โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สวนศาสตร์

ดัชนี สวนศาสตร์

วนศาสตร์ (อ่านว่า สะ-วะ-นะ-สาด) หรือ อะคูสติกส์ (อังกฤษ: acoustics) เป็นสาขาหนึ่งของ ฟิสิกส์ ว่าด้วยคุณสมบัติของ คลื่นเสียงเชิงกล เมื่อเคลื่อนที่ใน แก๊ส ของเหลว และของแข็ง นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ เรียกว่า นักอะคูสติกส์ (Acoustician) คำว่า อะคูสติกนั้น มาจากภาษากรีกโบราณ ว่า “อะคูสติกคอส” หมายถึง “สามารถได้ยิน” ในปัจจุบัน อะคูสติกส์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง ควบคุม ส่ง รับ และผลกระทบของเสียง โดยเริ่มต้นด้วยการศึกษาการสั่นเชิงกล และการแผ่คลื่นจากการสั่นเหล่านี้ จนถึงการศึกษาคลื่นเชิงกล โดยยังมีการศึกษาค้นคว้าเรื่อยมา งานวิจัยด้านสวนศาสตร์ดำเนินไปหลายลักษณะ จากกระบวนการเชิงฟิสิกส์มูลฐาน ที่เกี่ยวข้องกับคลื่นและเสียง และอาจโยงไปถึงการประยุกต์ใช้กระบวนการเหล่านี้ในชีวิตสมัยใหม่ การศึกษาคลื่นเสียงยังนำไปสู่หลักการทางฟิสิกส์ที่อาจประยุกตใช้กับการศึกษาคลื่นทุกชนิดด้ว.

32 ความสัมพันธ์: ฟิสิกส์การรับรู้การได้ยินภาษากรีกภาษาอังกฤษลำโพงวาฬสำนักงานห้องเรียนอัตราเร็วของเสียงอากาศพลศาสตร์อุณหภูมิอุณหสวนศาสตร์จิตสวนศาสตร์ของแข็งของเหลวคลื่นคลื่นกระแทกความกดอากาศค้างคาวตัวรับรู้ซอนิกบูมนักวิทยาศาสตร์แก๊สโรงภาพยนตร์โรงละครโรงงานโลมาโซนาร์โซโนลูมิเนสเซนส์ไมโครโฟนเสียง

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้

ลูกบาศก์เนกเกอร์และแจกันรูบินสามารถมองเห็น/รับรู้ได้มากกว่า 1 แบบ การรับรู้ หรือ สัญชาน (Perception จากคำภาษาละตินว่า perceptio) เป็นการจัดระเบียบ ระบุ และแปลผลข้อมูลจากประสาทสัมผัสเพื่อใช้เป็นแบบจำลองและเข้าใจข้อมูลหรือโลกรอบ ๆ ตัว การรับรู้ทุกอย่างจะต้องเกี่ยวกับสัญญาณประสาทที่ส่งไปยังระบบประสาท โดยสัญญาณก็จะเป็นผลของการเร้าระบบรับความรู้สึกทางกายภาพหรือทางเคมี ยกตัวอย่างเช่น การเห็นจะเกี่ยวกับแสงที่มากระทบจอตา การได้กลิ่นจะอำนวยโดยโมเลกุลที่มีกลิ่น และการได้ยินจะเกี่ยวกับคลื่นเสียง การรับรู้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การรับสัญญาณทางประสาทสัมผัสเฉย ๆ แต่จะได้รับอิทธิพลจากการเรียนรู้ ความทรงจำ ความคาดหวัง และการใส่ใจของบุคคลนั้น ๆ การรับรู้สามารถแบ่งเป็นสองส่วน คือ.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และการรับรู้ · ดูเพิ่มเติม »

การได้ยิน

การได้ยิน หรือ การฟัง หมายถึงการรับรู้เสียงได้ เป็นการรับรู้การสื่อสารจากการพูด และเป็นหนึ่งในสัมผัสทั้งห้า อวัยวะที่ใช้ในการฟังเราเรียกว่าหู การได้ยินเป็นหนึ่งในสัมผัสสามอย่างที่ไม่สามารถปิดกั้นได้(ได้แก่ การได้ยิน การดม และกายสัมผัส).

ใหม่!!: สวนศาสตร์และการได้ยิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: สวนศาสตร์และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: สวนศาสตร์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ลำโพง

ลำโพงทั้งตู้ ลำโพง (loudspeaker, speaker) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเชิงกลอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นเสียง มีด้วยกันหลายแบบ คำว่า ลำโพงมักจะเรียกรวมกัน ทั้งดอกลำโพง หรือตัวขับ (driver) และลำโพงทั้งตู้ (speaker system) ที่ประกอบด้วยลำโพงและวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับแบ่งย่านความถี่ (ครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ก) ลำโพงนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในระบบเครื่องเสียง โดยมีขนาดตั้งแต่เล็กเท่าปลายนิ้ว จนถึงใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางนับสิบนิ้ว โดยมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน และให้เสียงที่แตกต่างกันด้ว.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และลำโพง · ดูเพิ่มเติม »

วาฬ

การพ่นน้ำของวาฬเพชฌฆาต (''Orcinus orca'') ครีบหางของวาฬหลังค่อม ซึ่งวาฬแต่ละตัวและมีลักษณะของครีบและหางแตกต่างกันออก ใช้เป็นสิ่งสำคัญในการจำแนก ตัวอย่างเสียงร้องของวาฬ วาฬ หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า "ปลาวาฬ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเลหรือมหาสมุทร เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายปลา คือ รูปร่างเพรียวยาว มีครีบและมีหางเหมือนปลา แต่หางของวาฬจะเป็นไปในลักษณะแนวนอน มิใช่แนวตั้งเหมือนปลา วาฬมิใช่ปลา แต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสายรก ที่จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) บรรพบุรุษของวาฬ เป็นสัตว์กินเนื้อบนบกมี 4 ขา ในยุคพาลีโอจีน เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน มีชื่อว่า "มีโซนิก" จากนั้นก็วิวัฒนาการเริ่มใช้ชีวิตแบบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำภายในเวลาเพียง 10 ล้านปีต่อมาในยุคอีโอซีน หรือเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน โดยจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจากนั้นขาหลังก็ค่อยหดและเล็กลงจนต่อมาเมื่อประมาณ 24-26 ล้านปี ก่อนกระดูกและข้อต่อก็หดเล็กลงจนไม่มีโผล่ออกมาให้เห็น แต่ในปัจจุบันกระดูกส่วนของขาหลังก็ยังคงมีอยู่โดยเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดเล็ก และทำหน้าที่เพียงเป็นที่ยึดติดของอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ นับเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แม้จะอาศัยอยู่แต่เฉพาะในทะเล มีรูปร่างคล้ายปลา แต่มิใช่ปลา ด้วยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แม้จะไม่มีขนปกคลุมลำตัวเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ แต่วาฬจะรักษาความอบอุ่นในร่างกายด้วยไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง วาฬ เป็นสัตว์ที่หายใจด้วยปอด เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับอื่น ๆ วาฬสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานนับชั่วโมง (โดยเฉลี่ยประมาณ 20 นาที) ด้วยการเก็บออกซิเจนปริมาณมากไว้ในปอด เมื่อใช้ออกซิเจนหมด วาฬจะขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำเพื่อปล่อยลมหายใจออก ซึ่งขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนั้นจะมีไอน้ำและฝอยน้ำพ่นออกมาจากอวัยวะพิเศษที่อยู่ตรงส่วนหัวเป็นรูกลม ๆ เหมือนน้ำพุด้วย เพราะวาฬมีกล้ามเนื้อพิเศษปิดรูจมูกไว้แน่นเพื่อกันไม่ให้น้ำเข้าไปจมูกซึ่งเป็นอวัยวะที่ติดต่อกับปอดโดยตรง ส่วนปากนั้นไม่มีทางติดต่อกับปอดและจมูกเลย ทั้งนี้เพื่อจะกันไม่ให้น้ำเข้าสู่ปอดในขณะที่ดำน้ำ ในวาฬขนาดใหญ่อย่าง วาฬสีน้ำเงิน สามารถพ่นน้ำได้สูงถึง 9 เมตร วาฬ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกของวาฬจะกินนมจากเต้านมของแม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป เต้านมของวาฬมี 1 คู่ อยู่ในร่องท้องของวาฬตัวเมีย ขณะที่กินนมลูกวาฬจะว่ายน้ำเคียงข้างไปพร้อมกับแม่ จึงจำเป็นต้องใช้เวลาให้น้อยที่สุด โดยเพียงแค่จ่อปากที่หัวนม แม่วาฬจะปล่อยน้ำนมเข้าปากลูก เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ไม่กี่วินาทีเท่านั้น เมื่อลูกวาฬคลอดออกมาใหม่ ๆ จะพุ่งตัวขึ้นผิวน้ำเพื่อหายใจทันที แม่วาฬจะช่วยดันลูกขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยส่วนหัว และขณะที่แม่วาฬคลอดลูกนั้น วาฬตัวอื่น ๆ ในฝูง โดยเฉพาะวาฬตัวเมียจะช่วยกันปกป้องแม่และลูกวาฬมิให้ได้รับอันตราย ลูกวาฬเมื่อแรกเกิดจะมีลำตัวประมาณร้อยละ 40 ของแม่วาฬ และในบางชนิดจะมีขนติดตัวมาด้วยในช่วงแนวปากบนเมื่อแรกเกิด และจะหายไปเมื่อโตขึ้น วาฬ เป็นสัตว์ที่มีนัยน์ตาขนาดเล็ก จึงไม่ได้ใช้ประสาทการมองเห็นเท่าใดนัก อีกทั้งระบบประสาทการรับกลิ่นก็ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีด้วย หากแต่วาฬจะใช้ระบบการรับฟังเสียงเป็นประสาทสัมผัสเป็นหลัก คล้ายกับระบบโซนาร์ หรือเอคโคโลเคชั่น ที่ส่งคลื่นเสียงไปกระทบกับวัตถุต่าง ๆ แล้วสะท้อนกลับมาสู่ประสาทหูของวาฬเพื่อคำนวณระยะทางและขนาดของวัตถุ นอกจากนี้แล้ววาฬยังใช้เสียงต่าง ๆ ในการติดต่อสื่อสารกันในฝูงและในกลุ่มเดียวกัน สามารถร้องได้ด้วยเสียงต่าง ๆ กันมากมาย มีการศึกษาจากนักวิชาการพบว่า วาฬหลังค่อมสามารถส่งเสียงต่าง ๆ ได้มากถึง 34 ประเภท เหมือนกับการร้องเพลง และก้องกังวาลไปไกลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร และอยู่ได้นานถึงชั่วโมง และในการศึกษาวาฬนั้น ผู้ศึกษาจะสังเกตจากครีบหางและรอยแผลต่าง ๆ บนลำตัวซึ่งจะแตกต่างกันออกไปเป็นลักษณะเฉพาะ วาฬ เป็นสัตว์ที่มนุษย์รู้จักและผูกพันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในอดีตเคยมีความเชื่อว่าวาฬเป็นปลา เช่น นักปราชญ์อย่างอริสโตเติล แต่ในปี ค.ศ. 1693 จอห์น เรย์ นักชีววิทยาชาวอังกฤษเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ตระหนักว่าวาฬเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มิใช่ปลา ด้วยมีการคลอดลูกเป็นตัว และมีระยะเวลาตั้งท้องนานกว่าปี เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ทั่วไป วาฬเป็นสัตว์ที่มนุษย์นิยมล่าเพื่อนำเนื้อ, หนัง, บาลีน, ฟัน, กระดูก รวมทั้งน้ำมันและไขมันในชั้นผิวหนังในการอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ จนกระทั่งถึงในปี ค.ศ. 1966 ประชากรวาฬลดลงเหลือเพียง 12,000 ตัวเท่านั้น จึงมีกฎหมายและการอนุรักษ์วาฬขึ้นมาอย่างจริงจัง.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และวาฬ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงาน

ำนักงานแห่งหนึ่ง สำนักงาน, ที่ทำการ หรือ ออฟฟิศ โดยทั่วไปหมายถึงห้องหรือพื้นที่อื่นที่ผู้คนทำงาน (ซึ่งเรียกว่าพนักงาน เจ้าพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่) และอาจแสดงถึงตำแหน่งภายในองค์การอันมีกิจเฉพาะที่ต้องทำในสำนักงาน บรรษัทหรือองค์การต่าง ๆ มักมีสำนักงานเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดอยู่ในสถานที่ตั้งทางการ สำนักงานอาจมีขนาดตั้งแต่โต๊ะเก้าอี้ตัวเล็ก ๆ ภายในบ้าน ห้องสำนักงานห้องหนึ่ง ไปจนถึงทั้งชั้นของอาคาร หรือแม้แต่อาคารทั้งหมดอุทิศให้กับองค์การเดียว สำนักงานหนึ่งอาจแบ่งด้วยผนังกั้นเป็นพื้นที่ทำงานสำหรับแต่ละแผนก ทีมงาน หรือปัจเจกบุคคล.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และสำนักงาน · ดูเพิ่มเติม »

ห้องเรียน

ห้องเรียนในมหาวิทยาลัย ห้องเรียน เป็นห้องสำหรับกิจกรรมการเรียน การสอน มีในสถาบันการศึกษาทุกประเภท ทั้งโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน หน่วยงาน องค์กรทางศาสนาและผู้ช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ห้องเรียนเป็นสถานที่ปลอดต่อการรบกวนจากสิ่งต่าง ๆ ในขณะการเรียน การสอน ห้องเรียนส่วนใหญ่จะมีกระดานขนาดใหญ่สำหรับผู้สอนหรือนักเรียนใช้เขียนร่วมกัน รูปแบบดั้งเดิมคือกระดานดำ แต่ปัจจุบันได้ลดน้อยลงไป แทนที่โดยฟลิปชาร์ต ไวต์บอร์ด ห้องเรียนอาจมีโทรทัศน์ แผนที่ ปากกา หนังสือ โปรเจกเตอร์ หมวดหมู่:ห้อง.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และห้องเรียน · ดูเพิ่มเติม »

อัตราเร็วของเสียง

อัตราเร็วของเสียง คือ ระยะทางที่เสียงเดินทางไปในตัวกลางใดๆ ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา โดยทั่วไปเสียงเดินทางในอากาศที่มีอุณหภูมิ 25°C (.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และอัตราเร็วของเสียง · ดูเพิ่มเติม »

อากาศพลศาสตร์

วังวนถูกสร้างขึ้นโดยแนวทางผ่านของปีกเครื่องบินเผยให้เห็นควันม้วนตัวอยู่ กระแสลมวน เป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์มากมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของอากาศพลศาสตร์ กระแสลมวนถูกสร้างขึ้นโดยความแตกต่างของความดันระหว่างพื้นผิวด้านบนและด้านล่างของปีก อากาศจะไหลจากบริเวณความดันสูงด้านล่างของปีกไปสู่บริเวณความดันที่ต่ำกว่าที่อยู่ด้านบนพื้นผิวของปีก อากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics) มาจากภาษากรีก ἀήρ Aer (อากาศ) + δυναμική (itself from-ตัวของมันเองมาจาก) δύναμις dynamis (force; specially, miraculous power), (แรง; เป็นพิเศษ, มีอำนาจน่าอัศจรรย์), เป็นสาขาของวิชาพลศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาการเคลื่อนที่ของอากาศ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุที่เป็นของแข็ง อากาศพลศาสตร์เป็นหน่วยย่อยของพลศาสตร์ของไหลและพลศาสตร์ก๊าซ, ด้วยทฤษฎีที่ใช้ร่วมกันอย่างมากมายระหว่างกัน อากาศพลศาสตร์มักจะใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันกับพลศาสตร์ก๊าซด้วยความแตกต่างที่ว่าพลศาสตร์ก๊าซสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับก๊าซทั้งหมด, ไม่จำกัดเฉพาะกับอากาศ การศึกษาอากาศพลศาสตร์อย่างเป็นทางการในแนวทางแห่งยุคสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่สิบแปด แม้ว่าการสังเกตแนวคิดพื้นฐานเช่นการฉุดลากทางอากาศพลศาสตร์ (aerodynamic drag) จะได้รับการจดบันทึกกันมากมาก่อนหน้านี้ ในที่สุดของความพยายามในช่วงยุคต้น ๆ ของงานที่เกี่ยวข้องกับทางด้านอากาศพลศาสตร์ทำให้สามารถบรรลุผลของการบินของอากาศยานที่หนักกว่าอากาศซึ่งได้รับการแสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกโดยวิลเบอร์และออร์วิลไรท์ (Wilbur and Orville Wright) ในปี 1903 ตั้งแต่นั้นมาการใช้อากาศพลศาสตร์ผ่านการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์, การประมาณค่าจากการสังเกตทางการทดลอง, การทดลองในอุโมงค์ลม, และการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ได้กลายมาเป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการศึกษาทางด้านการบินของอากาศยานที่หนักกว่าอากาศและจำนวนของเทคโนโลยีอื่น ๆ งานล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ในวิชาอากาศพลศาสตร์ได้มุ่งเน้นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการไหลแบบอัดตัว (compressible flow), ความปั่นป่วน (turbulence) และชั้นขอบ (boundary layers) และได้กลายมาเป็นเชิงทางด้านการคำนวณ (computational) เกี่ยวข้องกับธรรมชาติมากขึ้นเรื่อ.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และอากาศพลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และอุณหภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

อุณหสวนศาสตร์

ปกติแล้ว ในทางเทอร์โมไดนามิกส์จะมีการให้งานกับระบบ และงานที่ทำให้ระบบส่งผลให้เกิดเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ งานดังกล่าวนี้ อาจจะเป็นงานจากการเลื่อนลูกสูบเหมือนการสูบลมล้อรถจักรยาน ถ้าเราให้งาน (เคลื่อนลูกสูบ) ท่อจะเริ่มร้อน ในทำนองเดียวกัน อุณหสวนศาสตร์ เป็นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่ได้จากงานซึ่งเกิดจากคลื่นเสียง.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และอุณหสวนศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตสวนศาสตร์

ตสวนศาสตร์ (คำอ่าน: จิด-ตะ-สะ-วะ-นะ-สาด; Psychoacoustics) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับประสาทสัมผัสของมนุษย์ด้านการได้ยิน.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และจิตสวนศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ของแข็ง

ของแข็ง (Soild) เป็นสถานะหนึ่งในสี่ของสถานะพื้นฐานของสสาร (สถานะอื่นได้แก่ ของเหลว แก๊ส พลาสมา) ซึ่งมีลักษณะที่สามารถทนและต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่วงหรือปริมาตร แตกต่างกับของเหลว วัตถุที่เป็นของแข็งไม่สามารถไหลได้และไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างและปริมาตรไปตามภาชนะที่บรรจุ อะตอมภายในโมเลกุลของของแข็งอยู่ชิดกันมากและมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคที่หนาแน่นกับอนุภาคอื่น ๆ สาขาของฟิสิกส์มีสาขาหนึ่งที่มีเพื่อศึกษาของแข็งโดยเฉพาะ เรียกว่าฟิสิกส์ของแข็งและมันยังเป็นสาขาหลักของฟิสิกส์สสารอัดแน่น (ซึ่งจะมีการศึกษาเกี่ยวกับของเหลวรวมอยู่ด้วย) ของแข็งที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดในโลกคือ ซิลิกานาโนโฟม (silica nanofoam) มีความหนาแน่นประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งน้อยกว่าความหนาแน่นของอากาศ เป็นผลิตภัณฑ์ของแอโรเจล (aerogel) ที่ดูดอากาศออก หมวดหมู่:สถานะของสสาร หมวดหมู่:ของแข็ง หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และของแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ของเหลว

รูปทรงของของเหลวเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ ของเหลว (Liquid) เป็นสถานะของของไหล ซึ่งปริมาตร จะถูกจำกัดภายใต้สภาวะคงที่ของอุณหภูมิและความดัน และรูปร่างของมันจะถูกกำหนดโดยภาชนะที่บรรจุมันอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นของเหลวยังออกแรงกดดันต่อภาชนะด้านข้างและบางสิ่งบางอย่างในตัวของของเหลวเอง ความกดดันนี้จะถูกส่งผ่านไปทุกทิศทาง ถ้าของเหลวอยู่ในระเบียบของสนามแรงโน้มถ่วง ความดัน pที่จุดใด ๆ สามารถแสดงเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ ที่ซึ่ง \rho เป็น ความหนาแน่น ของของเหลว (ซึ่งกำหนดให้คงที่) และ z คือความลึก ณ จุดใต้พื้นผิวของเหลวนั้น สังเกตว่าในสูตรนี้กำหนดให้ความดันที่ผิวบนเท่ากับ 0 และไม่ต้องคำนึงถึง ความตึงผิวของเหลวมีลักษณะเฉพาะของ แรงตึงผิว (surface tension) และ แรงยกตัว (capillarity) โดยทั่วไปของเหลวจะขยายตัวเมื่อถูกความร้อนและหดตัวเมื่อถูกความเย็น วัตถุที่จมอยู่ในของเหลวจะมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า แรงลอยตัว (buoyancy) ของเหลวเมื่อได้รับความร้อนจนถึง จุดเดือด จะเปลี่ยนสถานะเป็น ก๊าซ และเมื่อทำให้เย็นจนถึง จุดเยือกแข็งมันก็จะเปลี่ยนสถานะเป็น ของแข็ง โดย การกลั่นแยกส่วน (fractional distillation) ของเหลวจะถูกแยกจากกันและกันโดย การระเหย (vaporization) ที่ จุดเดือด ของของเหลวแต่ละชนิด การเก เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน การเคลื่อนที่ของแต่ละโมเลกุลจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของโมเลกุลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โมเลกุลที่อยู่ตรงกลางได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่นที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทุกทาง ส่วนโมเลกุลที่ผิวหน้าจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านล่างและด้านข้างเท่านั้น โมเลกุลที่ผิวหน้าจึงถูกดึงเข้าภายในของเหลว ทำให้พื้นที่ผิวของของเหลวลดลงเหลอน้อยที่สุด จะเห็นได้จากหยดน้ำที่เกาะบนพื้นผิวที่เรียบและสะอาดจะมีลักษณะเป็นทรงกลมซึ่งมีพื้นที่ผิวน้อยกว่าน้ำที่อยู่ในลักษณะแผ่ออกไป ของเหลวพยายามจัดตัวเองให้มีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด เนื่องจากโมเลกุลที่ผิวไม่มีแรงดึงเข้าทางด้านบน จึงจะมีเสถียรภาพน้อยกว่าโมเลกุลที่อยู่ตรงกลาง การลดพื้นที่ผิวเท่ากับเป็นการลดจำนวนโมเลกุลที่ผิวหน้า จึงทำให้ของเหลวเสถียรมากขึ้นในบางกรณีของเหลวมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ผิว โดยที่โมเลกุลที่อยู่ด้านในของของเหลวจะเคลื่อนมายังพื้นผิว ในการนี้โมเลกุลเหล่านั้นต้องเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่อยูรอบ ๆ หรือกล่าวว่าต้องทำงาน งานที่ใช้ในการขยายพื้นที่ผิวของของเหลว 1 หน่วย เรียกว่า ความตึงผิว (Surface tension).

ใหม่!!: สวนศาสตร์และของเหลว · ดูเพิ่มเติม »

คลื่น

ผิวน้ำถูกรบกวน เกิดเป็นคลื่นแผ่กระจายออกรอบข้าง คลื่น: 1.&2. คลื่นตามขวาง 3. คลื่นตามยาว คลื่น หมายถึง เตอร์ ลักษณะของการถูกรบกวน ที่มีการแผ่กระจายเป็นลูกเห็บ เคลื่อนที่เข้าใกล้ ในลักษณะของการกวัดแกว่ง หรือกระเพื่อม และมักจะมีการส่งถ่ายพลังงานไปด้วย คลื่นเชิงกลซึ่งเกิดขึ้นในตัวกลาง (ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูป จะมีความแรงยืดหยุ่นในการดีดตัวกลับ) จะเดินทางและส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในตัวกลาง โดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง คือไม่มีการส่งถ่ายอนุภาคนั่นเอง แต่จะมีการเคลื่อนที่แกว่งกวัด (oscillation) ไปกลับของอนุภาค อย่างไรก็ตามสำหรับ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ การแผ่รังสีแรงดึงดูด นั้นสามารถเดินทางในสุญญากาศได้ โดยไม่ต้องมีตัวกลาง ลักษณะของคลื่นนั้น จะระบุจาก สันคลื่น หรือ ยอดคลื่น (ส่วนที่มีค่าสูงขึ้น) และ ท้องคลื่น (ส่วนที่มีค่าต่ำลง) ในลักษณะ ตั้งฉากกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามขวาง" (transverse wave) หรือ ขนานกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามยาว" (longitudinal wave).

ใหม่!!: สวนศาสตร์และคลื่น · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นกระแทก

ลื่นเสียงของคลื่นกระแทกที่เกิดจากวัตถุความเร็วเหนือเสียงที่มีรูปร่างทรงแหลม คลื่นกระแทก (shock wave) คือรูปแบบการรบกวนที่แพร่ออกไปชนิดหนึ่ง เหมือนกับคลื่นปกติทั่วไปซึ่งมีพลังงานอยู่ในตัวและสามารถแพร่พลังงานนั้นออกไปผ่านตัวกลางหนึ่งๆ (อาจเป็นของแข็ง ของเหลว แก๊ส หรือพลาสมา) หรือบางครั้งก็อาจสูญหายไปในวัสดุที่เป็นตัวกลางโดยผ่านสนาม เช่น สนามแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นกระแทกมีคุณลักษณะที่เกิดแบบทันทีทันใด เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่องในสารตัวกลาง เมื่อเกิดการกระแทก จะมีกระแสความดัน อุณหภูมิ และความหนาแน่นที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเสมอ คลื่นกระแทกจะเดินทางผ่านสารตัวกลางส่วนใหญ่ด้วยความเร็วที่สูงกว่าคลื่นโดยทั่วไป วัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงอาจเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าหรือมากกว่าอัตราเร็วเสียงในตัวกลางก็ได้ ในกรณีที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วน้อยกว่าอัตราเร็วเสียง เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นไปตามปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ แต่หากเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าอัตราเร็วเสียง เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะแตกต่างไปจากปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ และไม่สามารถใช้ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตัวอย่างของเสียงในกรณีนี้ เช่น เสียงจากเครื่องบินที่มีความเร็วมากกว่าอัตราเร็วเสียงโดยเป็นเสียงที่ดังมกและเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินเคลื่อนที่ผ่านผู้ฟัง คลื่นเสียงในกรณีนี้คือ คลื่นกระแทก และเสียงจากคลื่นกระแทกซึ่งเป็นเสียงที่ดังมากจะเรียกว่า ซอนิกบูม (sonic boom) ผู้ฟังที่เคยได้ยินเสียงจากคลื่นกระแทกที่เกิดจากเครื่องบินจะสังเกตได้ว่า เสียงจากคลื่นกระแทกมักเกิดขึ้นหลังจากเครื่องบินเคลื่อนที่ผ่านผู้ฟังไปแล้ว สาเหตุเนื่องจากคลื่นกระแทกเป็นคลื่นรูปกรวย ซึ่งหน้าคลื่นจะเคลื่อนที่มาถึงผู้ฟังเมื่อเครื่องบินเคลื่อนผ่านผู้ฟังไปแล้ว เสียงที่ผู้ฟังได้ยินจะเป็นเสียงดังมากเนื่องจากคลื่นกระแทกมีแอมพลิจูดมากและพลังงานสูง ในบางครั้งพลังงานของคลื่นกระแทกสามารถทำให้หน้าต่างแตกได้ และดังที่ได้กล่าวแล้วในตอนต้นเสียงดังนี้เรียกว่า ซอนิกบูม ซึ่งผู้ฟังอาจได้ยินเสียงซอนิกบูมจากเครื่องบินลำหนึ่งหลายครั้ง เนื่องจากคลื่นกระแทกสามารถเกิดขึ้นบนเครื่องบินได้หลายตำแหน่ง.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และคลื่นกระแทก · ดูเพิ่มเติม »

ความกดอากาศ

'ความดันบรรยากาศความกดอากาศ, ความดันอากาศหรือเป็น ความกดดันอยู่จุดใดหนึ่งของชั้นบรรยากาศของโลก โดยทั่วไปความกดอากาศจะประมาณเท่ากับความกดดันที่เกิดขึ้นย้อนน้ำหนักของอากาศอยู่บนจุดนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า จุดที่มีความกดอากาศต่ำจะมีอากาศที่มีมวลสารต่ำกว่าจะอยู่ข้างบนนั้น ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน ความกดอากาศจะต่ำลงเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศที่ความสูงระดับน้ำทะเล จะเท่ากับ 1 atm (หนึ่งหน่วยบรรยากาศ) นั่นก็คือ 760 mmHg (มิลลิเมตรปรอท)นั่นเอง.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และความกดอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ค้างคาว

้างคาว จัดอยู่ในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวขนาดเล็กมีปีกบินได้ ค้างคาวเป็นอันดับใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีค้างคาวกว่า 1,100 สปีชีส์ หมายความว่า กว่า 20% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นค้างคาว.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับรู้

ตัวรับรู้ หรือ เซ็นเซอร์ (sensor) เป็นวัตถุชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ตรวจจับเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของตัวมันเอง จากนั้นมันก็จะให้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันออกมา ตัวรับรู้เป็นตัวแปรสัญญาณ (transducer) ชนิดหนึ่ง มันสามารถให้สัญญาณออกมาได้หลากหลายชนิด แต่โดยทั่วไปจะใช้สัญญาณไฟฟ้าหรือสัญญาณแสง ยกตัวอย่างเช่นคู่ควบความร้อน (thermocouple) จะแปลงค่าอุณหภูมิ(สิ่งแวดล้อม)ให้เป็นแรงดันไฟฟ้าที่สอดคล้องกัน ในทำนองที่คล้ายกัน เทอร์มอมิเตอร์แบบปรอทในหลอดแก้วจะเปลี่ยนอุณหภูมิที่วัดได้ให้อยู่ในรูปการขยายตัวหรือการหดตัวของของเหลว ซึ่งสามารถอ่านได้บนหลอดแก้วที่ผ่านการสอบเทียบแล้ว ตัวรับรู้ทุกชนิดจะต้องผ่านการสอบเทียบ (calibrate) โดยเทียบกับค่ามาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ ตัวรับรู้ถูกใช้ในอุปกรณ์ประจำวัน เช่นปุ่มกดลิฟท์แบบไวต่อการสัมผัส(เซ็นเซอร์สัมผัส) และโคมไฟที่สลัวหรือสว่างขึ้นโดยการสัมผัสที่ฐาน นอกจากนี้ยังมีการใช้งานเซ็นเซอร์นับไม่ถ้วนที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ ด้วยความก้าวหน้าทางเครื่องกลจุลภาคและแพลตฟอร์มไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ง่ายต่อการใช้งาน การใช้งานของตัวรับรู้ได้ขยายออกไปไกลเกินกว่าการวัดในสาขาอุณหภูมิ, ความดันหรือการไหลแบบเดิมส่วนมาก ยกตัวอย่างเช่น MARG (Magnetic, Angular Rate, and Gravity) sensors ยิ่งไปกว่านั้น ตัวรับรู้แบบแอนะล๊อกเช่นโปเทนฉิโอมิเตอร์และตัวต้านทานที่ไวต่อแรงยังคงถูกใช้อยู่อย่างกว้างขวาง การใช้งานจะรวมถึงการผลิตและเครื่องจักร, เครื่องบินและยานอวกาศ, รถยนต์, เครื่องไฟฟ้า, การแพทย์, และหุ่นยนต์ มันยังรวมถึงในชีวิตประจำวัน ความไวของตัวรับรู้หมายถึงว่าสัญญาณส่งออกของตัวรับรู้จะเปลี่ยนแปลงมากแค่ไหนเมื่อปริมาณของสัญญาณที่ป้อนเข้าเพื่อทำการวัดมีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่นถ้าปรอทในเทอร์มอมิเตอร์เครื่องไหวไป 1 ซม.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และตัวรับรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ซอนิกบูม

ตัวอย่างกรณีแหล่งกำเนิดเสียง (จุดสีแดง) เคลื่อนที่เร็วกว่าความเร็วเสียง 1.4 เท่า (1.4 มัค) ทำให้ตัวแหล่งกำเนิดเสียงไปไวและอยู่นำคลื่นเสียง กรณีเช่นนี้ทำให้เกิดเสียงจากซอนิกบูมได้ ซอนิกบูม (sonic boom) คือ เสียงที่เกี่ยวข้องกับคลื่นกระแทกหรือช็อกเวฟ เกิดขึ้นจากการที่แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ในอากาศด้วยอัตราเร็วที่มากกว่าความเร็วเสียง ซอนิกบูมทำให้เกิดพลังงานเสียงปริมาณสูง เสียงคล้ายระเบิด ตัวอย่างของเสียงที่เกิดจากซอนิกบูมอย่างง่ายคือ เสียงของลูกปืนที่วิ่งในอากาศ หรือเสียงของการเหวี่ยงแส้ ตลอดจนเสียงเครื่องบินรบที่บินผ่านไป.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และซอนิกบูม · ดูเพิ่มเติม »

นักวิทยาศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 โดย วิลเลียม วีเวลล์ โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ" หรือ "บุคคลแห่งวิทยาศาสตร์".

ใหม่!!: สวนศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แก๊ส

อนุภาคในสถานะแก๊ส (อะตอม โมเลกุล หรือไอออน) เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระภายในสนามแม่เหล็ก แก๊ส หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ก๊าซ (Gas) เป็นหนึ่งในสถานะพื้นฐานทั้งสี่ของสสาร (ที่เหลือ คือ ของแข็ง ของเหลวและพลาสมา) แก๊สบริสุทธิ์ประกอบไปด้วยอะตอมเดี่ยว เช่น แก๊สมีตระกูล ส่วนแก๊สที่เป็นธาตุเคมี จะอยู่ในรูปหลายอะตอม แต่เป็นชนิดเดียวกัน เช่น ออกซิเจน หรือเป็นโมเลกุลสารประกอบที่อยู่ในรูปหลายอะตอมและต่างชนิดกัน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สผสม เป็นแก๊สที่เกิดจากแก๊สบริสุทธิ์หลายชนิดรวมกัน เช่น อากาศ สิ่งที่แตกต่างระหว่างแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของเหลวกับแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของแข็ง คือโมเลกุลของแก๊ส และการแยกนี้ทำให้มีแก๊สไม่มีสี ซึ่งทำให้เรามองไม่เห็น การทำงานร่วมกันของอนุภาคของแก๊สมีขึ้นในสนามแม่แหล็กและแรงโน้มถ่วง แก๊สประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ ไอน้ำ แก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจะอยู่ห่างกันและแพร่กระจายอยู่ทั่วทั้งภาชนะที่บรรจุ ทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามขนาดและรูปร่างของภาชนะ สมบัติของแก๊ส 1.แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ 2.ถ้าให้แก๊สอยู่ให้ภาชนะที่ได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล 3.สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวมาก 4.แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็ว เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง 5.แก๊สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกันแก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วนนั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียวหรือเป็นสารละลาย 6.แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใสเช่นแก๊สออกซิเจน แก๊สไฮโดรเจน เป็นต้น.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และแก๊ส · ดูเพิ่มเติม »

โรงภาพยนตร์

ในโรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ หรือ โรงหนัง เป็นสถานที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชมภาพยนตร์ และผู้ประกอบการจะต้องมี ใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ มิเช่นนั้นห้ามเรียก โรงภาพยนตร์ เนื่องจาก โรงภาพยนตร์ จะมีกฎหมายหลายๆอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง การที่ ไม่มี ใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงภาพยนตร์ จะไม่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมายของโรงภาพยนตร์ และห้ามเรียกโรงภาพยนตร์ ดังนั้นโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อทำธุรกิจ ให้สาธารณชนจ่ายค่าผ่านประตูเข้ามารับชม ฟิล์มภาพยนตร์จะถูกฉายจากเครื่องฉาย ให้ปรากฏภาพบนจอ ที่ด้านหน้าของบริเวณที่นั่งชมภายในโรงภาพยนตร์ โดยนิยมสร้างที่นั่งบนพื้นแบบขั้นบันไดไล่ระดับ จากด้านหลังลงไปยังด้านหน้.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และโรงภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงละคร

รงละคร หรือ โรงมหรสพ คือ อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นสถานที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือ การแสดงรื่นเริงอื่นใด และ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดให้ประชาชนเข้าชมการแสดงนั้น เป็นปกติธุระ โดยจะมี ค่าตอบแทน หรือ ไม่มีก็ตาม.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และโรงละคร · ดูเพิ่มเติม »

โรงงาน

รงงานของโฟล์คสวาเกนใน ว็อลฟส์บูร์ก, ประเทศเยอรมนี โรงงาน เป็นสถานอุตสาหกรรม ปกติประกอบด้วยอาคารและเครื่องจักร หรือที่พบมากกว่า เป็นกลุ่มอาคารซึ่งคนงานผลิตสินค้าหรือดำเนินการเครื่องจักรเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์หนึ่งเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่ง ในช่วงปลายศตวรรษที่18 โรงงานต่างๆจะใช้เครื่อแรงงานคนและสัตว์เป็นหลักจนกระทั่งเกิด การปฏิวัติอุตสาหกรรม โรงงานต่างๆก็เริ่มมีการใช้เครื่องจักรแทน.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และโรงงาน · ดูเพิ่มเติม »

โลมา

ลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทั้งในทะเล, น้ำจืด มีรูปร่างคล้ายปลา คือ มีครีบ มีหาง แต่โลมามิใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ซึ่งประกอบไปด้วย วาฬและโลมา ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่าวาฬมาก และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน (Odontoceti) เท่านั้น โลมา เป็นสัตว์ที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่าเฉลียวฉลาด มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์เมื่อยามเรือแตก จนกลายเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าขานทั่วไป มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีจำนวนมากถึงหลักพันถึงหลายพันตัว ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวขึ้นเหนือน้ำได้ ชอบว่ายน้ำขนาบข้างหรือว่ายแข่งไปกับเรือวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518).

ใหม่!!: สวนศาสตร์และโลมา · ดูเพิ่มเติม »

โซนาร์

รื่องโซนาร์ (Sonar: Sound navigation and ranging) เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจหาวัตถุใต้น้ำ มีความสำคัญเช่นเดียวกับเรือผิวน้ำ ส่วนมากจะถูกใช้ในการหาตำแหน่งของระเบิด เรืออับปาง ฝูงปลา และทดสอบความลึกของท้องทะเล มีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องเรดาร์ แต่โซนาร์จะใช้คลื่นเสียง และต้องใช้ในน้ำ แต่เรดาร์จะใช้ได้ในอากาศเท่านั้น หลักการทำงานของโซนาร.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และโซนาร์ · ดูเพิ่มเติม »

โซโนลูมิเนสเซนส์

โซโนลูมิเนสเซนต์ โซโนลูมิเนสเซนต์ (sonoluminescence) เป็นปรากฏการณ์ที่ของเหลว เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ ได้รับการกระตุ้นจากทรานส์ดิวเซอร์ในลักษณะของการสั่นที่ความถี่สูง เพื่อให้เกิดคลื่นนิ่งในภาชนะที่บรรจุของเหลวนั้นๆ โดยที่ฟองอากาศสามารถใส่เข้าไปในภาชนะได้หลายวิธี เช่นการใช้ลวดความร้อนเพื่อเปลี่ยนน้ำบางส่วนให้กลายเป็นไอ (ทำให้เกิดฟองอากาศขึ้น) หรือจะใช้หลอดเข็มฉีดยาฉีดอากาศเข้าไป เมื่อเกิดฟองอากาศขึ้นแล้ว ฟองอากาศนี้ปกติจะลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ แต่เนื่องจากมีการกระตุ้นด้วยทรานส์ดิวเซอร์ หรือคลื่นเสียง ซึ่งเป็นคลื่นความดัน ทำให้ฟองอากาศที่เกิดขึ้น สามารถอยู่ในน้ำได้โดยอาศัยหลักการสมดุลของแรงลอยตัวและแรงกดจากคลื่นความดัน เมื่อฟองอากาศถูกจับนิ่งอยู่ตรงกลางของภาชนะ การเพิ่มแอมพลิจูดของคลื่นเสียงจะไม่ทำให้ความสมดุลของแรงเสียไป แต่จะไปบีบอัดฟองอากาศที่จับส่งผลให้ขนาดของฟองอากาศเล็กลงจนกระทั่งแหลกสลายไป ขณะที่ฟองอากาศกำลังแหลกสลาย ก็จะปล่อยพลังงานออกมาในรูปของโฟตอนหรือแสง การเกิดโซโนลูมิเนสเซนส์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่จะเกิดขึ้นได้อีก เนื่องจากอากาศจะกลับมารวมตัวกันใหม่เป็นฟองอากาศ โดยแสงที่ปล่อยออกมาจะอยู่ในระดับพิโควินาทีซึ่งสั้นมาก ทำให้มองเห็นแสงเป็นลักษณะต่อเนื่อง ทฤษฎีการเกิดโซโนลูมิเนสเซนส์นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ บ้างก็ว่าเป็นผลจากคลื่นกระแทก (shock wave) ที่เกิดขึ้นขณะที่ฟองอากาศแหลกสลาย บ้างก็ว่าเป็นพลาสม่า (plasma) และบางส่วนที่คิดว่าเป็นปรากฏการณ์ฟิวชั่น ก็นำปรากฏการณ์นี้ไปพัฒนาต่อเพื่อให้ได้แหล่งพลังงานแบบนิวเคลียร์ฟิวชั่นในด้านของฟิวชั่นได้มีการทดลองพิสูจน์โดยการตรวจวัด นิวตริโน ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการรวมตัวกันของไฮโดรเจนอะตอม โดยนักวิจัยของศูนย์วิจัยแห่งชาติ Oak Ridge ของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ปัญหาทางฟิสิกส์ที่ยังแก้ไม่ได้ หมวดหมู่:ฟิสิกส์.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และโซโนลูมิเนสเซนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครโฟน

มโครโฟน ไมโครโฟน คืออุปกรณ์รับเสียงแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อประมวลผลในเครื่องขยายเสียงหรืออุปกรณ์ผสมเสียงอื่น ๆ ไมโครโฟนประกอบด้วยขดลวดและแม่เหล็กเป็นหลัก เมื่อเสียงกระทบตัวรับในไมโครโฟน จะทำให้ขดลวดสั่นสะเทือนตัดกับสนามแม่เหล็ก จึงทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็นหลักการทำงานตรงข้ามกับลำโพง โดยทั่วไปไมโครโฟนใช้รับเสียงพูดหรือเสียงร้องเพลง.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และไมโครโฟน · ดูเพิ่มเติม »

เสียง

ซลล์รับรู้การได้ยิน; ม่วง: สเปกตรัมความถี่ ของการตอบสนองการได้ยิน; ส้ม: อิมพัลส์ประสาท) เสียง (Sound) เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้.

ใหม่!!: สวนศาสตร์และเสียง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Acousticsอะคูสติกส์อคูสติกอคูสติกส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »