เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อติเทวนิยม

ดัชนี อติเทวนิยม

อติเทวนิยม เป็นคำไทยที่บัญญัติขึ้น เพื่อใช้นิยามแนวคิดทางเทววิทยา Henotheism (ἑνας, henas - หนึ่ง, และ θεός, theos - เทพ) อติเทวนิยม คือ ความเชื่อที่ทั้งเหมือนและแตกต่างไปจาก เอกเทวนิยม โดยเหมือนกันในแง่ที่นับถือบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าเพียงองค์เดียว แต่ต่างกันตรงที่อติเทวนิยมยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้าหรือเทพเจ้าองค์อื่นๆด้วย ในขณะที่ เอกเทวนิยม จะถือว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวเท่านั้น แม้อาจมีความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณอื่นที่ไม่ใช่พระเจ้าหรือเทพเจ้าปนอยู่ด้วย และอติเทวนิยมก็สอดคล้องกับความเชื่อ พหุเทวนิยม ในประการที่เชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ ต่างกันตรงที่จะบูชาเพียงพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว ในขณะที่พหุเทวนิยม จะทั้งเชื่อและบูชาพระเจ้าหลายองค์พร้อมๆกัน มักซ์ มึลเลอร์ (1823-1900) นักอินเดียวิทยา และผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตชาวเยอรมัน เป็นบุคคลแรกที่เสนอว่าศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาฮินดู เป็นตัวอย่างที่สำคัญของแนวความคิดแบบอติเทวนิยม แต่ปัจจุบันมีผู้ไม่เห็นด้วยเพราะการจะเป็นอติเทวนิยมโดยแท้ จะต้องเป็นการนับถือบูชาพระเจ้าเพียงองค์เดียว ไม่ใช่บูชาหลายองค์แบบที่ศาสนาพราห์ม-ฮินดูเป็นอยู่ในทุกวันนี้ซึ่งเป็นพหุเทวนิยม เช่นเดียวกับศาสนากรีกและศาสนาจีน.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: พระเจ้าพหุเทวนิยมมักซ์ มึลเลอร์ศาสนาฮินดูเอกเทวนิยม

  2. พหุเทวนิยม
  3. เทวนิยม
  4. เอกเทวนิยม

พระเจ้า

ระเจ้า อาจหมายถึง; ศาสน.

ดู อติเทวนิยมและพระเจ้า

พหุเทวนิยม

ทพอียิปต์ พหุเทวนิยม (polytheism) เป็นการบูชาหรือความเชื่อในพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้าหลายองค์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 427 ถือเป็นเทวนิยมแบบหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกับเอกเทวนิยมที่เชื่อในพระเป็นเจ้าองค์เดียว ผู้ที่เชื่อแบบพหุเทวนิยมไม่ได้บูชาเทพเจ้าทุกองค์เสมอกัน แต่อาจบูชาเฉพาะองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษก็ได้ (เรียกว่าอติเทวนิยม) ศาสนาประเภทพหุเทวนิยม เช่น พหุเทวนิยมกรีกและโรมัน เทพปกรฌัมสลาฟ ศาสนาฮินดู ศาสนาชินโต ศาสนาพื้นบ้านจีน ลัทธิเต๋า เป็นต้น.

ดู อติเทวนิยมและพหุเทวนิยม

มักซ์ มึลเลอร์

มักซ์ มึลเลอร์ในวัยหนุ่ม ฟรีดริช มักซ์ มึลเลอร์ (Friedrich Max Müller, 6 ธันวาคม 2366 – 28 ตุลาคม 2443) มักจะเรียกสั้นๆ ว่า มักซ์ มึลเลอร์ (Max Müller) นักอักษรศาสตร์และนักตะวันออกศึกษาชาวเยอรมัน หนึ่งในผู้ริเริ่มอินเดียศึกษาในตะวันตก เขาได้ทุ่มเทสร้างหลักศาสนาเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังได้เขียนตำราวิชาการและงานทั่วไปว่าด้วยภารตวิทยา เผยแพร่สู่แวดวงการอ่านของอังกฤษ ดำเนินการแปลคัมภีร์ทางศาสนาของชาติตะวันออก รวมเป็นชุดขนาดใหญ่ถึง 50 เล่ม เรียกว่า Sacred Books of the East นับเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในกลุ่มนักวิชาการสมัยวิกตอเรีย หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวเยอรมัน.

ดู อติเทวนิยมและมักซ์ มึลเลอร์

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ดู อติเทวนิยมและศาสนาฮินดู

เอกเทวนิยม

อกเทวนิยมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 364 (Monotheism มาจากภาษาμόνος, monos - เดียว, และ θεός, theos - เทพ) คือความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว หรือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว (ไม่ทรงแบ่งภาค) แนวคิดเอกเทวนิยมแบบบริสุทธิ์พบในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ส่วนแบบอ่อนพบในศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ ลัทธิซาเบียน นิกายมอรมอน และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดูในบางสำนัก.

ดู อติเทวนิยมและเอกเทวนิยม

ดูเพิ่มเติม

พหุเทวนิยม

เทวนิยม

เอกเทวนิยม