เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ดัชนี ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือ ไอยูดี (Intrauterine device, IUD, intrauterine contraceptive device, IUCD, ICD, coil) เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดขนาดเล็ก มักมีรูปร่างคล้ายตัว T ใช้โดยการใส่เข้าไปในมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ การใช้ห่วงอนามัยเป็นหนึ่งในวิธีคุมกำเนิดระยะยาวที่ย้อนกลับได้ ผู้ใช้ห่วงอนามัยและยาคุมกำเนิดแบบฝังมีความพึงพอใจสูงสุดเมื่อเทียบกับผู้ใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่น หลักฐานทางงานวิจัยสนับสนุนทั้งประสิทธิผลและความปลอดภัยของห่วงอนามัย เมื่อใช้กับวัยรุ่นและคนที่ไม่เคยมีลูก เมื่อถอดห่วงอนามัยออกความเจริญพันธุ์ของผู้ใช้จะกลับมาอย่างรวดเร็วแม้จะใช้มาเป็นเวลานาน โอกาสล้มเหลวของห่วงอนามัยชนิดเคลือบทองแดงอยู่ที่ประมาณ 0.8% ส่วนแบบหลั่งฮอร์โมนอยู่ที่ประมาณ 0.2% ในการใช้ปีแรกCS1 maint: Extra text: authors list Category:CS1 maint: Extra text: authors list ห่วงอนามัยหุ้มทองแดงอาจเพิ่มปริมาณของประจำเดือนและอาจทำให้ปวดท้องมากขึ้น ส่วนห่วงอนามัยแบบหลั่งฮอร์โมนอาจทำให้ประจำเดือนมาน้อยลงหรือไม่มาเลย อาการปวดประจำเดือนสามารถบรรเทาด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ผลกระทบที่อาจตามมาได้แก่ expulsion (2-5%) และมดลูกฉีกขาดที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (น้อยกว่า 0.7%) ห่วงอนามัยไม่ส่งผลกรทบต่อการให้นมบุตร และสามารถติดตั้งทันทีหลังคลอดลูก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทันทีหลังการทำแท้ง การใช้ห่วงอนามัยเพื่อคุมกำเนิดเริ่มขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 แบบจำลองก่อนหน้านี้ถูกเรียกว่า Dalkon shield ซึ่งถูกพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease) อย่างไรก็ตาม ห่วงอนามัยรุ่นปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงนี้หากผู้ใช้ไม่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตอนช่วงเวลาติดตั้ง.

สารบัญ

  1. 11 ความสัมพันธ์: พลาสติกการปฏิสนธิการแท้งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มดลูกยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์สารฆ่าเชื้ออสุจิตัวอสุจิโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เหล็กกล้าไร้สนิมเซลล์ไข่

  2. รูปแบบเภสัชภัณฑ์
  3. อุปกรณ์นำส่งยา

พลาสติก

ลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบของยานพาหน.

ดู ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและพลาสติก

การปฏิสนธิ

การเข้าปฏิสนธิของสเปิร์ม การปฏิสนธิ (Fertilisation) หมายถึง การหลอมรวมระหว่างนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การปฏิสนธิในสัตว์และพืชเป็นดังนี้.

ดู ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและการปฏิสนธิ

การแท้ง

การแท้ง (abortion) คือการยุติการตั้งครรภ์โดยการนำทารกในครรภ์หรือเอ็มบริโอออกจากมดลูกก่อนให้กำเนิด เมื่อเกิดโดยไม่เจตนามักเรียกว่า การแท้งเอง และเรียกว่า การทำแท้ง เมื่อทำโดยเจตนา เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม การทำแท้งในประเทศพัฒนาแล้วเป็นหนึ่งในกระบวนการทางการแพทย์ที่ปลอดภัยที่สุด แพทย์แผนปัจจุบันทำแท้งด้วยยาหรือศัลยกรรม การใช้ยาไมฟีพริสโตน (mifepristone) ร่วมกับโพรสตาแกลนดินเป็นวิธีทำแท้งแบบใช้ยาที่ปลอดภัยและให้ประสิทธิผลดีระหว่างไตรมาสแรกกับไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ หลังการแท้งสามารถใช้การคุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิด หรือ ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ได้ทันที การทำแท้งไม่เพิ่มโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคทั้งทางจิตและทางกายภาพเมื่อทำอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ในทางตรงข้าม การทำแท้งอย่างไม่ปลอดภัย เช่น การทำแท้งโดยผู้ไม่มีทักษะ การทำแท้งด้วยอุปกรณ์ไม่ปลอดภัย หรือการทำแท้งในสถานที่ไม่สะอาด นำไปสู่การเสียชีวิตของคนกว่า 47,000 คน และทำให้คนกว่า 5 ล้านคนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในแต่ละปี องค์การอนามัยโลกสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนมีทางเลือกที่จะทำแท้งอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ในแต่ละปีมีการทำแท้งเกิดขึ้นประมาณ 56 ล้านครั้งทั่วโลก โดยมีประมาณ 45% ที่ทำอย่างไม่ปลอดภัย อัตราการทำแท้งแทบไม่เปลี่ยนแปลงระหว่าง..

ดู ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและการแท้ง

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การให้ทารกกินนมจากอกแม่ สัญลักษณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สากล (Matt Daigle, ผู้ชนะการประกวดของนิตยสาร Mothering ปี ค.ศ. 2006) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (breastfeeding, nursing) คือการป้อนนมให้กับทารกหรือเด็กด้วยน้ำนมจากหน้าอกของผู้หญิง ทารกจะมีกลไกอัตโนมัติในการดูดที่จะทำให้เขาสามารถดูดและกลืนน้ำนมได้ มีหลักฐานจากการทดลองชี้ให้เห็นว่า น้ำนมคนเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก แต่ผู้เชี่ยวชาญยังมีความเห็นไม่ตรงกันว่าควรให้ทารกกินนมแม่นานเท่าไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด และจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเท่าไรจากการให้สารทดแทนน้ำนมคนแก่ทารก ทารกอาจจะกินน้ำนมจากอกของแม่ของตัวเองหรือผู้หญิงอื่นที่ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมได้ (ซึ่งอาจจะเรียกว่า แม่นม) น้ำนมอาจจะถูกบีบออกมา (เช่น ใช้เครื่องปั๊มนม) และป้อนให้ทารกโดยใช้ขวด และอาจเป็นน้ำนมที่รับบริจาคมาก็ได้ สำหรับแม่หรือครอบครัวที่ไม่สามารถหรือไม่ต้องการให้ลูกกินนมแม่ก็อาจให้สารทดแทนนมแม่แทน การศึกษาวิจัยยังมีความขัดแย้งกันเกี่ยวกับคุณค่าสารอาหารในสารทดแทนนมแม่ เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่าการให้ทารกกินนมผสมที่มีขายในท้องตลาดจะไปรบกวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งในทารกที่คลอดตามกำหนดและคลอดก่อนกำหนด ในหลายๆ ประเทศการให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงในทารกเพิ่มขึ้น แต่ในพื้นที่ที่มีน้ำสะอาดมีเพียงพอ การให้ลูกกินสารทดแทนนมแม่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ มีนโยบายของรัฐบาลและความพยายามจากหน่วยงานนานาชาติในการส่งเสริมและสนับสนุนให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเลี้ยงทารกในช่วงปีแรกและนานกว่านั้น องค์การอนามัยโลกและสถาบันกุมารแพทย์ของอเมริกา (American Academy of Pediatrics) ก็มีนโยบายสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม.

ดู ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

มดลูก

มดลูก (Uterus) คือส่วนบริเวณตรงกลาง มดลูก เป็นอวัยวะกลวง รูปร่างคล้ายลูกแพร์ มีผนังหนา วางตัวอยูในช่องเชิงกราน อยู่หลังกระเพาะปัสสาวะ อยู่หน้าลำไส้ใหญ่และ ช่องทวารหนัก โพรงของมดลูกติดกับโพรงของปีกมดลูกและโพรงของช่องคลอด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ fundus, body และcervix หมวดหมู่:อวัยวะ.

ดู ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและมดลูก

ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์

อ็นเซด (NSAID ย่อจาก Non-steroidal anti-inflammatory drugs) เป็นยาระงับปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ ยากลุ่ม สเตอรอยด์ (steroids) ก็มีฤทธิ์แบบนี้เช่นกัน แต่กลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน โดยยากลุ่ม สเตอรอยด์กดภูมิคุ้มกัน แต่พวกเอ็นเซดไม่ เพื่อแยกความแตกต่างให้ชัดเจนเรา จึงตั้งชื่อยากลุ่มนี้ว่า ไม่ใช่กลุ่มสเตอรอยด์ โดยการใช้คำ นอน-สเตอรอยดอล นำหน้า เอ็นเซด บางครั้งเรียกว่า นอน-สเตอรอยดอล แอนตี้-อินแฟลมเมตอรี่ อะนาเจซิก (non-steroidal anti-inflammatory agents/analgesics (NSAIAs)) ตัวอย่างยาที่บทบาทมากที่สุดในกลุ่มนี้คือ.

ดู ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์

สารฆ่าเชื้ออสุจิ

รฆ่าเชื้ออสุจิ (spermicide) เป็นสารคุมกำเนิดที่ทำลายตัวอสุจิ ใช้โดยการใส่เข้าไปในช่องคลอดก่อนการร่วมเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ การใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิอย่างเดียวสามารถใช้คุมกำเนิดได้ อย่างไรก็ตามคู่รักที่ใช้สารฆ่าเชื้ออสุจิอย่างเดียวมีอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่าคู่ที่ใช้การคุมกำเนิดแบบอื่น โดยปกติ สารฆ่าเชื้ออสุจิมักถูกใช้คู่กับวิธีอื่น เช่น วิธีใช้สิ่งกีดขวางอย่าง ถุงยางอนามัย ฝาครอบปากมดลูก หมวกครอบปากมดลูก และฟองน้ำคุมกำเนิด การใช้ร่วมกันให้ผลดีกว่าการใช้วิธีคุมกำเนิดแบบใดแบบหนึ่งอย่างเดียว สารฆ่าเชื้ออสุจิไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่มีรส ไม่ทิ้งคราบ และยังช่วยหล่อลื่น.

ดู ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและสารฆ่าเชื้ออสุจิ

ตัวอสุจิ

รูปแบบการปฏิสนธิ ตัวอสุจิ (sperm) คือเซลล์สืบพันธุ์ที่แบ่งตัวด้วยกระบวนการไมโอซิสจากร่างกายของสัตว์เพศผู้ในวัยเจริญพันธุ์ และไม่สามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก โดยการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อตัวอสุจิผสมกับเซลล์ไข่ในสัตว์เพศเมีย ตัวอสุจิถูกสร้างมาตัวเพศชายและหลั่งออกมาพร้อมกับน้ำเลี้ยงที่เรียกรวมกันว่า น้ำอสุจิ ตัวอสุจิจะสามารถอยู่ได้ประมาณ 3 วันในร่างกายของสัตว์เพศเมียโดยไม่สัมผัสอากาศหรือของเหลวอื่น.

ดู ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและตัวอสุจิ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

รคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ โรคส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted disease; STD) หรือ กามโรค (Venereal disease; เรียกย่อว่า วีดี) เป็นความเจ็บป่วยซึ่งมีแนวโน้มติดต่อหรือส่งผ่านระหว่างมนุษย์หรือสัตว์โดยการสัมผัสทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก ในปัจจุบันมีการใช้คำว่า การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infection; STI) ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าเดิมมากขึ้น เพราะผู้ป่วยอาจมีการติดเชื้อและมีความสามารถในการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้โดยไม่มีอาการแสดงของโรค การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจติดต่อได้จากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าหลอดเลือดดำต่อจากผู้ป่วย รวมถึงผ่านการคลอดหรือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม.

ดู ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เหล็กกล้าไร้สนิม

หล็กกล้าไร้สนิม นั้น ในทางโลหกรรมถือว่าเป็นโลหะผสมเหล็ก ที่มีโครเมียมอย่างน้อยที่สุด 10.5% ชื่อในภาษาไทย แปลจากภาษาอังกฤษว่า stainless steel เนื่องจากโลหะผสมดังกล่าวไม่เป็นสนิมที่มีสาเหตุจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนในอากาศกับโครเมียมในเนื้อเหล็กกล้าไร้สนิม เกิดเป็นฟิล์มบางๆเคลือบผิวไว้ ทำหน้าที่ปกป้องการเกิดความเสียหายให้กับตัวเนื้อเหล็กกล้าไร้สนิมได้เป็นอย่างดี ปกป้องการกัดกร่อน และไม่ชำรุดหรือสึกกร่อนง่ายอย่างโลหะทั่วไป สำหรับในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการบิน นิยมเรียกโลหะนี้ว่า corrosion resistant steel เมื่อไม่ได้ระบุชัดว่าเป็นโลหะผสมชนิดใด และคุณภาพระดับใด แต่ในท้องตลาดเราสามารถพบเห็น เหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 18-8 มากที่สุด ซึ่งเป็นการระบุถึง ธาตุที่เจือลงในในเนื้อเหล็กคือ โครเมียมและนิเกิล ตามลำดับ สแตนเลสประเภทนี้จัดเป็น Commercial Grade คือมีใช้ทั่วไปหาซื้อได้ง่าย มักใช้ทำเครื่องใช้ทั่วไป ซึ่งเราสามารถจำแนกประเภทของเหล็กกล้าไร้สนิมได้จากเลขรหัสที่กำหนดขึ้นตามมาตรฐาน AISI เช่น 304 304L 316 316L เป็นต้น ซึ่งส่วนผสมจะเป็นตัวกำหนดเกรดของเหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งมีความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เหล็กกล้าไร้สนิมกับการเกิดสนิม ปกติ Stainless steel จะไม่เป็นสนิมเพราะที่ผิวของมันจะมีฟิล์มโครเมียมออกไซด์ บางๆเคลือบผิวอยู่อันเนื่องมาจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง Cr ใน Stainless steel กับ ออกซิเจนในอากาศ การทำให้ Stainless steel เป็นสนิมคือการถูกทำลายฟิล์มโครเมียมออกไซด์ ที่เคลือบผิวออกไปในสภาวะที่ Stainless steel สามารถเกิดสนิมได้ ก่อนที่ฟิล์มโครเมียมออกไซด์จะก่อตัวขึ้นมาอีกครั้งเช่น ถ้าเหล็กกล้าไร้สนิมถูกทำให้เกิดรอยขีดข่วน แล้วบริเวณรอยนั้นมีความชื้น ซึ่งสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยากับธาตุเหล็กก่อนที่ฟิล์มโครเมียมออกไซด์จะก่อตัวขึ้นมา ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดสนิมขึ้นได้.

ดู ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและเหล็กกล้าไร้สนิม

เซลล์ไข่

เซลล์ไข่หรือโอวุมคือเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียของสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แบบโอโอกามี (oogamy, การสืบพันธุ์โดยใช้เซลล์อสุจิและเซลล์ไข่โดยที่เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิมากและไม่สามารถเคลื่อนที่ได้) เซลล์ไข่มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์อสุจิมาก อาจใหญ่จนเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพื่อเซลล์ไข่ผสมกับเซลล์อสุจิจะเกิดเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นคู่ (ดิพลอยด์) เรียกว่าไซโกต ซึ่งสามารถเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตได้.

ดู ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและเซลล์ไข่

ดูเพิ่มเติม

รูปแบบเภสัชภัณฑ์

อุปกรณ์นำส่งยา

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ห่วงอนามัยไอยูดี