โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ออร์เคสตรา

ดัชนี ออร์เคสตรา

วง '''เมลเบิร์น ซิมโฟนี ออร์เคสตรา''' ออร์เคสตรา (orchestra) หรือ วงดุริยางค์ ในภาษาไทย เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับดนตรี มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุค วงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นราว..1600 ลักษณะที่สำคัญของวงออร์เคสตราคือ เป็นกลุ่มของนักดนตรี ที่เล่นเครื่องดนตรีหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบ โดยบรรเลงภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยเพลง.

42 ความสัมพันธ์: บัลเลต์บาสซูนฟลูตกลองทิมปานีกลองใหญ่กลองเล็กภาษาเยอรมันมาราคัสยูโฟเนียมระฆังลิ่มนิ้ววาทยกรวิโอลาอิงลิชฮอร์นอุปรากรฮอร์นฮาร์ปทรอมโบนทรัมเป็ตทูบาดับเบิลเบสดนตรียุคบาโรกดนตรียุคคลาสสิกดนตรียุคโรแมนติกคอนทราบาสซูนคอนแชร์โตคายกคณะฉาบซิมโฟนีปิคโคโลแคลริเน็ตแซกโซโฟนโอโบไวโอลินไซโลโฟนเชลโลเครื่องกระทบเครื่องสายเครื่องดนตรีเครื่องเป่าลมไม้เครื่องเป่าทองเหลืองเปียโน

บัลเลต์

Classical bell tutus in ''The Dance Class'' by Degas, 1874 บัลเลต์ บัลเลต์ (ballet) หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยการเต้น และ ดนตรีมีลักษณะเช่นเดียวกับอุปรากร เพียงแต่บัลเลต์เป็นการนำเสนอเนื้อเรื่อง โดยใช้การเต้นเป็นสื่อ มีกำเนิดขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 15 ที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอิตาลี การพัฒนาในยุคนี้คือ นิยมให้ผู้หญิงเป็นผู้แสดงเอก เรียกว่า บัลเลรินา (Ballerina) ศตวรรษที่ 20 บัลเลต์ได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า โมเดิร์นแดนซ์ (Modern Dance) คือ การนำเอาหลักของบัลเลต์มาผสมผสานดัดแปลงให้เป็นการเต้น โดยไม่ต้องใส่รองเท้าบัลเลต์และไม่ต้องใช้ปลายเท้าในลักษณะของบัลเลต์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการประพันธ์เพลงบัลเลต์ ได้แก่ ไชคอฟสกี โปรโกเฟียฟ คอปแลนด์ และฟัล.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและบัลเลต์ · ดูเพิ่มเติม »

บาสซูน

thumb บาสซูน (bassoon) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าลมผ่านลิ้นเช่นเดียวกับโอโบ เป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่ (double reed) รูปร่างของบาสซูน ค่อนข้างจะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ เนื่องจากความใหญ่โตของท่อลม ซึ่งมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ยาวเกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลิ่มให้เหลือความยาวประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมากจึงต้องมีสายคล้องคอช่วยพยุงน้ำหนัก (sling) เพื่อให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกดแป้นต่าง ๆ ได้สะดวก บาสซูนได้รับฉายาว่าเป็น "ตัวตลกของวงดุริยางค์" (The Clown of the Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด… คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลก ที่มีอากัปกิริยากระโดดเต้นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์ เสียงของบาสซูนต่ำนุ่มลึก ถือเป็นแนวเบสของกลุ่มเครื่องลมไม้ นอกนั้นยังสามารถเล่นทำนองเดียวได้อย่างงดงามอีกด้วย หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา หมวดหมู่:เครื่องลมไม้.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและบาสซูน · ดูเพิ่มเติม »

ฟลูต

ฟลุต ฟลูต (flute) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและฟลูต · ดูเพิ่มเติม »

กลองทิมปานี

ทิมปานี กลองทิมปานี (Timpani) เป็นกลองที่ปรับระดับเสียงได้ มีรูปร่างคล้ายกระทะหรือกาต้มน้ำ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตั้งอยู่บนฐาน ตัวกลองทำด้วยทองแดง ใช้หนังลูกวัวขึง มีสกรูอยู่รอบๆ ขอบกลองเพื่อใช้บังคับหนังกลองให้ตึงมากน้อยให้เกิดระดับเสียงที่ต้องการ นอกจากสกรูแล้วที่ฐานยังมีกระเดื่องไว้ให้ผู้เล่นเหยียบเปลี่ยนระดับเสียงอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ไม้ตีกลอง (Drum Sticks)ซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน (เล็ก กลาง และใหญ่) หัวไม้ตีกลองมักจะหุ้มด้วยสักหลาด ผ้า สำลี ไม้ก๊อก หรือ ฟองน้ำเสียงของทิมปานี จะทุ้มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลาง ของหน้ากลอง ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางยาวมากเสียงก็จะทุ้มมากถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางสั้น เสียงจะมีความทุ้มน้อย เสียงของกลองทิมปานี เทียบได้กับเสียงเบสเป็นเสียงที่แสดงอำนาจตื่นเต้น เร้าใจ กลองทิมปานีจะใช้บรรเลงในวงออร์เคสตรา ในการบรรเลงต้องใช้กลองทิมปานีอย่างน้อย 2 ใบ จึงมีรูปพหูพจน์อยู่เสมอคือ "Timpani" ถ้าเป็นเอกพจน์หรือกลองลูกเดียวเรียกว่า "Timpano" กลองทิมปานีเป็นกลองที่มีระดับเสียงที่นิยมมี 4 ขนาด คือ 20 นิ้ว, 23 นิ้ว, 26 นิ้วและ29นิ้ว กลองแต่ละใบจะมีช่วงห่างของเสียงอยู่ราวคู่ 5 เพอร์เฟค (Perfect) และถ้าต้องการจะให้มีเสียงที่ดีควรจัดให้เสียงอยู่ช่วงกลาง หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและกลองทิมปานี · ดูเพิ่มเติม »

กลองใหญ่

กลองใหญ่ (Bass Drum) คือ เครื่องตีกระทบ มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง กลองใหญ่ที่ใช้ในวงออร์เคสตราและเป็น กระเดื่องในกลองชุดด้วย จะมีขนาดใหญ่ที่สุดกว่า 32 นิ้ว ถ้าใช้ในวงโยธวาทิตและแตรวง จะมีขนาดตั้งแต่ 24 – 32 นิ้ว ตีด้วยไม้ตี ปลายไม้ข้างหนึ่งทำเป็นปมไวัสำหรับใช้ตีกระทบกับหนังกลอง ปมนั้นอาจหุ้มด้วยสักหลาด ไม้ก็อก ผ้านวมหรือฟองน้ำ เสียงกลองตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้เกิดวามหนักแน่นหรืออาจจะใช้รัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น รัวเพื่อสร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้นก็ได้ หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและกลองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

กลองเล็ก

กลองเล็ก (Snare Drum) เครื่องตีกระทบ มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง ลักษณะเฉพาะก็คือหน้ากลองด้านล่างขึงคาดไว้ด้วยสายสแนร์ ทำด้วยเอ็นสัตว์ ในปัจจุบันสายสแนร์มีทั้งที่ทำด้วยไนล่อนและทำด้วยเส้นลวดโลหะ กลองเล็กมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและกลองเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มาราคัส

มาราคัส (Maracas) หรือ ลูกแซก คือ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องประกอบจังหวะ จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน เดิมทำด้วยผลน้ำเต้าแก่จัดทำให้แห้ง ภายในบรรจุด้วยเมล็ดน้ำเต้า เมล็ดถั่วต่าง ๆ ต่อด้ามไว้สำหรับถือเวลาเล่นใช้เขย่าเพื่อให้เกิดเสียงดังซ่าๆ จะเขย่าด้วยมือทั้งสองข้างให้ดังสลับกัน ในปัจจุบันทำด้วยไม้ หรือพลาสติก มักถูกใช้ประกอบจังหวะกับการแสดงดนตรีอคูสติก และ การแสดงดนตรีของวงคอมโบ มาราคัส เป็นเครื่องประกอบจังหวะอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก หมวดหมู่:เครื่องดนตรี.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและมาราคัส · ดูเพิ่มเติม »

ยูโฟเนียม

ูโฟเนียม ยูโฟเนียม (euphonium) คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง ลักษณะเสียงของยูโฟเนียมจะนุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง ต่ำได้ดี บางครั้งนำไปใช้ในวงออร์เคสตร้า และแตรวงแทนทูบา คำว่า”ยูโฟเนียม” มาจากภาษากรีกหมายถึง ”เสียงดี” ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องเป่าทองเหลืองทั่วไป จะมีลูกสูบ 3 – 4 ลูกสูบมีกำพวดเป็นรูปถ้วย ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพงเสียง มีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งชื่อ “บาริโทน” มีเสียงใกล้เคียงกับยูโฟเนียม แต่ท่อลมมีขนาดเล็กกว่า เสียงของบาริโทนจะมีความห้าวมากกว่ายูโฟเนียม พบว่าบ่อยครั้งที่มีการเรียกชื่อสลับกันระหว่างยูโฟเนียมและบาริโทน.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและยูโฟเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ระฆัง

ระฆังซิกมุนด์ ที่เมืองกราโกว์ ประเทศโปแลนด์ ระฆัง เป็นเครื่องดนตรีอย่างง่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดหนึ่งด้าน มีตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่นกระดิ่ง ไปจนถึงระฆังขนาดใหญ่ เช่นระฆังบิกเบน ที่แขวนในหอนาฬิกา ซึ่งตั้งอยู่ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ระฆังสามารถทำจากวัสดุ ตั้งแต่แก้ว เซรามิค แต่ที่นิยมที่สุดคือโลหะ ระฆัง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดข้างเดียว แขวนด้านที่เปิดลงด้านล่าง อาจจะมีค้อนแขวนไว้ข้างในตัวระฆัง หรืออาจจะเอาไว้ด้านนอกก็ได้ แล้วแต่ว่าจะใช้วิธีแกว่งหรือตี เมื่อระฆังถูกตี พลังงานจากการชนของค้อนกับระฆังจะทำให้อากาศในระฆังเกิดการสั่นพ้องขึ้น ทำให้เกิดเสียงอันก้องกังวาน ในโลกตะวันตก ระฆังมักมีค้อนแขวนไว้ภายใน และแขวนไว้กับแกนที่หมุนได้ แกนที่หมุนได้จะมีเชือกโยงลงไป เวลาจะลั่นก็จะกระตุกเชือก ทำให้ระฆังแกว่ง และกระทบกับค้อนเกิดเป็นเสียงขึ้น บางทีระฆังอาจจะแขวนไว้เป็นราวก็ได้ ส่วนในโลกตะวันออก ระฆังมักใช้วิธีการกระแทกด้วยค้อนหรือไม้ท่อน แทนที่จะแกว่ง เทคนิคหลังนี้เป็นที่นิยมสำหรับหอนาฬิกาและหอระฆังโดยทั่วไป เพราะการแกว่งอาจทำให้หอเสียหายได้ ระฆังมักทำมาจากโลหะผสมทองแดงและดีบุก (ทองเหลือง) ในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยมากมักเป็น ทองแดง 3: ดีบุก 1 หลังจากที่หล่อเสร็จแล้ว ก็จะต้องถ่วงเสียง โดยการเพิ่มหรือลดเนื้อวัสดุภายในตัวระฆัง เทียบกับการเคาะส้อมเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและระฆัง · ดูเพิ่มเติม »

ลิ่มนิ้ว

ผังลิ่มนิ้วทั่วไป (แสดง 3 อ็อกเทฟ) ลิ่มนิ้วที่อยู่บนแกรนด์เปียโน ลิ่มนิ้ว หรือ คีย์บอร์ด คือชุดของก้านเสียงหรือคีย์ที่อยู่ติดกันซึ่งสามารถกดด้วยนิ้วได้ เป็นส่วนประกอบของเครื่องดนตรีหลายชนิด ปกติลิ่มนิ้วมักจะมีคีย์ในการเล่นชุดละ 12 ก้านเสียงสำหรับบันไดเสียงแบบตะวันตก มีทั้งอันสั้นและอันยาวประกอบกันและวนซ้ำกันไปเรื่อยในช่วงอ็อกเทฟ การกดคีย์บนลิ่มนิ้วจะทำให้เครื่องดนตรีนั้นส่งเสียงออกมา ไม่ว่าจะด้วยวิธีการเคาะสายสตริงหรือเดือยแหลม (สำหรับเปียโน เปียโนไฟฟ้า แคลฟวิคอร์ด) การดีดสายสตริง (ฮาร์ปซิคอร์ด) การทำให้อากาศไหลผ่านท่อ (ออร์แกน) หรือการตีระฆัง (แคริลลอน) ส่วนในเครื่องดนตรีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การกดคีย์จะทำให้เกิดการเชื่อมต่อในแผงวงจร (แฮมมอนด์ออร์แกน เปียโนดิจิทัล ซินทีไซเซอร์) และเนื่องจากเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วที่เป็นแบบสามัญที่สุดคือเปียโน ผังลิ่มนิ้วจึงอาจเรียกว่าเป็น คีย์บอร์ดเปียโน ปกติแล้วลิ่มนิ้วอันยาวจะเป็นสีขาว มี 7 อันในหนึ่งอ็อกเทฟ ไล่เรียงไปตามบันไดเสียง C เมเจอร์ (C D E F G A B) ส่วนลิ่มนิ้วอันสั้นเป็นสีดำ มี 5 อันในหนึ่งอ็อกเทฟ จะอยู่ระหว่างลิ่มนิ้วสีขาว เป็นครึ่งขั้นเสียงของ C เมเจอร์ (C/D D/E F/G G/A A/B) ในเครื่องดนตรีบางชนิด เช่นไพป์ออร์แกนและฮาร์ปซิคอร์ด อาจใช้สีสลับกัน จากขาวเป็นดำและจากดำเป็นขาว แต่ก็มีผังลิ่มนิ้วที่เหมือนกัน หมวดหมู่:เครื่องดนตรีสากล หมวดหมู่:เครื่องลิ่มนิ้ว.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและลิ่มนิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

วาทยกร

วาทยกร (conductor) หรือผู้อำนวยเพลง คือคนที่ตีความหมายของบทเพลง โดยเห็นภาพรวมทั้งหมดของวงดนตรี มีหน้าที่ดึงความสัมพันธ์ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นออกมาเพื่อสอดผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน อาจกล่าวอีกนัยได้ว่า วาทยกรเป็นผู้ที่สื่อสารกับนักดนตรีด้วยภาษามือ เป็นเหมือนภาษาใบ้ที่ใช้กับดนตรี พร้อมกันนี้วาทยกรต้องมีความเป็นผู้นำที่สามารถให้ความเชื่อมั่นแก่นักดนตรีด้วย เสมือนผู้กำกับ วาทยกรควบคุมวงดนตรีโดยการใช้รหัสหรือสัญญาณมือ มักถือไม้บาตอง (Baton) ที่มือขวาสำหรับให้จังหวะ ส่วนมือซ้ายจะควบคุมในด้านอื่น เช่น ให้นักดนตรีเล่นเสียงดังหรือค่อย หรือเป็นการแสดงออกด้านอารมณ์อื่น ๆ ที่วาทยกรต้องการสื่อสารกับนักดนตรีในวง วาทยากรจะพบในการแสดงดนตรีที่ใช้นักดนตรีจำนวนมาก เช่นในวง ออร์เคสตร้า วงประสานเสียง ส่วนการบรรเลงดนตรีในวงดุริยางค์ของกองทัพ อาจเรียกว่า หัวหน้าวงดุริยางค์ วาทยกรผู้เป็นสมาชิกของวงออร์เคสตร้าจะเป็นคนที่กำหนดทิศทางของวง ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ผู้กำกับดนตรี หรือเรียกว่า คาเปลไมสเตอร์ (Kapellmeister) ในภาษาเยอรมันซึ่งหมายความถึง หัวหน้าวาทยากรในวงออร์เคสตร้าเยอรมัน สำหรับวาทยกรของวงประสานเสียง จะเรียก ผู้ควบคุมวงประสานเสียง ส่วนวาทยากรอาวุโสจะเรียกว่า มาเอสโตร (maestro - นาย) ในภาษาอิตาเลียน แต่ความสำคัญของวาทยกรนั้น ไม่ได้อยู่แค่ที่การกำกับวงออกแสดงเท่านั้น กลับอยู่ที่การฝึกซ้อมนักดนตรีให้เล่นคีตนิพนธ์ต่าง ๆ ตามการตีความของวาทยกรแต่ละคน การนำวงดุริยางค์ออกแสดงเป็นแต่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ของการเล่นและการตีความคีตนิพนธ์นั้น ๆ เพราะการฝึกซ้อมต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการออกแสดงแต่ละครั้ง ทั้งนี้วาทยกรยังต้องเป็นผู้ที่สามารถแนะนำหรือแก้ไขเทคนิคต่าง ๆ ให้แก่นักดนตรีได้ วาทยกรที่ดีจึงมักจะเป็นนักดนตรีที่ดีมาก่อนด้วย จึงจะสามารถเข้าใจปัญหาของวงได้เป็นอย่างดี และรู้ความสามารถและขีดจำกัดของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด วาทยกรที่ดีเป็นแบบใดนั้น เป็นเรื่องที่ให้คำจำกัดความได้ยาก เพราะวาทยกรบางคนให้จังหวะแก่นักดนตรีได้อย่างแม่นยำ แต่วาทยกรบางคนก็ดูประหนึ่งว่าไม่ค่อยให้จังหวะแก่นักดนตรี หรือที่นักดนตรีเรียกว่า "ให้คิว" แต่กลับสื่อสารกับนักดนตรีได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น คุณค่าของวาทยกรจึงไม่ได้อยู่ที่ลีลาการกำกับวงเมื่อออกแสดง แต่อยู่ที่การฝึกซ้อมและการสื่อสารกับนักดนตรีให้เข้าใจ วาทยกรใหญ่หลายต่อหลายคนออกท่าทางน้อยมาก เช่น อิกอร์ มาร์เควิช (Igor Markevitch) หรือบางคนอาจดูเหมือนให้จังหวะที่สับสน เช่น วิลเฮ็ล์ม ฟวร์ตแวงเลอร์ (Wilhelm Furtwangler) แต่บทเพลงภายใต้การกำกับวงของเขาเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเต็มเปี่ยมไปด้วยความล้ำลึก คุณค่าของวาทยกรจึงมิได้วัดด้วยสายตา แต่ต้องวัดจากการฟังของผู้ฟัง หมวดหมู่:อาชีพ.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและวาทยกร · ดูเพิ่มเติม »

วิโอลา

วิโอลา เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายที่มีรูปร่างคล้ายไวโอลิน แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า นิยมเล่นใน วงออร์เคสตรา และ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส โดยวิโอลามีระดับเสียงต่ำกว่า ไวโอลิน แต่สูงว่าเชลโลและดับเบิล.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและวิโอลา · ดูเพิ่มเติม »

อิงลิชฮอร์น

อิงลิชฮอร์น เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายโอโบ แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย บางครั้งก็ได้ชื่อว่าเป็น 'อัลโตโอโบ' เนื่องจากมีเสียงคล้ายโอโบ แต่เสียงมีขนาดใหญ่และต่ำกว่าโอโบเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีสุ้มเสียงค่อนข้างเศร้า โหยหวน มันใช้เล่นในทำนองช้าๆเนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่ไม่คล่องตัวเท่าโอโบ หมวดหมู่:เครื่องดนตรี.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและอิงลิชฮอร์น · ดูเพิ่มเติม »

อุปรากร

รงอุปรากรซิดนีย์ในประเทศออสเตรเลีย เป็นโรงอุปรากรที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อุปรากร (opera) เป็นศิลปะการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแบบละครที่ดำเนินเรื่องโดยใช้ดนตรีเป็นหลักหรือทั้งหมด อุปรากรถือเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีคลาสสิก ตะวันตก มีความใกล้เคียงกับละครเวทีในเรื่องฉาก การแสดง และเครื่องแต่งกาย แต่สิ่งสำคัญที่แยกอุปรากรออกจากละครเวทีทั่วไป คือ ความสำคัญของเพลง ดนตรีที่ประกอบการร้อง ซึ่งอาจมีตั้งแต่วงดนตรีขนาดเล็กจนไปถึงวงออร์เคสตราขนาดใหญ.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์น

ฟรนช์ฮอร์น ฮอร์น (Horn) เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งอยู่ในประเภทเครื่องเป่าลมทองเหลือง เป็นเครื่องดนตรี High-Brass มีกำพวดขนาดค่อนข้างเล็ก มีโรเตอร์ (เฟรนช์ฮอร์น) และมีวาล์ว (บี-แฟลตฮอร์น) ในการเปลี่ยนเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวง เดิมเครื่องดนตรีชนิดนี้นิยมเรียกว่า เฟรนช์ฮอร์น แต่สมาคมฮอร์นนานาชาติ (International Horn Society, IHS) แนะนำให้ใช้ชื่อว่า ฮอร์น ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ฮอร์นให้เสียงค่อนข้างกว้าง เพราะลำโพงค่อนข้างกว้าง และจะให้เสียงนุ่มนวลในเสียงเบา นิยมใช้บรรเลงในวงซิมโฟนีออร์เคสตร.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและฮอร์น · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ป

ร์ป ฮาร์ป (harp) หรือ พิณ คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของตะวันตกมีเสียงเกิดขึ้นจากการใช้นิ้วดีด สายเสียงของเครื่องดนตรีนี้ปกติแล้วมี 47 สาย และที่เหยียบเพดดัล 7 อัน เพดดัลแต่ละอันจะควบคุมสายเสียงแต่ละชุด เช่น เพดดัล อันหนื่งจะบังคับสายเสียง C ทั้งหมดและอีกอันหนื่งจะบังคับสายเสียง D ทั้งหมด ฮาร์ปเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ชนิดหนึ่งที่มีการกล่าวถึงตั้งแต่ราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ที่มาของเครื่องดนตรีชิ้นนี้น่าจะมาจากประเทศไอยคุปต์ (อียิปต์) เพราะตามภาพฝาผนังใต้สุสานของประเทศไอยคุปต์ที่เห็นจะมีรูปคนดีดพิณชนิดนี้อยู่เยอะมาก ฮาร์ป คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายซึ่งแตกต่างจากเครื่องสายประเภทอื่นๆ คือ การขึงของสายจะไม่ผ่านกล่องเสียง (Sounding Board) เหมือนเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ เช่น กีตาร์, ไวโอลิน หรือเปียโน โครงสำหรับขึงสายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้งงอเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความสวยงาม ปกติจะเล่นด้วยการดีดที่สาย คุณภาพเสียงของฮาร์ปมีความแจ่มใสกว่าเสียงของเปียโน ใช้แสดงความสดชื่นแจ่มใส ลักษณะของอาร์พ       โครงสำหรับขึงสายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม โค้งงอเล็กน้อย มี 47 สาย และ เสียงของฮาร์ปสามารถใช้เพื่อแสดงการไหลของสายน้ำ แสดงความสดชื่นแจ่มใส มีวิวัฒนาการมาจากไลร์ ฮาร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ   1.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและฮาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

ทรอมโบน

ทรอมโบน (Trombone) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง มีคันชักใช้สำหรับเปลี่ยนระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา และแตรวง ในวงดนตรี ทรอมโบนจะทำหน้าที่ประสานเสียงในกลุ่มแตรด้วยกัน ทรอมโบน เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนาและพิธียุรยาตราร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วยท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า – ออกได้ (Telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบ สองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอกเช่นเดียวกับ ทรัมเปตส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ ทรอมโบนเป็นเครื่องดนตรีประเภทท่อทรงกระบอก (Cylindrical Bore) กล่าวคือมีท่อลมที่ขนาดคงที่เกือบทั้งเครื่อง ทำให้มีเสียงที่แข็งและกระด้าง ไม่นิ่มนวลเหมือนฮอร์นหรือยูโฟเนียม แต่ในบางรุ่นอาจมีการขยายขาหนึ่งของ Slide ให้ใหญ่กว่าอีกขาหนึ่ง ทำให้เสมือนหนึ่งเป็นเครื่องดนตรีทรงกรวย (Conical Bore) และให้เสียงที่นุ่มขึ้น.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและทรอมโบน · ดูเพิ่มเติม »

ทรัมเป็ต

ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง (แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์ ทรัมเป็ตมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มจากแตรสัญญาณที่ใช้ในการล่าสัตว์หรือในทางทหาร แต่แตรลักษณะนั้นโดยมากจะไม่มีปุ่มกดเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้ไม่สามารถสร้างระดับเสียงที่แตกต่างกันได้มากนัก จนกระทั่งมีการคิดประดิษฐ์ปุ่มกดและกลไกต่างๆเข้าไปภายหลังในสมัยยุคกลาง โดยเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง สามารถพบเห็นได้ในวงหลากหลายรูปแบบตั้งแต่วงพื้นบ้านของเม็กซิกัน (mariachi) วงแจ๊ซ วงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวงขนาดใหญ่ หรือแม้แต่วงดนตรีป๊อป-ร็อคสมัยใหม่ ระดับเสียงของทรัมเป็ตมีช่วงเสียงประมาณ 2-3 ออกเตฟ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ตั้งแต่ F# ต่ำกว่า middle C จนถึง E สูงเหนือบรรทัด 5 เส้นหรือสูงกว่านั้น เสียงของทรัมเป็ตโดยธรรมชาติมีลักษณะดังกังวาน สดใส และเข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกันก็สามารถใช้สร้างเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์หม่นเศร้าได้เช่นกัน ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือทรัมเป็ตในคีย์ Bb และคีย์ C อาจพบเห็นทรัมเป็ตที่มีขนาดและระดับเสียงแตกต่างกันได้อีกหลายชนิดตั้งแต่ "เบส-ทรัมเป็ต" จนถึง "พิคโคโลทรัมเป็ต" โดยเฉพาะในบทเพลงคลาสสิก ในประเทศไทยมีผู้เล่นทรัมเป็ตที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น อ.วานิช โปตะวณิช, อ.เลิศเกียรติ จงจิรจิต เป็นต้น หมวดหมู่:เครื่องลมทองเหลือง หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา หมวดหมู่:ดนตรีของกองทัพเรือ.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและทรัมเป็ต · ดูเพิ่มเติม »

ทูบา

F-tubas, ปีค.ศ. 1900 (ซ้าย) และ 2004 (ขวา) ทูบา (tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูล แซ็กฮอร์น ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด มีช่วงเสียง โดยมากจะใช้ใน วงโยธวาทิต วงดนตรี ลูกทุ่ง จนถึง วงออเคสตรา และ แตรวง กว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับ ฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบบังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน ส่วนตรงปลายท่อ บานเป็นลำโพงกำพวดเป็นโลหะรูปถ้วย เสียงของทูบาต่ำ ลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า "พีเดิล โทน" (pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนว เบส ให้แก่กลุ่ม เครื่องลมทองเหลือง ทูบาทำมาจากทองเหลืองและเป็นเครื่องมือที่มีเสียงต่ำที่สุดในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง จึงทำหน้าที่เป็นเบสเพื่อให้แนวเบสมีเสียงแน่นขึ้น ผู้เล่นต้องใช้ลมมากเช่นเดียวกับฮอร์น ดังนั้น จึงควรมีช่วงให้หยุดพักหายใจบ้าง.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและทูบา · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลเบส

ับเบิลเบส (Double bass) มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น สตริงเบส (String Bass) คอนทราเบส (Contra Bass) เบสวิโอล (Bass Viol) ดับเบิลเบสเป็นเครื่องดนตรีที่ที่นิยมเล่นใน วงออร์เคสตรา และ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ ดับเบิลเบส มีความสูงมาตรฐานประมาณ 74 นิ้ว ดับเบิ้ลเบสเป็นเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวที่อาจจะกล่าวได้ว่ามีความสัมพันธ์กับซอวิโอล (Viol) อย่างแท้จริง โดยสืบทอดมาจาก Violone ซอวิโอลขนาดใหญ่ (Big Viol) ซึ่งเล่นในช่วงเสียง 16 ช่วงเสียง (เสียงของมันจะต่ำกว่าโน้ตที่เขียน 1 ช่วงเสียง).

ใหม่!!: ออร์เคสตราและดับเบิลเบส · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรียุคบาโรก

นตรียุคบาโรก หรือบางแห่งเรียกว่า ดนตรีบาโรก (Baroque music) เป็นลักษณะดนตรียุโรปคลาสสิก ราว..

ใหม่!!: ออร์เคสตราและดนตรียุคบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรียุคคลาสสิก

ลาสสิก (Classical period) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง..1750-1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) มากขึ้น ดนตรียุคคลาสสิกมีลักษณะความเป็นจริง มีความสมดุล และชัดเจนในรูปแบบ ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงมีความเด่นกว่าเพลงร้อง ดนตรียุคคลาสสิกเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (absolute music) คือ ดนตรีที่ไม่มีจินตนาการอยู่เบื้องหลัง ไม่มีบทกวีประกอบ เป็นดนตรีที่มีแต่เสียงดนตรีบริสุทธิ์ ตรงข้ามกับดนตรีในยุคโรแมนติกที่เป็นดนตรีพรรณนา (program music) คือดนตรีที่มีเรื่องราว ยุคนี้มีกรุงเวียนนาของออสเตรียเป็นศูนย์กลางของดนตรี.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและดนตรียุคคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรียุคโรแมนติก

รแมนติก (ค.ศ.1810-1910) เป็นยุคของดนตรีคลาสสิกในช่วงศตวรรษที่19 ซึ่งเน้นอารมณ์ของดนตรีมากกว่าความสมดุลของบทตอน และเน้นความเป็นตัวตนของคีตกวีมากกว่ากฎเกณฑ์ทางดนตรีที่มีมาแต่เดิม คำว่า "โรแมนติก" ถูกประยุกต์ใช้ในวงการดนตรีปี ค.ศ. 1810 ซึ่งเอามาจากวงการวรรณกรรม มีความหมายว่า อารมณ์ที่รุนแรงของมนุษย์ โดยลักษณะดนตรีแบบโรแมนติกนี้เริ่มขึ้นในงานของนักประพันธ์เพลงและนักดนตรีชื่อ ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) ดนตรียุคโรแมนติกนั้นเริ่มต้นด้วยเพลงขับร้องและเพลงเปียโนสั้นๆ ต่อมาเป็นเพลงสำหรับวงออร์เคสตร.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและดนตรียุคโรแมนติก · ดูเพิ่มเติม »

คอนทราบาสซูน

thumb คอนทราบาสซูน หรือดับเบิลบาสซูน (Contra Bassoon or Double Bassoon) ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยชาวอังกฤษสองคน ชื่อ สโตน และ มอร์ตัน(Stone & Morton) ต่อมา เฮคเคล (Heckel) ได้ปรับปรุงโดยติดกลไกของแป้นนิ้วต่าง ๆ ให้สมบูรณ์และนำมาใช้จนถึงทุกวันนี้ คอนทราบาสซูนเป็นปี่ที่ใหญ่กว่าบาสซูน ประมาณเท่าตัวคือมีความยาวของท่อลมทั้งหมดถึง 18 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 220 นิ้วพับเป็นสี่ท่อน แต่ละท่อนเชื่อมต่อด้วย Butt และข้อต่อรูปตัว U ที่ปลายท่อนสุดท้ายจะต่อกับลำโพงโลหะที่คว่ำลงในแนวดิ่ง แต่คอนทราบาสซูนอีกชนิดหนึ่งลำโพงหงายขึ้นในแนวดิ่ง ให้เสียงต่ำกว่าบาสซูน ลงไปอีก 1 ออคเทฟ เสียงจะนุ่มไม่แข็งกร้าวเหมือนบาสซูน แต่ถ้าบรรเลงเสียงต่ำอย่างช้า ๆ ในวงออร์เคสตรา ขณะที่เครื่องดนตรีอื่น ๆ เล่นอย่างเบา ๆ จะสร้างภาพพจน์คล้ายมีงูใหญ่เลื้อยออกมาจากที่มือโอกาสที่ใช้ไม่สู้มากนัก.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและคอนทราบาสซูน · ดูเพิ่มเติม »

คอนแชร์โต

อนแชร์โต (concerto) คือ เป็นการประพันธ์เพลงรูปแบบหนึ่ง ส่วนมากมีสามท่อน (three-parts) ในอัตราจังหวะเร็ว-ช้า-เร็ว ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีการเล่นประชันกัน โดยอาจจะเป็นการเดี่ยวเครื่องดนตรีประชันกับวงดนตรี หรือกลุ่มเครื่องดนตรีประชันกับวงดนตรีก็ได้.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและคอนแชร์โต · ดูเพิ่มเติม »

คายกคณะ

กคณะ หรือ นักร้องหมู่ (choir หรือ chorus) เป็นพวกขับร้อง พบมากในโบสถ์เพื่อขับเพลงทางศาสนา แต่ต่อมาก็เริ่มมีความนิยมและนำมาใช้กันทั่วไป คายกคณะแบ่งระดับเสียงของคายกที่อยู่ในวงตามเสียงสูง-ต่ำของนักร้องแต่ละคน โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปในแต่ละระดับเสียง เพลงที่ใช้ร้องมีหลายแนวทำนองสอดประสานกันไป.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและคายกคณะ · ดูเพิ่มเติม »

ฉาบ

ฉาบแขวน ขนาด 16 นิ้ว ฉาบคู่ ฉาบ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชัน มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางๆ รูปร่างคล้ายจาน โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องดนตรีไม่มีระดับเสียง.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและฉาบ · ดูเพิ่มเติม »

ซิมโฟนี

ซิมโฟนี (Symphony) เป็นดนตรีประเภทหนึ่ง เป็นดนตรีประกอบเพิ่มเติมในดนตรีคลาสสิกตะวันตก ซึ่งต้องบรรเลงเกือบตลอดเวลาสำหรับวงดนตรี ซิมโฟนีมักจะมีเครื่องดนตรีอย่างน้อยหนึ่งชนิดมาประกอบด้วยตามหลักการโซนาตา วงดนตรีที่บรรเลงดนตรีแบบซิมโฟนีนั้นเรียกว่า วงซิมโฟนี ออร์เคสตรา ซึ่งในวงจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีครบทั้งสี่ชนิด ตัวอย่างเพลงซิมโฟนี หมวดหมู่:ดนตรีคลาสสิก.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและซิมโฟนี · ดูเพิ่มเติม »

ปิคโคโล

ปิคโคโล (Piccolo) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ รูปร่างคล้ายฟลุทแต่ขนาดเล็กกว่า และมีเสียงสูงกว่า 1 ออคเทฟ มีขนาดเล็กกว่าฟลุท 4 เท่า จึงทำให้มีคุณภาพเสียงที่สดใสและแหลมมาก เสียงในระดับต่ำของปิคโคโลจะดังไม่ชัดเจน ปิคโคโลจึงเหมาะที่จะใช้ในการเล่นในระดับเสียงกลางและเสียงสูงมากกว่าในระดับเสียงต่ำ ปิคโคโลในวงออร์เคสตรา คือในศตวรรษที่ 18 ด้วยสุ้มเสียงที่แหลมสูงของปิคโคโลนี้เองทำให้เราสามารถ ที่จะได้ยินเสียงปิคโคโลได้อย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าเครื่องดนตรีชิ้นอื่นจะบรรเลงอยู่ก็ตาม หมวดหมู่:เครื่องลมไม้ หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและปิคโคโล · ดูเพิ่มเติม »

แคลริเน็ต

กซ้ายไปขวา คลาริเน็ต Ab Eb และ Bb คลาริเน็ต(Clarinet) เป็นเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องเป่าลมไม้(woodwind instruments) ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยกลางเรียกว่า chalumeau แคลริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติดกับปากเป่าเช่นเดียวกับแซกโซโฟน ช่วงเสียงแคลริเน็ต (Bb) เริ่มตั้งแต่ D (เขียนว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นแคลริเน็ตบีแฟลต มีเสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้นไปประมาณ 3 ½ คู่แป.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและแคลริเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

แซกโซโฟน

รอบครัวแซกโซโฟน (เรียงลำดับใหญ่-เล็ก) คอนทร่าเบสแซกฯ, เบสแซกฯ, บาริโทนแซกฯ, เทนเนอร์แซกฯ, C เทนเนอร์แซก, อัลโต้แซกฯ, F อัลโต้แซก, โซปราโน่แซกฯ, C โซปราโน่แซกฯ และโซปรานิโน่แซกฯ อัลโต้ แซกโซโฟน (ยามาฮ่า รุ่น YAS-275 MK1) แซกโซโฟน (saxophone) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า "คลาริเนตทองเหลือง" (brass clarinet) โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวง แบร์ลิออซได้กล่าวว่าเสียงของแซกโซโฟนคือการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง ซอเชลโล ปี่คอร์อังแกลส์และปี่คลาริเนท แซกโซโฟนจะเล่นกระซิบกระซาบ อ่อนหวานนุ่มนวล หรือจะแผดให้แสบโสตประสาทก็ทำได้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงอย่างมาก CR:"NiCEkUNG.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและแซกโซโฟน · ดูเพิ่มเติม »

โอโบ

โอโบ ที่ใช้ในปัจจุบันนี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ใช้ในการแสดงอุปรากรฝรั่งเศส เรียกว่า “Hautbois” หรือ “Hoboy” ในศตวรรษที่ 18 โอโบใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงออร์เคสตร้า เป็นเครื่องดนตรีเสียงสูงในกลุ่มเครื่องลมไม้ ซองในขณะนั้นมีรูปิดเปิดเพียง 2- 3 รูเท่านั้น ในศตวรรษที่ 19 โอโบได้พัฒนาในเรื่องระบบกลไก คีย์ กระเดื่อง สำหรับปิดเปิดรู เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงให้เล่นสะดวกมากขึ้น จนในที่สุดโอโบคือเครื่องดนตรีหลักที่จะต้องมีในวงดุริยางค์ อ.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและโอโบ · ดูเพิ่มเติม »

ไวโอลิน

วโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตร.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและไวโอลิน · ดูเพิ่มเติม »

ไซโลโฟน

ซโลโฟน (Xylophone) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ(Percussion Instruments) ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดไม้ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตก ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับมาริมบา หรือไวบราโฟน แต่ไวบราโฟนทำจากโลหะ และมีขนาดใหญ่กว่าไซโลโฟน ลูกระนาดของไซโลโฟนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น โร้สวูด เป็นต้น จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกน ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา และเอเชีย ไม้ 2 อันที่ใช้ตีเรียกว่า ลูกค้อน ลักษณะตรงปลายเป็นหัวกลม ความกว้างของช่วงเสียงขึ้นอยู่กับขนาดของไซโลโฟน ซึ่งมีด้วยกัน 3 ลักษณะคือ เล็ก กลาง ใหญ่ เสียงของไซโลโฟน คล้ายเสียงระนาดของบ้านเรา คือ แกร่ง คม สั้นห้วน และชัดเจน ใช้เล่นไล่เสียง และเล่น “กลิสซานโต” ได้ดีเป็นพิเศษ และเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องดนตรีเล่นเดี่ยวทำนองเพลงหรือเพิ่มสีสันของวงดุริยางค์ให้งดงามขึ้น แซงท์-ซองส์ได้นำมาใช้ในวงดุริยางค์เป็นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ออร์เคสตราและไซโลโฟน · ดูเพิ่มเติม »

เชลโล

วิโอลอนเชลโล (Violoncello) หรือเรียกทั่วไปว่า เชลโล (Cello) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย นิยมเล่นใน วงออร์เคสตราและ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน, วิโอล่า, เชลโล และ ดับเบิลเบส เชลโลเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกับไวโอลิน มีโน้ตเพลงที่เขียนไว้สำหรับเชลโลโดยเฉพาะอยู่หลายบทเพลง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม ถึงอย่างไรก็ตามยังมีการเล่นเชลโลกับดนตรีประเภทแจ๊ส บลูส์ ป๊อป ร็อก ฯลฯ.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและเชลโล · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องกระทบ

รื่องกระทบ (percussion instruments) เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบนั้นหมายถึง เครื่องดนตรีที่เกิดเสียงดังขึ้นจากการตี กระทบการสั่น การเขย่า หรือ การเคาะ การตีอาจใช้ไม้ตีหรือใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้เกิดเสียง เครื่องประเภทนี้มักประกอบขึ้นด้วยวัสดุของแข็งหลายชนิด เช่น โลหะ ไม้ หรือ แผ่นหนังขึงตึง เครื่องประกอบจังหวะอาจมีชื่อเรียกเป็นคำอื่น เช่น เครื่องตี เครื่องประกอบจังหวะ เป็นต้น.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและเครื่องกระทบ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสาย

รื่องสาย (string instrument) เป็นการจัดประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องสายนี้ หมายถึง เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงโดยการสั่นสะเทือนของสายลวด เชือก เอ็น หรือไนลอน และมีตัวกำธรเสียง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังมากขึ้น คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัตถุที่ใช้ทำ การสั่นสะเทือนของสายอาจทำได้โดยการสี หรือดีดโดยอาจกระทำโดยตรง หรือเพิ่มกลไกให้ยุ่งยากขึ้น เครื่องสายที่พบเห็นในปัจจุบัน นิยมใช้วิธีทำให้เกิดเสียงได้ 2 วิธี คือ วิธีสี และวิธีดีด เครื่องสายประเภทใช้คันสี เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ได้แก.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและเครื่องสาย · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องดนตรี

รื่องดนตรี คือ อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมา หรือปรับจากอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้งานสำหรับการผลิตเสียงดนตรี หรือสร้างเสียงสำหรับใช้ประกอบในการร้องรำทำเพลง โดยหลักการแล้ว อุปกรณ์ใดก็ตามที่สามารถนำมาใช้ผลิตเสียงดนตรี ย่อมเรียกว่า เครื่องดนตรี ได้ทั้งสิ้น ผู้ที่ใช้เครื่องดนตรีนั้น เรียกว่านักดนตรี.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและเครื่องดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องเป่าลมไม้

รื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments)เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่องดนตรี อาจทำจากวัสดุต่าง ๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและเครื่องเป่าลมไม้ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องเป่าทองเหลือง

รูปภาพ ทรัมเป็ต, ปิคโคโล ทรัมเป็ต, และ ฟลูเกิลฮอร์น เครื่องเป่าทองเหลือง (brass instrument) เป็นการจัดประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ท่อลมทำด้วยโลหะขนาดต่าง ๆ กันการเกิดเสียงเกิดจากการเป่าลมให้เกิดการสั่นสะเทือนที่ริมฝีปากของผู้เล่น ผ่านเข้าไปในกำพวด (Mouth Piece) การเป่าเครื่องลมทองเหลืองจึงขึ้นอยู่กับริมฝีปากเป็นสำคัญ.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและเครื่องเป่าทองเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

เปียโน

ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอร์เต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐานมีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้ กลไกการเกิดเสียงในเปียโนอะคูสติกนั้น เริ่มจากแรงจากการกดคีย์จะถูกส่งผ่านโดยกลไกที่ซับซ้อนไปยังหัวค้อน และหัวค้อนจะตีกระทบกับสายโลหะที่ขึงอยู่บนกระดานเสียงเกิดเป็นเสียงดนตรี ในระหว่างที่คีย์ถูกกดอยู่นั้น กลไกที่เรียกว่า แดมเปอร์ (damper) ของแต่ละคีย์ ซึ่งเดิมจะคอยดันสายโลหะไว้จะถูกยกออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องได้ เมื่อใดก็ตามที่ปล่อยคีย์ แดมเปอร์จะกลับมาดันสายโลหะ ทำให้เสียงถูกตัดไป ดังนั้นการเหยียบเพดัลขวา จะเป็นการยกเพดัลของทุกคีย์ออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องและกังวานมากขึ้นซึ่งทำให้เพลงมีความไพเราะ อย่างไรก็ตาม การเหยียบเพดัลขวาแช่ไว้ จะทำให้เสียงโน้ตดนตรีกังวานจนตีกับโน้ตดนตรีที่ตามมาทีหลัง ดังนั้นผู้บรรเลงจึงต้องทำการยกเท้าจากเพดัลเป็นจังหวะ ๆ เพื่อเป็นการตัดโน้ตดนตรีไม่ให้ข้ามห้องหรือตีกัน คำว่า เปียโน นั้น เป็นคำย่อจากคำว่า เปียโนฟอร์เต, ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี ซึ่งเป็นการประสมคำระหว่างคำว่า เปียโน ที่แปลว่า "นุ่มนวล" กับ ฟอร์เต ที่แปลว่า "แข็งแกร่ง" ซึ่งมีที่มาจากการที่เป็ยโนนั้นมีคุณภาพเสียงที่หลากหลาย คีย์เบสที่ให้เสียงกังวานและทรงพลัง คีย์ปกติที่ให้เสียงนุ่มนวล และคีย์สูงที่ให้เสียงเล็กแหลม.

ใหม่!!: ออร์เคสตราและเปียโน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Orchestraวงออร์เคสตราวงออร์เคสตร้าวงออเคสตราวงออเคสตร้าวงดุริยางค์วงซิมโฟนีวงซิมโฟนีออร์เคสตราออร์เคสตร้าออเคสตราออเคสตร้าซิมโฟนี ออร์เคสตรา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »