โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หนังสือกำหนดเทศกาล

ดัชนี หนังสือกำหนดเทศกาล

อห์น ดยุคแห่งแบร์รีในโอกาส “วันแลกเปลี่ยนของขวัญ” ซึ่งเป็นภาพสำหรับเดือนมกราคม หนังสือกำหนดเทศกาลจากปลายคริสต์ทศวรรษ 1470 บทสวด “Obsecro te” มี ปีเอต้า ขนาดเล็กเป็นภาพประกอบ จากหนังสือกำหนดเทศกาลแห่งอองเชส์จากคริสต์ทศวรรษ 1470 หนังสือกำหนดเทศกาล (book of hours) เป็นหนังสือวิจิตรจากยุคกลางที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน หนังสือกำหนดเทศกาลแต่ละเล่มก็มีลักษณะแตกต่างจากกันแต่ที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือจะเป็นหนังสือที่ประกอบด้วยข้อเขียน, บทสวดมนต์ และ เพลงสดุดี และเป็นหนังสือที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นหนังสือสวดมนต์สำหรับคริสต์ชนผู้เคร่งครัด คำว่า “ชั่วโมง” ในคำภาษาอังกฤษสำหรับหนังสือกำหนดเทศกาลนั้น มาจากภาษาละติน ว่า “horae” แต่ถ้าเป็นหนังสือสวดมนต์ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษก็มักจะเรียกว่า “primer” หนังสือกำหนดเทศกาลมักจะเขียนเป็นภาษาละติน แต่ก็มีบ้างที่เขียนเป็นภาษาพื้นเมืองของยุโรป หนังสือจำนวนมากที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันอยู่ในมือของห้องสมุดหรือของผู้สะสมส่วนบุคคล.

32 ความสัมพันธ์: ชีวิตของพระนางพรหมจารีชีวิตของพระเยซูพ.ศ. 1783พ.ศ. 1955พ.ศ. 1959พ.ศ. 2048พ.ศ. 2481พ.ศ. 2542พระราชินีแห่งชีบาพระวรสารพระทรมานของพระเยซูพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษการพิมพ์การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขนการนมัสการของโหราจารย์ภาพพิมพ์แกะไม้ภาษาละตินระบอบนาซีรูปเคารพลอนดอนวัดศาสนาคริสต์สมัยกลางหอคอยบาเบลห้องสมุดจุลจิตรกรรมประเทศฝรั่งเศสประเทศออสเตรียแทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรีเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร8 กรกฎาคม

ชีวิตของพระนางพรหมจารี

ีวิตของพระแม่พรหมจารี (Life of the Virgin) หรือชีวิตของพระแม่มารี เป็นฉากชุดจากชีวิตของพระแม่มารีย์มารดาของพระเยซูที่เป็นหัวเรื่องที่ใช้เขียนภาพชุดในศิลปะคริสต์ศาสนามักจะเป็นชุดที่ประกอบกับหรือเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระเยซู จำนวนฉากก็ต่างกันไปตามแต่เนื้อที่ใช้วาดภาพ ลักษณะการเขียนก็อาจจะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมแผง หน้าต่างประดับกระจกสี หนังสือวิจิตร พรมทอแขวนผนัง งานสลักหิน งานแกะงาช้างและอื่น.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและชีวิตของพระนางพรหมจารี · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตของพระเยซู

ีวิตของพระคริสต์ (Life of Christ) เป็นฉากชุดจากชีวิตบนโลกของพระเยซูที่เป็นหัวเรื่องที่ใช้ในการเขียนภาพชุดในศิลปะศาสนาคริสต์ มักจะเป็นชุดเอกลักษณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระนางพรหมจารี จำนวนฉากก็ต่างกันไปตามแต่เนื้อที่ใช้วาดภาพ ลักษณะการสร้างงานก็อาจจะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมแผง หน้าต่างประดับกระจกสี เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร พรมทอแขวนผนัง งานสลักหิน งานแกะงาช้างและอื่นๆ บางฉากก็เป็นภาพเขียนเดี่ยว ๆ เช่น “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” ที่นิยมเขียนกันมาก ชุดที่นิยมเขียนกันก็ได้แก่ชุดที่เกี่ยวกับการประสูติและพระทรมานของพระเยซู ที่นำไปสู่การตรึงพระเยซูที่กางเขนและการคืนพระชนม์ แต่ภาพเขียนที่เกี่ยวกับการเทศนาก่อนที่จะถึงเหตุการณ์ในวาระสุดท้ายของพระองค์แทบจะไม่เขียนกันในยุคกลางด้วยเหตุผลหลายอย่าง.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและชีวิตของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1783

ทธศักราช 1783 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและพ.ศ. 1783 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1955

ทธศักราช 1955 ใกล้เคียงกั..

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและพ.ศ. 1955 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1959

ทธศักราช 1959 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและพ.ศ. 1959 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2048

ทธศักราช 2048 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและพ.ศ. 2048 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2481

ทธศักราช 2481 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1938.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและพ.ศ. 2481 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2542

ทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ปีสากลแห่งผู้สูงอายุและเป็นปีมหามงคลในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒).

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและพ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชินีแห่งชีบา

''พระราชินีแห่งชีบา'' ภาพช่วงศตวรรษที่ 15 พระราชินีแห่งชีบา (ملكة سبأ, กีเอซ: ንግሥተ ሳባ, 'מלכת שבא) เป็นพระราชินีนาถที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิลที่ว่านางได้เสด็จไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ซาโลมอน ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้แพร่หลายในหมู่ชาวยิว, อาหรับ และเอธิโอเปีย และกลายเป็นตำนานที่แพร่หลายที่สุดเรื่องหนึ่งของโลกตะวันออก ตามคติชนยิวว่า พระราชินีแห่งชีบาปกครองอียิปต์และเอธิโอเปียสลับกัน บ้างก็ว่าเป็นกษัตริย์บุรุษเพศปกครองอาณาจักรชีบาแถบอาระเบียใต้ (ปัจจุบันคือบริเวณประเทศเยเมน) ในคติชนเอธิโอเปียว่า พระราชินีแห่งชีบาทรงมีสัมพันธ์สวาทกับกษัตริย์ซาโลมอน ดังปรากฏใน เกแบรแนแกสต์ (กีเอซ: ክብረ ነገሥት) อันเป็นวรรณกรรมของเอธิโอเปีย กล่าวถึงผลจากความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้นางตั้งพระหน่อประสูติกาลเป็นจักรพรรดิเมเนลิกที่ 1 จักรพรรดิพระองค์แรกแห่งเอธิโอเปี.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและพระราชินีแห่งชีบา · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระทรมานของพระเยซู

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดย ลูคัส ครานาค ราว ค.ศ. 1538 พระทรมานของพระเยซู (Passion of Jesus) เป็นศัพท์ทางเทววิทยาคริสเตียนที่บรรยายเหตุการณ์ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของพระเยซูในช่วงเวลาก่อนที่จะทรงถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินให้ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน การตรึงพระเยซูที่กางเขนถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เป็นหัวใจของความเชื่อในคริสต์ศาสนา รากศัพท์ของคำว่า “Passion” มาจากภาษาละติน “passus” (ซึ่งมีรากมาจาก “pati, patior” ที่แปลว่า “ความทรมาน” ที่เกิดจากภายนอก), เป็นคำที่เริ่มใช้ครั้งแรกในข้อเขียนทางคริสต์ศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ที่บรรยายความทุกข์ทรมานของพระเยซู แต่คำว่า “Passion” มามีความหมายกว้างขึ้นในสมัยต่อมา ส่วนวลี “ความระทมของพระเยซู” (“Agony of Jesus”) มีความหมายเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสวนเกทเสมนี -- “พระเยซูในสวนเกทเสมนี” ที่ทรงอธิษฐานสวดภาวนาในสวนก่อนที่จะทรงถูกจับ “ความระทม” จึงหมายถึงสภาวะทางจิตใจ ข้อเขียนในพระวรสารในสารบบที่บรรยายถึงพระมหาทรมานเรียกว่า “Passion” หรือ “พระทรมานของพระเยซู” พระวรสารอื่นที่บรรยายเหตุการณ์นี้ก็ได้แก่พระวรสารนักบุญเปโตร.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและพระทรมานของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าริชาร์ดที่ 3 (2 ตุลาคม ค.ศ. 1452 – 22 สิงหาคม ค.ศ. 1485) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ (Henry VII of England) (28 มกราคม ค.ศ. 1457 – 21 เมษายน ค.ศ. 1509) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์ทิวดอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1485 ถึงปี ค.ศ. 1509.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การพิมพ์

การพิมพ์หนังสือในศตวรรษที่ 15 การพิมพ์ (Printing; Imprimerie) คือการผลิตสำเนาข้อความและภาพลงบนวัสดุที่ต้องการพิมพ์ เช่น กระดาษ ผ้า ตามความหมายในพระราชบัญญัติการพิม..

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและการพิมพ์ · ดูเพิ่มเติม »

การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน

“ชะลอร่างจากกางเขน” โดย รอสโซ ฟิโอเร็นทิโน (Rosso Fiorentino) ค.ศ. 1521 ที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี “ชะลอร่างจากกางเขน” โดยโรเจียร์ แวน เดอ เวย์เด็น ประมาณปี ค.ศ. 1435 สีน้ำมันบนไม้โอ้ค, 220 x 262 เซนติเมตร ที่พิพิธภัณฑ์ปราโด, มาดริด “ชะลอร่างจากกางเขน” ไม้แกะทาสีที่มหาวิหารโวลเทอรรา ในประเทศอิตาลี การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน (Descent from the Cross/Deposition from the Cross หรือ Deposition; Αποκαθελωσις, “Apokathelosis”) เป็นฉากที่สร้างในศิลปะเช่นจิตรกรรม หรือ ประติมากรรม เนื้อความมาจากพระวรสารนักบุญจอห์นซึ่งบรรยายการอัญเชิญพระศพพระเยซูลงจากกางเขนหลังจากที่มีการตรึงพระเยซูที่กางเขนแล้ว โดยโยเซฟแห่งอาริมาเธียและนิโคเดมัส (Nicodemus) (ยอห์น).

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและการอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

การนมัสการของโหราจารย์

“การนมัสการของโหราจารย์” โดย เดียริค เบาท์ คริสต์ศตวรรษที่ 15 “การนมัสการของโหราจารย์” โดย เจนตีเล ดา ฟาบรีอาโน ค.ศ. 1423 การนมัสการของโหราจารย์ (Adoration of the Magi) เป็นชื่อที่ใช้ในหัวข้อการวาดภาพหนึ่งในชุดการประสูติของพระเยซู ซึ่งเป็นภาพของโหราจารย์สามคนเดินทางตามดาวแห่งเบธเลเฮม (star of Bethlehem) จนกระทั่งพบพระกุมารเยซู เมื่อพบแล้วก็มอบของขวัญที่เป็นทองคำ กำยาน และมดยอบ (myrrh) และถวายการสักการะ ในปฏิทินศาสนาเหตุการณ์นี้ฉลองกันทางตะวันตกในวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ซึ่งเป็นวันฉลองการที่พระวจนะทรงรับเป็นมนุษย์คือพระเยซู ทุกวันที่ 6 มกราคม ทางนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ฉลองวันเดียวกับวันประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคม การขยายความจากคำบรรยายเพียงสั้นๆ เกี่ยวกับแมไจในพระวรสารนักบุญมัทธิว บทที่ 2 ข้อที่ 1-11 เป็นการแสดงว่าการประสูติของพระเยซูเป็นที่ยอมรับตั้งแต่ประสูติในฐานะกษัตริย์แห่งโลก.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและการนมัสการของโหราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพพิมพ์แกะไม้

''Four horsemen of the Apocalypse'' โดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์ ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) เป็นศิลปะการพิมพ์แบบนูน โดยที่ภาพที่จะพิมพ์ใช้แกะบนผิวไม้ เมื่อต้องการพิมพ์ก็จะทาส่วนพิมพ์ด้วยลูกกลิ้งมือ ทำให้หมึกเกาะบริเวณที่ต้องการจะพิมพ์แต่ไม่เกาะบนส่วนอื่นๆ ของพิมพ์ที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ การพิมพ์หลายสีก็ใช้พิมพ์ไม้หลายพิมพ์ แต่ละสีก็จะใช้พิมพ์ต่างจากสีอื่น ศิลปะการแกะไม้สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้เรียกว่า การแกะพิมพ์สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut printmaking) มักจะไม่ใช้ในการแกะเฉพาะแต่ละภาพ แต่มักจะใช้สำหรับการแกะพิมพ์ที่มีทั้งตัวหนังสือแล.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและภาพพิมพ์แกะไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบนาซี

นาซี (Nazism; บ้างสะกดว่า Naziism "JAPAN: Imitation of Naziism?"; Nationalsozialismus) หรือ ชาติสังคมนิยม เป็นอุดมการณ์และวิถีปฏิบัติของพรรคนาซีและนาซีเยอรมนีPayne, Stanley G. 1995.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและระบอบนาซี · ดูเพิ่มเติม »

รูปเคารพ

“พระเยซู” โดยอันเดร รูเบลฟ (Andrei Rublev) ราวปี ค.ศ. 1410 รูปเคารพทำจากเซรามิคจากราวปีค.ศ. 900 จากเพรสลาฟ ประเทศบัลกาเรีย รูปเคารพ (ภาษาอังกฤษ: icon; ภาษากรีก: εἰκών, eikon) คือรูป, รูปเหมือน หรือสิ่งที่สร้างแทน ที่ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในสมัยปัจจุบัน “รูปเคารพ” โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัยนิยมโดยทั่วไปจะหมายถึงสัญลักษณ์เช่นชื่อ, หน้า, รูป หรือคนที่เป็นที่รู้จักที่มีชื่อเสียงที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง การใช้สิ่งของหรือรูปเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่มีความสำคัญเหนือกว่าไม่ว่าจะเป็นตามตัวอักษรหรือตามการตีความหมายมักจะใช้ในศาสนา, วัฒนธรรม, การเมือง, หรือทางเศรษฐกิจ ในประวัติศาสตร์ลัทธินิยมทางศาสนาหรือวัฒนธรรมทางศาสนารูปเคารพจะมีอิทธิพลมาจากรูปที่เป็นตัวเป็นตนไม่ว่าจะเป็นรูปสองหรือสามมิติ ความประสงค์ของรูปเคารพไม่ว่าจะเป็นเพื่อการสั่งสอนหรือเป็นแรงบันดาลใจ หรือวิธีใช้เช่นเพื่อการบูชาหรือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือความสำคัญของการใช้รูปเคารพก็ขึ้นอยู่กับสถาบันที่ใช้และสมัยของการใช้.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและรูปเคารพ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

วัด

วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและวัด · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หอคอยบาเบล

250px หอคอยบาเบล (Tower of Babel, מִגְדַּל בָּבֶל, Migdal Bāḇēl) เป็นเรื่องปรัมปราในหนังสือปฐมกาล (11:1-9) ประกอบด้วยคำอธิบายว่าทำไมประชากรโลกถึงพูดหลากหลายภาษา เชื่อว่า เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีจุดมุ่งหมายให้สูงไปถึงสวรรค์ เกิดจากความสามัคคีของมนุษย์ ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมโลก จากลูกหลานของโนอาห์ ได้ขยายพงศ์พันธุ์แผ่ไพศาลออกไป แต่ทั่วทั้งโลกต่างพูดภาษาเดียวกัน และมีศัพท์สำเนียงเดียวกัน ผู้คนในยุคนั้นจึงได้ร่วมกันสร้างหอบาเบล โดยมีความมุ่งหมายเพื่อที่จะสร้างเป็นหอเทียมฟ้า สร้างชื่อเสียงไว้ และเป็นแหล่งรวมอารยธรรมของมนุษย์ไว้ด้วยกัน การสร้างหอบาเบล เป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้กับมนุษยชาติ ซึ่งความภาคภูมิใจนี้ ก็นำมาซึ่งความหยิ่งผยอง คิดท้าทายพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจึงทรงบันดาลให้เกิดสายฟ้าผ่าทำให้หอคอยพังลง การก่อสร้างหอบาเบลจึงหยุดสร้าง.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและหอคอยบาเบล · ดูเพิ่มเติม »

ห้องสมุด

ั้นวางหนังสือในห้องสมุด ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กฤตภาค วัสดุเทป และโทรทัศน์ ซีดีรอม วีซีดี ดีวีดี โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุด โดยจัดระบบเป็นหมวดหมู่ และระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีความสะดวกสืบค้นได้ง่ายและตรงกับความต้องการ ห้องสมุดในปัจจุบัน ทำหน้าที่เก็บรวบรวม จัดระบบ เพื่อให้บริการสื่อสารนิเทศต่าง ๆ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีทางการสื่อสาร อีกทั้งยังมีเครื่องมือในการค้นหาและดำเนินการให้บริการสื่อต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ห้องสม.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและห้องสมุด · ดูเพิ่มเติม »

จุลจิตรกรรม

ลจิตรกรรม อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและจุลจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี

แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี (Très Riches Heures du Duc de Berry หรือ Très Riches Heures - หอสมุดแห่งพระราชวังชองตีย์, ชองตีย์, ฝรั่งเศส) เป็นชื่อหนังสือกำหนดเทศกาลที่ตกแต่งอย่างงดงาม เนื้อหาของหนังสือรวมบทสวดมนต์สำหรับสวดตามเวลาที่ระบุไว้ในบทบัญญัติทางศาสนา “แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี” ที่ว่าจ้างให้เขียนโดยฌองดยุกแห่งแบร์รีเมื่อราว ค.ศ. 1410 อาจจะถือกันว่าเป็นหนังสือวิจิตรฉบับที่สำคัญที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 15 -- “le roi des manuscrits enluminés” (ราชาแห่งหนังสือวิจิตร) “แทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี” มีด้วยกัน 416 หน้าที่ 131 เป็นจุลจิตรกรรมขนาดใหญ่ และหน้าที่มีการตกแต่งขอบหรืออักษรตัวต้นประดิษฐ์อย่างงดงามอีกหลายหน้า แม้ว่าจะเป็นงานขนาดเล็กแต่ก็ถือว่าเป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของศิลปะกอธิคนานาชาติ อักษรประดิษฐ์มีด้วยกันทั้งสิ้น 300 ตัว หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ใช้เวลาเขียนอยู่เกือบหนึ่งร้อยปี ในสามช่วงสำคัญๆ ที่นำโดยพี่น้องลิมบวร์ก, บาเธเลมี ฟาน เอค และฌอง โคลอมบ์ งานของพี่น้องลิมบวร์กเป็นงานที่มีฝีแปรงอันละเอียด และใช้สีที่มีราคาสูงในการเขียน.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและแทรริชเซอร์ดูว์ดุกเดอแบรี · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

8 กรกฎาคม

วันที่ 8 กรกฎาคม เป็นวันที่ 189 ของปี (วันที่ 190 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 176 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: หนังสือกำหนดเทศกาลและ8 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Book of hoursBook of the HoursBooks of the hoursหนังสือสวดมนต์ประจำชั่วโมงหนังสือประจำชั่วโมง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »