โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรโซราเบ

ดัชนี อักษรโซราเบ

อักษรโซราเบ (Sorabe หรือ Sora-be) เป็นอักษรอาหรับที่ใช้เขียนภาษามาลากาซีในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 คำว่าโซราเบนั้นแปลตรงตัวว่าการเขียนใหญ่ โดยมาจากภาษาอาหรับ "sura" (การเขียน) และภาษามาลากาซี "be" (ใหญ่) ระบบการเขียนนี้ถูกนำเข้ามาผ่านทางการค้ากับชาวอาหรับมุสลิมFerrand, Gabriel (1905) แต่นักวิชาการบางกลุ่มเห็นว่าอาจจะได้รับจากชาวชวามุสลิม เนื่องจากมีมีความคล้ายคลึงระหว่างอักษรโซราเบกับอักษรเปโกน ที่ใช้เขียนภาษาชวา อักษรนี้ที่เป็นลายมือเขียนราว 200 ชิ้นนั้นพบว่าไม่มีอันที่เขียนก่อนพุทธศตวรรษที่ 22.

6 ความสัมพันธ์: ภาษาชวาภาษามาลากาซีภาษาอาหรับวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอนอักษรอาหรับอักษรเปโกน

ภาษาชวา

ษาชวา คือภาษาพูด ของผู้ที่อาศัยอยู่บนตอนกลางและตะวันออกของเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย เป็นภาษาแม่ของมากกว่า 75,500,000 คน ภาษาชวาอยู่ในภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน จึงสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายู ผู้พูดภาษาชวา พูดภาษาอินโดนีเซียด้วย สำหรับวัตถุประสงค์ทางการและธุรกิจ และเพื่อสื่อสารกับชาวอินโดนีเซียอื่น ๆ มีชุมชนผู้พูดภาษาชวาขนาดใหญ่ในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะรัฐเซอลาโงร์และยะโฮร์ (คีร์ โตโย รัฐมนตรีของเซอลาโงร์ เป็นชนพื้นเมืองของชวา) อย่างไรก็ดี ภาษาชวาไม่สามารถเข้าใจกันกับภาษามลายูได้.

ใหม่!!: อักษรโซราเบและภาษาชวา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาลากาซี

ษามาลากาซี (Malagasy หรือ Malgache ในภาษาฝรั่งเศส) เป็นภาษาราชการของประเทศมาดากัสการ.

ใหม่!!: อักษรโซราเบและภาษามาลากาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: อักษรโซราเบและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน

วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มีชื่อย่อที่เรียกกันในปัจจุบันคือ โซแอส (School of Oriental and African Studies, SOAS) เป็นหนึ่งในวิทยาลัยที่สังกัดมหาวิทยาลัยลอนดอน ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสถาบันที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของโลกในภาพรวมด้านสาขาประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณคดี ศาสนา เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของบรรดาประเทศในเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง ซึ่งสาขาวิชาเด่นๆมีดังนี้ โดยสาขา Development Studies เป็นอันดับ 4 ของโลก สาขา Politics & International Studies เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศอังกฤษ สาขา Theology, Divinity & Religious Studies เป็นอันดับที่ 5 ประเทศของอังกฤษ สาขา Modern Languages เป็นอันดับที่ 8 ประเทศของอังกฤษ สาขา Arts and Humanities เป็นอันดับ 9 ของประเทศอังกฤษ สาขา Sociology เป็นอันดับ 10 ของประเทศอังกฤษ ตามประวัติกล่าวว่าวิทยาลัยฯ เคยเป็นสถานที่ฝึกอบรมบรรดานายทหารชาวอังกฤษที่จะไปปกครองประเทศอาณานิคมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงต้องสรรหานักวิชาการมาทำวิจัยด้านประวัติศาสตร์ การเมือง การเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเหล่านี้ไว้ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดยุทธศาสตร์ทางทหารของลัทธิจักรวรรดินิยม แต่ในปัจจุบัน สถาบันดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นแหล่งค้นคว้าด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (Southeast Asian Studies) ที่สำคัญเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ในสหรัฐอเมริกา, มหาวิทยาลัยปารีสในฝรั่งเศส, มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย, มหาวิทยาลัยเกียวโตในญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เป็นต้น วิทยาลัยฯ มีที่พักสำหรับนักศึกษาเป็นของตัวเอง เพราะเหตุที่เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของเอเชีย จึงมีนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะจากเอเชียเข้าไปศึกษาเป็นจำนวนมาก ตัววิทยาลัยตั้งอยู่ที่รัสเซลล์สแควร์ ใจกลางกรุงลอนดอน ใกล้กับพิพิธภัณฑ์แห่งชาติและหอสมุดแห่งชาต.

ใหม่!!: อักษรโซราเบและวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ใหม่!!: อักษรโซราเบและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเปโกน

อักษรเปโกน (Pegon) เป็นอักษรอาหรับที่ใช้เขียนภาษาชวาและภาษาซุนดา นอกเหนือจากการเขียนด้วยอักษรชวา และใช้มาก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นอักษรโรมันในยุคอาณานิคม นิยมใช้เขียนงานทางศาสนาและกวีนิพนธ์ในพุทธศตวรรษที่ 20 คำว่าเปโกนมาจากภาษาชวา pégo หมายถึงเบี่ยงเบน เพราะเป็นการเขียนภาษาชวาด้วยอักษรอาหรับซึ่งไม่ได้เป็นอักษรพื้นเมืองของชาวชวา ความแตกต่างหลักระหว่างอักษรยาวีและอักษรเปโกนคืออักษรจะเขียนตามเสียงที่เปล่งออกมา เพราะในภาษาชวามีสระที่หลากหลายกว่าภาษามลายูทำให้จำเป็นต้องเขียนสระให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความสับสน ถ้าอักษรเปโกนเขียนแบบไม่มีเครื่องหมายสระอย่างอักษรยาวีจะเรียก คุนดุล อักษรเปโกนมีเครื่องหมายสำหรับเสียงที่ไม่มีในภาษาอาหรับด้ว.

ใหม่!!: อักษรโซราเบและอักษรเปโกน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »