โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาร์ซิโนเอที่ 4

ดัชนี อาร์ซิโนเอที่ 4

อาร์ซิโนเอที่ 4 (กรีก: Ἀρσινόη; ประสูติ 68 หรือ 59 ปีก่อนคริสตกาล - สิ้นพระชนม์ 41 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นหนึ่งในสี่ของพระราชโอรสและพระราชธิดา พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์สุดท้องของทอเลมีที่ 12 อูเทเลส กับพระมเหสีไม่ทราบพระนาม และเป็นผู้ปกครองอียิปต์ร่วมกันกับทอเลมีที่ 13 ระหว่าง 48 - 47 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้พระองค์เป็นหนึ่งในสมาชิกพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีของอียิปต์โบราณ พระนางอาร์ซิโนเอที่ 4 เป็นพระขนิษฐาของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 และเป็นพระภคินีของฟาโรห์ทอเลมีที่ 13.

9 ความสัมพันธ์: ราชวงศ์ทอเลมีอะเล็กซานเดรียอียิปต์โบราณทอเลมีที่ 12ทอเลมีที่ 13ทอเลมีที่ 14คลีโอพัตราประเทศอียิปต์เอฟิซัส

ราชวงศ์ทอเลมี

ทอเลมีที่ 1ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ทอเลมี ราชวงศ์ทอเลมี (Πτολεμαῖοι หรือ Λαγίδαι, Ptolemaic dynasty หรือ Lagids) หรือบางครั้งก็เรียกว่า ราชวงศ์ลากิดส์ ซึ่งมาจาก ลากัส ชื่อของพระราชบิดาของทอเลมีที่ 1 ราชวงศ์ทอเลมีเป็นราชวงศ์กรีก ผู้ปกครองจักรวรรดิทอเลมีในอียิปต์ระหว่างสมัยกรีก ราชวงศ์ทอเลมีรุ่งเรืองอยู่เกือบ 300 ปี จากตั้งแต่ 305 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึง 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมี หนึ่งในองครักษ์เจ็ดคนผู้รับราชการเป็นนายพลและผู้ช่วยภายใต้อเล็กซานเดอร์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงของอียิปต์ หลังจากที่อเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตในปี 323 ก่อนคริสต์ศักราช ในปี 305 ก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมีก็ประกาศตนเป็นพระเจ้าทอเลมี และต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “โซเตอร์” ที่แปลว่าผู้มาช่วย ต่อมาชาวอียิปต์ก็ยอมรับราชวงศ์ทอเลมีว่าเป็นราชวงศ์ที่สืบการเป็นฟาโรห์ของอียิปต์ ราชวงศ์ทอเลมีปกครองอียิปต์จนมาถูกพิชิตโดยโรมัน ในปี 30 ก่อนคริสต์ศักราช ประมุขผู้เป็นชายทุกองค์ใช้ชื่อทอเลมี ที่เป็นสตรีบางคนก็เป็นพระขนิษฐาของพระราชสวามีมักจะใช้ชื่อ “คลีโอพัตรา” หรือ “อาร์ซิโนเอ” หรือ “เบเรนิเซ” สมาชิกคนสำคัญที่สุดของราชวงศ์คือ พระราชินีองค์สุดท้ายคลีโอพัตราที่ 7 ที่เป็นที่รู้จักกันจากการมีบทบาทในความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์ และ ปอมเปย์ และต่อมาระหว่าง อ็อคเตเวียน และ มาร์ก แอนโทนี การฆ่าตัวตายคลีโอพัตราเป็นการสิ้นสุดการครองอียิปต์ของราชวงศ์ทอเลมี.

ใหม่!!: อาร์ซิโนเอที่ 4และราชวงศ์ทอเลมี · ดูเพิ่มเติม »

อะเล็กซานเดรีย

อะเล็กซานเดรีย หรือในภาษาอาหรับเรียก อัลอัสกันดะริย์ยะ (Alexandria; الإسكندرية; Αλεξάνδρεια; คอปติก: Ⲣⲁⲕⲟⲧⲉ) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองในประเทศอียิปต์ รองจากกรุงไคโร มีประชากรประมาณ 3-5 ล้านคน และเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอียิปต.

ใหม่!!: อาร์ซิโนเอที่ 4และอะเล็กซานเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ใหม่!!: อาร์ซิโนเอที่ 4และอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 12

ทอเลมีที่ 12 หรือ ทอเลมี นีออส ดีโอนีซอส ธีออส ฟิโลพาทอร์ ธีออส ฟิลาเดลฟอส (กรีกโบราณ: Πτολεμαῖος Νέος Διόνυσος Θεός Φιλοπάτωρ Θεός Φιλάδελφος, Ptolemaios Néos Diónysos Theós Philopátōr Theós Philádelphos; ประสูติ 117 – สิ้นพระชนม์ 51 ปีก่อนคริสตกาล), รู้จักกันในชื่อ "อูเลเทส" (Αὐλητής, Aulētḗs "ขลุ่ย") หรือ "นอทอส" (Νόθος, "นักเป่าขลุ่ย") เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณของราชวงศ์ทอเลมี ซึ่งมีเชื้อสายมาจากอาณาจักรมาซิโดเนีย พระนามว่า อูเทเลส หมายถึง กษัตริย์ที่ทรงโปรดในการเป่าขล.

ใหม่!!: อาร์ซิโนเอที่ 4และทอเลมีที่ 12 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 13

ทอเลมีที่ 13 เทออส ฟิโลพาทอร์ (Ptolemy XIII Theos Philopator,กรีก: ΠτολεμαῖοςΘεόςΦιλοπάτωρ, Ptolemaios Theos Philopator ปกครองตั้งแต่เวลาระหว่าง 62 ปีก่อนคริสตกาล / 61 -13 มกราคม 47 ปีก่อนคริสตกาล ?, ขึ้นครองราชย์แทนจาก 51 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมี (305 -30 ปีก่อนคริสตกาล) ของอียิปต.

ใหม่!!: อาร์ซิโนเอที่ 4และทอเลมีที่ 13 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 14

thumb ทอเลมีที่ 14 (ภาษากรีก: Πτολεμαῖος, Ptolemaľosos ประสูติ 60 หรือ 59 ปีก่อนคริสตกาล - 44 ปีก่อนคริสตกาล และครองราชย์ 47 - 44 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสของทอเลมีที่ 12 ของอียิปต์โบราณและเป็นหนึ่งในสมาชิกคนสุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของทอเลมีที่ 13 แห่งอียิปต์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 47 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ได้รับการประกาศให้เป็นฟาโรห์และผู้ปกครองร่วมกับพระนางคลีโอพัตราที่ 7 พระองค์และพระนางคลีโอพัตราทรงได้อภิเษกสมรสกัน แต่พระนางคลีโอพัตรายังคงทำหน้าที่เป็นคนรักของเผด็จการโรมัน จูเลียส ซีซาร์ ทอเลมีถือว่าได้รับการขึ้นครองราชสมบัติในชื่อเท่านั้นโดยคลีโอพัตรารักษาอำนาจที่แท้จริง เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล ได้รับการสันนิษฐาน แต่ยังคงไม่แน่ใจว่าคลีโอพัตราวางยาพิษทอเลมีที่ 14 ด้วยดอกอโคไนต์ เพื่อให้พระราชโอรสของพระนางคลีโอพัตราคือ ทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน ขึ้นครองราชย์แทนร่วมกับพระมารดาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 44 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: อาร์ซิโนเอที่ 4และทอเลมีที่ 14 · ดูเพิ่มเติม »

คลีโอพัตรา

ลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลพาเธอร์ (Κλεοπάτρα θεά φιλοπάτωρ; หรือรู้จักทั่วไปในนาม คลีโอพัตรา) (มกราคม ปีที่ 69 ก่อนคริสตกาล – 30 พฤศจิกายน ปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณและเชื้อพระวงศ์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งมาซิโดเนีย ดังนั้นจึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย บิดาของพระนางคือทอเลมีที่ 12 ออเลติส และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 ทรีฟาเอนา ชื่อ "คลีโอพัตรา" เป็นภาษากรีก แปลว่า "ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา" พระนามเต็มของพระนางคือ "คลีโอพัตรา เธอา ฟิโลปาตอร์" ซึ่งหมายถึง "เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา" พระนางมีพระปรีชาสามารถมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ฮิบรู, ละติน, มาเซดอนโบราณ, เอธิโอเปียน, ซีเรีย, เปอร์เซีย, และ อียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ น้อยคนนักที่จะแตกฉานภาษานี้ ปัจจุบัน คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้น ๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อน ๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกัน ลบเลือนไปสิ้น ในความเป็นจริง พระนางไม่เคยปกครองอียิปต์เพียงลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา, พระอนุชา, สวามีผู้เป็นอนุชาของพระองค์ หรือไม่ก็พระโอรส การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น.

ใหม่!!: อาร์ซิโนเอที่ 4และคลีโอพัตรา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: อาร์ซิโนเอที่ 4และประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

เอฟิซัส

อฟิซัส (Ephesus; Ἔφεσος; Efes) เป็นเมืองกรีกโบราณที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียในจังหวัดอิซเมียร์ในประเทศตุรกีปัจจุบัน เอฟิซัสเป็นหนึ่งในสิบสองเมืองของสหพันธ์ไอโอเนีย (Ionian League) ในสมัยกรีกคลาสสิค ในสมัยโรมันเอฟิซัสเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นสองของจักรวรรดิโรมันรองจากโรมที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิอยู่เป็นเวลานาน เอฟิซัสมีประชากรกว่า 250,000 คนในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราชซึ่งเท่ากับทำให้เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นสองของโลกในยุคนั้นด้วย ชื่อเสียงของเมืองมาจากเทวสถานอาร์ทีมิส (สร้างเสร็จราว 550 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตัวเทวสถานถูกทำลายในปี..

ใหม่!!: อาร์ซิโนเอที่ 4และเอฟิซัส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อาร์ซิโน่ที่ 4

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »