โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชวงศ์ทอเลมี

ดัชนี ราชวงศ์ทอเลมี

ทอเลมีที่ 1ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ทอเลมี ราชวงศ์ทอเลมี (Πτολεμαῖοι หรือ Λαγίδαι, Ptolemaic dynasty หรือ Lagids) หรือบางครั้งก็เรียกว่า ราชวงศ์ลากิดส์ ซึ่งมาจาก ลากัส ชื่อของพระราชบิดาของทอเลมีที่ 1 ราชวงศ์ทอเลมีเป็นราชวงศ์กรีก ผู้ปกครองจักรวรรดิทอเลมีในอียิปต์ระหว่างสมัยกรีก ราชวงศ์ทอเลมีรุ่งเรืองอยู่เกือบ 300 ปี จากตั้งแต่ 305 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึง 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมี หนึ่งในองครักษ์เจ็ดคนผู้รับราชการเป็นนายพลและผู้ช่วยภายใต้อเล็กซานเดอร์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงของอียิปต์ หลังจากที่อเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตในปี 323 ก่อนคริสต์ศักราช ในปี 305 ก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมีก็ประกาศตนเป็นพระเจ้าทอเลมี และต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “โซเตอร์” ที่แปลว่าผู้มาช่วย ต่อมาชาวอียิปต์ก็ยอมรับราชวงศ์ทอเลมีว่าเป็นราชวงศ์ที่สืบการเป็นฟาโรห์ของอียิปต์ ราชวงศ์ทอเลมีปกครองอียิปต์จนมาถูกพิชิตโดยโรมัน ในปี 30 ก่อนคริสต์ศักราช ประมุขผู้เป็นชายทุกองค์ใช้ชื่อทอเลมี ที่เป็นสตรีบางคนก็เป็นพระขนิษฐาของพระราชสวามีมักจะใช้ชื่อ “คลีโอพัตรา” หรือ “อาร์ซิโนเอ” หรือ “เบเรนิเซ” สมาชิกคนสำคัญที่สุดของราชวงศ์คือ พระราชินีองค์สุดท้ายคลีโอพัตราที่ 7 ที่เป็นที่รู้จักกันจากการมีบทบาทในความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์ และ ปอมเปย์ และต่อมาระหว่าง อ็อคเตเวียน และ มาร์ก แอนโทนี การฆ่าตัวตายคลีโอพัตราเป็นการสิ้นสุดการครองอียิปต์ของราชวงศ์ทอเลมี.

44 ความสัมพันธ์: ฟาโรห์มากัสแห่งซิเรเนมาร์กุส อันโตนิอุสมาซิโดเนียราชอาณาจักรทอเลมีอาร์ซิโนเอที่ 1อาร์ซิโนเอที่ 3อาร์ซิโนเอที่ 4อียิปต์โบราณอเล็กซานเดอร์ เฮลิออสอเล็กซานเดอร์มหาราชจักรพรรดิเอากุสตุสจักรวรรดิโรมันจูเลียส ซีซาร์ทอเลมีที่ 1ทอเลมีที่ 10ทอเลมีที่ 11ทอเลมีที่ 12ทอเลมีที่ 13ทอเลมีที่ 14ทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียนทอเลมีที่ 2ทอเลมีที่ 3ทอเลมีที่ 4ทอเลมีที่ 5ทอเลมีที่ 6ทอเลมีที่ 7ทอเลมีที่ 8ทอเลมีที่ 9คลีโอพัตราคลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2คลีโอพัตราที่ 1คลีโอพัตราที่ 2คลีโอพัตราที่ 3คลีโอพัตราที่ 4คลีโอพัตราที่ 5คลีโอพัตราที่ 6ซิเรเนประเทศอียิปต์ปอมปีย์เบเรนิซที่ 1เบเรนิซที่ 2เบเรนิซที่ 3เบเรนิซที่ 4

ฟาโรห์

หลังรัชสมัยฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser) แห่งราชวงศ์ที่ 3 แล้ว มักปรากฏภาพพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์ฉลองพระองค์ด้วยศิราภรณ์เนเมส (Nemes), พระมัสสุเทียม, และกระโปรงจีบ ฟาโรห์ (Pharaoh; อ่านว่า เฟโรห์ (ˈ/feɪroʊ/) หรือ แฟโรห์ (/ˈfæroʊ/)) เป็นชื่อตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์โบราณทุกราชวงศ์ มีต้นศัพท์คือคำว่า "pr-aa" แปลว่า บ้านหลังใหญ่ (great house) ซึ่งเป็นคำอุปมาถึง พระราชมนเทียร คำ "ฟาโรห์" นั้นปัจจุบันใช้เรียกพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของอียิปต์โบราณ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว เริ่มเรียกพระมหากษัตริย์อียิปต์ว่า "ฟาโรห์" กันในสมัยราชอาณาจักรใหม่ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงกลางราชวงศ์ที่ 18 เมื่อพ้นรัชกาลของพระนางแฮตเชปซุต (Hatshepsut) ไปแล้วDodson, Aidan and Hilton, Dyan.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและฟาโรห์ · ดูเพิ่มเติม »

มากัสแห่งซิเรเน

มากัสแห่งซิเรเน (กรีก: Μάγας ὁ Κυρηναῖος; ประสูติ 317 ปีก่อนคริสตกาล - สิ้นพระชนม์ 250 ปีก่อนคริสตกาล, ปกครองระหว่าง 276 - 250 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นขุนนางชาวกรีกจากอาณาจักรมาซิโดเนียและกษัตริย์แห่งซิเรเน เกิดจากการการอภิเษกสมรสครั้งที่สองของพระนางเบเรนิซที่ 1 กับปโตเลมีที่ 1 ทำให้พระองค์เป็นหนึ่งในสมาชิกของราชวงศ์ปโตเลมี พระองค์พยายามกู้อิสรภาพเมืองซิเรเน (ในปัจจุบันคือบริเวณประเทศลิเบีย) จากราชวงศ์ปโตเลมีของอียิปต์โบราณและกลายเป็นกษัตริย์ปกครองแห่งซิเรเนระหว่าง 276 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 250 ปีก่อนคริสตศักร.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและมากัสแห่งซิเรเน · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กุส อันโตนิอุส

มาร์กุส อันโตนิอุส มาร์กี ฟีลิอุส มาร์กี แนโปส (MARCVS ANTONIVS MARCI FILIVS MARCI NEPOS, M·ANTONIVS·M·F·M·N; 14 มกราคม 83 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 1 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หรือที่เรียกทั่วไปว่า มาร์ก แอนโทนี (Mark Antony) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพของสาธารณรัฐโรมัน ในฐานะผู้บัญชาการทหารและผู้ปกครอง เขาเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญและเพื่อนผู้ภักดีของลูกพี่ลูกน้องของมารดา จูเลียส ซีซาร์ หลังการลอบสังหารซีซาร์ แอนโทนีตั้งพันธมิตรทางการเมืองอย่างเป็นทางการกับอ็อกตาวิอานุส (หรือจักรพรรดิเอากุสตุสในเวลาต่อมา) กับมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส ซึ่งนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า คณะสามผู้นำที่สอง (Second Triumvirate) คณะสามผู้นำแตกเมื่อ 33 ปีก่อน..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและมาร์กุส อันโตนิอุส · ดูเพิ่มเติม »

มาซิโดเนีย

มาซิโดเนีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและมาซิโดเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรทอเลมี

ราชอาณาจักรทอเลมี (Πτολεμαϊκὴ βασιλεία, Ptolemaic Kingdom) ตั้งอยู่ในอียิปต์ปัจจุบัน เป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากที่อเล็กซานเดอร์มหาราชได้รับชัยชนะต่ออียิปต์ในปี 332 ก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดลงเมื่อคลีโอพัตราสิ้นพระชนม์ เมื่อโรมันได้รับชัยชนะต่ออียิปต์ในปี 30 ก่อนคริสต์ศักราช ราชอาณาจักรทอเลมีก่อตั้งขึ้นโดยทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ผู้ประกาศตนเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ ทอเลมีสร้างอียิปต์เป็นรัฐกรีกที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของซีเรียซีเรียไปจนถึงไซรีนในลิเบีย และทางใต้ไปถึงนิวเบีย โดยมีอเล็กซานเดรียเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมกรีกและการค้า เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในอียิปต์ทอเลมีก็ประกาศตนว่าเป็นผู้ครองต่อจากฟาโรห์ ผู้ครองราชย์ต่อมารับธรรมเนียมของอียิปต์โบราณในการเสกสมรสกับพี่น้องกันเอง ปฏิบัติตัวและแต่งตัวอย่าอียิปต์ วัฒนธรรมกรีกรุ่งเรืองในอียิปต์จนกระทั่งเมื่อถูกพิชิตโดยมุสลิม ราชวงศ์ทอเลมีต้องต่อสู้กับการปฏิวัติภายในประเทศและการสงครามกับภายนอกซึ่งนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของอำนาจจนกระทั่งมาถูกผนวกโดยราชอาณาจักรโรมัน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและราชอาณาจักรทอเลมี · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ซิโนเอที่ 1

ระนางอาร์ซิโนเอที่ 1 แห่ง อียิปต์ อาร์ซิโนเอที่ 1 (กรีก: Arsinoe; ประสูติ 305 ปีก่อนคริสตกาล - สิ้นพระขนม์ 248 ปีก่อนคริสตกาล, Footnote 10) เป็นพระราชินีและพระมเหสีแห่งราชวงศ์ทอเลมีของอียิปต์โบราณ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟั.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและอาร์ซิโนเอที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ซิโนเอที่ 3

อาร์ซิโนเอที่ 3 ฟิโลพาเตอร์ (กรีกโบราณ: Ἀρσινόη ἡ Φιλοπάτωρ, ซึ่งหมายความว่า "อาร์ซิโนเอผู้เป็นที่รักของบิดา", ประสูติเมื่อ 246 หรือ 245 ปีก่อนคริสตกาล - 204 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณในช่วง 220 - 204 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทอเลมีที่ 3 กับพระนางเบเรนิซที่ 2 พระองค์เป็นดำรงตำแหน่งพระราชินีแห่งราชวงศ์ทอเลมีโดยทรงอภิเษกสมรสกับพระเชษฐาของพระองค์ ทอเลมีที่ 4 พระองค์และพระสวามีของพระองค์ทรงเป็นที่รักและนับถือโดยชาวอียิปต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและอาร์ซิโนเอที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ซิโนเอที่ 4

อาร์ซิโนเอที่ 4 (กรีก: Ἀρσινόη; ประสูติ 68 หรือ 59 ปีก่อนคริสตกาล - สิ้นพระชนม์ 41 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นหนึ่งในสี่ของพระราชโอรสและพระราชธิดา พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์สุดท้องของทอเลมีที่ 12 อูเทเลส กับพระมเหสีไม่ทราบพระนาม และเป็นผู้ปกครองอียิปต์ร่วมกันกับทอเลมีที่ 13 ระหว่าง 48 - 47 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้พระองค์เป็นหนึ่งในสมาชิกพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีของอียิปต์โบราณ พระนางอาร์ซิโนเอที่ 4 เป็นพระขนิษฐาของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 และเป็นพระภคินีของฟาโรห์ทอเลมีที่ 13.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและอาร์ซิโนเอที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส

อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส (กรีก: Ἀλέξανδρος Ἥλιος; ประสูติ 40 ปีก่อนคริสตกาล - ไม่ทราบแต่อาจจะเป็นระหว่าง 29 และ 25 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์ปโตเลมีและเป็นพระราชโอรสพระองค์โตของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 กับแม่ทัพชาวโรมัน มาร์ค แอนโทนี และมีพระขนิษฐาฝาแฝดนามว่าพระนางคลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2 ทำให้ฝาแฝดมีเชื้อสายชาวกรีก - โรมัน และได้มีชื่อที่มาจากพระนามของบรรพบุรุษของพระองค์คือ อเล็กซานเดอร์มหาราช ชื่อที่สองของพระองค์เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง "อาทิตย์" ส่วนพระขนิษฐาฝาแฝดนามว่า เซเลเน (Σελήνη) หมายถึง "ดวงจันทร์".

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเอากุสตุส

อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส (IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS AVGVSTVS; 23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 19 สิงหาคม ค.ศ. 14) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและจักรพรรดิเอากุสตุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 1

ทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ (กรีกโบราณ: ΠτολεμαῖοςΣωτήρ, Ptolemaios Soter อังกฤษ:Ptolemy I Soter) พระองค์เกิดในปี 367 ก่อนคริสตกาล - 283 ก่อนคริสตกาล เป็นชาวมาซิโดเนียและอยู่ภายใต้การนำของ อเล็กซานเดอร์มหาราช และหลังจากที่อเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ต่อมาพระองค์กลายเป็นผู้ปกครองของอียิปต์ในปี (323-283 ก่อนคริสตกาล) และผู้ก่อตั้งอาณาจักร Ptolemaic และราชวงศ์ Ptolemaic ในปี 305/4ก่อนคริสตกาล พระองค์ได้เป็นฟาโรห์เพราะการยอมรับของประชาชนชาวอียิปต์ ทอเลมีเป็นหนึ่งในนายพลของอเล็กซานเดอร์ เป็นหนึ่งในเจ็ดองครักษ์และพระองค์ก็เป็นพระสหายสนิทกับ อเล็กซานเดอร์มหาราช ตั้งแต่ในวัยเด็ก หมวดหมู่:ราชวงศ์ทอเลมี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 10

ทอเลมีที่ 10 หรือ ทอเลมีที่ 10 อเล็กซานเดอร์ที่ 1 (Ptolemy X Alexander I,กรีกโบราณ: ΠτολεμαῖοςἈλέξανδρος, Ptolemaios Alexandros) เป็นพระมหากษัตริย์ของอียิปต์จาก 110 ปีก่อนคริสตกาลถึง 109 ปีก่อนคริสตกาลและ 107 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง 88 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 10 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 11

ทอเลมีที่ 11 หรือ ทอเลมีที่ 11 อเล็กซานเดอร์ที่ 2 (Ptolemy XI Alexander II,กรีกโบราณ: ΠτολεμαῖοςἈλέξανδρος, Ptolemaios Alexandros) เป็นพระมหากษัตริยืของราชวงศ์ทอเลมีที่ปกครองอียิปต์ไม่กี่วันใน 80 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 11 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 12

ทอเลมีที่ 12 หรือ ทอเลมี นีออส ดีโอนีซอส ธีออส ฟิโลพาทอร์ ธีออส ฟิลาเดลฟอส (กรีกโบราณ: Πτολεμαῖος Νέος Διόνυσος Θεός Φιλοπάτωρ Θεός Φιλάδελφος, Ptolemaios Néos Diónysos Theós Philopátōr Theós Philádelphos; ประสูติ 117 – สิ้นพระชนม์ 51 ปีก่อนคริสตกาล), รู้จักกันในชื่อ "อูเลเทส" (Αὐλητής, Aulētḗs "ขลุ่ย") หรือ "นอทอส" (Νόθος, "นักเป่าขลุ่ย") เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณของราชวงศ์ทอเลมี ซึ่งมีเชื้อสายมาจากอาณาจักรมาซิโดเนีย พระนามว่า อูเทเลส หมายถึง กษัตริย์ที่ทรงโปรดในการเป่าขล.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 12 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 13

ทอเลมีที่ 13 เทออส ฟิโลพาทอร์ (Ptolemy XIII Theos Philopator,กรีก: ΠτολεμαῖοςΘεόςΦιλοπάτωρ, Ptolemaios Theos Philopator ปกครองตั้งแต่เวลาระหว่าง 62 ปีก่อนคริสตกาล / 61 -13 มกราคม 47 ปีก่อนคริสตกาล ?, ขึ้นครองราชย์แทนจาก 51 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมี (305 -30 ปีก่อนคริสตกาล) ของอียิปต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 13 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 14

thumb ทอเลมีที่ 14 (ภาษากรีก: Πτολεμαῖος, Ptolemaľosos ประสูติ 60 หรือ 59 ปีก่อนคริสตกาล - 44 ปีก่อนคริสตกาล และครองราชย์ 47 - 44 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสของทอเลมีที่ 12 ของอียิปต์โบราณและเป็นหนึ่งในสมาชิกคนสุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของทอเลมีที่ 13 แห่งอียิปต์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 47 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ได้รับการประกาศให้เป็นฟาโรห์และผู้ปกครองร่วมกับพระนางคลีโอพัตราที่ 7 พระองค์และพระนางคลีโอพัตราทรงได้อภิเษกสมรสกัน แต่พระนางคลีโอพัตรายังคงทำหน้าที่เป็นคนรักของเผด็จการโรมัน จูเลียส ซีซาร์ ทอเลมีถือว่าได้รับการขึ้นครองราชสมบัติในชื่อเท่านั้นโดยคลีโอพัตรารักษาอำนาจที่แท้จริง เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล ได้รับการสันนิษฐาน แต่ยังคงไม่แน่ใจว่าคลีโอพัตราวางยาพิษทอเลมีที่ 14 ด้วยดอกอโคไนต์ เพื่อให้พระราชโอรสของพระนางคลีโอพัตราคือ ทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน ขึ้นครองราชย์แทนร่วมกับพระมารดาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 44 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 14 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน

ทอเลมีที่ 15 หรือ ทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน (23 มิถุนายน, 47 ปีก่อนคริสตกาล - 23 สิงหาคม, 30 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นที่รู้จักกันดีโดยชื่อเล่น Caesarion (/ sᵻzɛəriən /; อังกฤษ: ซีซาร์ ละติน: Caesariō) และทอเลมีซีซาร์ (/ tɒlᵻmisiːzər /; กรีก: ΠτολεμαῖοςΚαῖσαρ, Ptolemaios Kaisar ละติน: Ptolemaeus ซีซาร์) เป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของอียิปต์พระองค์เป็นสมาชิกองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีของอียิปต์ผู้ครองราชย์กับพระราชมารดาของพระองค์ คลีโอพัตราที่ 7 ของอียิปต์ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 44 ปีก่อนคริสตกาลพระองค์ดำรงตำแหน่งผู้ปกครอง แต่เพียงผู้เดียวระหว่างการสวรรคตของพระนางคลีโอพัตราเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 30 ก่อนคริสตศักราชจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 2

ทอเลมีที่ 2 หรือ ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัส (Ptolemy II Philadelphusกรีก: ΠτολεμαῖοςΦιλάδελφος, Ptolemaios Philádelphos, 309-246 ปีก่อนคริสตกาลคริสตศักราช) เป็นพระมหากษัตริย์ของราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์เมื่อ 283-246 ปีก่อนคริสตศักราช เขาเป็นบุตรชายของผู้ก่อตั้งของราชวงศ์ทอเลมี ทอเลมีที่ 1.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 3

ทอเลมีที่ 3 ยูเออร์เกดตีส (Πτολεμαῖος Εὐεργέτης) หรือชื่อในอียิปต์โบราณว่า อิวาเอนเนตเจอร์วีเซนวี เซเคมอังค์เร เซเทปอามุนClayton (2006) p. 208 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์ทอเลมี แห่งอียิปต์ ทรงครองราชย์ในช่วงระหว่าง 246 ปีก่อนคริสตกาล จนถึง 222 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 4

ทอเลมีที่ 4 หรือ ทอเลมีที่ 4 ฟิโลพาเตอร์ (กรีก: Πτολεμαῖος Φιλοπάτωρ, ปโตเลมออส ฟิโลพาเตอร์ "ทอเลมีผู้เป็นที่รักของพระบิดา"; ครองราชย์ระหว่าง 221-204 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทอเลมีที่ 3 กับพระนางเบเรนิซที่ 2 เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สี่ของราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์โบราณ และเกิดความเสื่อมอำนาจลงของราชวงศ์ทอเลมีในรัชสมัยของพระอง.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 5

ทอเลมีที่ 5 หรือ ทอเลมีที่ 5 เอปิฟาเนส (กรีก: Πτολεμαῖος Ἐπιφανής, Ptolemaμos Epiphanḗs "ทอเลมีผู้มีชื่อเสียง"); ครองราชย์ระหว่าง 204-181 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทอเลมีที่ 4 ฟิโลพาเตอร์ กับพระนางอาร์ซิโนเอที่ 3 แห่งอียิปต์ เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้าของราชวงศ์ทอเลมี พระองค์สืบทอดพระราชบัลลังก์ตอนพระชนมายุห้าพรรษาและภายใต้การปกครองของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอาณาจักร ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการสร้างศิลาโรเซตตาBevan,.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 6

ทอเลมีที่ 6 หรือ ทอเลมีที่ 6 ฟิโลเมเธอร์ (Ptolemy VI Philometor,กรีก: ΠτολεμαῖοςΦιλομήτωρ, Ptolemaios Philomḗtōr ปกครองเป็นเวลาระหว่าง 186-145 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์จากราชวงศ์ทอเลมี พระองค์ทรงครอบครอง 180-145 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 7

ทอเลมีที่ 7 หรือ ทอเลมีที่ 7 นีโอ ฟิโลพาเธอร์ (Ptolemy VII Neos Philopator,กรีก: ΠτολεμαῖοςΝέοςΦιλοπάτωρ, Ptolemaios NEOS Philopator) เป็นกษัตริย์อียิปต์ของราชวงศ์ทอเลมี รัชกาลของพระองค์เป็นที่ถกเถียงกันอยู่และเป็นไปได้ว่าพระองค์ไม่ได้ทรงครองราชย์ใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ทรงได้รับฐานะเป็นฟาโรห.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 8

ทอเลมีที่ 8 หรือ ทอเลมีที่ 8 ฟิสคอน (Ptolemy VIII Physcon,กรีกโบราณ: ΠτολεμαῖοςΕὐεργέτης, Ptolemaios Euergetes) (ปกครองอียิปต์ระหว่างปี 182 - 26 มิถุนายน 116 ปีก่อนคริสตกาล) ชื่อเล่นนามว่า ฟิสคอน (Φύσκων) เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ ทอเลมีปห่งอียิปต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 8 · ดูเพิ่มเติม »

ทอเลมีที่ 9

ทอเลมีที่ 9 หรือ ทอเลมีที่ 9 โซเตอร์ที่ 2 หรือ ลาธีรอส ("หญ้าถั่ว") (Ptolemy IX Lathyros,กรีก: ΠτολεμαῖοςΣωτήρΛάθυρος, Ptolemaios Soter Láthuros) เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์สามครั้งจาก 116 ปีก่อนคริสตกาลถึง 110 ปีก่อนคริสตกาล 109 ปีก่อนคริสตกาลถึง 107 ปีก่อนคริสตกาลและ 88 ก่อนคริสตกาลถึง 81 ปีก่อนคริสตกาลซึ่งมีระยะเวลาการแทรกแซงการปกครองโดยพี่ชายของเขา ทอเลมีที่ 10.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

คลีโอพัตรา

ลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลพาเธอร์ (Κλεοπάτρα θεά φιλοπάτωρ; หรือรู้จักทั่วไปในนาม คลีโอพัตรา) (มกราคม ปีที่ 69 ก่อนคริสตกาล – 30 พฤศจิกายน ปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณและเชื้อพระวงศ์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งมาซิโดเนีย ดังนั้นจึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย บิดาของพระนางคือทอเลมีที่ 12 ออเลติส และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 ทรีฟาเอนา ชื่อ "คลีโอพัตรา" เป็นภาษากรีก แปลว่า "ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา" พระนามเต็มของพระนางคือ "คลีโอพัตรา เธอา ฟิโลปาตอร์" ซึ่งหมายถึง "เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา" พระนางมีพระปรีชาสามารถมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ฮิบรู, ละติน, มาเซดอนโบราณ, เอธิโอเปียน, ซีเรีย, เปอร์เซีย, และ อียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ น้อยคนนักที่จะแตกฉานภาษานี้ ปัจจุบัน คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้น ๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อน ๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกัน ลบเลือนไปสิ้น ในความเป็นจริง พระนางไม่เคยปกครองอียิปต์เพียงลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา, พระอนุชา, สวามีผู้เป็นอนุชาของพระองค์ หรือไม่ก็พระโอรส การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตรา · ดูเพิ่มเติม »

คลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2

ลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2 (กรีก: Κλεοπάτρα Σελήνη; ประสูติ 40 ปีก่อนคริสตกาล - 6 ปีก่อนคริสตกาล) และยังเป็นที่รู้จักกันในนาม คลีโอพัตราที่ 8 แห่งอียิปต์หรือคลีโอพัตราที่ 8 เป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ปโตเลมีและเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวของพระนางคลีโอพัตรา กับแม่ทัพมาร์ค แอนโทนี พระองค์มีพระเชษฐาฝาแฝดนามว่า เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ชื่อที่สองของพระองค์เป็นภาษากรีกโบราณและสมัยใหม่หมายถึง ดวงจันทร์และยังหมายถึงเทพธิดาไททันนามว่า เซลีนี ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์นามว่า เฮลิออส ซึ่งหมายถึงดวงอาทิตย์ และเทพไททันแห่งดวงอาทิตย์นามว่า เฮลิออส พระองค์มีเชื้อสายชาวกรีก-โรมัน พระองค์ทรงประสูติ ได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาในเมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์ พระองค์เป็นผู้ปกครองแห่งซิเรเนและลิเบี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

คลีโอพัตราที่ 1

ลีโอพัตราที่ 1 ไซรา (Κλεοπάτρα Σύρα) (Cleopatra I Syra) เป็นเจ้าหญิงแห่งจักรวรรดิเซลูซิดโดยการอภิเษกสมรส และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี พระนางทรงอภิเษกสมรสกับทอเลมีที่ 5 กษัตริย์แห่งอียิปต์ เมื่อพระราชสวามีสวรรคตพระนางก็ทรงปกครองอียิปต์ผ่านทางทอเลมีที่ 6 พระโอรส ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ต่อมา พระนางทรงปกครองอียิปต์จวบจนกระทั่งพระนางสวรรคต.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

คลีโอพัตราที่ 2

ลีโอพัตราที่ 2 แห่งอียิปต์ (Κλεοπάτρα) (Cleopatra II of Egypt) เป็นสมเด็จพระราชินี (และผู้ปกครองแต่เพียงพระองค์เดียว ในระยะเวลาสั้น ๆ) แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

คลีโอพัตราที่ 3

คลีโอพัตราที่ 3 แห่งอียิปต์ (Κλεοπάτρα) (Cleopatra III of Egypt) เป็นสมเด็จพระราชินี แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี ตั้งแต่ 142–101 ปีก่อนคริสตกาลพระนางเป็นพระมเหสีในปโตเลมีที่ 8 พระนางเป็นผู้ปกครองอียิปต์ร่วมกับพระสวามีของพระนาง หมวดหมู่:สมเด็จพระราชินีนาถ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

คลีโอพัตราที่ 4

คลีโอพัตราที่ 4 แห่งอียิปต์ (Κλεοπάτρα) (Cleopatra IV of Egypt) เป็นสมเด็จพระราชินี แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี ตั้งแต่ 116-115 ปีก่อนคริสตกาล พระนางเป็นพระมเหสีในปโตเลมีที่ 9 พระนางเป็นผู้ปกครองอียิปต์ร่วมกับพระสวามีของพระนาง หมวดหมู่:สมเด็จพระราชินีนาถ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

คลีโอพัตราที่ 5

คลีโอพัตราที่ 5 แห่งอียิปต์ (Κλεοπάτρα) (Cleopatra V of Egypt) เป็นสมเด็จพระราชินี แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี เป็นพระราชธิดาในปโตเลมีที่ 9กับคลีโอพัตราที่ 4 พระนางเป็นพระมเหสีในปโตเลมีที่ 12 พระนางเป็นผู้ปกครองอียิปต์ร่วมกับพระสวามีของพระนาง หมวดหมู่:สมเด็จพระราชินีนาถ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

คลีโอพัตราที่ 6

คลีโอพัตราที่ 6 ทรีฟาเอนา (Κλεοπάτρα Τρύφαινα) (Cleopatra VI Tryphaena) เป็นสมเด็จพระราชินี แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี พระนางเป็นพระธิดาในทอเลมีที่ 12กับคลีโอพัตราที่ 5 พระนางเป็นพระขนิษฐาของคลีโอพัตราที่ 7 ราชินีแห่งอียิปต์พระองค์ต่อมา หมวดหมู่:สมเด็จพระราชินีนาถ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

ซิเรเน

วเรเน หรือ ซิเรเน (Cyrene) เป็นเมืองกรีกโบราณที่มีอายุมากที่สุด และมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาเมืองของกรีกทั้ง 5 เมืองในลิเบียตะวันออก ภูมิภาคนี้ถูกตั้งชื่อตามชื่อเมืองว่า ไซรีนิกา (Cyrenaica) และยังคงใช้ชื่อนี้อยู่จนปัจจุบัน เมืองนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาอันอุดมสมบูรณ์ในที่ราบสูง Jebel Akhdar.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและซิเรเน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปอมปีย์

รูปปั้นหินอ่อนของปอมปีย์ แกนัส ปอมเปอุส แม็กนัส (Gnaeus Pompeius Magnus,, 29 กันยายน 106 – 28 กันยายน 48 ปีก่อนคริสตกาล) รู้จักกันในนาม ปอมปีย์ หรือ ปอมปีย์มหาราช แม่ทัพและผู้นำทางการเมืองในช่วงปลายของยุค สาธารณรัฐโรมัน.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและปอมปีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เบเรนิซที่ 1

รนิซที่ 1 (กรีก: Βερενίκη; มีชีวิตอยู่ระหว่าง 340 ปีก่อนคริสตกาล - 279 หรือ 268 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชินีและพระมเหสีโดยการอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ปโตเลมีที่ 1 โซเตอร์ โดยพระองค์มีตำแหน่งเป็นพระมเหสีพระองค์ที่สอง หลังจากพระนางยูริดิซปห่งราชวงศ์ปโตเลมีแห่งอียิปต์โบราณhttp://www.livius.org/be-bm/berenice/berenice_i.html.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและเบเรนิซที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เบเรนิซที่ 2

รนิซที่ 2 (ประสูติเมื่อ 267 หรือ 266 ปีก่อนคริสตกาล - สิ้นพระชนม์เมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชินีแห่งซิเรเนโดยกำเนิดและเป็นสมเด็จพระราชินีและผู้ปกครองร่วมแห่งอียิปต์โบราณ โดยทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทอเลมีที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและเบเรนิซที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

เบเรนิซที่ 3

รนิซที่ 3 (Greek: Βερενίκη; ประสูติ 120 - สิ้นพระชนม์ 80 ปีก่อนคริสตกาล) บางครั้งเรียกว่าคลีโอพัตรา เบเรนิซ เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณ ซึ่งปกครองระหว่าง 81 ถึง 80 ปีก่อนคริสตกาล หรือระหว่าง 101 ถึง 88 ปีก่อนคริสตกาล ร่วมกับพระปิตุลาหรือพระสวามีของพระองค์คือปโตเลมีที่ 10 อเล็กซานเดอร์ที่ 1 by Chris Bennett.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและเบเรนิซที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

เบเรนิซที่ 4

รนิซที่ 4 เอพิฟิเนีย (กรีก: Βερενίκη; 77-55 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ประสูติและสิ้นพระชนม์ในเมืองอเล็กซานเดรียที่อียิปต์ พระองค์เป็นเจ้าหญิงชาวกรีกแห่งราชวงศ์ปโตเลมี.

ใหม่!!: ราชวงศ์ทอเลมีและเบเรนิซที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ptolemaic dynastyPtolemaic dynasty of EgyptPtolemiesราชวงศ์ปโตเลมี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »