เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

หินหนืด

ดัชนี หินหนืด

หินหนืด หรือ หินแม็กมา (magma) เป็นสารเหลวที่อยู่ลึกลงไปภายใต้เปลือกโลก มีความหนืดหรือข้นมากกว่าปกติ เคลื่อนตัวได้ในวงจำกัด มีส่วนผสมของแข็ง ของเหลว หรือก๊าสรวมอยู่ด้วย มีอุณหภูมิที่สูงมาก เมื่อแทรกดันหรือพุ่งขึ้นจากผิวโลก จะเย็นตัวลงกลายเป็นหินแข็ง เรียกว่า หินอัคนี หินหนืดมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 650 - 1,200 องศาเซลเซียส ถูกอัดอยู่ภายใต้แรงดันสูง บางครั้งถูกดันขึ้นมาผ่านปล่องภูเขาไฟเป็นหินหลอมเหลว (lava) ผลลัพธ์จากการระเบิดของภูเขาไฟ มักจะได้ของเหลว ผลึก และก๊าส ที่ไม่เคยผุดขึ้นจากเปลือกโลกมาก่อน หินหนืดจะสะสมตัวอยู่ในช่องภายใต้เปลือกโลก โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ กันเล็กน้อยในพื้นที่ต่าง.

สารบัญ

  1. 10 ความสัมพันธ์: ภูเขาไฟหินหลอมเหลวหินอัคนีอุณหภูมิองศาเซลเซียสความหนืดปล่องภูเขาไฟแก๊สแก่นโลกเปลือกโลก

  2. หินอัคนี
  3. เปลือกโลก

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ดู หินหนืดและภูเขาไฟ

หินหลอมเหลว

หินหลอมเหลวหรือลาวาที่พุ่งจากพื้นโลกสูงนับ 10 เมตร หินหลอมเหลว หรือ ลาวา (อังกฤษ: lava) คือหินหนืด (magma) ที่เคลื่อนที่เข้าออกบนพื้นผิวโลก และหากหินหนืดเหล่านี้มีการเย็นตัวและตกผลึกบนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลก เรียกว่า หินอัคนีภูเขาไฟ (extrusive rocks หรือ volcanic rocks).

ดู หินหนืดและหินหลอมเหลว

หินอัคนี

หินอัคนี (igneous; มาจากภาษาละติน ignis แปลว่า ไฟ) คือหนึ่งในหิน 3 ประเภทหลัก อีก 2 ประเภทได้แก่ หินตะกอน (sedimentary rock) และหินแปร (metamorphic rock) หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืด (magma) หรือหินหลอมเหลว (lava) หินอัคนีสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักได้แก่ หินอัคนีพุ (volcanic rock)และหินอัคนีแทรกซอน.

ดู หินหนืดและหินอัคนี

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของก๊าซอุดมคติอะตอมเดี่ยวสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยพลังงานจลน์ของอะตอม อุณหภูมิ คือการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสสารใดๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่างๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่างๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก.

ดู หินหนืดและอุณหภูมิ

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ดู หินหนืดและองศาเซลเซียส

ความหนืด

วามหนืด คือค่าบ่งชี้คุณสมบัติความต้านทานการไหลในตัวของไหล ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปจากการกระทำของความเค้นเฉือนหรือความเค้นภายนอก ความหนืดนี้อธิบายถึงความสามารถในการต้านทานการไหลภายในตัวของไหล และอาจจะถูกพิจารณาให้เป็นตัวชี้วัดความเสียดทานของไหลได้ ยิ่งของไหลมีความหนืดต่ำมากเท่าไร มันก็จะยิ่งมีความสามรถในการเปลี่ยนรูปได้มากเท่านั้นสำหรับคำเรียกใช้โดยทั่วไป อาจจะใช้คำว่า "ความหนา" ตัวอย่างเช่น น้ำ ที่มีความหนืดต่ำอาจจะถูกเรียกว่า "บาง" ในขณะที่น้ำผึ้งซึ่งมีความหนืดสูงนั้นอาจจะถูกเรียกว่า "หนา" สำหรับของไหลในความเป็นจริงนั้น (ยกเว้น ซูเปอร์ฟลูอิด) จะมีค่าความหนืดในตัว แต่อย่างไรก็ตาม ในทางอุดมคติ ของไหลอาจจะถุกสมมติให้ไร้ความหนืด เรียกว่า ของไหลในอุดมคติ หรือ ของไหลไร้ความหนืด สำหรับวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับของไหลคือ วิทยาศาสตร์การไหล ภาพประกอบอธิบายความหนืด ของเหลวสีเขียวทางซ้ายมีความหนืดสูงกว่าของเหลวใสทางขว.

ดู หินหนืดและความหนืด

ปล่องภูเขาไฟ

ปล่องภูเขาไฟ เป็นแอ่งรูปประมาณทรงกลมในพื้นดินที่เกิดจากกัมมันตภาพภูเขาไฟ ตรงแบบเป็นลักษณะรูปถ้วยซึ่งภายในมีช่องเปิด (vent) ตั้งแต่หนึ่งช่องขึ้นไป ระหว่างการปะทุของภูเขาไฟ หินหนืดหลอมละลายและแก๊สภูเขาไฟปรากฏขึ้นจากโพรงหินหนืดใต้ดินผ่านช่องทางรูปท่อจนถึงช่องเปิดของปล่อง แล้วแก๊สจะลอยขึ้นสู่บรรยากาศและหินหนืดปะทุออกมาเป็นลาวา ระหว่างการปะทุระเบิดบางชนิด โพรงหินหนืดของภูเขาไฟอาจโล่งจนทำให้บริเวณเหนือมันยุบตัว เกิดเป็นแอ่งขนาดใหญ่กว่าเดิมเรียก แคลดีรา (caldera) หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานภูเขาไฟ หมวดหมู่:แอ่งภูเขาไฟ.

ดู หินหนืดและปล่องภูเขาไฟ

แก๊ส

อนุภาคในสถานะแก๊ส (อะตอม โมเลกุล หรือไอออน) เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระภายในสนามแม่เหล็ก แก๊ส หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ก๊าซ (Gas) เป็นหนึ่งในสถานะพื้นฐานทั้งสี่ของสสาร (ที่เหลือ คือ ของแข็ง ของเหลวและพลาสมา) แก๊สบริสุทธิ์ประกอบไปด้วยอะตอมเดี่ยว เช่น แก๊สมีตระกูล ส่วนแก๊สที่เป็นธาตุเคมี จะอยู่ในรูปหลายอะตอม แต่เป็นชนิดเดียวกัน เช่น ออกซิเจน หรือเป็นโมเลกุลสารประกอบที่อยู่ในรูปหลายอะตอมและต่างชนิดกัน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สผสม เป็นแก๊สที่เกิดจากแก๊สบริสุทธิ์หลายชนิดรวมกัน เช่น อากาศ สิ่งที่แตกต่างระหว่างแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของเหลวกับแก๊สที่ในอุณหภูมิห้องเป็นของแข็ง คือโมเลกุลของแก๊ส และการแยกนี้ทำให้มีแก๊สไม่มีสี ซึ่งทำให้เรามองไม่เห็น การทำงานร่วมกันของอนุภาคของแก๊สมีขึ้นในสนามแม่แหล็กและแรงโน้มถ่วง แก๊สประเภทหนึ่งที่รู้จักกันดีคือ ไอน้ำ แก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจะอยู่ห่างกันและแพร่กระจายอยู่ทั่วทั้งภาชนะที่บรรจุ ทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนแปลงตามขนาดและรูปร่างของภาชนะ สมบัติของแก๊ส 1.แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยมากจึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ 2.ถ้าให้แก๊สอยู่ให้ภาชนะที่ได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล 3.สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวมาก 4.แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็ว เพราะแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง 5.แก๊สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกันแก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วนนั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียวหรือเป็นสารละลาย 6.แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใสเช่นแก๊สออกซิเจน แก๊สไฮโดรเจน เป็นต้น.

ดู หินหนืดและแก๊ส

แก่นโลก

รงสร้างภายในของดาวเคราะห์ แก่นโลก (Core) เป็นแกนกลางของโลก โดยอยู่ถัดเข้าไปจากเปลือกโลกและเนื้อโลก สามารถแบ่งได้สองส่วนคือ.

ดู หินหนืดและแก่นโลก

เปลือกโลก

ภาพหน้าตัดของโลกทั้งหมด เปลือกโลก (Crust) เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดของโครงสร้างโลก มีทั้งที่เป็นแผ่นดิน และมหาสมุทร มีความหนาประมาณ 5 - 40 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ เปลือกโลกภาคพื้นทวีป (Continental Crust) เป็นหินแกรนิต มักมีความหนามาก มีความหนาแน่นต่ำ ประกอบด้วยแร่ อะลูมินา และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีชื่อเรียกว่า ชนิดไซอัล (SIAL) และเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร (Oceanic Crust) เป็นหินบะซอลต์ มักจะมีความหนาน้อยกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีความหนาแน่นมากกว่า เนื่องจากประกอบด้วยแร่ แมกนีเซียม และซิลิกา เป็นส่วนใหญ่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชั้นไซมา (SIMA) แผ่นของเปลือกโลก (Crust of the Earth) ประกอบไปด้วยความหลากหลายของหินอัคนี หินแปร หินตะกอน รองรับด้วยชั้นเนื้อโลก Mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหิน peridotite หินที่มีความหนาแน่น และมีอยู่มากในเปลือกโลก รอยต่อระหว่างชั้นเปลือกโลก และชั้นเนื้อโลก หรือในทางธรณีวิทยาเรียกว่า ความไม่ต่อเนื่องของโมโฮโลวิคซิค (Mohorovicic’s discontinuity) คือเขตแดนที่ใช้เปรียบเทียบพฤติกรรมของคลื่นไหวสะเทือน หมวดหมู่:ธรณีวิทยา หมวดหมู่:เปลือกโลก.

ดู หินหนืดและเปลือกโลก

ดูเพิ่มเติม

หินอัคนี

เปลือกโลก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ แมกมาแม็กมา