โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

ดัชนี สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (Least Concern หรือ LC) คือระดับที่จัดโดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติแก่สิ่งมีชีวิตที่เมื่อพิจารณาแล้วไม่อยู่ในประเภทใดใด ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้จึงถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยังไม่เข้าข่ายสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Threatened species) หรือในข่ายสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Near Threatened) หรือ (ก่อน ค.ศ. 2001) สิ่งมีชีวิตที่จำเป็นต่อการอนุรักษ์ (Conservation Dependent) สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ นกกระสาแดง, นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่, เพนกวินจักรพรรดิ, แมวดาว, แมวน้ำลายพิณ และอื่นๆ สิ่งมีชีวิตจะจัดอยู่ในกลุ่ม “สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์” ก็ต่อเมื่อได้รับการพิจารณาสถานะของจำนวนประชากรที่เปรียบเทียบกับโดยตรงหรือโดยทางอ้อมกับการกระจายของประชากร และ/หรือ สถานภาพของประชากร ตั้งแต่ปี..

10 ความสัมพันธ์: บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติสถานะการอนุรักษ์ปลามะไฟปลาอีโต้มอญปลาตะเพียนจุดนกกางเขนเพนกวินจักรพรรดิเลียงผาญี่ปุ่นเหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกาNepenthes stenophylla

บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

#D59D00nbspเสี่ยงต่ออันตราย ตามที่ระบุใน “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ค.ศ. 2007” บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ บัญชีแดง (IUCN Red List of Threatened Species หรือ IUCN Red List หรือ Red Data List) บัญชีแดงที่เป็นดัชนีที่เริ่มสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1948 เป็นดัชนีรายชื่อที่สมบูรณ์ที่สุดของสถานภาพของสปีชีส์พืชและสัตว์ต่างๆ ของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) เป็นสถาบันหลักผู้มีอำนาจในการระบุฐานะสถานภาพต่างๆ ของสปีชีส์ นอกจากบัญชีแดงโดยทั่วไปแล้วก็ยังมีบัญชีแดงระดับท้องถิ่น (Regional Red List) ที่รวบรวมขึ้นโดยประเทศ หรือ องค์การต่างๆ ที่ประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์ภายในเขตการปกครองของแต่ละท้องถิ่นในความรับผิดชอบ “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” กำหนดขึ้นจากข้อกำหนด (criteria) ที่วางไว้อย่างจำเพาะเจาะจงในการประเมินระดับความเสี่ยงของสปีชีส์และสปีชีส์ย่อยเป็นจำนวนมาก วัตถุประสงค์ของรวบรวมดัชนีรายชื่อก็เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลอันเร่งด่วนเกี่ยวกับความจำเป็นในการอนุรักษ์แก่สาธารณชน และผู้มีอำนาจในการวางนโยบาย รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือประชาคมนานาชาติในการพยายามลดจำนวนการสูญพันธุ์ของสปีชีส์ต่างตามที่ระบุในดัชนี องค์การที่ร่วมในการประเมินระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสปีชีส์หลักก็รวมทั้งองค์การชีวปักษานานาชาติ (BirdLife International), สถาบันสัตวศาสตร์ (Institute of Zoology) (แผนกค้นคว้าของสมาคมสัตวศาสตร์แห่งลอนดอน (Zoological Society of London), องค์การติดตามผลการอนุรักษ์นานาชาติ (Conservation Monitoring Centre) และกลุ่มชำนัญพิเศษต่างๆ ภายในคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ การประเมินระดับความเสี่ยงจากองค์การต่างๆ ดังว่ารวมกันได้เป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของสปีชีส์ในบัญชีแดง “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” ถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นดัชนีที่มีความมีจุดมุ่งหมายและมีหลักการที่สุดในการจัดระดับสปีชีส์ตามระดับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ สหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติมีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินระดับความเสี่ยงของทุกสปีชีส์ใหม่ทุก 5 ถ้าทำได้ หรืออย่างน้อยก็ทุก 10 ปี ที่ทำโดยวิธีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review) โดยคณะกรรมการความอยู่รอดของสปีชีส์ (Species Survival Commission (SSC)) ซึ่งเป็นกลุ่มชำนัญพิเศษของสหภาพเอง ผู้มีความรับผิดชอบดัชนีรายชือสปีชีส์, กลุ่มสปีชีส์ หรือ กลุ่มสปีชีส์ของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง หรือในกรณีขององค์การชีวปักษานานาชาติก็จะตรวจสอบสปีชีส์ในอันดับนก “บัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ” ฉบับล่าสุดออกเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ที่เมืองบาร์เซโลนาในประเทศสเปน.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สถานะการอนุรักษ์

นะการอนุรักษ์ หรือ สถานะการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิต (Conservation status) คือการจัดระดับความเสี่ยงของสิ่งมีชีวิตที่จะทำให้เกิดการสูญพันธุ์ในปัจจุบันและในอนาคตที่ไม่ไกลจากนี้ การจัดระดับอนุรักษ์ใช้กฎเกณฑ์ในการพิจารณาหลายข้อ มิใช่แต่เพียงจำนวนประชากรที่ยังคงเหลือ แต่การเพิ่มหรือลดจำนวนประชากรในช่วงเวลา, อัตราความสำเร็จในการแพร่พันธุ์, สิ่งที่เป็นภัยต่อสปีชีส์ และอื่นๆ ลำดับของความเสี่ยงแบ่งได้อย่างกว้างๆ เป็น.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และสถานะการอนุรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลามะไฟ

ปลามะไฟ (Stoliczkae's barb) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวทรงสี่เหลี่ยมป้อมเล็กน้อย หัวสั้น ตาและปากมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด เกล็ดใหญ่ ลำตัวสีเงิน เหนือครีบอกและโคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีสีแดงเหลือบบนลำตัว ครีบใสมีสีแดงแต้ม และมีแถบสีคล้ำเล็กน้อย เป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมตัวเป็นฝูงในแหล่งน้ำลำธารที่ไหลเชี่ยวบนภูเขาในลุ่มแม่น้ำสาละวินและลุ่มแม่น้ำโขง แต่ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีนิสัยดุร้าย และมีอาณาเขตของตนเอง เป็นปลาที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาตะเพียนจุด", นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเสือภูเขา" หรือ "ปลามุมหมาย" นอกจากนี้แล้วปลามะไฟยังมีความคล้ายคลึงกันมากกับปลาอีกชื่อหนึ่งในสกุลเดียวกัน คือ P. ticto (Tic-tac-toe barb, Two-spot barb) ซึ่งอาจจะเป็นชื่อพ้องกันก็ได้ และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN Red List จัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์หรือ LC.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และปลามะไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอีโต้มอญ

ปลาอีโต้มอญ (Common dolphinfish) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Percifoemes) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coryphaena hippurus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอีโต้ (Coryphaenidae) ซึ่งมีอยู่ด้วยกันเพียง 2 ชนิดเท่านั้น ปลาอีโต้มอญ มีลำตัวยาวเรียว แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นลำตัวจะกว้างขึ้นและแบนข้างเล็กน้อย หัวงุ้มลง ทำให้มีรูปร่างคล้ายมีดโต้ อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีเกล็ดเล็กละเอียด ปากกว้างและเฉียงขึ้น ฟันเล็กละเอียด ครีบหลังยาวเริ่มตั้งแต่บริเวณโหนกหัวไปจนถึงโคนหาง ครีบหางใหญ่เว้าลึกรูปส้อม ตัวผู้มีโหนกหัวนูนออกไปข้างหน้าเป็นแนวตั้งฉากกับปากคล้ายกับโลมา อันเป็นที่มาของชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ ส่วนตัวเมียจะมีโหนกหัวลาดลง ปลาขนาดโตเต็มวัยลำตัวมีสีน้ำเงินปนเขียว ข้างตัวมีจุดดำเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วลำตัว มีความยาวตั้งแต่ 40-100 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดมีความยาวถึง 150 เซนติเมตร เป็นปลาที่อยู่รวมตัวกันเป็นฝูงขนาดไม่ใหญ่ อาศัยอยู่ในบริเวณน้ำลึก และมักขึ้นมาหากินและหาอาหารบริเวณผิวน้ำ มักพบอยู่บริเวณข้างเกาะแก่ง ตามต้นไม้หรือกิ่งไม้หรือซากอวนที่ลอยมาตามน้ำ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่องไว ว่ายน้ำได้เร็วมาก กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร เป็นปลาที่เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในการตกปลาเป็นเกมกีฬา เช่นเดียวกับปลากระโทง (Istiophoridae) หรือปลาทูน่า (Scombridae) เนื่องจากเป็นปลาที่สู้เบ็ดและมีความสวยงามเมื่อเวลาตก และนิยมจับเพื่อการประมงเชิงพาณิชย์ด้วย ซึ่งประเทศในแถบแคริบเบียนเป็นกลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากปลาอีโต้มอญกลุ่มใหญ่ของโลก ส่วนหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปมีปริมาณการบริโภคเพิ่มมากขึ้นทุกปี และญี่ปุ่นก็เป็นประเทศที่บริโภคปลาชนิดนี้เป็นปริมาณมากเช่นกัน ปลาอีโต้มอญ ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ในภาษาไทย เช่น "หน้ามอม", "อีโต้", "มงเจ้าเลือด", "โต้มอญ" หรือ "สีเสียดอินเดีย" เป็นต้น ในขณะที่ภาษาฮาวายจะเรียกว่า "Mahi-mahi" ซึ่งเป็นชื่อที่เพิ่งใช้ไม่นานมานี้ โดยจะปรากฏบนเฉพาะบนเมนูอาหาร ในขณะที่ภาษาสเปนจะเรียกว่า "Dorado" ที่หมายถึง ทองคำ สถานะของปลาอีโต้มอญ ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) ได้จัดให้อยู่สถานะสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ (LC).

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และปลาอีโต้มอญ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนจุด

ปลาตะเพียนจุด (Spotted barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่าง คือ ลำตัวแบนข้าง สันหลังโค้งเล็กน้อย หัวมีขนาดปานกลาง ปากแคบ มีหนวดยาว 2 คู่ โดยอยู่ที่จะงอยปาก 1 คู่ มุมปาก 1 คู่ ลำตัวมีสีเงินแวววาว มีจุดสีดำเป็นทรงกลมที่ครีบหลังและคอดหางแห่งละ 1 จุด เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบทั่วไปได้ที่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ตั้งแต่ พม่า, ไทย, มาเลเซีย ไปจนถึงอินโดนีเซีย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ง่ายบริเวณแหล่งน้ำที่เป็นลำธารหรือน้ำตกในป่าดิบ เช่น จังหวัดเชียงใหม่, นครศรีธรรมราช, จันทบุรี, ตราด, ชุมพร, เกาะช้าง และเกาะสมุย เป็นต้น มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง หากินตะไคร่น้ำและอินทรียสารตามโขดหินและพื้นน้ำ รวมทั้งแมลงน้ำขนาดเล็ก นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่ออยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN Red List) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ หรือ LC.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และปลาตะเพียนจุด · ดูเพิ่มเติม »

นกกางเขน

นกกางเขน หรือ นกกางเขนบ้าน (Oriental magpie robin) เป็นนกชนิดหนึ่งที่กินแมลง มีขนาดไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตร ส่วนบนลำตัวสีดำเงา ส่วนล่างตั้งแต่หน้าอกลงไปจะเป็นสีขาวหม่น ใต้หางและข้างหางมีสีขาว ปีกมีลายพาดสีขาวทั้งปีก ตัวผู้สีจะชัดกว่าตัวเมีย ส่วนที่เป็นสีดำในตัวผู้ ในตัวเมียจะเป็นสีเทาแก่ ปากและขาสีดำ มักจะพบเป็นตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หากินแมลงตามพุ่มไม้ บางครั้งก็โฉบจับแมลงกลางอากาศ หางของมันมักกระดกขึ้นลง ร้องเสียงสูงบ้าง ต่ำบ้าง ฟังไพเราะ ทำรังตามโพรงไม้ที่ไม่สูงนัก มันจะวางไข่ครั้งละ 4-5 ฟองและตัวเมียเท่านั้นจะกกไข่ และจะฟักไข่นานประมาณ 8-14 วัน อายุ 15 วัน แล้วจะเริ่มหัดบิน ในประเทศไทยพบทั่วไปในทุกภาคแม้ในเมืองใหญ่ ๆ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 นกกางเขนเป็นนกเกาะคอน (อันดับ Passeriformes) ที่เคยจัดเป็นวงศ์นกเดินดง (Turdidae) แต่ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์นกจับแมลงและนกเขน (Muscicapidae) เป็นนกสีดำขาวที่เด่น มองเห็นได้ง่าย มีหางยาวที่จะกระดกขึ้นลงเมื่อหาอาหารที่พื้นหรือจับบนต้นไม้ เป็นนกที่มีอยู่กระจายไปทั่วเอเชียใต้และบางส่วนของเอเชียอาคเนย์ เป็นนกที่สามัญทั้งตามสวนในเมืองและในป่า เป็นนกที่รู้จักกันดีเพราะร้องเสียงเพราะ และเคยเป็นนกเลี้ยงที่นิยม นกกางเขนเป็นนกประจำชาติของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเรียกนกว่า "Doyel" ชื่ออังกฤษของนกคือ Oriental Magpie Robin อาจจะเป็นเพราะนกดูคล้ายนกสาลิกาปากดำ (Common Magpie).

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และนกกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินจักรพรรดิ

นกวินจักรพรรดิ (Emperor Penguin) เป็นเพนกวินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสปีชีส์ต่างๆ ที่มีถิ่นฐานอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนและขนาดใกล้เคียงกัน สูงราว และหนักระหว่าง 22–37 กิโลกรัม (48–82 ปอนด์) ขนด้านหลังสีดำตัดกันกับขนด้านหน้าตรงบริเวณท้องที่มีสีขาว อกตอนบนสีเหลืองอ่อนและค่อยๆ ไล่ลงมาจนเป็นสีขาว และบริเวณหูเป็นสีเหลืองจัด เพนกวินจักรพรรดิก็เป็นเช่นเดียวกันกับเพนกวินชนิดอื่นที่เป็นนกที่บินไม่ได้ แต่มีรูปร่างที่เพรียวและปีกที่ลู่ตามตัวแต่แข็งแบนเหมือนครีบที่เหมาะกับการเป็นสัตว์น้ำมากกว่าที่จะเป็นนก อาหารที่บริโภคส่วนใหญ่เป็นปลา และรวมทั้งสัตว์ประเภทกุ้ง-กั้ง-ปู (crustacean) เช่น ตัวเคย และ สัตว์ประเภทเซฟาโลพอดเช่นปลาหมึก เมื่อดำน้ำหาอาหารเพนกวินจักรพรรดิสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานถึง 18 นาที และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 535 เมตรเนื่องจากลักษณะหลายอย่างที่ช่วยในการอยู่ใต้น้ำได้นานเช่นโครงสร้างของฮีโมโกลบินที่ทำให้มีชีวิตอยู่ได้ในบรรยากาศที่มีระดับออกซิเจนต่ำ โครงกระดูกที่แน่นที่ช่วยต้านความกดดันสูง (barotrauma) และความสามารถในการลดการเผาผลาญของร่างกาย (กระบวนการสร้างและสลาย) และการปิดการทำงานอวัยวะที่ไม่จำเป็นได้ เพนกวินจักรพรรดิมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจากการเดินทางราว 50 ถึง 120 กิโลเมตรจากฝั่งทะเลไปยังบริเวณที่ทำการผสมพันธุ์ทุกปีเพื่อที่จะไปหาคู่ ผสมพันธุ์ กกและฟักไข่ และเลี้ยงลูกนกที่เกิดใหม่ และเป็นเพนกวินชนิดเดียวที่ผสมพันธุ์ระหว่างฤดูหนาวแบบอาร์กติก แหล่งผสมพันธุ์อาจจะเป็นบริเวณกว้างใหญ่ที่มีเพนกวินอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นพันๆตัว ตัวเมียจะออกไข่ฟองเดียวทิ้งไว้ให้ตัวผู้ยืนกกระหว่างขาเป็นเวลาสองเดือนขณะที่ตัวเองเดินกลับไปทะเลเพื่อไปหาอาหารให้ตัวเองและนำกลับมาให้ลูกที่เกิดใหม่ เมื่อกลับมาทั้งพ่อและแม่ก็จะสลับกันเลี้ยงลูก อายุเฉลี่ยของเพนกวินจักรพรรดิราว 20 ปีและบางตัวอาจจะถึง 50 ปีก็ได้.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และเพนกวินจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

เลียงผาญี่ปุ่น

ลียงผาญี่ปุ่น (日本カモシカ; โรมะจิ: Nihon kamoshika; ชื่อวิทยาศาสตร์: Capricornis crispus) เป็นสัตว์จำพวกที่มีเขาเป็นเกลียว และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบคู่จำพวกเลียงผาชนิดหนึ่ง พบได้ในป่าทึบในประเทศญี่ปุ่น ส่วนมากกระจายพันธุ์อยู่บริเวณตอนเหนือและตอนกลางของเกาะฮนชู โดยเลียงผาญี่ปุ่นถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศในด้านการปกป้องและอนุรักษ์ธรรมชาติ ตัวโตเต็มวัยจะมีส่วนสูงราว 81 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 30-45 กิโลกรัม มีสีตัวตั้งแต่ดำไปจนถึงเทาและเมื่อกระทบกับแสงตะวันจะออกสีน้ำตาล มีขนหนาปุกปุยโดยเฉพาะตรงหาง ทั้งสองเพศต่างมีเขาขนาดเล็กโค้งงอไปด้านหลังเหมือนกันทำให้ยากที่จะจำแนกเพศด้วยสายตาได้ พวกมันอาศัยอยู่ในป่าภูเขาโดยจะออกหากินในช่วงเช้าและช่วงเย็นของวัน กินใบไม้, หน่อไม้ และลูกโอ็คเป็นอาหาร มักจะอาศัยอยู่แบบสันโดษหรือจับคู่กันอยู่หรือรวมกลุ่มกันอยู่ไม่เกินสี่ตัวและแต่ละกลุ่มจะไม่มีการปะปนเพศกัน พวกมันแบ่งอาณาเขตโดยปล่อยสารคัดหลั่งที่มีกลิ่นเปรี้ยว กลางศตวรรษที่ 20 พวกมันถูกล่าเป็นจำนวนมากจนเกือบจะสูญพันธุ์ ทำให้ในปี 1955 รัฐบาลญี่ปุ่นต้องตรากฎหมายและกำหนดให้เลียงผาญี่ปุ่นเป็น "อนุสรณ์พิเศษแห่งชาติ" ซึ่งเป็นการปกป้องพวกมันจากเหล่านายพราน หลังจากนั้นประชากรพวกมันก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติได้ระบุให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ และนำไปสู่การยกเลิกกฎหมายดังกล่าวในปี 1979 โดยการนำของนักป่าไม้และเกษตรกร ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เลียงผาญี่ปุ่นก็เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองใน 13 พื้นที่ใน 23 จังหวัด และพวกมันยังได้ถูกตีตราโดยนักอนุรักษ์ว่าเป็น "สมบัติในป่าไม้ของชาติที่มีชีวิต" Nohonkamoshika3.JPG|alt.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และเลียงผาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกา

หยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกา (American Kestrel) หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า Sparrow Hawk (เหยี่ยวนกกระจอก) เป็นเหยี่ยวปีกแหลมขนาดเล็ก และเป็นเหยี่ยวเคสเตรลชนิดเดียวที่พบในทวีปอเมริกา เป็นเหยี่ยวปีกแหลมที่พบมากในทวีปอเมริกาเหนือและพบในถิ่นอาศัยหลากหลายรูปแบบ ด้วยความยาว 19 - 21 เซนติเมตร มันจึงเป็นเหยี่ยวปีกแหลมขนาดเล็กที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ เหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกามีลักษณะต่างกันในสองเพศ ทั้งขนาดและชุดขน แม้ว่าทั้งสองเพศจะมีสีขนค่อนข้างแดงที่หลังที่เห็นได้ชัด นกวัยอ่อนมีชุดขนคล้ายนกโตเต็มวัย เหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกาล่าเหยื่อโดยการบินร่อนกลางอากาศด้วยการกระพือปีกอย่างรวดเร็ว และสอดส่ายสายตาพบพื้นเพื่อหาเหยื่อ ปกติจะกินตั๊กแตน, กิ้งก่า, หนู, และนกขนาดเล็กเป็นอาหาร เหยี่ยวทำรังในโพรงบนต้นไม้ หน้าผา อาคาร และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ตัวเมียวางไข่ครั้งละสามถึงเจ็ดใบ พ่อและแม่ช่วยกันกกไข่ เหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกาเป็นนกที่ใช้ในกีฬาล่าเหยื่อด้วยนกตระกูลเหยี่ยว โดยเฉพาะผู้เริ่มต้น พิสัยการผสมพันธุ์วางไข่เริ่มจากตอนกลางและตะวันตกของรัฐอะแลสกาข้ามไปยังตอนเหนือของประเทศแคนาดาถึงรัฐโนวาสโกเชีย และลงไปทางใต้ตลอดทวีปอเมริกาเหนือ ในตอนกลางประเทศเม็กซิโกและแคริบเบียน มันเป็นนกประจำถิ่นในอเมริกากลางและตลอดทั่วทวีปอเมริกาใต้ นกส่วนมากที่ผสมพันธุ์วางไข่ในประเทศแคนาดาและตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาจะอพยพลงใต้เมื่อฤดูหนาว พบนกอพยพหลงบางครั้งในทางตะวันตกของยุโรป.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และเหยี่ยวเคสเตรลพันธุ์อเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

Nepenthes stenophylla

Nepenthes stenophylla หรือ Narrow-Leaved Pitcher-Plant,Phillipps, A. & A. Lamb 1996.

ใหม่!!: สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์และNepenthes stenophylla · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Least Concernสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำจากการสูญพันธุ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »