โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สูตินรีเวชวิทยา

ดัชนี สูตินรีเวชวิทยา

ูตินรีเวชวิทยา (Obstetrics and Gynecology (หรือ Gynaecology)) หรือที่มักย่อว่า OB/GYN, O&G หรือ Obs & Gynae เป็นวิชาศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เป็นสาขาวิชาที่รวมเอาการแพทย์เฉพาะทาง 2 สาขาวิชาคือ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาเข้าด้วยกัน มักเปิดสอนร่วมกันในหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน (หลังจบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต) การฝึกวิชาสูตินรีเวชวิทยาเกี่ยวข้องกับการจัดการพยาธิวิทยาคลินิกของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง และการดูแลผู้ป่วยทั้งที่อยู่ในระยะตั้งครรภ์และไม่ได้ตั้งครร.

7 ความสัมพันธ์: ศัลยศาสตร์สูติศาสตร์อวัยวะเพศนรีเวชศาสตร์แพทยศาสตรบัณฑิตแพทย์ประจำบ้านเพศหญิง

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: สูตินรีเวชวิทยาและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สูติศาสตร์

ูติศาสตร์ (Obstetrics; มาจากภาษาละติน obstare การเตรียมพร้อม) เป็นศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการดูแลผู้หญิงและทารกระหว่างการตั้งครรภ์, การคลอด, และระยะหลังคลอด ส่วนการผดุงครรภ์ (Midwifery) นั้นจะไม่อาศัยทักษะการศัลยศาสตร์ สูติแพทย์ส่วนมากมักจะเป็นแพทย์นรีเวชวิทยาด้วย ดูที่สูตินรีเวชวิทยา (Obstetrics and gynaecology) ระยะการตั้งครรภ์โดยเฉลี่ยของมนุษย์คืออายุครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 38 สัปดาห์นับจากวันปฏิสนธิ แบ่งออกเป็นสามไตรม.

ใหม่!!: สูตินรีเวชวิทยาและสูติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะเพศ

อวัยวะเพศ (sex organ) หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (reproductive organ, primary sex organ, primary sexual characteristic) เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ อวัยวะที่เห็นได้จากด้านนอกในเพศหญิงและชายเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศปฐมภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (genitals, genitalia) ส่วนอวัยวะภายในเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศทุติยภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลักษณะที่เริ่มเกิดขึ้นในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เช่น ขนหัวหน่าวในผู้หญิงและผู้ชาย และหนวดในผู้ชาย เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) มอสส์, เฟิร์น และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมีอับเซลล์สืบพันธุ์ (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ดอกไม้ของพืชดอกสร้างละอองเรณูและเซลล์ไข่ ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและออวุล (ovule) พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยว.

ใหม่!!: สูตินรีเวชวิทยาและอวัยวะเพศ · ดูเพิ่มเติม »

นรีเวชศาสตร์

นรีเวชศาสตร์ หรือ นรีเวชวิทยา หรือ วิทยาเพศหญิง (gynaecology, gynecology) หมายถึงศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เช่น มดลูก ช่องคลอดและรังไข่ แพทย์นรีเวชวิทยาส่วนมากมักเป็นสูติแพทย์ด้วย ดูที่สูตินรีเวชวิทยา (Obstetrics and gynaecology) สำหรับในทางสัตวแพทยศาสตร์ จะเรียกสาขาวิชานี้ว่า เธนุเวชวิท.

ใหม่!!: สูตินรีเวชวิทยาและนรีเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตรบัณฑิต

แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) เป็นหลักสูตรในการศึกษาสาขาวิชาแพทยศาสตร์ ในประเทศไทยเทียบเท่าปริญญาตรี แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เทียบเท่าปริญญาเอก (Professional Doctorate) ผู้ที่จะเข้าศึกษา Doctor of Medicine (MD)ในประเทศสหรัฐอเมริกาต้องจบปริญญาตรีก่อน จึงจะสามารถเข้าศึกษาแพทยศาสตร์ได้ แพทยศาสตรบัณฑิต หมวดหมู่:แพทยศาสตรศึกษา.

ใหม่!!: สูตินรีเวชวิทยาและแพทยศาสตรบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์ประจำบ้าน

แพทย์ประจำบ้าน (residency) เป็นลำดับขั้นหนึ่งของการศึกษาหลังปริญญาของแพทยศาสตรศึกษา แพทย์ประจำบ้านเป็นผู้ที่ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตแล้วและกำลังปฏิบัติงานด้านการแพทย์เฉพาะทางภายใต้การควบคุมของอาจารย์แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์การศึกษาของแพทย์ประจำบ้านต่างๆ การศึกษาในระดับแพทย์ประจำบ้านมักต้องผ่านการเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะหรือแพทย์ใช้ทุน (internship) มาก่อน หรืออาจผนวกระยะของแพทย์เพิ่มพูนทักษะเป็นชั้นปีแรกของการศึกษาระดับแพทย์ประจำบ้านก็ได้ หลังจากการศึกษาระดับนี้แล้วผู้เรียนมักศึกษาต่อเป็นแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (fellowship) เพื่อศึกษาการแพทย์เฉพาะทางย่อยต่อไป แม้ว่าโรงเรียนแพทย์จะได้สอนแพทย์ให้รู้กว้างขวางเกี่ยวกับความรู้ทางการแพทย์ทั่วไป ทักษะทางคลินิกพื้นฐาน และประสบการณ์ทางการแพทย์ก็ตาม แต่การศึกษาของแพทย์ประจำบ้านนี้จะฝึกในเชิงลึกเกี่ยวกับการแพทย์เฉพาะทาง อันได้แก่ วิสัญญีวิทยา อายุรศาสตร์ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา กุมารเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู รังสีวิทยา ศัลยศาสตร์ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน นิติเวชศาสตร์ พยาธิวิทยา ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ เป็นต้น หลักสูตรในประเทศไทยของแพทย์ประจำบ้านนั้นโดยทั่วไปมักมีระยะเวลาประมาณ 3-5 ปีตามแต่ละสถาบันและแต่ละสาขาวิชา หลังจากนั้นต้องเข้าสอบเพื่อรับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากราชวิทยาลัยต่างๆ ตามสาขาของแพทย์เฉพาะทางนั้น.

ใหม่!!: สูตินรีเวชวิทยาและแพทย์ประจำบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

เพศหญิง

ัญลักษณ์เพศหญิง เพศหญิง (♀) หรือเพศเมีย (female) คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ที่เรียกว่า เซลล์ไข่ โดยเซลล์ไข่สามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชายที่เรียกว่า อสุจิ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่าการผสมพันธุ์ เพศหญิงไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงอสุจิของเพศชายอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: สูตินรีเวชวิทยาและเพศหญิง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สูตินรีเวชสูตินรีเวชศาสตร์สูตินารี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »