สารบัญ
15 ความสัมพันธ์: กระดูกลูเนทกระดูกสแคฟฟอยด์กระดูกอัลนากระดูกข้อมือกระดูกเรเดียสกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุมกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิสรอยเว้าอัลนาสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกเรเดียส
กระดูกลูเนท
กระดูกลูเนท หรือ กระดูกรูปเสี้ยวพระจันทร์ (Lunate bone; Semilunar bone) เป็นกระดูกในที่อยู่ภายในมือของมนุษย์ มีลักษณะเด่นคือมีความเว้าและรูปร่างเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ระหว่างกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกไตรกีตรัล (triangular bone) คำว่า ลูเนท (lunate) มาจากรากศัพท์ภาษาละตินคำว่า luna ที่แปลว่า ดวงจันทร.
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกระดูกลูเนท
กระดูกสแคฟฟอยด์
กระดูกสแคฟฟอยด์ (Scaphoid bone) อยู่บริเวณข้อมือ พบอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือภายในอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ (anatomical snuff-box) ลักษณะคล้ายกับเรือ ในอดีตจึงเรียกกระดูกนี้ว่า navicular (ซึ่งปัจจุบัน navicular หมายถึงกระดูกรูปเรือที่อยู่ในกระดูกข้อเท้า) ขนาดและรูปร่างของกระดูกนี้คล้ายกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ กระดูกสแคฟฟอยด์เป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) แกนยาวของกระดูกวิ่งจากบนลงล่าง ไปทางด้านข้างและด้านหน้า คำว่า สแคฟฟอยด์ (scaphoid) มาจากภาษากรีกว่า skaphe แปลว่า "เรือ" และ eidos แปลว่า "รูปร่าง".
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกระดูกสแคฟฟอยด์
กระดูกอัลนา
ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกระดูกอัลนา
กระดูกข้อมือ
ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกข้อมือ (Carpal bones; Carpus) เป็นกลุ่มของกระดูกชิ้นเล็กๆที่เรียงตัวอยู่ระหว่างกระดูกของส่วนปลายแขนและกระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones) และเป็นกระดูกที่ประกอบกันเป็นส่วนประกอบหลักของข้อมือ (wrist) กระดูกส่วนใหญ่ของกลุ่มกระดูกข้อมือจะมีรูปร่างคล้ายลูกเต๋า โดยที่พื้นผิวทางด้านหลังมือ (dorsal surface) และฝ่ามือ (palmar surface) จะมีลักษณะขรุขระเนื่องจากมีเอ็นและปลอกหุ้มเอ็น (tendon sheath) พาดผ่าน ขณะที่พื้นผิวด้านอื่นๆจะค่อนข้างเรียบเพื่อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆได้อย่างสนิท สำหรับในมนุษย์ จะมีกระดูกข้อมือจำนวน 8 ชิ้น ซึ่งจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกระดูกข้อมือที่ติดต่อกับกระดูกเรเดียส จะเรียกว่า กระดูกข้อมือแถวแรก (proximal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้น ส่วนอีกกลุ่มจะติดต่อกับกระดูกฝ่ามือ จะเรียกว่ากระดูกข้อมือแถวหลัง (distal row) ซึ่งมีจำนวน 4 ชิ้นเช่นกัน.
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกระดูกข้อมือ
กระดูกเรเดียส
ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกระดูกเรเดียส
กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส
กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (supinator) และบางครั้งอาจรวมเข้าอยู่ด้วยกัน.
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส
กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส
กล้ามเนื้อเบรกิโอเรเดียลิส (Brachioradialis) เป็นกล้ามเนื้อของปลายแขน (forearm) ทำหน้าที่งอปลายแขนที่ข้อศอก สามารถทำหน้าที่ได้ทั้งคว่ำและหงายมือขึ้นกับตำแหน่งของปลายแขน กล้ามเนื้อนี้ยึดเกาะกับสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกเรเดียส (distal styloid process of the radius) และแนวสันซุปปราคอนไดลาร์ด้านข้าง (lateral supracondylar ridge) ของกระดูกต้นแขน (humerus).
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (Extensor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขน มีขนาดใหญ่กว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) จุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อบางส่วนถูกปกคลุมด้วยกล้ามเนื้ออื่น.
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ด้านใกล้กลางของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus).
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส โพรเพรียส (Extensor indicis; extensor indicis proprius) เป็นกล้ามเนื้อแบน ยาว อยู่ด้านใกล้กลางและทอดขนานไปกับกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (extensor pollicis longus).
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม (Extensor digitorum) หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม คอมมิวนิส (Extensor digitorum communis; ED) เป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะต้นโดยเป็นเอ็นคอมมอนเอกซ์เทนเซอร์อยู่ที่ปุ่มแลทเทอรัล อีพิคอนไดล์ (lateral epicondyle) ของกระดูกต้นแขน (humerus) และเกาะมาจากผนังกั้นอินเตอร์มัสคิวลาร์ (intermuscular septa) ซึ่งกั้นระหว่างกล้ามเนื้อมัดนี้และกล้ามเนื้อใกล้เคียง และเกาะมาจากพังผืดปลายแขน (antebrachial fascia).
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (Extensor carpi radialis longus; ECRL) เป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวที่ข้อมือ กล้ามเนื้อนี้ค่อนข้างยาวเริ่มจากด้านข้างของกระดูกต้นแขน (humerus) และไปยึดเกาะกับฐานของกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 (2nd metacarpal) ในตอนแรกกล้ามเนื้อนี้จะวิ่งมาด้วยกันกับกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis) แต่จะกลายเป็นเอ็นกล้ามเนื้อก่อน แล้ววิ่งอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (extensor carpi radialis brevis).
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส
กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis; ECRB) เป็นกล้ามเนื้อที่หนากว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส (extensor carpi radialis longus) ที่อยู่เหนือกว.
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส
รอยเว้าอัลนา
รอยเว้าอัลนา (Ulnar notch) หรือ แอ่งซิกมอยด์ (Sigmoid cavity) ของกระดูกเรเดียส เป็นบริเวณของกระดูกเรเดียสที่เป็นข้อต่อกับกระดูกอัลนา มีลักษณะแคบ เว้า เรียบ และเป็นข้อต่อกับหัวกระดูกอัลนา หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและรอยเว้าอัลนา
สไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกเรเดียส
ตลอยด์ โพรเซส (Styloid process) อยู่บริเวณพื้นผิวด้านข้าง (lateral surface) ของกระดูกเรเดียส มีลักษณะยาวในแนวเฉียงลงล่างไปยังส่วนยื่นที่แข็งแรง รูปทรงกรวย ซึ่งที่ฐานของสไตลอยด์ โพรเซสเป็นจุดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis) และที่ยอดของสไตลอยด์ โพรเซสเป็นจุดเกาะของเอ็นเรเดียลคอลแลทเทอรัลของข้อมือ ส่วนพื้นผิวด้านข้างของสไตลอยด์ โพรเซสเป็นร่องแบนๆ สำหรับเอ็นของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (abductor pollicis longus) และ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (extensor pollicis brevis).
ดู ส่วนปลายของกระดูกเรเดียสและสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกเรเดียส
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Distal radiusLower end of radiusLower extremity of radius