โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หินหนืด

ดัชนี หินหนืด

หินหนืด หรือ หินแม็กมา (magma) เป็นสารเหลวที่อยู่ลึกลงไปภายใต้เปลือกโลก มีความหนืดหรือข้นมากกว่าปกติ เคลื่อนตัวได้ในวงจำกัด มีส่วนผสมของแข็ง ของเหลว หรือก๊าสรวมอยู่ด้วย มีอุณหภูมิที่สูงมาก เมื่อแทรกดันหรือพุ่งขึ้นจากผิวโลก จะเย็นตัวลงกลายเป็นหินแข็ง เรียกว่า หินอัคนี หินหนืดมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 650 - 1,200 องศาเซลเซียส ถูกอัดอยู่ภายใต้แรงดันสูง บางครั้งถูกดันขึ้นมาผ่านปล่องภูเขาไฟเป็นหินหลอมเหลว (lava) ผลลัพธ์จากการระเบิดของภูเขาไฟ มักจะได้ของเหลว ผลึก และก๊าส ที่ไม่เคยผุดขึ้นจากเปลือกโลกมาก่อน หินหนืดจะสะสมตัวอยู่ในช่องภายใต้เปลือกโลก โดยมีองค์ประกอบต่าง ๆ กันเล็กน้อยในพื้นที่ต่าง.

29 ความสัมพันธ์: กรวยภูเขาไฟสลับชั้นการแปรสภาพฐานธรณีภาคภูเขาไฟภูเขาไฟรูปโล่ภูเขาไฟใหญ่มลพิษทางอากาศวัฏจักรของหินวิทยาภูเขาไฟหมู่เกาะรูปโค้งหินหลอมเหลวหินอัคนีอาคาอินุผลึกดอกธรณีภาคความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกคโธเนียนปล่องภูเขาไฟปล่องแบบน้ำร้อนแถบดาวเคราะห์น้อยโลก (ดาวเคราะห์)โอฟิโอไลต์ไกเซอร์ (ธรณีวิทยา)เพกมาไทต์เกาะซะกุระเส้นเวลาของอนาคตไกลเอนเซลาดัสเถ้าภูเขาไฟเทือกเขากลางสมุทร

กรวยภูเขาไฟสลับชั้น

ภูเขาไฟฟูจิกรวยภูเขาไฟสลับชั้นที่ยังไม่ดับในประเทศญี่ปุ่น ล่าสุดที่ปะทุขึ้นในปี 1707-08 Tavurvur กรวยภูเขาไฟสลับชั้นที่ยังไม่ดับใกล้กับRabaul ในประเทศปาปัวนิวกินี กรวยภูเขาไฟสลับชั้น หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ภูเขาไฟชนิดประกอบ ความสูงของภูเขาไฟทรงกรวยก่อขึ้นโดยชั้นหินซึ่งเกิดจากการแข็งตัวของหินหลอมเหลวหลายชั้น, เทฟรา, หินภูเขาไฟ และเถ้าภูเขาไฟ ซึ่งแตกต่างจากภูเขาไฟโล่ กรวยภูเขาไฟสลับชั้นมีลักษณะรายละเอียดที่สูงชันและการอักเสบเฉียบพลันเป็นระยะ ๆ และเงียบสงบเฉียบพลัน ในขณะที่มีบางอย่างกับหลุมที่ถล่มแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาด หินหลอมเหลวที่ไหลจากกรวยภูเขาไฟสลับชั้นมักจะเย็นตัวลงและแข็งตัวก่อนที่จะแพร่กระจายไปไกลเนื่องจากความหนืดสูง หินหนืดหลอมเหลวขึ้นรูปนี้มักจะเป็นหินเฟลสิก ที่มีระดับสูงถึงกลางของซิลิก้า (เช่นเดียวกับใน ไรโอไลต, ดาไซต์ หรือแอนเดไซต์) ที่มีจำนวนน้อยของหินหนืดซิสน้อยกว่าความหนืด ครอบคลุมหมดหินหลอมเหลวที่ไหลหินเฟลสิก เป็นเรื่องแปลก แต่ในการเดินทางไกลที่สุดเท่าที่ 15 กม.

ใหม่!!: หินหนืดและกรวยภูเขาไฟสลับชั้น · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสภาพ

การแปรสภาพ (metamorphism) เป็นการแปรสภาพของชั้นหิน คำว่า “metamorphic” มาจาก “meta” แปลว่า “เปลี่ยนหรือแปร (change) ” และ “morph” แปลว่า“รูปร่าง (form) ” ดังนั้น แปลตรง ๆ ได้ว่า metamorphic rocks คือ หินที่ถูกทำให้เปลี่ยนหรือแปรสภาพไป (changed rocks) จะได้ว่า หินแปร คือ หินเดิมที่ถูกแปรสภาพภายใต้สภาวะความดัน และ อุณหภูมิ รวมถึงกระบวนการอื่น ๆ ด้วย โดยองค์ประกอบดั้งเดิมของหินจะถูกหลอมผสมเข้าด้วยกันใหม่ นอกจากนี้หินทุกชนิดสามารถถูกแปรสภาพเป็นหินแปรได้ และจะปรากฏลักษณะที่บ่งบอกว่า เป็นหินแปร เช่น การตกผลึกใหม่ (Recrystallization), การเกิดแร่ใหม่ (New mineral), และ การเรียงตัวของแร่ (Texture, Structure) เป็นต้น.

ใหม่!!: หินหนืดและการแปรสภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ฐานธรณีภาค

นธรณีภาค (Asthenosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "asthenēs" แปลว่า "ไม่แข็งแรง" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นส่วนที่มีลักษณะยืดหยุ่นตั้งอยู่ในชั้นหินหนืดตอนบนของโลกและตั้งอยู่ใต้ชั้นธรณีภาค ฐานธรณีภาคมีขอบเขตที่ระดับความลึกระหว่าง 100 – 200 กิโลเมตรจากชั้นพื้นผิว แต่สามารถขยายตัวไปจนถึงระดับความลึก 400 กิโลเมตร.

ใหม่!!: หินหนืดและฐานธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ใหม่!!: หินหนืดและภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟรูปโล่

ูเขาไฟรูปโล่ เป็นภูเขาไฟชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยลาวาแข็งตัวเป็นหลัก ไม่มีเถ้าที่พ่นจากปากปล่องภูเขาไฟประกอบด้วยหรือหากมีก็ไม่มาก ทำให้ภูเขาไฟชนิดนี้มีความสูงไม่มากนักแลดูเหมือนโล่นักรบเมื่อมองจากด้านบน ภูเขาไฟรูปโล่พบได้ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น ภูเขาไฟเวซูวีโย ภูเขาไฟเมานาเคอา นอกจากนี้ยังพบได้บนดาวเคราะห์หิน หรือดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอเก็บแมกมาไว้ภายใน เช่นดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดวงจันทร์ไอโอ ภูเขาไฟรูปโล่ต่างจาก ภูเขาไฟเชิงประกอบตรงที่ภูเขาไฟเชิงประกอบมีเถ้าถ่านทับถมสลับกับลาวาเย็นตัว ทำให้่ภูเขาไฟเชิงประกอบมีความสูงมากกว่าภูเขาไฟรูปโล.

ใหม่!!: หินหนืดและภูเขาไฟรูปโล่ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟใหญ่

ัชนีการระเบิดของภูเขาไฟระดับ 7 ภูเขาไฟใหญ่ หรือ ซูเปอร์วอลเคโน (Supervolcano) คือภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่มีมวลการปะทุอยู่ในระดับ 8 ซึ่งเป็นค่าสูงสุดในดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟที่มีค่าปริมาตรมวลสารปะทุมากกว่า 1,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ภูเขาไฟใหญ่เกิดขึ้นเมื่อหินหนืดจากเนื้อโลกดันตัวขึ้นไปด้านบนแต่ยังไม่ประทุสู่บนเปลือกโลกแต่จะขังตัวเป็นแอ่งใต้เปลือกโลกแทน จนเวลาผ่านไปแอ่งแม็กมาก็จะใหญ่จนมีแรงดันมากขึ้นจนเปลือกโลกรับแรงดันไม่ไหวจึงปะทุออกมา ซึ่งเหตุการ์ณแบบนี้จะเกิดบริเวณจุดร้อนเช่นแอ่งภูเขาไฟเยลโลว์สโตนหรือในเขตมุดตัวของเปลือกโลกอย่างทะเลสาบโตบา และลักษณะอื่นที่ทำให้มีการปะทุปริมาตรมวลสารจำนวนมากจะอยู่บริเวณที่มีการสะสมหินอัคนีเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยลาวา, เถ้าภูเขาไฟและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเช่นการเกิดยุคน้ำแข็งขนาดเล็กที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ได้ การระเบิดที่ใหญ่ที่สุดของภูเขาไฟใหญ่คือการปะทุโอรัวนุเมื่อ 26,500 ปีก่อนซึ่งเป็นการระเบิดของภูเขาไฟตาอูโปในประเทศนิวซีแลน.

ใหม่!!: หินหนืดและภูเขาไฟใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง มลพิษทางอากาศ (Air pollution) คือการเกิดฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศของโลก เป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตในมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ชั้นบรรยากาศเป็นระบบแก๊สธรรมชาติที่ซับซ้อนที่จำเป็นต่อชีวิตบนโลก การลดลงของโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์เนื่องจากมลพิษทางอากาศถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศของโลกด้วย มลพิษทางอากาศภายในอาคาร และคุณภาพของอากาศในเมืองจัดเป็นปัญหามลพิษโลก 2 ปัญหาที่เลวร้ายที่สุด จากรายงานชื่อ สถานที่ที่ประสบมลพิษมากที่สุดในโลก (World's Worst Polluted Places) ของสถาบันแบล็กสมิธ (Blacksmith Institute) ในปี..

ใหม่!!: หินหนืดและมลพิษทางอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรของหิน

แผนภาพวัฏจักรหิน สัญลักษณ์: 1.

ใหม่!!: หินหนืดและวัฏจักรของหิน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาภูเขาไฟ

วิทยาภูเขาไฟ (volcanology หรืออาจสะกดว่า vulcanology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ หินหลอมเหลว หินหนืด และเกี่ยวข้องกับการศึกษาปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี คำว่า volcanology ในภาษาัอังกฤษมาจากคำในภาษาละติน คำว่า vulcan ซึ่งหมายถึงเทพเจ้าแห่งไฟของโรมัน นักวิทยาภูเขาไฟ คือบุคคลที่ศึกษาข้อมูลของภูเขาไฟ และเหตุการณ์การปะทุทั้งปัจจุบันและในอดีต นักวิทยาภูเขาไฟมักจะไปสำรวจภูเขาไฟอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะภูเขาไฟที่ยังไม่ดับเพื่อสังเกตการณ์ปะทุ เก็บสิ่งที่ปะทุออกมา รวมถึงเทบพรา (tephra) หรือ ชิ้นส่วนภูเขาไฟ เช่น ขี้เถ้าหรือหินภูเขาไฟ หินและตัวอย่างของหินหลอมเหลว นอกจากนี้ยังเน้นการศึกษาในเรื่องการพยากรณ์การระเบิดของภูเขาไฟ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผลแม่นยำนัก แต่เป็นการพยากรณ์การระเบิดเหมือนอย่างที่พยากรณ์แผ่นดินไหว เพื่อรักษาชีวิตให้ได้มากที่สุด หมวดหมู่:วิทยาศาสตร์โลก.

ใหม่!!: หินหนืดและวิทยาภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะรูปโค้ง

หมู่เกาะรูปโค้ง (island arc) เป็นหมู่เกาะประเภทหนึ่งเกิดขึ้นจากเพลตเทคโทนิกด้วยแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่งทำให้เกิดหินหนืด (magma) หมู่เกาะรูปโค้งที่เกิดขึ้นตามขอบของแผ่นเปลือกทวีป (เช่น ส่วนใหญ่ของแอนดีส อเมริกากลาง แนวเทือกเขาแคนา) อาจเรียกว่า volcanic arc การสูญเสียของสารระเหยของแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัวในเขตมุดตัวของเปลือกโลกทำให้สิ่งหลอมเหลวบางส่วนของเนื้อโลกด้านบนเกิดเป็นหินหนืดของแคลซ์-อัลคาไลน์ที่มีความหนาแน่นต่ำจึงเบาตัวดันแทรกซอนขึ้นมาผ่านแผ่นชั้นธรณีภาคที่อยู่ด้านบน ผลได้ทำให้เกิดเป็นแนวภูเขาไฟเรียงรายยาวขนานไปกับขอบเขตรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่กำลังเคลื่อนที่ลู่เข้าหากันและโค้งออกด้านนอกเข้าหาแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัว ลักษณะนี้เป็นผลเนื่องมาจากหลักเรขาคณิตของการย่นตัวของแผ่นเปลือกโลกเป็นรูปทรงกลมไปตามแนวบนผิวทรงกลมหนึ่งๆ ด้านที่กำลังมุดตัวของหมู่เกาะรูปโค้งจะเป็นร่องลึกก้นสมุทรที่แคบและลึกซึ่งเป็นร่องรอยบนพื้นผิวโลกที่แสดงถึงขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัวกับแผ่นเปลือกโลกที่วางขี่ทับอยู่ด้านบน แนวร่องลึกนี้เกิดขึ้นจากการดึงโดยแรงโน้มถ่วงของแผ่นเปลือกโลกที่กำลังมุดตัวซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าลากดึงลงไป มีการเกิดแผ่นดินไหวตามแนวขอบเขตการมุดตัวนี้โดยมีจุดไฮโปเซนเตอร์ของการไหวสะเทือนอยู่ที่ระดับที่ลึกลงไปใต้แนวหมู่เกาะรูปโค้งนี้ เรียกแนวการเกิดไหวสะเทือนนี้ว่าแนววาดาติ-เบนนิออฟ (Wadati-Benioff) แอ่งมหาสมุทรที่กำลังลดขนาดลงด้วยการมุดตัวนี้เรียกว่า ‘มหาสมุทรส่วนที่เหลือ’ (remnant ocean) ด้วยมันกำลังหดตัวลงอย่างช้าๆและบดขยี้จากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก กระบวนการนี้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดประวัติทางธรณีวิทยาของโลกใบนี้.

ใหม่!!: หินหนืดและหมู่เกาะรูปโค้ง · ดูเพิ่มเติม »

หินหลอมเหลว

หินหลอมเหลวหรือลาวาที่พุ่งจากพื้นโลกสูงนับ 10 เมตร หินหลอมเหลว หรือ ลาวา (อังกฤษ: lava) คือหินหนืด (magma) ที่เคลื่อนที่เข้าออกบนพื้นผิวโลก และหากหินหนืดเหล่านี้มีการเย็นตัวและตกผลึกบนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลก เรียกว่า หินอัคนีภูเขาไฟ (extrusive rocks หรือ volcanic rocks).

ใหม่!!: หินหนืดและหินหลอมเหลว · ดูเพิ่มเติม »

หินอัคนี

หินอัคนี (igneous; มาจากภาษาละติน ignis แปลว่า ไฟ) คือหนึ่งในหิน 3 ประเภทหลัก อีก 2 ประเภทได้แก่ หินตะกอน (sedimentary rock) และหินแปร (metamorphic rock) หินอัคนีเกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืด (magma) หรือหินหลอมเหลว (lava) หินอัคนีสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักได้แก่ หินอัคนีพุ (volcanic rock)และหินอัคนีแทรกซอน.

ใหม่!!: หินหนืดและหินอัคนี · ดูเพิ่มเติม »

อาคาอินุ

อาคาอินุ เป็นตัวละครจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง วันพีซ ซะกะสุกิ เป็นทหารเรือที่มีฉายอาคาอินุหรือหมาแดง และเป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือ และอดีตหนึ่งในสามพลเรือเอกของกองทัพเรือในเรื่อง วันพีซ โดยเนื่องจากไม่พอใจที่พลเรือเอกอาโอคิยิจะได้เป็นผู้บัญชาการต่อจากจอมพลเรือเซ็นโงคุ จึงได้ท้าประลองกับอาโอคิยิที่เกาะพังค์ฮาซาร์ด ผลก็คืออาคาอินุชนะ จึงได้เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือ.

ใหม่!!: หินหนืดและอาคาอินุ · ดูเพิ่มเติม »

ผลึกดอก

ผลึกดอก คือ สิ่งที่บอกถึงลักษณะเนื้อหินอัคนี ที่แตกต่างกันของขนาดผลึกภายในหินอัคนี โดยมีกลุ่มของผลึกที่ปรากฏขนาดใหญ่กว่าผลึกอื่นๆทั่วไป ภาพแสดงลักษณะผลึกดอก.

ใหม่!!: หินหนืดและผลึกดอก · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีภาค

รณีภาค (lithosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก "λίθος " แปลว่า "หิน" และ "sphere" แปลว่า "โลก") เป็นชั้นหินแข็ง ที่อยู่ส่วนนอกสุดของโลก ซึ่งรวมตั้งแต่ชั้นหินหนืดตอนบนและชั้นเปลือกโลก.

ใหม่!!: หินหนืดและธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ใหม่!!: หินหนืดและความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก · ดูเพิ่มเติม »

คโธเนียน

นียน (Chthonians) เป็นเผ่าพันธุ์ในเรื่องชุดตำนานคธูลู โดยมีบทบาทครั้งแรกในเรื่องสั้น Cement Surroundings (พ.ศ. 2512) ของไบรอัน ลัมลีย์แต่ไม่ได้ปรากฏตัวให้เห็น คโธเนียนมีบทบาทสำคัญในนิยายเรื่องThe Burrowers Beneath (พ.ศ. 2517).

ใหม่!!: หินหนืดและคโธเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ปล่องภูเขาไฟ

ปล่องภูเขาไฟ เป็นแอ่งรูปประมาณทรงกลมในพื้นดินที่เกิดจากกัมมันตภาพภูเขาไฟ ตรงแบบเป็นลักษณะรูปถ้วยซึ่งภายในมีช่องเปิด (vent) ตั้งแต่หนึ่งช่องขึ้นไป ระหว่างการปะทุของภูเขาไฟ หินหนืดหลอมละลายและแก๊สภูเขาไฟปรากฏขึ้นจากโพรงหินหนืดใต้ดินผ่านช่องทางรูปท่อจนถึงช่องเปิดของปล่อง แล้วแก๊สจะลอยขึ้นสู่บรรยากาศและหินหนืดปะทุออกมาเป็นลาวา ระหว่างการปะทุระเบิดบางชนิด โพรงหินหนืดของภูเขาไฟอาจโล่งจนทำให้บริเวณเหนือมันยุบตัว เกิดเป็นแอ่งขนาดใหญ่กว่าเดิมเรียก แคลดีรา (caldera) หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานภูเขาไฟ หมวดหมู่:แอ่งภูเขาไฟ.

ใหม่!!: หินหนืดและปล่องภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ปล่องแบบน้ำร้อน

ปล่องแบบน้ำร้อน (Hydrothermal vent.) อาจเรียกว่าปล่องไฮโดรเทอร์มอร์หรือปล่องน้ำร้อนใต้ทะเล คือรอยแยกบนเปลือกผิวโลกที่มีน้ำร้อนไหลออกมา ปรกติจะพบใกล้กับแหล่งภูเขาไฟที่ที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ออกจากกันในแอ่งมหาสมุทรและฮอตสปอต ปล่องไฮโดรเทอร์มอลพบได้ทั่วไปเนื่องจากในทางธรณีวิทยาแล้วโลกของเรามีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาและมีมวลน้ำจำนวนมหาศาลทั้งบนผิวโลกและในเปลือกโลก ประเภทที่พบบนพื้นผิวทวีปก็คือแหล่งน้ำพุร้อน, พุแก๊สและไกเซอร์ ระบบของปล่องไฮโดรเทอร์มอลบนพื้นผิวทวีปที่เป็นที่รู้จักกันดีอาจเป็นแหล่งน้ำพุร้อนในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตนในสหรัฐอเมริกา สำหรับใต้ทะเลนั้นปล่องไฮโดรเทอร์มอลอาจทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่าแบลคสโมกเกอร์หรือไวท์สโมกเกอร์ เมื่อเทียบกับพื้นที่ส่วนใหญ่ใต้ทะเลลึกแล้ว พื้นที่โดยรอบปล่องไฮโดรเทอร์มอลจะมีความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพเป็นอย่างมาก ปรกติจะเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนที่หล่อเลี้ยงโดยสารเคมีที่ละลายอยู่ในของเหลวบริเวณปล่องนั้น สิ่งมีชีวิตอย่างอาร์เคียที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการสังเคราะห์อาหารทางเคมีถือเป็นรากฐานของห่วงโซ่อาหารที่รองรับสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายอย่างเช่นหนอนท่อยักษ์ หอยกาบ และกุ้ง เชื่อกันว่ามีปล่องไฮโดรเทอร์มอลบนดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดีด้วย และก็เดากันว่ามีปล่องไฮโดรเทอร์มอลโบราณบนดาวอังคารด้วยเหมือนกัน.

ใหม่!!: หินหนืดและปล่องแบบน้ำร้อน · ดูเพิ่มเติม »

แถบดาวเคราะห์น้อย

กราฟิกแสดงอาณาเขตของแถบดาวเคราะห์น้อย แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt) เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยวัตถุรูปร่างไม่แน่นอนจำนวนมาก เรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (asteroid หรือ minor planet) บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากดาวเคราะห์น้อยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่น แถบไคเปอร์ มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง ได้แก่ ซีรีส, เวสตา, พัลลัส และไฮเจีย ทั้งสี่ดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตรKrasinsky, G. A.; Pitjeva, E. V.; Vasilyev, M. V.; Yagudina, E. I. (July 2002).

ใหม่!!: หินหนืดและแถบดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: หินหนืดและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

โอฟิโอไลต์

แสดงชุดหินโอฟิโอไลต์ บริเวณอุทยานแห่งชาติ Gros Morne National Park, Newfoundland. โอฟิโอไลต์ (Ophiolite) คือ ชุดหินที่แสดงลักษณะการลำดับชั้นหินของเปลือกโลกใต้มหาสมุทร (oceanic crust) จนถึงชั้นเนื้อโลกตอนบน (upper mantle) ซึ่งเกินจากการยกตัวขึ้นแล้วแทรกเข้ามาบนแผ่นดินเนื่องจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน (Geotectonic).

ใหม่!!: หินหนืดและโอฟิโอไลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไกเซอร์ (ธรณีวิทยา)

กเซอร์ในไอซ์แลนด์ การปะทุของไกเซอร์ในรูปของไอน้ำ ทำให้สามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้ ที่ Castle Geyser in Yellowstone National Park ไกเซอร์ (Geyser) คือลักษณะของน้ำพุร้อนปล่อยกระแสน้ำร่วมกับไอน้ำออกมาเป็นระยะๆ ไม่สม่ำเสมอ การเกิดของไกเซอร์ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะทางอุธกธรณีวิทยา ซึ่งสามารถพบได้เพียงไม่กี่แห่งในโลก จึงจัดได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมมชาติที่หาดูได้ยากชนิดหนึ่ง ไกเซอร์มักจะตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณภูเขาไฟที่ยังสามารถระเบิดได้อยู่และได้รับผลจากแม็กมาในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วที่ความลึกประมาณ 2.2 กิโลเมตร (6,600 ฟุต) จะเป็นบริเวณที่ผิวน้ำพบกับหินร้อน และด้วยเหตุนี้เองทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ภายใต้ความดันใต้พื้นผิวโลกจนทำให้เกิดปรากฏการณ์ไกเซอร์ที่ปลดปล่อยกระแสน้ำรุนแรง ร่วมกับไอน้ำออกมาได้.

ใหม่!!: หินหนืดและไกเซอร์ (ธรณีวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

เพกมาไทต์

กมาไทต์ (Pegmatite) เป็นหินอัคนีแทรกซอน (Intrusive igneous) มักปรากฏอยู่เป็นสายแร่ ทำให้มักเรียกเป็น "สายแร่เพกมาไทต์" (Pegmatite veins) ประกอบด้วยแร่หลักเพียงควอตซ์ และ เค-เฟลด์สปาร์ และอาจมีมัสโคไวท์, ไบโอไทต์, ทัวร์มาลีน หรือแร่อื่นอยู่บ้างเป็นส่วนประกอบรอง ผลึกแร่ในเพกมาไทต์โดยปกติแล้วจะมีขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตรแต่บางครั้งอาจมีขนาดใหญ่มากถึง 10 เซนติเมตรได้ ทั้งนี้เนื่องจากสารละลายร้อนมักมีความเข้มข้นน้อย (มีน้ำและไอมาก) และมีพื้นที่สำหรับการตกผลึกดีกล่าวคือมีช่องรอยแตก (fracture) ในหินทำให้สารละลายร้อนและไอค่อย ๆ ทำการตกผลึกช้า ๆ และมีเวลาเพียงพอให้เกิดการตกผลึกใหญ่ ๆ ได้.

ใหม่!!: หินหนืดและเพกมาไทต์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะซะกุระ

กาะซะกุระ เป็นชื่อท้องที่ในจังหวัดคะโงะชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกรวยภูเขาไฟสลับชั้นมีพลัง และเดิมเป็นเกาะ แต่เมื่อภูเขาไฟกลางเกาะปะทุขึ้นใน..

ใหม่!!: หินหนืดและเกาะซะกุระ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของอนาคตไกล

ำหรับแผนภาพเส้นเวลาสเกลลอการิทึมของเหตุการณ์เหล่านี้ ดูที่.

ใหม่!!: หินหนืดและเส้นเวลาของอนาคตไกล · ดูเพิ่มเติม »

เอนเซลาดัส

อนเซลาดัส (Enceladus) หรือ Saturn II เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับที่ 6 ของดาวเสาร์ ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมันนาม วิลเลียม เฮอร์เชล เมื่อ..

ใหม่!!: หินหนืดและเอนเซลาดัส · ดูเพิ่มเติม »

เถ้าภูเขาไฟ

้าภูเขาไฟ (Volcanic ash) คือหินภูเขาไฟขนาดเล็กซึ่งถูกบดเป็นขนาดเล็กเนื่องจากการระเบิดของภูเขาไฟUnited States Geological Survey.

ใหม่!!: หินหนืดและเถ้าภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขากลางสมุทร

ตำแหน่งการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขากลางสมุทรของโลก จาก USGS เทือกเขากลางสมุทร เปลือกโลกใต้มหาสมุทรเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร ขณะที่ธรณีภาคชั้นนอกมุดลงไปยังฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร เทือกเขากลางสมุทร (mid-oceanic ridge) คือแนวเทือกเขาใต้ทะเลโดยจะมีแนวร่องหุบที่รู้จักกันในนามของร่องแยก (rift) ที่สันของแนวเทือกเขาซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน รูปแบบของเทือกเขากลางสมุทรนี้เป็นลักษณะที่รู้จักกันว่าเป็นแนว “ศูนย์กลางของการแยกแผ่ขยายออก” ซึ่งเป็นการแผ่ขยายออกของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร การยกตัวของพื้นมหาสมุทรเป็นผลเนื่องมาจากกระแสการพาความร้อน (convection currents) ซึ่งเป็นการดันตัวขึ้นมาของหินหนืดจากชั้นฐานธรณีภาคตามแนวที่อ่อนตัวของพื้นมหาสมุทรโดยการปะทุขึ้นมาในรูปของลาวา เกิดเป็นเปลือกโลกใหม่เมื่อเย็นตัวลง เทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกทางเทคโทนิกสองแผ่นและถือกันว่าเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว เทือกเขากลางสมุทรของโลกมีการเชื่อมต่อกันเกิดเป็นระบบแนวเทือกเขากลางสมุทรระบบหนึ่งของทุกๆมหาสมุทรทำให้ระบบเทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวเทือกเขาที่ยาวที่สุดของโลก แนวเทือกเขาที่ยาวต่อเนื่องกันนี้รวมกันแล้วมีความยาวทั้งสิ้นถึง 80,000 กิโลเมตร.

ใหม่!!: หินหนืดและเทือกเขากลางสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

แมกมาแม็กมา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »