โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)

ดัชนี หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)

หมวกเกราะ หรือ มาลา (Helmet หรือ helm) ในมุทราศาสตร์ “หมวกเกราะ” หรือ “มาลา” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่ตั้งอยู่เหนือโล่และเป็นฐานสำหรับแพรประดับและเครื่องยอด ลักษณะของหมวกเกราะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและฐานะทางสังคมของผู้เป็นเจ้าของตรา ซึ่งวิวัฒนาการกันตลอดมาพร้อมๆ กับการวิวัฒนาการของหมวกเกราะทางทหารตามความเป็นจริงFox-Davies (1909), p. 303.

18 ความสัมพันธ์: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)มาร์เกรฟมุทราศาสตร์ราชรัฐอันส์บัคราชอาณาจักรปรัสเซียสมัยกลางสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16สัญลักษณ์หมู่เกาะพิตแคร์นตราอาร์มตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรนิยามของตราแพรประดับ (มุทราศาสตร์)โล่ (มุทราศาสตร์)เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์เครื่องยอด (มุทราศาสตร์)เครื่องอิสริยาภรณ์

พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)

ู่ประดับ หรือ ประดับหลัง (Mantling หรือ lambrequin) ในมุทราศาสตร์ “พู่ประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น ที่มีลักษณะเหมือนพู่ที่ผูกติดกับหมวกเกราะที่ตั้งอยู่เหนือโล่ภายในตราและเป็นฉากหลังของโล่ ในการบรรยายพู่ประดับมักจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการป้องกัน (มักจะทำด้วยผ้าลินนิน) ที่ใช้โดยอัศวินบนหมวกเกราะ ประการที่สองเพื่อเป็นการช่วยลดความรุนแรงเมื่อถูกโจมตี ซึ่งทำให้วาดเป็นชายขาดเป็นริ้ว มีแต่ในบางกรณีที่เป็นผ้าทั้งชิ้นที่ปรากฏบนตราของนักบวชที่ใช้หมวกเกราะและพู่ประดับเพื่อแสดงว่านักบวชมิได้เข้าต่อสู้ในการรบ โดยทั่วไปแล้วพู่ประดับจะนิยามว่า “mantled x, doubled” “y”(“พู่ประดับ ก สองด้าน ข”) ผ้าที่ใช้เป็นพู่มีสองด้านที่มักจะใช้สีที่เป็นที่เป็นสีหลักของตราหรือสีประจำเหล่า (ดูรายละเอียดการใช้สีในบทความผิวตรา) แต่ก็มีบางกรณีที่มิได้เป็นไปตามกฎที่ว่านี้หรือด้านหน้าอาจจะมีสองสีที่นิยามว่า “per pale of x and y”(“ ผ่ากลาง สี ก และ สี ข”) หรือทั้งด้านนอกและในจะผ่ากลางเป็นสองสี และบางครั้งก็จะแบ่งต่างไปจากการผ่ากลาง แต่ก็มีไม่มากนัก และที่มีบ้างคือการใช้ผ่ากลางที่เป็นผิวตราโลหะสองชนิด หรือพู่ประดับทั้งหมดเป็นสีเดียว พู่ประดับของ Black Loyalist Heritage Society เป็นพู่ที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นพู่ที่ประกอบด้วยขนสัตว์สองนอกและใน (เออร์มินบุด้วยเออร์มิน) ตราแผ่นดินของแคนาดาพู่ประดับสองสีแดงและขาวหรือ “argent doubled gules” หรือ “พื้นขาว ด้านหลังสีแดง” ที่เป็นใบเมเปิล ตราอาร์มของหลวงเช่นตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรหรือตราประจำพระองค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะมีนิยามพู่ประดับว่า “Or, lined ermine” หรือ “พื้นทอง, บุเออร์มิน” ซึ่งเป็นลักษณะที่สงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ ซิริล วูดส์ บารอนแห่งสเลนมีพู่ประดับที่นิยามว่า “tasselled Gold” หรือ “พู่ประดับปลายเป็นพู่สีทอง” ในสมัยแรกของการออกแบบเครื่องยอดก่อนที่จะมีแพรประดับ ก็มีการใช้จุลมงกุฎและมาลา (chapeau) และสิ่งตกแต่งก็จะต่อเนื่องลงมาที่นิยามว่า “continued into the mantling” หรือ “ต่อลงมาเป็นพู่ประดับ” ซึ่งยังคงใช้กันมากในเยอรมนี ไฟล์:Grosses_Wappen_Celle.png|พู่ประดับเป็นริ้วสองด้านสองสีของเซลเลอในเยอรมนี ไฟล์:Wappen Pirna.png|พู่ประดับสองสีของแพร์นาในเยอรมนี ไฟล์:Royal Coat of Arms of the United Kingdom.svg|พู่ประดับทองและเออร์มินของตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ไฟล์:Duke of Argyll coat of arms.svg|พู่ประดับเออร์มินของตราของดยุคแห่งอาร์กาล์ย ไฟล์:Wappen-wenkheim.png|พู่ประดับทั้งชิ้นที่ไม่เป็นริ้ว ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าของตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:Escudo de Quilpué.svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าแต่เป็นเถาองุ่นของ Quilpué ในชิลี ไฟล์:Coat of arms of Bahrain.svg|พู่ประดับไม่มีหมวงของตราแผ่นดินของบาห์เรน ไฟล์:Coat_of_Arms_of_Russian_Empire.svg|ตราแผ่นดินของรัสเซีย ไฟล์:ArmesADN3.png|พู่ประดับทางศาสน.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และพู่ประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

มาร์เกรฟ

มาร์เกรฟ (Margrave) หรือ มาร์คกราฟ (Markgraf เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางสืบตระกูลที่ใช้กันในยุโรปที่ปกครองดินแดนที่เรียกว่ารัฐมาร์เกรฟ (Margraviate) ที่เป็นดินแดนชายแดนเช่นรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค มาร์เกรฟเป็นตำแหน่งที่ใช้ในยุคกลางที่ผู้ถือตำแหน่งมีหน้าที่รับผิดชอบทางการทหารในบริเวณชายแดนของราชอาณาจักร อาณาจักรชายแดนเป็นอาณาจักรที่ต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานจากภายนอกก่อนดินแดนส่วนอื่นๆ ของราชอาณาจักรฉะนั้นมาร์เกรฟจึงมักจะมีกองกำลังภายใต้การปกครองที่มีขนาดใหญ่กว่าขุนนางดินแดนภายในอื่นๆ และมักจะมีดินแดนในปกครองที่มีเนื้อที่มากกว่าที่เป็นผลมาจากการขยายดินแดนของตนเอง ในยุคกลางมาร์เกรฟมักจะมีอำนาจที่เป็นของตนเองที่ได้รับพระราชทานเมื่อเทียบกับขุนนางสืบตระกูลตำแหน่งอื่น ๆ แต่เมื่อมาถึงปลายยุคกลางและต้นสมัยใหม่ ความมั่นคงในบริเวณชายแดนก็เพิ่มมากขึ้น อำนาจของมาร์เกรฟและขุนนางอื่นก็เริ่มลดถอยลง คำว่า “Margrave” (marchio) เป็นชื่อตำแหน่งในภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษของตำแหน่งเยอรมัน “Markgraf” ที่มาจากคำว่า “Mark” (อาณาจักรชายแดน) และคำว่า “Graf” (เคานต์) รวมกัน.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และมาร์เกรฟ · ดูเพิ่มเติม »

มุทราศาสตร์

รื่องยอด มุทราศาสตร์ (heraldry) เป็นอาชีพ, สาขาวิชา หรือศิลปะของการออกแบบ การมอบ และการให้นิยามของตราอาร์ม และ การวางกฎที่เกี่ยวกับศักดิ์หรือข้อกำหนดของพิธีการใช้ที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตราอาร์ม (officer of arms) คำว่า “heraldry” มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันว่า “herald” ที่มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “*harja-waldaz” ที่แปลว่า “ผู้นำทัพ”Appendix I. koro-.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐอันส์บัค

Principality of Brandenburg-Ansbach (1791). ราชรัฐอันส์บัค (Fürstentum Ansbach) หรือ บรันเดินบวร์ค-อันส์บัค (Brandenburg-Ansbach) เป็นราชรัฐที่ได้รับราชรัฏฐาภิสิทธิ์ที่ในเครือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอันส์บัคในบาวาเรีย ราชรัฐอันส์บัคปกครองโดยราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นในดินแดนที่เรียกว่ามากราฟ.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และราชรัฐอันส์บัค · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรปรัสเซีย

ราชอาณาจักรปรัสเซีย (Kingdom of Prussia) เป็นราชอาณาจักรหนึ่งของชนชาติเยอรมัน ดำรงอยู่ระหว่างปีค.ศ. 1701 ถึง 1918 ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศเยอรมนี โปแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย เดนมาร์ก เบลเยียม และเช็กเกียในปัจจุบัน ราชอาณาจักรปรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในศตวรรษที่ 18 ในรัชสมัยของพระเจ้าฟรีดริชมหาราช และยิ่งทรงอำนาจขึ้นจนสามารถเป็นแกนนำในการชักนำรัฐเยอรมันต่างๆให้ทำการรวมชาติกันเป็นจักรวรรดิเยอรมัน ในปี 1871.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และราชอาณาจักรปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอห์น ปอลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า การอล ยูแซฟ วอยตือวา (ในภาษาโปแลนด์) เกิดเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ที่หมู่บ้านวาดอวิตแซ ใกล้เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นทหารมียศเป็นจ่าทหารและเกษียณราชการแล้ว มารดาเสียชีวิต เมื่อคาโรลยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ ชอบการกีฬาเป็นอันมาก ท่านยังชอบบทกวีและการแสดงละคร หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 1 คณะพระคาร์ดินัลทั่วโลกก็มีมติเลือกให้พระคาร์ดินัลการอล วอยตือวา ประมุขแห่งอัครมุขมณฑลกรากุฟ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 58 พรรษา ขึ้นเป็นประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 264 ที่สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูต สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก เป็นพระสันตะปาปาที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนองค์แรกในรอบ 455 ปี และเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวโปแลนด์ รวมทั้งยังเป็นพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกขณะที่มีอายุน้อยที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย พระองค์เป็นพระสันตะปาปาที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน พระองค์ทรงเดินทางรอบโลกเพื่อเยี่ยมเยียนคริสตชนมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใด ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทรงต่อต้านกระแสทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต การกดขี่ทางการเมือง ยืนกรานในการต่อต้านการทำแท้ง และปกป้องวิถีทางของศาสนจักรในเรื่องเพศของมนุษย์ ปัจจุบัน พระองค์ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16

มเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 (Benedictus XVI, Benedict XVI) พระสันตะปาปากิตติคุณ อดีตประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นชาวเยอรมัน มีพระนามเดิมว่า โยเซฟ รัทซิงเงอร์ (Joseph Ratzinger) เกิดเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927).

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์

ัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น สัญลักษณ์นั้นช่วยในการสื่อสาร อาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันแม้จะพูดกันคนละภาษา แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ส่งสารมีความสามารถใช้สัญลักษณ์ให้สื่อความหมายมากเพียงใด และผู้รับสารมีความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้มากเพียงใด ดังนั้นภาษามือจึงจัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และสัญลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะพิตแคร์น

หมู่เกาะพิตแคร์น (Pitcairn Islands; พิตแคร์น: Pitkern Ailen) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า พิตแคร์น (Pitcairn) เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร อยู่ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบไปด้วยกลุ่มเกาะ 4 กลุ่ม คือ เกาะพิตแคร์น เกาะแฮนเดอร์สัน เกาะดูซี และเกาะโอเอโน เกาะเหล่านี้ล้วนเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรทั้งสิ้น ซึ่งเขตนี้เป็นอาณานิคมสุดท้ายที่ยังหลงเหลืออยู่ของสหราชอาณาจักรในมหาสมุทรแปซิฟิก.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และหมู่เกาะพิตแคร์น · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และตราอาร์ม · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร (Royal coat of arms of the United Kingdom) เป็นตราอาร์มของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรที่ในปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ตรานี้ใช้โดยสมเด็จพระราชินีนาถในโอกาสทางราชการในฐานะพระมหากษัตรีย์แห่งสหราชอาณาจักร และ รู้จักอย่างเป็นทางการว่า “ตราอาร์มแห่งราชอาณาจักร” (Arms of Dominion) ตราอาร์มที่แปลงจากตรานี้ใช้โดยสมาชิกอื่นๆ ในพระราชวงศ์อังกฤษ และ โดยรัฐบาลบริเตนในกิจการที่เกี่ยวกับการบริหารและการปกครองประเทศ ในสกอตแลนด์สมเด็จพระราชินีนาถทรงมีตราที่แปลงจากตรานี้ ซึ่งเป็นตราเดียวกับที่ใช้โดยรัฐบาลสกอตแลนด์ (Scotland Office) โล่ในตราแบ่งสี่ ในช่องที่หนึ่งหรือช่องบนซ้าย และช่องที่สี่หรือล่างขวาเป็นตราสิงห์สามตัวที่เป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษ ในช่องที่สองหรือบนขวาเป็นสิงห์ยืนในกรอบล้อมด้วยสัญลักษณ์ดอกลิลลี ที่เป็นสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ และในช่องที่สามหรือช่องล่างซ้ายเป็นฮาร์พเกลลิค (Clàrsach) ที่เป็นสัญลักษณ์ของไอร์แลนด์เหนือ (การบรรยายเป็นไปตามหลักการให้คำนิยามของตรา) เครื่องยอด (crest) เป็นสิงห์ยืนหันหน้าหน้าสวมมงกุฎอิมพีเรียลสเตทบนหัวและยืนบนสัญลักษณ์ของมงกุฎเดียวกัน ประคองข้าง (Supporters) ด้านซ้ายเป็นสิงห์ยืนผงาดสวมมงกุฎ ประคองข้างด้านขวาเป็นยูนิคอร์นเงินแห่งสกอตแลนด์ ตามตำนานยูนิคอร์นที่เป็นอิสระเป็นสัตว์ที่อันตราย ฉะนั้นยูนิคอร์นที่ใช้ในอิสริยาภรณ์จึงเป็นยูนิคอร์นที่ล่ามโซ่ เช่นเดียวกับยูนิคอร์นสองตัวที่ประคองข้างตราแผ่นดินของสกอตแลนด์ ตรามีคำขวัญของทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (Dieu et Mon Droit) “พระเจ้าและสิทธิแห่งข้า” และ คำขวัญของเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ “ความละอายจงมาสู่ผู้คิดร้าย” (Honi soit qui mal y pense) บนแถบอยู่รอบโล่หลังตร.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

นิยามของตรา

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และนิยามของตรา · ดูเพิ่มเติม »

แพรประดับ (มุทราศาสตร์)

แพรประดับ (Torse) ในมุทราศาสตร์ “แพรประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็นที่มีลักษณะเหมือนมาลาที่ทำด้วยผ้าบิดเป็นเกลียวบนหมวกเกราะและเครื่องยอด ที่ใช้รัดพู่ประดับ (mantling) ให้อยู่กับที่ “แพรประดับ” ก็เช่นเดียวกับพู่ประดับหมวกเกราะจะเป็นสองสีที่เป็นคู่สีเดียวกัน ที่ทำจากสายริบบิ้นสองสายบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันที่เป็นสี (Tincture) เดียวกับสีหลักของโล่ซึ่งเป็นสีประจำเหล่า “แพรประดับ” มักจะเรียกว่า “มาลาประดับ” (Wreath) “แพรประดับ” บางครั้งก็จะใช้ถือโดยนักรบครูเสดเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ได้รับจากสตรีที่เป็นที่รักเมื่อจากไปสงคราม คล้ายกับผ้าเช็ดหน้าไว้ผูกรอบหมวกเกราะ หรือผูกตรงรอยต่อระหว่างหมวกกับเครื่องยอดเช่น “On a wreath of the colours x and y…” (“บนมาลาประดับเป็นสี ก และ ข”) แพรประดับของตราแผ่นดินของแคนาดานิยามว่า “On a wreath of the colours Argent and Gules, a lion passant guardant Or” (“บนมาลาประดับเป็นสีขาวและสีแดง, สิงโตยืนยกเท้าหน้าสีทอง”) “แพรประดับ” นอกจากนั้นแพรประดับก็ยังใช้ในการตกแต่งสัตว์ในมุทราศาสตร์ที่อาจจะแต่งเป็นมงกุฎหรือเป็นมาลัยคล้องคอ ไฟล์:Lev vyskakujici.svg|สิงโตครึ่งตัวบนแพรประดับ ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|ตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:30FARegtCOA.jpg|ตราอาร์มของ 30th Field Artillery Regiment Coat Of Arms ของสหรัฐอเมริกา ไฟล์:Chadderton Urban District Council - coat of arms.png|ตราของอดีตเทศบาลเมืองแชดเดอร์ทันในอังกฤษ ไฟล์:Coat of arms of Northwest Territories.svg|ตราของ Northwest Territories ในแคน.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และแพรประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

โล่ (มุทราศาสตร์)

ล่ หรือ โล่ภายในตรา (Escutcheon หรือ scutcheon) ในมุทราศาสตร์ “โล่” เป็นองค์ประกอบที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น บางครั้งก็จะมีการใช้คำว่า “Crest” (“เครื่องยอด”) แทน “Escutcheon” หรือ “โล่กลางตรา” ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง รูปทรงของ “โล่กลางตรา” มาจากรูปทรงของโล่ที่ใช้โดยอัศวินในการต่อสู้ในยุคกลาง รูปทรงที่ใช้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่นและยุคสมัย เพราะโล่เป็นเครื่องหมายของสงครามจึงเป็นเครื่องหมายที่ใช้สำหรับบุรุษเท่านั้น สตรีชาวอังกฤษตามธรรมเนียมแล้วจะใช้โล่ทรงข้าวหลามตัด (Lozenge) ขณะที่สตรีและนักบวชบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปใช้ทรงทรงคาร์ทูช (Cartouche) หรือทรงรูปไข่ ทรงอื่นที่ใช้กันก็มีทรงกลม (roundel) ที่มักจะใช้โดยตราสำหรับชนพื้นเมืองแคนาดา (Aboriginal Canadians) ที่มอบให้โดยสำนักงานมุทราศาสตร์แห่งแคนาดา (Canadian Heraldic Authority) คำว่า “Escutcheon” มาจากภาษาอังกฤษกลาง “escochon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “escuchon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “Escochon” ที่มาจากภาษาลาตินพื้นบ้าน (Vulgar Latin) “scūtiōn-” จากภาษาลาติน “scūtum” ที่แปลว่า “โล่” จากความหมายนี้ในมุทราศาสตร์ คำว่า “Escutcheon” สามารถหมายถึงสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของตระกูลและเกียรติยศของตระกูล คำว่า “inescutcheon” หรือ “โล่ใน” เป็นโล่ที่มีขนาดเล็กกว่าโล่หลักที่ตั้งอยู่ในบริเวณโล่หลัก ที่อาจจะใช้สำหรับ “pretense” หรือการวางโล่เหนือโล่อีกโล่หนึ่งของตนเอง ซึ่งคือการวางโล่เหนือโล่หรือสัญลักษณ์ของดินแดนในปกครอง หรือ เพียงเพื่อเป็นเครื่องหมายตกแต่งโดยไม่มีความหมายลึกไปกว่านั้น.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์

รขลักษณ์ หรือ เรขลักษณ์มาตรฐาน (Ordinary หรือ honourable ordinary) ในมุทราศาสตร์ “เรขลักษณ์” คือองค์ประกอบหนึ่งของตราอาร์มที่เป็นรูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ ที่อยู่ในกรอบของเส้นตรงและแล่นจากด้านหนึ่งของตราไปยังอีกด้านหนึ่ง หรือจากตอนบนลงมายังตอนล่างของโล่ นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มเครื่องหมายที่เรียกว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” (subordinary) ที่ให้ความสำคัญรองลงมาโดยนักวิชาการทางมุทราศาสตร์บางคน แต่เครื่องหมายในกลุ่มนี้ก็ใช้กันมานานพอกับเรขลักษณ์มาตรฐาน เรขลักษณ์มาตรฐานตามทฤษฎีแล้วจะใช้เนื้อที่หนึ่งในสามของโล่ แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็จะใช้เนื้อที่แตกต่างกันไป นอกจากเมื่อเรขลักษณ์เป็นสิ่งเดียวที่ใช้เป็นเครื่องหมาย เช่นในตราแผ่นดินของออสเตรียก็จะมีขนาดต่างออกไป คำว่า “เรขลักษณ์มาตรฐาน” และคำว่า “เรขลักษณ์พิเศษ” เป็นคำที่สร้างความขัดแย้งในหมู่นักมุทราศาสตร์ เพราะเป็นการใช้เรขลักษณ์ที่ไม่มีมาตรฐานและการใช้ก็ไม่ตรงกัน ฉะนั้นการใช้คำทั้งสองจึงไม่ได้รับการสนับสนุนโดยนักวิชาการทางด้านมุทราศาสตร์ อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ ฟ็อกซ์-เดวีส์ (Arthur Charles Fox-Davies) ในหนังสือ Complete Guide to Heraldry (คู่มือมุทราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์) ที่เขียนในปี..

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และเรขลักษณ์ในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยอด (มุทราศาสตร์)

รื่องยอด (Crest) เป็นองค์ประกอบของตราอาร์มที่ได้ชื่อดังกล่าวเพราะตำแหน่งที่ตั้งอยู่เหนือหมวกเกราะเหมือนหงอนที่อยู่บนหัวนกบางชนิด เครื่องยอดแรกที่สุดของอิสริยาภรณ์เป็นภาพที่เขียนบนพัดโลหะ ที่มักจะนำมาใช้ในการประดับตราอาร์ม ที่เขียนบนโล่ ที่ต่อมาเลิกใช้ไป ต่อมาเครื่องยอดใช้แกะบนหนังหรือวัสดุอื่น เดิม “เครื่องยอด” มักจะติดต่อลงมายังพู่ประดับ แต่ปัจจุบันเครื่องยอดมักจะอยู่เหนือผ้าคาด (torse) ที่ประกอบด้วยสีหลักของโล่ (สีประจำเหล่า) แต่บางครั้งก็จะมีการใช้จุลมงกุฎแทนผ้าคาด แต่ก็มีบ้างในบางกรณีก็มีจุลมงกุฎเหนือผ้าคาดและเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องยอด เครื่องยอดจุลมงกุฎที่ใช้กันบ่อยที่สุดคือรูปสัญลักษณ์ของจุลมงกุฎดยุก ที่มีสี่แฉกแทนที่จะเป็นแปดแฉก ถ้าเป็นเครื่องยอดของเมืองก็มักจะเป็น “มงกุฎเชิงเทิน” (mural crown) หรือจุลมงกุฎในรูปของหยักเชิงเทิน สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องยอดก็อาจจะเป็นสัตว์โดยเฉพาะสิงโต ตามปกติมักจะเป็นครึ่งด้านหน้า, มนุษย์ที่มักจะเป็นรูปครึ่งตัว, แขนหรือมือถืออาวุธ หรือปีกนก ในเยอรมนีและประเทศใกล้เคียงเครื่องยอดมักจะนำมาจากเครื่องหมายประจำกลุ่มในรูปของหมวกสูง, ขนนกบนหมวกสลับสี หรือแตรงอนคู่ แตรอาจจะมีรูตรงปลายเพื่อเสียบช่อขนนกหรือช่อดอกไม้.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และเครื่องยอด (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอิสริยาภรณ์

รื่องอิสริยาภรณ์ คือ เหรียญ และตรา อันเป็นเครื่องประดับยศของฝรั่งเศส และ สหราชอาณาจักร (อังกฤษ) และจากนั้นได้แพร่หลายไปยังประเทศที่มีราชวงศ์ เครื่องอิสริยาภรณ์จากประเทศที่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส่วนประเทศที่ไม่มีกษัตริย์เรียกว่า เครื่องอิสริยาภรณ.

ใหม่!!: หมวกเกราะ (มุทราศาสตร์)และเครื่องอิสริยาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Helmet (heraldry)หมวกเกราะ (อิสริยาภรณ์)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »