โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อุปรากร

ดัชนี อุปรากร

รงอุปรากรซิดนีย์ในประเทศออสเตรเลีย เป็นโรงอุปรากรที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อุปรากร (opera) เป็นศิลปะการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแบบละครที่ดำเนินเรื่องโดยใช้ดนตรีเป็นหลักหรือทั้งหมด อุปรากรถือเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีคลาสสิก ตะวันตก มีความใกล้เคียงกับละครเวทีในเรื่องฉาก การแสดง และเครื่องแต่งกาย แต่สิ่งสำคัญที่แยกอุปรากรออกจากละครเวทีทั่วไป คือ ความสำคัญของเพลง ดนตรีที่ประกอบการร้อง ซึ่งอาจมีตั้งแต่วงดนตรีขนาดเล็กจนไปถึงวงออร์เคสตราขนาดใหญ.

36 ความสัมพันธ์: บัลเลต์ชาร์ล กูโนช่างตัดผมแห่งเซวิลล์การ์เมนมาดามบัตเตอร์ฟลายริชาร์ด วากเนอร์ละครละครเวทีลา ทราวิอาทาลาบอแอมลุดวิจ ฟาน เบโทเฟนวิลเลียม เทลวงทริโอออร์เคสตราอัลโตอาเรียอิกอร์ สตราวินสกีฌอร์ฌ บีแซจาโกโม ปุชชีนีจูเลียส ซีซาร์จูเซปเป แวร์ดีขลุ่ยวิเศษดอน โจวันนีดนตรีดนตรียุคคลาสสิกดนตรียุคโรแมนติกดนตรีคลาสสิกคายกคณะงานแต่งงานของฟิกาโรตอสกาประเทศออสเตรเลียประเทศอิตาลีโหมโรง (เพลง)โซปราโนเบสเทเนอร์

บัลเลต์

Classical bell tutus in ''The Dance Class'' by Degas, 1874 บัลเลต์ บัลเลต์ (ballet) หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยการเต้น และ ดนตรีมีลักษณะเช่นเดียวกับอุปรากร เพียงแต่บัลเลต์เป็นการนำเสนอเนื้อเรื่อง โดยใช้การเต้นเป็นสื่อ มีกำเนิดขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 15 ที่ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอิตาลี การพัฒนาในยุคนี้คือ นิยมให้ผู้หญิงเป็นผู้แสดงเอก เรียกว่า บัลเลรินา (Ballerina) ศตวรรษที่ 20 บัลเลต์ได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า โมเดิร์นแดนซ์ (Modern Dance) คือ การนำเอาหลักของบัลเลต์มาผสมผสานดัดแปลงให้เป็นการเต้น โดยไม่ต้องใส่รองเท้าบัลเลต์และไม่ต้องใช้ปลายเท้าในลักษณะของบัลเลต์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการประพันธ์เพลงบัลเลต์ ได้แก่ ไชคอฟสกี โปรโกเฟียฟ คอปแลนด์ และฟัล.

ใหม่!!: อุปรากรและบัลเลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ล กูโน

ร์ล-ฟรองซัว กูโน ชาร์ล-ฟร็องซัว กูโน (Charles-François Gounod; 18 มิถุนายน พ.ศ. 2361–18 ตุลาคม พ.ศ. 2436) เป็นคีตกวีชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: อุปรากรและชาร์ล กูโน · ดูเพิ่มเติม »

ช่างตัดผมแห่งเซวิลล์

ฟิกาโร มิคาอิล คาราคาช รับบทเป็น ฟีกาโร ช่วงทศวรรษ 1910 ช่างตัดผมแห่งเซวิลล์ (Il barbiere di Siviglia, ossia L'inutile precauzione; The Barber of Seville, or The Useless Precaution) เป็นอุปรากรภาษาอิตาลีความยาว 2 องก์ โดยโจอากีโน รอสซีนี (1792 – 1868) ดัดแปลงจากบทละครชวนหัวต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส ชื่อ Le Barbier de Séville ou la Précaution inutile (1775) ของปีแยร์-โอกุสแต็ง การง เดอ โบมาร์แช ออกแสดงรอบปฐมทัศน์ที่โรงละคร Teatro Argentina กรุงโรม เมื่อวันที่ 16 กุมภาพัน..

ใหม่!!: อุปรากรและช่างตัดผมแห่งเซวิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

การ์เมน

การ์เมน (Carmen) เป็นอุปรากรภาษาฝรั่งเศสจำนวน 4 องก์ ที่แต่งโดยฌอร์ฌ บีแซ (1838-1875) ดัดแปลงจากนวนิยายในชื่อเดียวกันของพรอสแพร์ เมอริมี (1803-1870) ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากโคลงภาษารัสเซียชื่อ The Gypsies (1824) ของอะเล็กซานเดอร์ เซอร์เยวิช พุชกิน (1799-1837) ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1845 โดยแปลงจากภาษารัสเซียเป็นภาษาฝรั่งเศส อุปรากรเรื่องการ์เมนออกแสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1875 ที่โรงอุปรากรออเปรากอมิก (Opéra Comique) ปารีส ในระยะแรกถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจนเกือบถูกถอดออกจากรอบการแสดง แม้จะมีการแจกจ่ายตั๋วเข้าชมการแสดงออกไปโดยผู้ชมไม่ต้องเสียเงิน ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จนกระทั่งฌอร์ฌ บีแซ เสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยอาการหัวใจวายเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1875 ด้วยวัยเพียง 36 ปี ในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: อุปรากรและการ์เมน · ดูเพิ่มเติม »

มาดามบัตเตอร์ฟลาย

ปสเตอร์อุปรากรเรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย ของ จาโกโม ปุชชีนี (วาดโดยอดอลโฟ โฮเฮนสตน์, 1854–1928) มาดามบัตเตอร์ฟลาย (Madama Butterfly) เป็นอุปรากรความยาว 3 องก์ (บทประพันธ์ดั้งเดิมมี 2 องก์) ประพันธ์โดย จาโกโม ปุชชีนี คีตกวีชาวอิตาลี คำร้องโดยลุยจิ อิลลิกา (1857 – 1919) เปิดการแสดงครั้งแรกเมื่อปี 1904 เนื้อหากล่าวถึงเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักระหว่างหญิงสาวชาวญี่ปุ่นกับนายทหารเรือชาวอเมริกัน ในไทยได้มีการสร้างเป็นละครเวทีในชื่อเรื่อง "โจโจ้ซัง" และได้มีการดัดแปลงเป็นบทละครเรื่องสาวเครือฟ้า นักวิชาการคนหนึ่งระบุว่า เรื่องราวของอุปรากรดังกล่าวอิงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในนะงะซะกิในต้นคริสต์ทศวรรษ 1890 รุ่นดั้งเดิมของอุปรากรซึ่งมี 2 องก์ แสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1904 ที่โรงอุปรากรลา สกาลาในมิลาน ได้รับการยอมรับน้อยมากแม้จะมีนักร้องที่มีชื่อเสียงหลายคนรับบทนำ ส่วนใหญ่เป็นเพราะเสร็จช้าและเวลาฝึกซ้อมไม่เพียงพอ ปุชชีนีทบทวนอุปรากร แบ่งองก์ที่สองเป็นสององก์ และเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ วันที่ 28 พฤษภาคม 1904 รุ่นนี้มีการแสดงในเบรสเซียและประสบความสำเร็จอย่างสูง มาดามบัตเตอร์ฟลาย อยู่ในรายการอุปรากรที่มีการแสดงทั่วโลกมากที่สุด อันดับที่ 7 ของโอเปร.

ใหม่!!: อุปรากรและมาดามบัตเตอร์ฟลาย · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด วากเนอร์

ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner; เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883) เป็นหนึ่งในคีตกวีเอกชาวเยอรมัน ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 และยังเป็นนักทฤษฎีดนตรีที่เก่งกาจ ส่วนใหญ่แล้วผลงานของวากเนอร์เป็นที่รู้จักจากอุปรากรที่เขาแต่ง ซึ่งมักจะเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมประกอบดนตรี อิทธิพลของวากเนอร์ในดนตรีตะวันตกนั้นมากมายมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปรากรที่เขาปฏิวัติรูปแบบโดยสิ้นเชิง Richard Wagner.

ใหม่!!: อุปรากรและริชาร์ด วากเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ละคร

ละคร หมายถึงการแสดงรำที่เป็นเรื่องเป็นราว ดำเนินเรื่องไปโดยลำดับ มีตัวเอกของเรื่อง ฝ่ายชายเรียกว่าตัวพระ เพราะสมัยโบราณแสดงแต่เรื่องจักรๆวงศ์ๆ เป็นเรื่องของกษัตริย์ มีชื่อว่าพระต่างๆ เช่น พระอนิรุทธิ์ พระไชยเชษฐ์ พระอภัยมณี ฝ่ายหญิงเรียกว่า ตัวนาง เพราะในเรื่องที่แสดงมักชื่อว่านางต่างๆ เช่น นางสีดา นางบุษบา นางทิพย์เกสร ยังไม่มีการแบ่งเป็นนางสาวและนางที่มีสามีแล้ว และตัวประกอบอื่นๆแล้วแต่ในเรื่องจะมีละครมีหลายแบบ แต่ละวฝฝใมีการแสดงและความมุ่งหมายแตกต่างกัน เช่น ละครโนรา ละครนอก ละครใน ละครถาม😴😴😴😴😴 และละครดึกดำบรรพ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจดบันทึกโดย ซิมง เดอ ลาลูแบร์ ราชฑูตแห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ใน ปี..

ใหม่!!: อุปรากรและละคร · ดูเพิ่มเติม »

ละครเวที

ภาพวาด การแสดงละครเวทีเรื่อง Romeo and Juliet ละครเวทีละครเพลงซึ่งเน้นการร้องมากกว่า คาดกันว่าละครเวทีมีมาตั้งแต่สมัยกรีก อริสโตเติลบันทึกไว้ว่าละครของกรีก เริ่มต้น จุดเด่นของละครเวทีคือ การสื่อสารระหว่างผู้ชมกับนักแสดง การสื่อสารระหว่างผู้ชมและนักแสดงเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน วอลเตอร์ เคอร์ นักวิจารณ์ชาวอเมริกันพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับนักแสดงเช่นนี้ไม่มีในภาพยนตร์ เพราะภาพยนตร์เป็นสิ่งที่สร้างมาสำเร็จรูปแล้ว มันไม่สามารถตอบสนองเราได้ เพราะนักแสดงในภาพยนตร์ไม่สามารถได้ยินเรา รู้สึกถึงตัวตนของเราและไม่ว่าเราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรก็ไม่มีผลใดๆ" องค์ประกอบของละครเวที คือ การแสดงสดบนเวที ที่มีฉาก แสง เสียง ประกอบ และบทละคร คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำละครทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครเวที เพราะมันคือ ตัวกำหนดองค์ประกอบอื่นๆ ทุกอย่างในละคร ไม่ว่าจะเป็น โครงของเรื่อง) ของนักแสดงด้วย หมวดหมู่:ศิลปะการแสดง.

ใหม่!!: อุปรากรและละครเวที · ดูเพิ่มเติม »

ลา ทราวิอาทา

ลาทราวิอาทา (La traviata) เป็นอุปรากรภาษาอิตาลีที่เขียนโดยจูเซปเป แวร์ดีผู้เป็นคีตกวีอุปรากรคนสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 19 “ลาทราวิอาทา” เขียนขึ้นจากเนื้อร้องที่เขียนโดยฟรานเชสโค มาเรีย พิอาเว ที่มีพื้นฐานมาจากบทละคร “La dame aux Camélias” ที่แปลงมาจากนวนิยายที่เขียนโดยอเล็กซองเดรอ ดูมาส์ผู้เยาว์ ชื่ออุปรากร “La traviata” แปลตรงตัวว่า “สตรีนอกลู่นอกทาง” ที่เดิมตั้งใจจะเป็นชื่อ “Violetta” ตามชื่อตัวละครเอก “ลาทราวิอาทา” เปิดแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1853ที่เวนิสในประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: อุปรากรและลา ทราวิอาทา · ดูเพิ่มเติม »

ลาบอแอม

มีมี ลาบอแอม (La bohème) เป็นอุปรากรภาษาอิตาลีจำนวน 4 องก์ เขียนโดยจาโกโม ปุชชีนี คำร้องโดยลุยจี อิลลีกา (1857 – 1919) ดัดแปลงจากเรื่อง Scènes de la vie de bohème ของอ็องรี มูร์แฌร์ นักเขียนชาวฝรั่งเศส จัดแสดงรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1896 ที่โรงอุปรากร Teatro Regio เมืองตูริน อำนวยเพลงโดยอาร์ตูโร ตอสกานีนี จนถึงปัจจุบัน เรื่องลาบอแอมเป็นอุปรากรที่นิยมจัดแสดงบ่อยครั้งที่สุดเป็นอันดับสอง รองจากเรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย เนื้อเรื่องกล่าวถึงความรักแรกพบระหว่างหญิงสาวชื่อ มีมี กับหนุ่มนักกลอนชื่อ โรฟอลโด ต่อมาโรฟอลโดพยายามจะตีจากมีมี เพราะไม่พอใจที่เธอแสดงพฤติกรรมหว่านเสน่ห์ไปทั่ว มีมีหัวใจสลายและสุขภาพเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ทั้งคู่ต่างเพิ่งตระหนักในรักและกลับมามีความสุขร่วมกันในช่วงสั้น ๆ ก่อนเธอจะเสียชีวิต ในปี..

ใหม่!!: อุปรากรและลาบอแอม · ดูเพิ่มเติม »

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1820 ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven,; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 - 26 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี เบโทเฟนเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคจินตนิยมผู้โดดเดี่ยว และไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง ตลอดชีวิตของเขามีอุปสรรคนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขา ในรูปภาพต่าง ๆ ที่เป็นรูปเบโทเฟน สีหน้าของเขาหลายภาพแสดงออกถึงความเครียด แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งของเขา ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตของเขาได้ ตำนานที่คงอยู่นิรันดร์เนื่องจากได้รับการยกย่องจากคีตกวีโรแมนติกทั้งหลาย เบโทเฟนได้กลายเป็นแบบอย่างของพวกเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นอัจฉริยะที่ไม่มีใครเทียมทาน ซิมโฟนีของเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิมโฟนีหมายเลข 5 ซิมโฟนีหมายเลข 6 ซิมโฟนีหมายเลข 7 และ ซิมโฟนีหมายเลข 9) และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนที่เขาประพันธ์ขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนแชร์โตหมายเลข 4 และ หมายเลข 5) เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็มิได้รวมเอาความเป็นอัจฉริยะทั้งหมดของคีตกวีไว้ในนั้น.

ใหม่!!: อุปรากรและลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เทล

ลายเส้นในปี 1554 ขณะวิลเลียม เทล ยิงหน้าไม้ใส่แอปเปิลบนศีรษะลูกชาย วิลเลียม เทล (William Tell; Wilhelm Tell; Guillaume Tell; Guglielmo Tell; Guglielm Tell) เป็นวีรบุรุษจากนิทานพื้นบ้านของสวิตเซอร์แลนด์ที่เล่าขานกันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 ในปัจจุบันถือว่าเป็นวีรบุรุษที่เป็นตัวแทนผู้รักชาติชาวสวิส เช่นเดียวกับ Arnold von Winkelried วีรบุรุษอีกคนหนึ่ง เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในช่วงการก่อตั้งสหพันธรัฐสวิสเก่า กล่าวถึงวิลเลียม เทล เป็นนักธนูที่มีฝีมือแม่นยำ ผู้ลอบสังหาร อัลเบรชต์ เกสเลอร์ ขุนนางผู้ใหญ่แห่งอาณาจักรฮับส์บูร์ก เหตุการณ์ในเรื่องตอนที่มีชื่อเสียง เป็นตอนที่วิลเลียม เทล ถูกเกสเลอร์ทดสอบฝีมือยิงหน้าไม้ โดยบังคับให้ใช้เป้ายิงเป็นผลแอปเปิลที่วางอยู่บนศีรษะของลูกชายของเขา หากวิลเลียม เทลยิงพลาดก็หมายถึงชีวิตของเด็ก.

ใหม่!!: อุปรากรและวิลเลียม เทล · ดูเพิ่มเติม »

วงทริโอ

วงทริโอ (Trio) เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยผู้เล่นดนตรี 3 คน ใช้เครื่องดนตรี 3 ชิ้น วงที่มีความนิยมสูงคือวงที่ประกอบด้วย เปียโน, ไวโอลิน และ เชลโล เรียกว่า "เปียโนทริโอ" วงทริโอนี้อาจมีการผสมผสานเครื่องดนตรีที่แตกต่างออกไปเช่น ใช้คลาริเน็ตแทนไวโอลิน (คลาริเน็ตทริโอ), ใช้เฟรนช์ฮอร์นแทนเชลโล (ฮอร์นทริโอ) หรือแม้แต่การผสมวงที่ไม่มีเปียโน เช่น ไวโอลิน, วิโอลา และ เชลโล (สตริงทริโอ), คลาริเน็ต, โอโบ และ บาสซูน (วู้ดวินด์ทริโอ) ฯลฯ วงเปียทริโอพัฒนามาจาก"แอคคอมพานีโซนาตา"ในสมัยของโมซาร์ท ซึ่งความจริงแล้วโมซาร์ทเปียโนทริโอที่เรารู้จักกันทุกทุกวันนี้ ก็คือโซนาตาสำหรับเปียโนที่มีการเล่นประกอบโดยไวโอลินและเชลโล โดยบทเด่นที่สุดและยากที่สุดจะเป็นของเปียโน ไวโอลินกับเชลโลอาจเพียงเล่นโน้ตเดียวกันกับมือซ้ายหรือมือขวาของเปียโน ต่อมาในสมัยของเบโธเฟน เครื่องสายได้มีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากเป็นที่นิยมมากในหมู่ผู้เล่นดนตรี จุดเปลี่ยนแปลงที่จะเห็นได้ชัดที่สุด คือเปียโนทริโอที่ประพันธ์โดยเบโธเฟน ซึ่งไวโอลินและเชลโลในเปียโนทริโอบางบท มีบทบาทมากกว่าเปียโนเสียอีก ซึ่งเป็นผลให้นักประพันธ์เพลงในสมัยต่อๆมา ประพันธ์เพลงด้วยความมีอิสระมากขึ้น มีการผสมผสานเครื่องดนตรีในรูปแบบที่แปลกใหม่ออกไป หมวดหมู่:กลุ่มดนตรี หมวดหมู่:วงทริโอ.

ใหม่!!: อุปรากรและวงทริโอ · ดูเพิ่มเติม »

ออร์เคสตรา

วง '''เมลเบิร์น ซิมโฟนี ออร์เคสตรา''' ออร์เคสตรา (orchestra) หรือ วงดุริยางค์ ในภาษาไทย เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับดนตรี มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุค วงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นราว..1600 ลักษณะที่สำคัญของวงออร์เคสตราคือ เป็นกลุ่มของนักดนตรี ที่เล่นเครื่องดนตรีหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบ โดยบรรเลงภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยเพลง.

ใหม่!!: อุปรากรและออร์เคสตรา · ดูเพิ่มเติม »

อัลโต

อัลโต (Alto) มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า Altus แปลว่า "เสียงสูง" มีความหมายหลายแบบ สำหรับเครื่องดนตรี อัลโต มักหมายถึงเสียงเครื่องดนตรีที่มีเสียงสูงสุดเป็นอันดับสอง รองจากทรีเบิล (treble) หรือ โซปราโน เช่น อัลโตแซกโซโฟน มีเสียงสูงรองจากโซปราโนแซกโซโฟน และเสียงสูงกว่าเทเนอร์แซกโซโฟน ในวงขับร้องประสานเสียงแบบสี่แนว SATB เสียงอัลโต ถือเป็นโทนเสียงสูงเป็นที่สองจากสี่ระดับ (ประกอบด้วย โซปราโน, (คอนทรา)อัลโต, เทเนอร์ และเบส) โดยโทนเสียงต่ำสุดของนักร้องหญิง บางครั้งเรียกว่า คอนทราลโต (contralto) มาจากการประสมคำว่า contra และ alto แต่หากเป็นวงขับร้องประสานเสียงแบบหญิงล้วน ซึ่งมักนิยมร้องแบบสองแนว SA หรือสามแนว SSA เสียงอัลโตจะเป็นเสียงนักร้องหญิงที่โทนเสียงต่ำที่สุดในวง หมวดหมู่:การร้องเพลง หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ดนตรี.

ใหม่!!: อุปรากรและอัลโต · ดูเพิ่มเติม »

อาเรีย

อาเรีย (Aria) เป็นบทร้องเดี่ยว สำหรับให้ตัวละครเพียงตัวเดียวร้องในการแสดงอุปรากร โดยมีดนตรีจากวงออร์เคสตราเป็นส่วนประกอบ เป็นบทร้องที่เต็มไปด้วยลีลาของดนตรีที่งดงาม เน้นการร้องและดนตรีเป็นหลัก ต่างจากรีซิเททีฟ (Recitative) ที่ใช้แทนการสนทนา อาเรีย มีรากศัพท์มาจากภาษาอิตาลี แปลว่า "air" คำพหูพจน์ใช้คำว่า arie หรือ arias ปรากฏครั้งแรกในการแสดงอุปรากรในคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: อุปรากรและอาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

อิกอร์ สตราวินสกี

อิกอร์ เฟโดโรวิช สตราวินสกี้ (И́горь Фёдорович Страви́нский; Igor Stravinsky; 17 มิถุนายน ค.ศ. 1882 — 6 เมษายน ค.ศ. 1971)) เป็นคีตกวีดนตรีคลาสสิกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชาวรัสเซีย สตราวินสกี้ ราวปี 1950 สตราวินสกี้เป็นบุตรชายของนักร้องชื่อดังแห่งโรงละครหลวง เขาเกิดที่เมืองออรานีนบาม (Oranienbaum) ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนเป็นชื่อ โลโมโนซอฟ (Lomonosov) ใกล้กับนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในประเทศรัสเซีย เขาเรียนด้านกฎหมายกับเปียโน ก่อนที่จะมาเป็นศิษย์ของนิโคไล ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ บทเพลงชื่อดังชิ้นแรกของเขาได้แก่ วิหคเพลิง (ค.ศ. 1910 ด้วยการจ้างของแซร์จ เดียกิเลฟ เพื่อใช้แสดงในคณะบัลเลต์รัสเซีย ตามมาด้วยเพลง เปทรูชก้า (ค.ศ. 1911) พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ (ค.ศ. 1913) และอุปรากร เรื่อง นกไนติงเกล (ค.ศ. 1914) มีเรื่องที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับบัลเลต์เรื่อง พิธีบูชายัญในฤดูใบไม้ผลิ ทั้งจากท่าเต้น และความไม่เหมือนใครของดนตรีประกอบ ทำให้สตราวินสกี้กลายเป็นคีตกวี ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 สตราวินสกี้เสียชีวิตที่นิวยอร์ก ศพของเขาถูกฝังไว้ที่สุสานซาน มิเชลในนครเวนิซ ประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: อุปรากรและอิกอร์ สตราวินสกี · ดูเพิ่มเติม »

ฌอร์ฌ บีแซ

อร์ฌ บีแซ ฌอร์ฌ บีแซ (Georges Bizet,; 25 ตุลาคม พ.ศ. 2381 – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2418) คีตกวีชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: อุปรากรและฌอร์ฌ บีแซ · ดูเพิ่มเติม »

จาโกโม ปุชชีนี

กโม ปุชชีนี จาโกโม อันโตนีโอ โดเมนีโก มีเกเล เซกอนโด มารีอา ปุชชีนี (Giacomo Puccini 22 ธันวาคม พ.ศ. 2401 - 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467) เป็นคีตกวีชาวอิตาเลียน เกิดที่เมืองลูคคา ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) เขาเป็นที่รู้จักในนามของ ปุชชินี และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อุปรากรที่โด่งดังของเขาได้แก่เรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย และ ทอสก้า ปุชชินีเสียชีวิตที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924).

ใหม่!!: อุปรากรและจาโกโม ปุชชีนี · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ใหม่!!: อุปรากรและจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

จูเซปเป แวร์ดี

Verdi จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี (Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) โด่งดังจากอุปรากรเรื่อง ลา ทราเวียตตา ไอด้า โอเทลโล ผลงานของเขาได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ และต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน แวร์ดีเกิดที่หมู่บ้าน Le Roncole ในอำเภอตาโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองบุสเชโต ที่ซึ่งเขาได้เรียนดนตรีกับเฟอร์ดินานโด โปรแวร์สิ เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี ขึ้นมาบทหนึ่งจากเพลงโหมโรงของอุปรากรเรื่อง กัลบกแห่งเมืองเซวิลล์ (Il barbiere di Siviglia) ของ จิโออัคคิโน รอสสินี จากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นครมิลาน เพื่อสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาจึงเรียนแบบส่วนตัวกับวินเซนโซ ลาวินยา ผลงานประพันธ์อุปรากรเรื่องแรกของเขาคือ Oberto, conte di San Bonifacio (เปิดการแสดงครั้งแรกที่กรุงมิลาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2382) ตามด้วยเรื่อง Un giorno di regno (ซึ่งเป็นความพยายามประพันธ์อุปรากรชวนหัวเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีเพียง Falstaff อีกเรื่องในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา) แต่เขาประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) จากเรื่อง Nabucco ที่ได้เปิดแสดงที่โรงละครลา สกาล่า ในนครมิลาน โดยมีนักแสดงนำได้แก่จูเซปปินา สเตร็ปโปนี ร้องเสียงโซปราโน ในบทของอาบิไก นักร้องสาวได้กลายเป็นภรรยาน้อยของแวร์ดี เขาได้แต่งงานกับหล่อนในอีกหลายปีให้หลัง ภายหลังการเสียชีวิตของภรรยาของเขา หลังจากที่อุปรากรเรื่อง I Lombardi alla prima crociata (เปิดแสดงครั้งแรกที่นครมิลาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386) ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง เรื่องErnani ก็ประสบความสำเร็จในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซเช่นกัน ในปีต่อมา อุปรากรเรื่อง Giovanna d'Arco และ La Forza del Destino ก็ตอกย้ำความโด่งดังของแวร์ดี แต่เขาเห็นว่าการแสดงงานของเขาที่โรงละครลา สกาล่านั้นยังไม่เข้าขั้น เป็นเหตุให้เขาปฏิเสธการเปิดแสดงอุปรากรเรื่องต่อ ๆ มาในมิลาน อันได้แก่เรื่อง Atilla, Alzira และ แมคเบ็ท ในได้ถูกนำออกแสดงในเมืองต่าง ๆ ทั่ว ประเทศอิตาลี ส่วนเรื่อง I Masnadieri นั้นได้ถูกประพันธ์ขึ้นที่กรุงลอนดอน ในขณะที่นครมิลาน พ่ายแพ้และถูกจักรวรรดิออสเตรียเข้ายึดครอง แวร์ดีได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Il Corsaro, La Battaglia di Legnano และ Luisa Miller รวมทั้งเรื่อง Manon Lescaut ที่แต่งไม่จบ หลังจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบทประพันธ์เรื่อง Stiffelio ในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) เรื่อง Rigoletto ก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซ ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) เขาประสบความสำเร็จครั้งสำคัญอีกครั้งจากเรื่องIl Trovatore ที่โรงละครอพอลโลในกรุงโรม แต่การเปิดการแสดงภาคภาษาฝรั่งเศสในนครเวนีซไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก อุปรากรเรื่องอื่น ๆ ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงนี้ ได้แก่ งูพิษแห่งเกาะซิซิลี (เปิดแสดงที่กรุงปารีส) Aroldo (งานที่สร้างขึ้นมาจากเรื่อง Stiffelioเดิม) และเรื่อง Simon Boccanegra กับ Un ballo in maschera (ที่ถูกห้ามนำออกแสดง) แวร์ดีได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากในการรวมชาติของประเทศอิตาลี (เขาได้ประพันธ์บทเพลง Inno delle Nazioni ซึ่งได้รวมเอาเพลงชาติต่าง ๆ ในยุโรปไว้ด้วยกัน เช่น เพลง Fratelli d'Italia Marseillaise และ God Save the King ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก จากนั้นก็ได้นำผลงานเก่ามาแก้ไขเล็กน้อย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เมื่อDon Carlos ได้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อเขานำเรื่องไอด้า ออกแสดงที่โรงละครลา สกาล่าก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น เขาได้ประพันธ์ให้แก่ผู้สำเร็จราชการแห่งอียิปต์กับเนื่องในโอกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งใหม่ในกรุงไคโร และสำหรับการเปิดคลองสุเอซ ผลงานของแวร์ดีมีความเป็นชาตินิยมของชาวอิตาลีอยู่ในตัว (เป็นต้นว่าเพลงชาวยิวสำหรับกลุ่มนักร้องประสานเสียงขับร้องในเรื่อง Nabucco ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Va Pensiero นั้น ได้รับการเสนอให้เป็นเพลงชาติอิตาลีมาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้มีความหมายในเชิงเหยียดเชื้อชาติ) เป็นที่น่าประหลาดใจ เมื่อมีคนพบว่าชื่อของเขา Verdi เป็นตัวอักษรย่อของคำว่า Vittorio Emanuele Re D’Italia (วิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กษัตริย์แห่งอิตาลี) ในช่วงเวลาที่ชาวเมืองมิลาน (ซึ่งยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย) ได้เริ่มหันมาสนับสนุนความพยายามรวมชาติอิตาลีของวิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กลุ่มแนวร่วมหลบหนีเข้าเมืองได้เริ่มคบคิดที่จะให้กษัตริย์ Sardaigne บุกมิลาน เนื่องจากการกดขี่ของชาวออสเตรียนั้นรุนแรงเกินไป กลุ่มคนเหล่านี้ได้เริ่มการปลุกระดมที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า « Viva VERDI » (« V.E.R.D.I. จงเจริญ ») แวร์ดีทราบเรื่องการนำชื่อของเขาไปใช้ ซึ่งโดยหลักแล้วเขาควรจะห้าม แต่เขาก็ไม่ได้ห้าม เรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันกับการเมืองของแวร์ดีได้ถูกนำเสนอในบทอุปรากรเรื่อง I Lombardi แวร์ดีเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) ที่นครมิลาน หลังจากการก่อสร้างคฤหาสน์ Casa di Riposo เสร็จสิ้น (เขาตั้งใจให้เป็นที่พักชั่วคราวของเหล่าศิลปินตกยาก) พีธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการ ผู้เข้าร่วมราว 250,000 คนได้มาแสดงความคารวะต่อปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของวงการดนตรีอิตาลี.

ใหม่!!: อุปรากรและจูเซปเป แวร์ดี · ดูเพิ่มเติม »

ขลุ่ยวิเศษ

ลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte, The Magic Flute) เป็นอุปรากรสององค์ที่เขียนโดยโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทผู้เป็นคีตกวีคนสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในปี ค.ศ. 1791 จากเนื้อร้องที่เขียนโดยเอมานูเอล ชิคาเนเดอร์ “ขลุ่ยวิเศษ” เป็นอุปรากรแบบที่เรียกว่า ละครผสมเพลง (Singspiel) ซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมกันที่มีทั้งบทร้องและบทพู.

ใหม่!!: อุปรากรและขลุ่ยวิเศษ · ดูเพิ่มเติม »

ดอน โจวันนี

ปอนเต้ ดอน โจวานนี (Don Giovanni, KV 527) เป็นอุปรากรตะวันตกซึ่งประพันธ์บทโดย ลอเร็นโซ ดาปอนเต้ (Lorenzo da Ponte) เป็นภาษาอิตาเลียน และประพันธ์ดนตรีโดย โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมตสาร์ต (Wolfgang Amadeus Mozart) ดอนโจวานนี เป็นอุปรากรตลกที่แฝงไปด้วยความมืดโดยมีทั้งหมดสององก์และเปิดแสดงครั้งแรกที่กรุงปรากใน..

ใหม่!!: อุปรากรและดอน โจวันนี · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรี

น้ตเพลง ดนตรี (music) คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสาน) จังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) นอกจากดนตรีจะใช้ในด้านศิลปะได้แล้ว ยังสามารถใช้ในด้านสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: อุปรากรและดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรียุคคลาสสิก

ลาสสิก (Classical period) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง..1750-1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) มากขึ้น ดนตรียุคคลาสสิกมีลักษณะความเป็นจริง มีความสมดุล และชัดเจนในรูปแบบ ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงมีความเด่นกว่าเพลงร้อง ดนตรียุคคลาสสิกเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (absolute music) คือ ดนตรีที่ไม่มีจินตนาการอยู่เบื้องหลัง ไม่มีบทกวีประกอบ เป็นดนตรีที่มีแต่เสียงดนตรีบริสุทธิ์ ตรงข้ามกับดนตรีในยุคโรแมนติกที่เป็นดนตรีพรรณนา (program music) คือดนตรีที่มีเรื่องราว ยุคนี้มีกรุงเวียนนาของออสเตรียเป็นศูนย์กลางของดนตรี.

ใหม่!!: อุปรากรและดนตรียุคคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรียุคโรแมนติก

รแมนติก (ค.ศ.1810-1910) เป็นยุคของดนตรีคลาสสิกในช่วงศตวรรษที่19 ซึ่งเน้นอารมณ์ของดนตรีมากกว่าความสมดุลของบทตอน และเน้นความเป็นตัวตนของคีตกวีมากกว่ากฎเกณฑ์ทางดนตรีที่มีมาแต่เดิม คำว่า "โรแมนติก" ถูกประยุกต์ใช้ในวงการดนตรีปี ค.ศ. 1810 ซึ่งเอามาจากวงการวรรณกรรม มีความหมายว่า อารมณ์ที่รุนแรงของมนุษย์ โดยลักษณะดนตรีแบบโรแมนติกนี้เริ่มขึ้นในงานของนักประพันธ์เพลงและนักดนตรีชื่อ ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) ดนตรียุคโรแมนติกนั้นเริ่มต้นด้วยเพลงขับร้องและเพลงเปียโนสั้นๆ ต่อมาเป็นเพลงสำหรับวงออร์เคสตร.

ใหม่!!: อุปรากรและดนตรียุคโรแมนติก · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีคลาสสิก

วงซิมโฟนีออเคสตรา ดนตรีคลาสสิก (Classical music) เป็นรูปแบบหนึ่งของดนตรี ซึ่งมักจะหมายถึงดนตรีที่เป็นศิลปะของตะวันตก การแสดงดนตรีคลาสสิกจะใช้เครื่องดนตรี 4 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เครื่องสาย (String) แบ่งออกเป็น ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส กลุ่มที่สอง คือ เครื่องลมไม้ (Woodwind) เช่น ฟลูต คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน ปิคโคโล กลุ่มที่สาม คือ เครื่องลมทองเหลือง (Brass) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา เฟรนช์ฮอร์น กลุ่มที่สี่ คือ เครื่องกระทบ (Percussion) เช่น กลองทิมปานี ฉาบ กลองใหญ่ (Bass Drum) กิ๋ง (Triangle) เมื่อเล่นรวมกันเป็นวงเรียกว่าวงดุริยางค์หรือ ออร์เคสตรา (Orchestra) ซึ่งมีผู้อำนวยเพลง (conductor) เป็นผู้ควบคุมวง.

ใหม่!!: อุปรากรและดนตรีคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

คายกคณะ

กคณะ หรือ นักร้องหมู่ (choir หรือ chorus) เป็นพวกขับร้อง พบมากในโบสถ์เพื่อขับเพลงทางศาสนา แต่ต่อมาก็เริ่มมีความนิยมและนำมาใช้กันทั่วไป คายกคณะแบ่งระดับเสียงของคายกที่อยู่ในวงตามเสียงสูง-ต่ำของนักร้องแต่ละคน โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปในแต่ละระดับเสียง เพลงที่ใช้ร้องมีหลายแนวทำนองสอดประสานกันไป.

ใหม่!!: อุปรากรและคายกคณะ · ดูเพิ่มเติม »

งานแต่งงานของฟิกาโร

งานแต่งงานของฟิกาโร (Le nozze di Figaro, ossia la folle giornata, The Marriage of Figaro หรือ the Day of Madness) เป็นอุปรากรชวนขันสี่องก์ที่เขียนเป็นภาษาอิตาลีโดยโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทผู้เป็นคีตกวีอุปรากรคนสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 18 โมซาร์ทเขียน “งานแต่งงานของฟิกาโร” จากเนื้อร้องภาษาอิตาลีที่เขียนโดยลอเรนโซ ดา พอนเตที่มาจากละครเวทีชวนขันโดยชาวฝรั่งเศสปิแยร์ โบมาร์เชส์ชื่อ “La folle journée, ou le Mariage de Figaro” (ค.ศ. 1784) แม้ว่าบทละครของโบมาร์เชส์จะถูกห้ามเล่นในกรุงเวียนนา เพราะมีเนื้อหาเสียดสีชนชั้นเจ้านาย ซึ่งถือว่าเป็นสร้างความไม่มั่นคงให้แก่รัฐบาลในช่วงสิบปีก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่อุปรากรที่โมซาร์ทเขียนกลายเป็นงานชิ้นที่เป็นที่นิยมที่สุดของโมซาร์ท โดยเฉพาะโอเวอร์เชอร์ที่มีชื่อเสียงที่มักจะนำมาเล่นเป็นดนตรีคอนเสิร์ต เนื้อหาของโอเวอร์เชอร์มิได้นำมาใช้ในการสร้างงานต่อมา นอกไปจากวลีสั้นสองวลีในบทของเคานท์ Cosa sento! ในองก์ที่ 1 “งานแต่งงานของฟิกาโร” เปิดแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1786 ที่กรุงเวียนนา ออสเตรี.

ใหม่!!: อุปรากรและงานแต่งงานของฟิกาโร · ดูเพิ่มเติม »

ตอสกา

ตอสกา (Tosca) เป็นอุปรากรภาษาอิตาลีจำนวน 3 องก์ ประพันธ์ขึ้นโดยจาโกโม ปุชชีนี คำร้องโดยลุยจิ อิลลิกา (1857 – 1919) และจุยเซปเป จิอาโคซา (1847-1906) อุปรากรเรื่องนี้ดัดแปลงจากละครประโลมโลกเรื่อง La Tosca ของวิกตอเรียน ซาโด มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1800 ในระหว่างสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1792 - 1802) ซึ่งช่าวโรมถูกคุกคามจากการรุกรานของจักรพรรดินโปเลียน โดยเนื้อเรื่องจะแสดงออกถึงเรื่องราวการกดขี่ข่มเหง ปมฆาตกรรม และภาวะไม่สงบทางการเมือง การแสดงรอบปฐมทัศน์มีขึ้นเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1900 ที่โรงอุปรากร Teatro Costanzi กรุงโรม ในช่วงปี 1889 ระหว่างที่ปุชชืนีออกเดินสายแสดงผลงานอยู่ที่อิตาลีก็มีโอกาสได้อ่านบทละครของซาโด และได้รับโอกาสดัดแปลงเนื้อเรื่องไปเป็นอุปรากรในปี 1895 ปุชชีนีใช้เวลากว่า 4 ปีเพื่อถ่ายทอดคำร้องต่าง ๆ จากภาษาฝรั่งเศสไปสู่ภาษาอิตาลีโดยได้รับแรงกดดันและการวิจารณ์มากมาย อีกทั้งการแสดงรอบปฐมทัศน์ก็ล่าช้าออกไปเพราะเนื่องจากภาวะบ้านเมืองไม่สงบ ระยะแรกของการออกแสดงนั้นไม่ได้รับคำชื่นชมจากนักวิจารณ์ ภายหลังกลับประสบความสำเร็จจากการบอกต่อของผู้ชม จนถึงปัจจุบัน อุปรากรเรื่องตอสกาได้กลายเป็นอุปรากรยอดนิยมที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: อุปรากรและตอสกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: อุปรากรและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: อุปรากรและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

โหมโรง (เพลง)

ลงโหมโรงหมายถึงเพลงที่ใช้เบิกโรง เพื่อเป็นการประกาศให้ผู้คนทราบว่าที่นี่มีงานอะไร และเพื่ออัญเชิญเหล่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงให้มาชุมนุมในงานเพื่อความเป็นสิริมงคลในงานนั้นอีกด้วย เพลงโหมโรงแบ่งได้ดังนี้.

ใหม่!!: อุปรากรและโหมโรง (เพลง) · ดูเพิ่มเติม »

โซปราโน

ซปราโน (Soprano) คือ โทนเสียงในการร้องเพลงประสานเสียง ซึ่งเป็นโทนเสียงที่สูงของนักร้องหญิง และเป็นโทนเสียงที่สูงที่สุดในวงขับร้องประสานเสียงอีกด้วย ประเภทของเสียงโซปราโน.

ใหม่!!: อุปรากรและโซปราโน · ดูเพิ่มเติม »

เบส

มารถหมายถึง.

ใหม่!!: อุปรากรและเบส · ดูเพิ่มเติม »

เทเนอร์

เทเนอร์ (Tenor) คือ โทนเสียงในการร้องเพลงประสานเสียง ซึ่งเป็นโทนเสียงสูงของนักร้องชาย หมวดหมู่:การร้องเพลง หมวดหมู่:อภิธานศัพท์ดนตรี.

ใหม่!!: อุปรากรและเทเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ละครโอเปร่าโอเปราโอเปร่า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »