โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

ดัชนี สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (Least Concern หรือ LC) คือระดับที่จัดโดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติแก่สิ่งมีชีวิตที่เมื่อพิจารณาแล้วไม่อยู่ในประเภทใดใด ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้จึงถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่เข้าข่ายสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Threatened species) หรือในข่ายสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Near Threatened) หรือ (ก่อน ค.ศ. 2001) สิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต่อการอนุรักษ์ (Conservation Dependent) สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ นกกระสาแดง, นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่, เพนกวินจักรพรรดิ, แมวดาว, แมวน้ำลายพิณ และอื่นๆ สิ่งมีชีวิตจะจัดอยู่ในกลุ่ม “สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์” ก็ต่อเมื่อได้รับการพิจารณาสถานะของจำนวนประชากรที่เปรียบเทียบกับโดยตรงหรือโดยทางอ้อมกับการกระจายของประชากร และ/หรือ สถานภาพของประชากร ตั้งแต่ปี..

8 ความสัมพันธ์: สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สถานะการอนุรักษ์นกกระสาแดงนกนางนวลแกลบหงอนใหญ่แมวดาวแมวน้ำลายพิณเพนกวินจักรพรรดิ

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เป็นสปีชีส์ที่จัดอยู่ในประเภทความเสี่ยงเกือบใกล้สูญพันธ์ (NT) ตามสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ สถานะนี้เป็นสถานะที่สิ่งมีชีวิตกำลังถูกคุกคามภายในอนาคต ถึงแม้ในปัจจุบันสิ่งมีชีวิตอาจจะยังไม่ถูกคุกคาม ไอยูซีเอ็นจะประเมินสิ่งมีชีวิตตาช่วงเวลาที่เหมาะสม การประเมินจะดูจากสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามหรือสิ่งมีชีวิตที่ลดลงอย่างรวดเร็ว สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ถูกประเมินเมื่อปี พ.ศ. 2544 จวบจนถึงปัจจุบัน การจำแนกสิ่งมีชีวิตประเภทนี้จะจัดอยู่ในหมวดหมู่ใหม.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

สถานะการอนุรักษ์

นะการอนุรักษ์ หรือ สถานะการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิต (Conservation status) คือการจัดระดับความเสี่ยงของสิ่งมีชีวิตที่จะทำให้เกิดการสูญพันธุ์ในปัจจุบันและในอนาคตที่ไม่ไกลจากนี้ การจัดระดับอนุรักษ์ใช้กฎเกณฑ์ในการพิจารณาหลายข้อ มิใช่แต่เพียงจำนวนประชากรที่ยังคงเหลือ แต่การเพิ่มหรือลดจำนวนประชากรในช่วงเวลา, อัตราความสำเร็จในการแพร่พันธุ์, สิ่งที่เป็นภัยต่อสปีชีส์ และอื่นๆ ลำดับของความเสี่ยงแบ่งได้อย่างกว้างๆ เป็น.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และสถานะการอนุรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

นกกระสาแดง

นกกระสาแดง (Purple heron) เป็นนกน้ำในตระกูล Ardeidae มีถิ่นผสมพันธุ์อยู่ในแอฟริกา ยุโรปตอนกลางและตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก กลุ่มที่อาศัยอยู่ในยุโรปจะอพยพลงสู่เขตร้อนในแอฟริกาในฤดูหนาว ส่วนกลุ่มที่อาศัยอยู่ในเอเชียก็จะมีการอพยพลงใต้ภายในทวีปเช่นกัน จัดว่าเป็นนกที่หายาก แต่เวลาที่อพยพจะพบเห็นได้บ่อยในภูมิภาคทางตอนเหนือของถิ่นผสมพันธุ์ นกชนิดนี้จัดเป็นนกขนาดใหญ่ โดยมีความสูง 80-90 เซนติเมตร ความกว้างของปีกสองข้าง 120-150 เซนติเมตร แต่มีลำตัวผอมบาง มีน้ำหนักเพียง 500-1,300 กรัมเท่านั้น มีลักษณะใกล้เคียงกับนกกระสานวล แต่ขนาดค่อนข้างเล็กกว่า และมีสีขนที่แตกต่างกัน โดยนกกระสาแดงจะมีขนสีน้ำตาลแดงเข้ม และเมื่อโตเต็มวัย ขนที่หลังจะเป็นสีเทาเข้มขึ้น จะงอยปากมีสีเหลืองและแคบบาง ซึ่งในตัวเต็มวัยจะมีสีสว่างขึ้น.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และนกกระสาแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่

นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ (Greater crested tern) เป็นนกทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์นกนางนวลแกลบ (Sternidae) จัดเป็นนกนางนวลแกลบที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัวพอ ๆ กับนกนางนวลทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวลู่ลมตามประสานกนางนวลแกลบ แต่ก็มีขนาดใหญ่กว่านกนางแกลบด้วยกันอย่างเห็นได้ชัดเจน มีจะงอยปากแหลมสีเหลืองที่ใช้ในการหาอาหาร ปลายปีกแหลมยาว และลักษณะเด่นอันที่มาของชื่อสามัญ คือ มีขนกระจุกบริเวณท้ายทอยเหมือนหงอน ซึ่งนอกฤดูผสมพันธุ์จะมีลายดำเปรอะเป็นขีด ๆ ตั้งแต่รอบตา แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์หงอนจะมีสีเข้ม เหมือนใส่หมวกสีดำ แลดูสะดุดตามากยิ่งขึ้น มีถิ่นกระจายพันธุ์กว้างไกล พบได้ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนใต้ของแอฟริกา เรื่อยมาตามริมชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และรอบทวีปออสเตรเลีย รวมถึงหมู่เกาะในแถบนั้น เป็นนกที่หากินด้วยการพุ่งตัวลงไปในทะเลจับปลากินเป็นอาหาร สามารถลงไปได้ลึกถึง 1 เมตร และบินได้ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 10 กิโลเมตร ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่หนาแน่ตามชายฝั่งและเกาะ โดยจะวางไข่ครั้งละ 2 ฟองบนหลุมที่ขุดขึ้นบนดิน โดยในฝูงจะมีการป้องกันตัวจากนักล่าและปกป้องซึ่งกันและกัน ในประเทศไทย พบได้ตามอ่าวตะบูนและแหลมผักเบี้ย ในจังหวัดเพชรบุรี จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และนกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

แมวดาว

แมวดาว (Leopard cat) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเท่า ๆ กับแมวบ้าน แต่มีความคล่องแคล่วว่องไวกว่ามาก ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลอมเทา ลักษณะเด่นคือ ตามลำตัวมีจุดขนาดเล็กสีดำกระจายอยู่ทั่วไป ด้านข้างของหัวมีแถบสีน้ำตาลเข้ม 4—5 แถบ ขนบริเวณท้องมีสีขาวนวล แมวดาวตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย แมวดาวมีความยาวลำตัวและหัว 44.5—55 เซนติเมตร ความยาวหาง 23—29 เซนติเมตร น้ำหนัก 3—5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง พบตั้งแต่ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, รัสเซีย, อินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล, ภาคใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, สิงคโปร์ แมวดาว สามารถปรับตัวให้อยู่ในพื้นที่หลากหลายสภาพได้ บางครั้งอาจพบในป่าที่ใกล้กับพื้นที่ชุมชน ล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน พักผ่อนในเวลากลางวัน สามารถปีนต้นไม้ได้คล่องแคล่ว และยังสามารถว่ายน้ำได้อีกด้วย ปกติอาศัยและหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์ ที่อาจพบเห็นอยู่ด้วยกัน 2 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 65—72 วัน ออกลูกครั้งละ 2—4 ตัว จากการศึกษาในสถานที่เลี้ยงมีอายุยืนประมาณ 13 ปี นอกจากนี้แล้ว แมวดาวที่ผสมข้ามสายพันธุ์กับแมวบ้าน จะได้ลูกเป็นแมวพันทางสายพันธุ์ที่เรียกว่า แมวเบงกอล.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และแมวดาว · ดูเพิ่มเติม »

แมวน้ำลายพิณ

แมวน้ำลายพิณ หรือ แมวน้ำหลังอาน (Harp seal, Saddleback seal) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำพวกสัตว์กินเนื้อ จัดเป็นแมวน้ำชนิดหนึ่ง ที่เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล PagophilusWilson, D. E. & Reeder, D. M. (eds.) (2005).

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และแมวน้ำลายพิณ · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินจักรพรรดิ

นกวินจักรพรรดิ (Emperor Penguin) เป็นเพนกวินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสปีชีส์ต่างๆ ที่มีถิ่นฐานอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนและขนาดใกล้เคียงกัน สูงราว และหนักระหว่าง 22–37 กิโลกรัม (48–82 ปอนด์) ขนด้านหลังสีดำตัดกันกับขนด้านหน้าตรงบริเวณท้องที่มีสีขาว อกตอนบนสีเหลืองอ่อนและค่อยๆ ไล่ลงมาจนเป็นสีขาว และบริเวณหูเป็นสีเหลืองจัด เพนกวินจักรพรรดิก็เป็นเช่นเดียวกันกับเพนกวินชนิดอื่นที่เป็นนกที่บินไม่ได้ แต่มีรูปร่างที่เพรียวและปีกที่ลู่ตามตัวแต่แข็งแบนเหมือนครีบที่เหมาะกับการเป็นสัตว์น้ำมากกว่าที่จะเป็นนก อาหารที่บริโภคส่วนใหญ่เป็นปลา และรวมทั้งสัตว์ประเภทกุ้ง-กั้ง-ปู (crustacean) เช่น ตัวเคย และ สัตว์ประเภทเซฟาโลพอดเช่นปลาหมึก เมื่อดำน้ำหาอาหารเพนกวินจักรพรรดิสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 18 นาที และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 535 เมตรเนื่องจากลักษณะหลายอย่างที่ช่วยในการอยู่ใต้น้ำได้นานเช่นโครงสร้างของฮีโมโกลบินที่ทำให้มีชีวิตอยู่ได้ในบรรยากาศที่มีระดับออกซิเจนต่ำ โครงกระดูกที่แน่นที่ช่วยต้านความกดดันสูง (barotrauma) และความสามารถในการลดการเผาผลาญของร่างกาย (กระบวนการสร้างและสลาย) และการปิดการทำงานอวัยวะที่ไม่จำเป็นได้ เพนกวินจักรพรรดิมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจากการเดินทางราว 50 ถึง 120 กิโลเมตรจากฝั่งทะเลไปยังบริเวณที่ทำการผสมพันธุ์ทุกปีเพื่อที่จะไปหาคู่ ผสมพันธุ์ กกและฟักไข่ และเลี้ยงลูกนกที่เกิดใหม่ และเป็นเพนกวินชนิดเดียวที่ผสมพันธุ์ระหว่างฤดูหนาวแบบอาร์กติก แหล่งผสมพันธุ์อาจจะเป็นบริเวณกว้างใหญ่ที่มีเพนกวินอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นพันๆตัว ตัวเมียจะออกไข่ฟองเดียวทิ้งไว้ให้ตัวผู้ยืนกกระหว่างขาเป็นเวลาสองเดือนขณะที่ตัวเองเดินกลับไปทะเลเพื่อไปหาอาหารให้ตัวเองและนำกลับมาให้ลูกที่เกิดใหม่ เมื่อกลับมาทั้งพ่อและแม่ก็จะสลับกันเลี้ยงลูก อายุเฉลี่ยของเพนกวินจักรพรรดิราว 20 ปีและบางตัวอาจจะถึง 50 ปีก็ได้.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และเพนกวินจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Least Concernสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำจากการสูญพันธุ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »