โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อักษรอยามี

ดัชนี อักษรอยามี

อักษรอยามี (Ajami: عجمي)หรืออยามิยะห์ (عجمية), เป็นชื่อของอักษรชนิดหนึ่งโดยมีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับหมายถึงต่างชาติ เป็นการนำอักษรอาหรับมาใช้เขียนภาษาในกลุ่มภาษาแอฟริกา โดยเฉพาะภาษาฮัวซาและภาษาสวาฮิลี ภาษากลุ่มแอฟริกามีระบบสัทวิทยาต่างจากภาษาอาหรับทำให้มีการปรับอักษรอาหรับเพื่อแสดงเสียงเหล่านั้น ด้วยระบบที่ต่างไปจากอักษรอาหรับที่ใช้ในกลุ่มที่ไม่ได้พูดภาษาอาหรับในตะวันออกกลาง ภาษาฮัวซาในแอฟริกาตะวันตกเป็นตัวอย่างของภาษาที่ใช้อักษรอยามี โดยเฉพาะในช่วงก่อนเป็นอาณานิคม เมื่อมีโรงเรียนสอนอัลกุรอ่านให้แก่เยาวชนมุสลิม และได้สอนอักษรอยามีด้วย เมื่อเจ้าอาณานิคมตะวันตกได้พัฒนาระบบการเขียนภาษาฮัวซาด้วยอักษระลตินหรือโบโก การใช้อักษรอยามีได้ลดลง และปัจจุบันใช้น้อยกว่าอักษรละติน แต่ยังใช้อยู่มากในงานทางด้านศาสนาอิสลาม การใช้อักษรอยามีกับภาษาอื่นในประเทศมุสลิมพบได้ทั่วไป.

26 ความสัมพันธ์: บาอ์ชีนกิเมลภาษาสวาฮีลีภาษาอาหรับมีมลาเมดวาฟษาลษาอ์สัทอักษรสากลอักษรอาหรับอายินทาฟดาเลทคอฟคาฟฆอยน์ตะวันออกกลางซายินซาเมกนูนเพ (ตัวอักษร)เรชเฮทเทท

บาอ์

บาอ์ (ب) เป็นอักษรตัวที่ 2 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู בอักษรซีเรียค ܒ อักษรอาหรับ (ب) ใช้แทนเสียงที่เกิดจาก ริมฝีปาก ก้อง ไม่มีลม (สัทศาสตร์สากล: หรือ /บ/) ตรงกับอักษรละติน “B” ในคำทับศัพท์จะแทนด้วย บ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและบาอ์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีน

ชีน (Shin) เป็นอักษรตัวที่ 21 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ש‎ และอักษรอาหรับ ﺵ‎ ใช้แทนเสียงไม่ก้อง ออกตามไรฟัน หรือ อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Σ อักษรละติน S และอักษรซีริลลิก С และ Ш และอาจไปเป็นอักษร Sha ในอักษรกลาโกลิติก มาจากอักษรคานาอันไนต์ที่มาจากไฮโรกลิฟรูปพระอาทิตย์ ซึ่งใช้แทนเสียง หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและชีน · ดูเพิ่มเติม »

กิเมล

กิเมล (Gimel) เป็นอักษรตัวที่ 3 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ג อักษรอาหรับ (ج; ญีม /d͡ʒ/) และอักษรซีเรียค ܓ ใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากเพดานอ่อน ไม่มีลม ชื่ออักษรนี้มาจากภาษาฟินิเชีย หมายถึง “อูฐ” ส่วนรูปอักษรคานาอันไนต์ เป็นรูปคล้ายบูมเมอแรง ในคำทับศัพท์ภาษาอาหรับจะแทนด้วย ญ หรือ จญ์ เมื่อเป็นตัวสะกด หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและกิเมล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสวาฮีลี

ษาสวาฮีลี (หรือ คิสวาฮีลี) เป็นภาษากลุ่มแบนตูที่พูดอย่างกว้างขวางในแอฟริกาตะวันออก ภาษาสวาฮีลีเป็นภาษาแม่ของชาวสวาฮีลี ซึ่งอาศัยอยู่แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกระหว่างประเทศโซมาเลียตอนใต้ ประเทศโมแซมบิกตอนเหนือ มีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 5 ล้านคนและคนพูดเป็นภาษาที่สองประมาณ 30-50 ล้านคน ภาษาสวาฮีลีได้กลายเป็นภาษาที่ใช้โดยทั่วไปในแอฟริกาตะวันออกและพื้นที่รอบ ๆ คำว่า Swahili มาจากรูปพหูพจน์ของคำภาษาอาหรับ sahel ساحل (เอกพจน์) คือ sawahil سواحل แปลว่า "ขอบเขต" และ "ชายฝั่ง" (ใช้เป็นคำวิเศษณ์ที่แปลว่า "คนที่อาศัยอยู่ชายฝั่ง" หรือ "ภาษาชายฝั่ง") นอกจากนี้ คำว่า sahel ใช้เรียกพื้นที่พรมแดนของทะเลทรายซาฮารา การเพิ่ม "i" ตรงท้ายน่าจะมาจาก nisba ของภาษาอาหรับ (ของชายฝั่ง سواحلي) บ้างก็ว่าเป็นเหตุผลทางสัทศาสตร.

ใหม่!!: อักษรอยามีและภาษาสวาฮีลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: อักษรอยามีและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

มีม

มีม (meme) เป็นรูปแบบของ ความคิดทางวัฒนธรรม สัญลักษณ์ หรือการปฏิบัติ ที่สามารถส่งผ่านจากจิตใจคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ผ่านการเขียน การพูด ท่าทาง พิธีกรรม ภาพล้อเลียน และมีคำศัพท์ต่างๆในภาพที่มีความหมายเชิงตลก หรือปรากฏการณ์ลอกเลียนแบบอื่น ๆ คำว่า meme ในภาษาอังกฤษ มาจากการผสมของคำว่า "gene" และคำภาษากรีกว่า μιμητισμός (หรือ การเลียนแบบบางอย่าง) ผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ได้ถือว่า เป็นสิ่งที่คล้ายกันทางวัฒนธรรมสู่ยีน มีการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองแรงกระตุ้นที่เลือกเฟ้น นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ริชาร์ด ดอว์กินส์ ได้คิดคำว่า "meme" ขึ้นมาในหนังสือThe Selfish Gene (1976) ในแนวคิดเกี่ยวกับการอภิปรายทฤษฎีวิวัฒนาการเกี่ยวกับการอธิบายการแพร่ของความคิดและปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น มีมในหนังสืออย่างพวกเมโลดี คำพูดติดปาก แฟชั่น และเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบซุ้มโค้ง เป็นต้น.

ใหม่!!: อักษรอยามีและมีม · ดูเพิ่มเติม »

ลาเมด

ลาเมด (Lamed, Lamedh) เป็นอักษรตัวที่ 12 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ל และอักษรอาหรับ ل (ลาม لَامْ) ใช้แทนเสียง อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Λ อักษรละติน L และอักษรซีริลลิก Л เชื่อกันว่ามาจากไฮโรกลิฟรูปปฏักหรือต้นกก หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและลาเมด · ดูเพิ่มเติม »

วาฟ

วาฟ (Waw, Vav) เป็นอักษรตัวที่ 6 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู อักษรซีเรียค ܘ และอักษรอาหรับ و (วาว) ใช้แทนเสียง หรือ อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Ϝ และ Υ อักษรอีทรัสคัน v และอักษรละติน F V, และ Y; V ต่อมาพัฒนาเป็น U และ W มาจากไฮโรกลิฟรูปห่วง และเป็นทฤษฎีของ ศรันย์ ซึ่งต้องการจะพิสูจน์ว่า เราสามารถเดินทางด้วยความเร็วแสงได้หรือไม่ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ en:Waw (letter)#Arabic wāw.

ใหม่!!: อักษรอยามีและวาฟ · ดูเพิ่มเติม »

ษาล

ษาล หรือ ซาล (ﺫ‎) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากฟัน และเป็นเสียงในลำคอ (voiced dental fricative; สัทศาสตร์สากล) เสียงนี้เป็นเสียงเดียวกับ th ในภาษาอังกฤษ แต่การถอดเป็นอักษรโรมันมักถอดเสียงนี้เป็น dh หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและษาล · ดูเพิ่มเติม »

ษาอ์

ษาอ์ (ث) เป็นอักษร 1 ใน 6 ตัว ของอักษรอาหรับ ที่เพิ่มจากอักษร 22 ตัวของอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงไม่ก้อง เกิดจากฟัน และเป็นเสียงในลำคอ (ثَاءْ) (สัทศาสตร์สากล) ในคำทับศัพท์จะแทนด้วย ษ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและษาอ์ · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: อักษรอยามีและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

อักษรอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และภาษามลายูปัตตานี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน.

ใหม่!!: อักษรอยามีและอักษรอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

อายิน

อายิน (Ayin) เป็นอักษรตัวที่ 16 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ע‎ และอักษรอาหรับ ع (อัยน์)‎ เริ่มแรกใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากคอหอยและเป็นเสียงเสียดแทรก มักแทนด้วยอักษรละติน ʿ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์จากอักษรกรีก spiritus asper ʽ, อายินใช้แทนเสียงที่ต่างจาก /อ/ ซึ่งแทนด้วยอะลิฟ ในภาษาโซมาเลียแสดงอัยนฺด้วยอักษร c, และนักอียิปต์วิทยานิยมแทนเสียงนี้ด้วย c อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Omicron (Ο), และอักษรละติน O, รวมทั้งในอักษรซีริลลิกด้วย อักษรเหล่านี้ใช้แสดงเสียงสระทั้งหมด อักษรนี้มาจากภาษาเซมิติกตะวันตก ʿen "ตา" (ในภาษาอาหรับสมัยใหม่แปลตรงตัวว่า "ตาในภาษาฮีบรู: ayin), และอักษรคานาอันไนต์ รูปตาที่อาจจะมาจากไฮโรกลิฟ (ỉr) หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและอายิน · ดูเพิ่มเติม »

ทาฟ

ทาฟ (Taw, Tav, Taf) เป็นอักษรตัวที่ 22 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ת อักษรอาหรับ (ت; ตาอ์) เริ่มแรกใช้แทนเสียงที่เกิดจากปุ่มเหงือก ไม่ก้อง ไม่มีลม (สัทศาสตร์สากล) อักษรฟินิเชียที่ใช้แทนเสียงนี้ พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก “Τ” อักษรละติน “T” และอักษรซีริลลิก “Т” ในคำทับศัพท์ภาษาอาหรับจะแทนด้วย ต หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและทาฟ · ดูเพิ่มเติม »

ดาเลท

ดาเลท (Daleth) เป็นอักษรตัวที่ 4 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู (ד‎) อักษรอาหรับ (ﺩ‎; ดาล) และอักษรซีเรียค (ܕ) ใช้แทนเสียงก้องไม่มีลม เกิดจากปุ่มเหงือก (voiced alveolar plosive; สัทอักษรสากล) อักษรนี้มาจากไฮโรกลิฟรูปประตู (dalt ภาษาฮีบรูสมัยใหม่เป็น delet) ส่วนอักษรคานาอันไนต์เรียกปลา (digg ภาษาฮีบรูสมัยใหม่เป็น dag) อักษรฟินิเชียที่ใช้แทนเสียงนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก “Δ ” อักษรละติน “D” และอักษรซีริลลิก “Д” หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและดาเลท · ดูเพิ่มเติม »

คอฟ

คอฟ (Qoph, Qop) เป็นอักษรตัวที่ 19 ของอักษรตะกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ק‎ และอักษรอาหรับ ق (ก๊อฟ)‎ ใช้แทนเสียงเน้นจากคอหอย เกิดที่เพดานอ่อน หรือจากลิ้นไก่ อักษรตัวนี้กลายเป็นอักษรละติน Q และอักษรกรีก มาจากอักษรภาพรูปลิงที่แสดงลำตัวและหาง (ในภาษาฮีบรู, Qoph, สะกดด้วยอักษรฮีบรูเป็น קוף, หมายถึง "ลิง" และ K'of ในภาษาอียิปต์โบราณหมายถึงลิงชนิดหนึ่ง) หรืออาจจะมาจากอักษรภาพรูปหัวและคอของคน (Qaph ในภาษาอาหรับหมายถึงลำคอ) หมวดหมู่:อักษรอาหรับ en:Qoph#Arabic qāf.

ใหม่!!: อักษรอยามีและคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

คาฟ

คาฟ (Kaph, Kap, Kaf) เป็นอักษรตัวที่ 11 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู כ‎ และอักษรอาหรับ ك (ก๊าฟ كَافْ) การออกเสียงในสัทอักษรเป็น อักษรฟินิเชียตัวนี้ไปเป็นอักษรกรีก (Κ), อักษรละติน K, และเป็นอักษรซีริลลิก (К) คาดว่าอักษรกาฟมาจากอักษรภาพรูปมือ (ทั้งในภาษาฮีบรูสมัยใหม่และภาษาอาหรับสมัยใหม่ kaph หมายถึงฝ่ามือ) หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและคาฟ · ดูเพิ่มเติม »

ฆอยน์

ฆอยน์ (ﻍ‎) เป็นอักษรอาหรับ 1 ใน 6 ตัวที่เพิ่มจากอักษรฟินิเชีย ใช้แทนเสียงก้อง เกิดจากเพดานอ่อน และเป็นเสียงเสียดแทรก เสียงนี้มีการแยกเป็นหน่วยเสียงต่างหากในภาษาอาหรับ ภาษายูการิติก และสำเนียงเก่าของภาษาคานาอันไนต์ ส่วนสำเนียงที่ใหม่กว่านี้และภาษาฮีบรูติเบอเรียนได้รวมเสียงนี้เข้ากับอัยนฺอย่างสมบูรณ์ อักษรอาระเบียใต้ยังคงมีสัญลักษณ์สำหรับเสียง ġ, บางครั้งใช้แทนเสียง ในคำยืมในภาษาอาหรับ เช่น คำ Ingliizi (إنغليزي) ที่หมายถึง อังกฤษ หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและฆอยน์ · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: อักษรอยามีและตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ซายิน

ซายิน (Zayin) เป็นอักษรตัวที่ 7 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ז‎อักษรซีเรียค ܙ และอักษรอาหรับ ﺯ‎ (ซัย) ใช้แทนเสียงก้อง เสียดแทรก เกิดจากปุ่มเหงือก อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Ζ, อักษรอีทรัสคัน z, อักษรละติน Z และอักษรซีริลลิก З รูปอักษรคานาอันไนต์เป็นรูปดาบหรืออาวุธอื่น ๆ ส่วนไฮโรกลิฟเป็นรูปโซ่ตรวน หมวดหมู่:อักษรอาหรับ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและซายิน · ดูเพิ่มเติม »

ซาเมก

ซาเมก (Samekh) เป็นอักษรตัวที่ 15 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรแอราเมอิก อักษรฮีบรู ס อักษรซีเรียค ܣ และอักษรอาหรับ س (ซีน) ใช้แทนเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง อักษรฟินิเชียตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Ξ มาจากอักษรคานาอันไนต์ที่มาจากไฮโรกลิฟรูปกระดูก ซามเมก.

ใหม่!!: อักษรอยามีและซาเมก · ดูเพิ่มเติม »

นูน

นูน (Nun) เป็นอักษรตัวที่ 14 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรูנ‎ และอักษรอาหรับ ﻥ‎ และเป็นอักษรตัวที่สามของอักษรทานะ (ނ)- มีชื่อว่านูนุ แทนด้วยสัทอักษร: อักษรฟินิเชียตัวนี้ไปเป็นอักษรกรีก (Ν), อักษรอีทรัสคัน ̍, อักษรละติน N, และอักษรซีริลลิก Н คาดว่านุนมาจากอักษรภาพรูปงู (คำว่างูในภาษาฮีบรู, nachash เริ่มด้วยนุน และคำว่างูในภาษาอราเมอิกคือ nun) หรือปลาไหล แต่บางกลุ่มเชื่อว่ามาจากไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์รูปปลาในน้ำ (ในภาษาอาหรับ, nūn หมายถึงปลาหรือวาฬ).

ใหม่!!: อักษรอยามีและนูน · ดูเพิ่มเติม »

เพ (ตัวอักษร)

เพ (Pe) เป็นอักษรตัวที่ 17 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู פ‎ และอักษรอาหรับ ف (ฟาอ์) ใช้แทนเสียงไม่ก้อง เกิดจากริมฝีปาก ไม่มีลม: IPA อักษรฟินิเชียตัวนี้ไปเป็นอักษรกรีก Pi (Π), อักษรละติน P, และอักษรซีริลลิก Pe จุดกำเนิดมาจากอักษรภาพรูปปาก (ภาษาฮีบรู pe; ภาษาอาหรับ, fem) พเพ en:Pe (letter)#Arabic fāʼ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและเพ (ตัวอักษร) · ดูเพิ่มเติม »

เรช

เรช (Resh) เป็นอักษรตัวที่ 20 ของอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่ ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู (ר) และอักษรอาหรับ (ﺭ‎; รออ์) ใช้แทนเสียงรัวลิ้น (rhotic consonants; สัทอักษรสากล หรือ) แต่ในภาษาฮีบรู จะใช้แทนเสียง และ ด้วย รูปร่างของอักษรนี้ในอักษรตระกูลเซมิติกส่วนใหญ่จะคล้ายกับตัวดาล อักษรซีเรียคใช้ตัวเดียวกัน แยกจากกันโดยใช้จุด r มีจุดอยู่ข้างบน ส่วน d มีจุดอยู่ข้างล่าง อักษรอาหรับ ﺭ‎ มีหางยาวกว่า ﺩ‎ ส่วนในอักษรอราเมอิก และอักษรฮีบรู ที่เป็นอักษรทรงเหลี่ยม ר เป็นขีดทรงโค้งอันเดียว ส่วน ד เป็นขีด 2 ขีดทำมุมกัน อักษรนี้มาจากไฮโรกลิฟรูปหัว (ฮีบรู rosh; อาหรับ ra's) ตัวนี้ภาษาเซมิติกตะวันออกเรียก riš ซึ่งอาจเป็นคำอ่านของอักษรรูปลิ่มในภาษาอัคคาเดีย อักษรฟินิเชียที่ใช้แทนเสียงนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก “Ρ” อักษรละติน “R” และอักษรซีริลลิก “ Р” รเรช ar:ر fa:ر ms:Ra (huruf Arab).

ใหม่!!: อักษรอยามีและเรช · ดูเพิ่มเติม »

เฮท

เฮท (Heth) เป็นอักษรตัวที่ 8 ของอักษรคานาอันไนต์ ซึ่งพัฒนาต่อมาเป็นอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรู อักษรอาหรับ (ح: หาอ์ /ħ/) อักษรซีเรียค ใช้แทนเสียงไม่ก้อง และเป็นเสียงในลำคอซึ่งอาจเป็นทั้งเสียงที่เกิดจากคอหอย (หรือเพดานอ่อน ส่วนภาษาอาหรับแยกความแตกต่างโดยใช้ ح แทนเสียง และใช้ خ แทนเสียง อักษรฮีบรูเริ่มแรกใช้ ח แทน และ כ แทน ต่อมาทั้ง 2 ตัวใช้แทนเสียงไม่ก้องเกิดจากลิ้นไก่ และเป็นเสียงในลำคอ อักษรคานาอันไนต์ตัวนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก “Η”, อักษรละติน "H” และอักษรซีริลลิก “И” โดย H ในอักษรละตินยังใช้แทนเสียงพยัญชนะ ส่วน Η ในอักษรกรีกและ И ใช้แทนเสียงสระ ในคำทับศัพท์จะแทนด้วย ฮ ฮเฮ br:Het ceb:Ḥet en:Heth fi:Ḥet it:Heth pl:Chet sv:Het zh:Heth.

ใหม่!!: อักษรอยามีและเฮท · ดูเพิ่มเติม »

เทท

เทท (Teth) เป็นอักษรตัวที่ 9 ของอักษรตระกูลเซมิติก ได้แก่ อักษรฟินิเชีย อักษรอราเมอิก อักษรฮีบรู ט‎, อักษรซีเรียค ܛ และอักษรอาหรับ (ﻁ; ฏออ์)‎ ใช้แทนเสียง ซึ่งเป็นเสียงพยัญชนะเน้น อักษรนี้พัฒนาไปเป็นอักษรกรีก Theta (Θ) ต้นกำเนิดมาจากอักษรฟินิเชีย ชื่อ ṭēth หมายถึง "ล้อ" แต่อาจจะมาจากอักษรภาพชื่อ ṭab "ดี" ที่มาจากไฮโรกลิฟ nfr "ดี" หมวดหมู่:อักษรอาหรับ en:Teth#Arabic Ṭāʼ.

ใหม่!!: อักษรอยามีและเทท · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »