ (รวมทั้งมิลตันคีนส์), อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และ ลิงคอล์นเชอร์ นอร์ทแธมป์ตันเชอร์มีประชากร 629,676 คน (สถิติ ค.ศ. 2001).

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและนอร์แทมป์ตันเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แควาเลียร์

แควาเลียร์ (Cavalier) เป็นคำที่ฝ่ายรัฐสภาใช้เรียกผู้นิยมกษัตริย์ที่สนับสนุนพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ (ระหว่างปี ค.ศ. 1642 ถึงปี ค.ศ. 1651) หรือเรียก ฝ่ายนิยมเจ้า (Royalists) เจ้าชายรูเพิร์ตแห่งไรน์ ผู้ทรงเป็นแม่ทัพกองทหารม้าของพระเจ้าชาลส์ ทรงมีลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็นตัวอย่างของผู้เป็น แควาเลียร.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและแควาเลียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เชชเชอร์

อร์ (Cheshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่นครเชสเตอร์ แม้ว่าเมืองใหญ่ที่สุดจะเป็นวอร์ริงตัน เชชเชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลเมอร์ซีย์ไซด์และนครแมนเชสเตอร์และปริมณฑลทางตอนเหนือ, ดาร์บีเชอร์ทางด้านตะวันออก, สแตฟฟอร์ดเชอร์และชร็อปเชอร์ทางด้านใต้ ฟลินท์เชอร์และเร็กแซมในเวลส์ทางตะวันตก เชชเชอร์มีเนื้อที่ 2,343 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,003,600 คน ถัวเฉลี่ย 428 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและเชชเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี ริช เอิร์ลที่ 1 แห่งฮอลแลนด์

นรี ริช เอิร์ลแห่งฮอลแลนด์ที่ 1 (ภาษาอังกฤษ: Henry Rich, 1st Earl of Holland) (19 สิงหาคม ค.ศ. 1590 - 9 มีนาคม ค.ศ. 1649) เฮนรี ริชเป็นขุนนางและนักการทหารชาวอังกฤษ เฮนรี ริชเกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1590 เป็นบุตรของโรเบิร์ต ริช เอิร์ลแห่งวอริคที่ 1และเพ็นนิโลพี เดเวอโรซ์ และป็นน้องชายของ โรเบิร์ต ริช เอิร์ลแห่งวอริคที่ 2 และเริ่มรับราชการเป็นนายทหาร ในปี ค.ศ. 1610 ในราชสำนักและไม่นานก็ได้เป็นคนโปรดของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แต่ในที่สุดก็สิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ขึ้นครองราชย์ เฮนรี ริชได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “เอิร์ลแห่งฮอลแลนด์” ในปี ค.ศ. 1624 และในที่สุดก็ได้เป็นนายทัพฝ่ายนิยมกษัตริย์ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ แต่ต่อมาถูกจับได้และถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1649 ในข้อหากบฏต่อแผ่นดิน.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและเฮนรี ริช เอิร์ลที่ 1 แห่งฮอลแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส พระราชินีแห่งอังกฤษ

ระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส (Henrietta Maria of France) (25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1609 - 10 กันยายน ค.ศ. 1669) เป็นพระราชินีแห่งอังกฤษ พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียประสูติเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1609 ที่พระราชวังลูฟร์ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสและพระนางมารี เดอ เมดีซิส สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส ต่อมาเป็นพระราชินีในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ระหว่างวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1625 ถึงวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียสิ้นพระชนม์เมื่อ 10 กันยายน ค.ศ. 1669 ที่วังแห่งโคลอมบ์ ฝรั่งเศส พระศพตั้งอยู่ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนี กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียเป็นพระราชินีแห่ง ราชอาณาจักรอังกฤษ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และราชอาณาจักรไอร์แลนด์ โดยการเสกสมรสกับพระเจ้าชาลส์ และเป็นพระราชมารดาในพระมหากษัตริย์สองพระองค์ คือ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และ พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ และเป็นพระอัยกีในพระเจ้าวิลเลียมที่ 3และพระราชินีนาถแมรี และพระราชินีนาถแอนน.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและเฮนเรียตตา มาเรียแห่งฝรั่งเศส พระราชินีแห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ แฮมิลตัน ดยุกที่ 1 แห่งแฮมิลตัน

มส์ แฮมมิลตัน ดยุคแห่งแฮมมิลตันที่ 1 (James Hamilton, 1st Duke of Hamilton) (19 มิถุนายน ค.ศ. 1606 - 9 มีนาคม ค.ศ. 1649) เจมส์ แฮมมิลตันเป็นนายพลของกองทัพฝ่ายกษัตริย์นิยมชาวสกอตผู้มีบทบาทสำคัญในยุทธการเพรสตันในสงครามกลางสามอาณาจักร/สงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 แต่พ่ายแพ้และถูกจับได้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1648 ในที่สุดก็ถูกพิจารณาโทษและถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1649.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและเจมส์ แฮมิลตัน ดยุกที่ 1 แห่งแฮมิลตัน · ดูเพิ่มเติม »

เจอร์ซีย์

เจอร์ซีย์ (Jersey) เป็นดินแดนอาณานิคมปกครองตนเองของสหราชอาณาจักร เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะแชนเนลในช่องแคบอังกฤษ มีเมืองหลวงชื่อ เซนต์เฮลเยอร์ หมวดหมู่:ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เกาะในทวีปยุโรป จ หมวดหมู่:เจอร์ซีย์.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและเจอร์ซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

20 กุมภาพันธ์

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 51 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 314 วันในปีนั้น (315 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและ20 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

8 มีนาคม

วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันที่ 67 ของปี (วันที่ 68 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 298 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและ8 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

9 มีนาคม

วันที่ 9 มีนาคม เป็นวันที่ 68 ของปี (วันที่ 69 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 297 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อาร์เทอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์ที่ 1 แห่งแฮดัมและ9 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Arthur Capell, 1st Baron Capell of Hadhamอาร์เธอร์ เคเพลล์ บารอนเคเพลล์แห่งแฮดแฮมที่ 1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »