โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สำนักฉวนเจิน

ดัชนี สำนักฉวนเจิน

ำนักฉวนเจิน (全真教) หรือฉวนเจินเต้า (全真道) เป็นลัทธิเต๋าสำนักหนึ่งที่นักพรตหวัง ฉงหยาง ก่อตั้งขึ้นทางตอนเหนือของจีนราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในสมัยราชวงศ์จิน เมื่อจักรวรรดิมองโกลรุกรานจีนสมัยราชวงศ์ซ่งในปี..

18 ความสัมพันธ์: บันเทิงคดีกำลังภายในชาวฮั่นชิว ชู่จีกิมย้งก๊วยเจ๋งมังกรหยกราชวงศ์จินราชวงศ์ซ่งราชครูจักรทองลัทธิเต๋าหวัง ฉงหยางอั้งฉิกกงอารามเมฆขาวจักรวรรดิมองโกลคริสต์ศตวรรษที่ 12เอี้ยก้วยเฮ้งชู่อิดเซียวเหล่งนึ่ง

บันเทิงคดีกำลังภายใน

ันเทิงคดีกำลังภายใน เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ที่ทำให้ผู้ฝึก (ซึ่งเรียกว่า จอมยุทธ์) มีความสามารถเหนือธรรมชาติต่าง ๆ บันเทิงคดีกำลังภายในโดยมากมักจะอ้างอิงถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศจีน.

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและบันเทิงคดีกำลังภายใน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและชาวฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ชิว ชู่จี

วาดชิว ชู่จี ชิว ชู่จี (丘處機) หรือฉายาทางเต๋าว่าฉางชุนจื้อ เป็นนักพรตเต๋าผู้มีตัวตนจริง มีชีวิตอยู่ช่วง..

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและชิว ชู่จี · ดูเพิ่มเติม »

กิมย้ง

thumb กิมย้ง หรือชื่อจริง จา เลี้ยงย้ง (Louis Cha Leung-yung) เป็นนักเขียนนิยายกำลังภายในที่ได้รับความนิยมมาก มักเขียนนิยายโดยแฝงเนื้อหาทางการเมืองบางอย่างไว้ โดยเฉพาะการวิจารณ์ระบบกษัตริย์ พรรคคอมมิวนิสต์ และลัทธิเชื้อชาติฮั่นเป็นใหญ่ กิมย้งมีหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเอง ชื่อ หมิงเป้า (明報) ปัจจุบัน กิมย้ง ยังมีชีวิตอยู่ และดูแลกิจการหนังสือพิม.

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและกิมย้ง · ดูเพิ่มเติม »

ก๊วยเจ๋ง

ก๊วยเจ๋ง (Guo Jing;; เสียชีวิต 31 มกราคม ค.ศ. 1173) เป็นตัวละครเอกในนิยายกำลังภายในของกิมย้ง เรื่องมังกรหยก และมีบทบาทในมังกรหยก ภาค 2 ก๊วยเจ๋งเป็น 1 ในห้ายอดฝีมือยุคที่ 2 มีฉายาว่า"จอมยุทธอุดร" แทนที่ยาจกอุดรอ้งฉิกกงและเป็นพี่น้องรวมสบานกับจิวแป๊ะทงอีกด้วย พ่อของก๊วยเจ๋งถูกสังหารตั้งแต่เขายังเป็นทารกในครรภ์ ทำให้แม่ของเขาพาหนีขึ้นเหนือ ก๊วยเจ๋งได้รับการเลี้ยงดูจากเผ่ามองโกล และมีเพื่อนในวัยเด็กเป็นลูกชายของเจงกีส ข่านที่มีนามว่า เซลุย หลังจากนั้นก๊วยเจ๋งได้รับคำสั่งของอาจารย์ให้เดินทางเข้าสู่ยุทธจักร และได้พบกับอึ้งย้ง ก๊วยเจ๋งเป็นศิษย์ของเจ็ดประหลาดแห่งกังหนำรับคำแนะนำด้านกำลังภายในจากเบ๊เง็ก และได้รับสืบทอดวิชาสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร จากประมุขพรรคกระยาจก อั้งฉิกกง ด้วยความช่วยเหลือของอึ้งย้ง รวมถึงรับการถ่ายทอดวิชาคัมภีร์เก้าอิมจินเก็ง วิชาสองมือขัดแย้ง และวิชาว่างเวิ้งว้างจากเฒ่าทารกจิวแป๊ะทง ในการประลองกับอ้าวเอี้ยงโคกที่เกาะดอกท้อก๊วยเจ๋งได้เอ่ยเนื้อหาในคัมภีร์เก้าอิมจินเกงออกมาโดยครบถ้วน โดยไม่ทราบมาก่อนเลยว่านั่นเป็นคำในคัมภีร์ ทำให้อึ้งเอี๊ยะซือคิดว่าภรรยาของตนดลบรรดาลช่วยเลือกก๊วยเจ๋งให้เป็นลูกเขย ครั้งนั้นทำให้อึ้งเอี๊ยะซือยอมรับก๊วยเจ๋งในฐานะบุตรเขย ในมังกรหยก ภาค 2 ทั้งสองคนได้แต่งงานกันและมีลูก 3 คน คือ ก๊วยพู๊ ก๊วยพั่วลู่และก๊วยเซียง ก๊วยเจ๋งยังได้รับเอี้ยก้วย ลูกชายของเอี้ยคังน้องร่วมสาบานซึ่งเป็นศัตรูในมังกรหยกภาคแรกมาเลี้ยงดูด้วย ก๊วยเจ๋งมีชื่อเสียงในด้านวิชาฝีมือ แต่ก็มีชื่อในทางลบด้านปัญญาทึบด้วยเช่นกัน เขาเป็นคนซื่อและมีจิตใจดี มีเมตตา หมวดหมู่:ตัวละครในนิยายกำลังภายใน หมวดหมู่:มังกรหยก หมวดหมู่:ตัวละครที่เป็นนักยิงธนู.

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและก๊วยเจ๋ง · ดูเพิ่มเติม »

มังกรหยก

มังกรหยก (อักษรจีนตัวเต็ม: 射鵰英雄傳; อักษรจีนตัวย่อ: 射雕英雄传; พินอิน: shè diāo yīng xióng zhuàn) เป็นนิยายกำลังภายใน แต่งโดยกิมย้ง มีภาคต่อในชุดเดียวกันอีกสองภาค คือ มังกรหยก ภาค 2 และดาบมังกรหยก แต่ชื่อเรื่องภาษาจีนและภาษาอังกฤษนั้นแยกกันเป็นคนละเรื่อง (ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ คือ The Legend of the Condor Heroes หรือ The Eagle-Shooting Heroes) ฉบับแปลภาษาไทยมีหลายสำนวน ยึดตามฉบับที่ลิขสิทธิ์ถูกต้องแปลโดย น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ความยาว 4 เล่มจบ และได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงวิดีโอเกม ด้วย ประกอบด้วยกัน 3 ภาค ได้แก่ ก๊วยเจ๋ง เอี๊ยก้วย และเตียบ่อกี้ ก๊วยเจ๋งและเอี๊ยก้วยเป็นภาคต่อกัน แต่ภาคเตียบ่อกี้ เป็นอีกหลายๆปีข้างหน้าต่อจากเอี๊ยก้ว.

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและมังกรหยก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จิน

ราชวงศ์จิน เป็นราชวงศ์ที่ถูกก่อตั้งโดยชนเผ่าหนี่เจิน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกแมนจู ในปี..

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและราชวงศ์จิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ราชครูจักรทอง

ราชครูจักรทอง เป็นตัวละครในนิยายกำลังภายในเรื่องมังกรหยก ซึ่งแต่งโดยกิมย้ง ราชครูจักรทอง หรือ กิมลุ้น เป็นมหาสมณะศักดิ์สิทธิ์แห่งมองโกล ฉายา กิมลุ้นกงซือ (ราชครูจักรทอง) มีศักดิ์เป็นธรรมราชานิกายลามะแดนทิเบต เวลามาฉายในไทยมีการเรียกแตกต่างกันไปเล็กน้อย บ้างเรียกว่าจ้าวธรรมจักรทอง บ้างเรียกลามะจักรทอง ในนิยายฉบับแก้ไขล่าสุดใช้กิมลุ้นกงซือ ส่วนฉบับเดิมใช้ฉายานามว่ากิมลุ้นฮวบอ้วง โดยฮวบอ้วงแปลว่า ธรรมราชา กิมลุ้นแปลว่า จักรทอง รวมเป็น ธรรมราชาจักรทอง ปรากฏว่ามีนักอ่านระบุว่าผู้แต่งดูแคลนลัทธิพุทธะตันตระของธิเบต สร้างภาพลบต่อนิกายลามะ แท้ที่จริงท่านกิมย้งให้ความเคารพต่อลัทธิพุทธะตันตระของทิเบตไม่ด้อยกว่าสำนักนิกายใดในพุทธศาสนา ในเรื่องนี้เขียนให้ลามะเป็นตัวร้าย หามีเจตนาตั้งข้อรังเกียจไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด ในฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่ล่าสุด ท่านกิมย้งจึงได้เปลี่ยนจาก ฮวบอ้วง (ธรรมราชา) เป็น กงซื้อ (ราชครู) ราชครูมองโกล ราชครูกิมลุ้นนั้น เข้ามามีบทบาทเฉพาะในมังกรหยกภาคสอง ในภาคแรกไม่เคยมีกล่าวถึงมาก่อน และในภาคดาบมังกรหยกก็ไม่มีกล่าวถึงอีกเช่นกัน ทั้งที่ราชครูกิมลุ้นเป็นอีกตัวละครที่มีพลังฝีมือสูงส่งทัดเทียมกับเหล่ายอดคนในยุคมังกรหยก นอกจากมีพลังฝีมือที่สูงล้ำ ยังมีภูมิรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีสติปัญญาที่ไม่ธรรมดา เนื่องจากราชครูกิมลุ้นเป็นตัวละครใหม่ ก่อนที่จะเปิดตัวกิมลุ้นนั้น ท่านกิมย้งได้มีการเกริ่นถึงพลังฝีมือของเขา โดยเมื่อครั้งที่อั้งฉิกกงประทะกับห้าอัปลักษณ์แดนทิเบตได้มีความรู้สึกว่ากำลังภายในของทั้งห้ามีแนวทางที่มาอยู่บ้าง สามารถถ่ายทอดกำลังภายในถึงกันได้ ถึงกับเอ่ยปากชมว่า วิชาฝีมือนี้ยอดเยี่ยม หลังจากนั้นอาวเอี้ยงฮงมาประทะกำลังภายในผ่านห้าคนนี้ ก็ต้องเอ่ยปากชมอีกว่า ทั้งห้ามีพลังการฝึกปรือล้ำเลิศ แปลว่าต้องเป็นศิษย์ของยอดคน ห้าอัปลักษณ์แดนทิเบตนั้นเป็นศิษย์ของตาเอ่อปา ซึ่งตาเอ่อปาก็เป็นศิษย์ของราชครูกิมลุ้นอีกที หลังจากนั้นกิมลุ้นมาเปิดตัวครั้งแรกในตอนชุนนุมชาวยุทธ และได้แสดงพลังฝีมืออันน่าตระหนก พูดถึงพลังฝีมือของกิมลุ้นแล้ว อยู่ในระดับเดียวกับก๊วยเจ๋งเลยทีเดียว แม้ไม่ได้ผ่านประสบการณ์พิสดารมากมายอย่างก๊วยเจ๋ง แต่มีอายุสูงวัยกว่ายี่สิบปี เท่ากับมีพลังการฝึกปรือมากกว่ายี่สิบปี หากทั้งสองต่อสู้กันตัวต่อตัว ต้องดำเนินถึงพันกระบวนท่า ค่อยพิสูจน์ผลแพ้ชนะ กิมลุ้นใช้จักรเป็นอาวุธ โดยมีทั้งหมดห้าแบบคือจักรเงิน ทอง ทองเหลือง เหล็ก ตะกั่ว ขณะที่เผชิญศัตรูสำคัญสามารถใช้จักรทั้งห้าได้อย่างพร้อมเพรียง ฉายาของท่านถ้าจะให้ถูกแล้วควรจะเรียกว่า โหงวลุ้นกงซือ (ราชครูห้าจักร) มากกว่า แต่เท่าที่ผ่านมา ใช้เพียงจักรทองอันเดียวก็พิชิตทั่วหล้าได้ ผู้คนจึงเรียก กิมลุ้นกงซื้อ (ราชครูจักรทอง) นอกการการใช้จักรทั้งห้าเป็นอาวุธแล้ว ยังมีพลังนาคคชสารปัญญาบารมี ที่ฝึกฝนจนกล้าแกร่ง วิชานี้มีอยู่สิบสามขั้น กิมลุ้นฝึกได้ถึงขั้นสิบ ซึ่งเป็นขั้นที่ไม่มีใครเคยฝึกได้ถึง แม้จะเป็นตัวร้ายของเรื่อง แต่ถ้าพูดถึงนิสัยใจคอแล้วก็ไม่ถึงกับชั่วร้ายมากนัก เพียงแต่อยู่คนละฝั่งกับกลุ่มพระเอกเท่านั้น กิมลุ้นเป็นคนที่ชมชอบวิชาบู๊ มีความมั่นใจในพลังฝีมือของตนเองสูง มีความใจเย็น รอบคอบ รู้วิชาหลายแขนง เย่อหยิ่งและมีความมั่นใจในพลังฝีมือและสติปัญญาของตัวเอง มีหลายๆครั้งก็ใช้สติปัญญาดำเนินแผนการแยบยล แต่จะอย่างไรถ้าพูดถึงความเจ้าเล่ห์เพทุบายแล้วยังคงไม่เทียบเท่าอึ้งย้งหรือเอี้ยก้วย ส่วนความชั่วร้ายอำมหิตนั้นก็ยังคงไม่เทียบเท่าลี้มกโช้ว มีแต่พลังฝีมือที่สูงล้ำโดดเด่น หลังจากฝึกพลังนาคคชสารปัญญาบารมี ถึงขั้นสิบก็คาดว่าไม่มีใครต่อต้านได้อีกแล้วไม่มีประโยชน์ที่จะฝึกต่อไป ปัญหาใหญ่ในชีวิตของกิมลุ้นคือไม่มีลูกศิษย์ที่ถูกใจไว้ให้สืบทอดวิชาฝีมือ ท่านแม้จะมีลูกศิษย์อยู่สามคน แต่ว่าคนแรกเสียชีวิตไปก่อน คนที่สองคือตาเอ่อปามีสติปัญญาอ่อนด้อย ส่วนคนที่สามคือฮั่วตู แม้จะมีสติปัญญาดีแต่มีนิสัยคดโกงชั่วร้ายหักหลังอาจารย์ เมื่อได้พบก๊วยเซียงอยากจะรับเป็นศิษย์แต่ก็ไม่สำเร็จ ตราบจนสิ้นชีวิตท่านก็ยังหาลูกศิษย์ที่ถูกใจไม่ได้ วิชาฝีมือที่พร่ำพยายามศึกษามาก็เป็นอันสูญสิ้นไม่มีผู้สืบทอดที่ดีพอ.

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและราชครูจักรทอง · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

หวัง ฉงหยาง

้งเตงเอี้ยง เฮ้งเตงเอี้ยง เกิดในช่วง..

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและหวัง ฉงหยาง · ดูเพิ่มเติม »

อั้งฉิกกง

อั้งฉิกกง (Hong Qigong - 洪七公) ฉายา ยาจกอุดร (บางฉบับแปลใช้ ขอทานอุดร) เป็นตัวละครในนิยายกำลังภายในเรื่องมังกรหยก แต่งโดยกิมย้ง อั้งฉิกกง มีนิสัยรักคุณธรรม ชอบท่องเที่ยว และโปรดปรานอาหารเลิศรส ทำให้ครั้งหนึ่งเคยเสียงานใหญ่เพราะห่วงกิน จึงลงโทษตัวเองต่อหน้าศิษย์พรรคยาจก ด้วยการตัดนิ้วชี้ข้างขวาตัวเองเป็นการไถ่โทษ จึงมีอีกฉายาว่า ยาจกเก้าดรรชนี เป็นประมุขพรรคกระยาจก รุ่นที่ 18 ได้รับการถ่ายทอดวิชาสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกรจากประมุขพรรคกระยาจกรุ่นก่อน 9 ฝ่ามือ เนื่องจากวิชาสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกร ได้มีการสูญหายไปตั้งแต่ยุคประมุขพรรคกระยาจก รุ่นที่ 3 ส่วนฝ่ามือที่เหลืออีก 9 ฝ่ามือ เกิดจากการบัญญัติคิดค้นขึ้นเอง แต่ไม่อาจคงอานุภาพเทียบเท่าสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกรต้นตำรับได้ อีกวิชาที่อั้งฉิกกง แตกฉานคือวิชาเพลงไม้เท้าตีสุนัข อั้งฉิกกง เป็นหนึ่งในห้ายอดฝีมือที่ประลองยุทธที่เขาหัวซาน โดยในขณะนั้นก็ใช้สิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกรที่ไม่สมบูรณ์นี้ โลดแล่นเทียบเคียงกับ อึ้งเอี๊ยะซือ อาวเอี้ยงฮง และอิดเต็งไต้ซือ อั้งฉิกกงโปรดปรานฝีมือการทำอาหารของอึ้งย้งเป็นที่สุด จึงรับก๊วยเจ๋งและอึ้งย้งเป็นศิษย์ ถ่ายทอดสิบแปดฝ่ามือพิชิตมังกรให้ก๊วยเจ๋ง และวิชาเพลงไม้ตีสุนัขให้อึ้งย้ง ภายหลังถูกพิษประจิมอาวเอี๊ยงฮงลอบทำร้าย จึงมอบตำแหน่งประมุขพรรคกระยาจกให้อึ้งย้งดูแลแทนบนเกาะร้าง ยาจกอุดรอั้งฉิกกงกับพิษประจิมอาวเอี้ยงฮงเป็นศัตรูกันมาโดยตลอด แต่เมื่อถึงวาระสุดท้ายทั้งสองกลับลืมความแค้นที่มีต่อกัน และจากไปพร้อมกันอย่างสงบ หมวดหมู่:ตัวละครในนิยายกำลังภายใน หมวดหมู่:ห้ายอดฝีมือ.

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและอั้งฉิกกง · ดูเพิ่มเติม »

อารามเมฆขาว

White Cloud Temple อารามเมฆขาว (白云观 ไป๋หวินก่วน; Baiyunguan) เป็นอารามในลัทธิเต๋า ตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นหนึ่งใน "สามหลักของศาลบรรพบุรุษ" เป็นสุดยอดของโรงเรียนที่สมบูรณ์แบบของลัทธิเต๋า ภายใต้ชื่อ "วัดแรกใต้เงาแห่งสวรรค์" แรกเริ่มเดิมทีสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง หลังจากปักกิ่งถูกควบคุมโดยกองทัพมองโกลในปี..

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและอารามเมฆขาว · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมองโกล

อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน..

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและจักรวรรดิมองโกล · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 12

ริสต์ศตวรรษที่ 12 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1101 ถึง ค.ศ. 1200.

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและคริสต์ศตวรรษที่ 12 · ดูเพิ่มเติม »

เอี้ยก้วย

อี้ยก้วย (อังกฤษ:Yang Guo,จีนตัวเต็ม: 楊過; จีนตัวย่อ: 杨过; พินอิน: Yáng Guò) เป็นตัวละครในนิยายกำลังภายใน บทประพันธ์โดย กิมย้ง ที่นำเอาประวัติศาสตร์จีนช่วงหนึ่งซึ่งตรงกับราชวงศ์ซ้องใต้ (หนานซ้อง-น่ำซ้อง) หรือประมาณ..

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและเอี้ยก้วย · ดูเพิ่มเติม »

เฮ้งชู่อิด

เฮ้งชู่อิด (Wang ChuYi) เป็นศิษย์รองต่อจากคิวชู่กี มีกำลังภายใน และฝีมือสูงส่งผู้หนึ่ง มีสติปัญญา และช่างเจรจา ในบรรดาศิษย์ทั้ง7แห่งช้วนจินก่ามีฝีมือเป็นอันดับ3 เป็นรองก็เพียงคิวชู่กีและเบ๊เง็ก ครั้งหนึ่งตั้งใจจะช่วยชีวิตของก๊วยเจ๋ง จาก4มาร แต่พลั้งพลาดถูกพิษโดยกลโกงของหนึ่งใน4มาร จึงได้รับอาการบาดเจ็บเป็นตายเท่ากัน ก๊วยเจ๋งและอึ้งย้ง จึงรับอาสาบุกเข้าในจวนของอ้วนง้วนเลียก ซึ่งในการณ์นั้นก๊วยเจ๋งผลัดหลงเข้าไปในห้องที่มีงูวิเศษและได้กินเลือดงูวิเศษโดยไม่ตั้งใจ ทำให้พละกำลังเพิ่มพูนอย่างมหาศาล ก่อนเข้านิกายช้วนจินก่า เฮ้งชู่อิด กับ ซุนปุดยี่ ได้อยู่ร่วมกันฉันท์สามี-ภรรยาอยู่ก่อนแล้ว ภายหลังเมื่อได้เข้าสู่นิกายช้วนจินก่าจึงได้แยกย้ายฝึกวิชา หมวดหมู่:ตัวละครในนิยายกำลังภายใน หมวดหมู่:มังกรหยก.

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและเฮ้งชู่อิด · ดูเพิ่มเติม »

เซียวเหล่งนึ่ง

ซียวเหล่งนึ่ง เซียวเหล่งนึ่ง บ้างสะกดเป็น เซียวเล่งนึ่ง หรือ เซียวเล้งนึ่ง เป็นหนึ่งในสตรีงามที่สุดในนิยายกำลังภายใน ไม่ทราบบิดามารดา เซียวเหล่งนึ่งถูกทิ้งไว้นอกนอกตำหนักเต้งเอี้ยงของสำนักช้วนจินก่าตั้งแต่ยังเป็นทารก แต่ตำหนักเต้งเอี้ยงเป็นสถาบันพรต ย่อมไม่สะดวกกับการเลี้ยงดูเด็กทารก บังเอิญสาวใช้ของลิ้มเซียวเอ็งผ่านมาเห็น ด้วยความเวทนาจึงได้รับอุปการะไว้ นำกลับไปเลี้ยงดูที่สุสานโบราณและรับเป็นศิษย์ถ่ายทอดวิชาให้ สตรีแซ่เล้งมีนามว่ากระไร บุคคลภายนอกย่อมไม่อาจทราบได้ จึงเรียกขานนางเป็น เซียวเหล่งนึ่ง ซึ่งแปลว่า ธิดามังกรน้อย เซียวเหล่งนึ่งปรากฏตัวครั้งแรกให้ผู้อ่านได้ยลโฉม ด้วยฉากในสุสานโบราณ ตอนที่ยายซุนสาวใช้ของนาง นำเอี้ยก้วยมารักษาอาการพิษจากผึ้งหยก โดยกิมย้งท่านได้บรรยายไว้ว่า นางอยู่ในชุดสีขาวราวแพรเบาบางห่อหุ้มคลุมกาย คล้ายกับเรือนร่างอยู่ท่ามกลางหมอกควัน นอกจากผมเผ้าที่ดำขลับ ตลอดทั้งร่างขาวผ่องราวหิมะ วงหน้างามพิลาสล้ำเหนือหญิงใดในโลกหล้า เมื่อเอี้ยก้วยได้เห็นถึงกับรู้สึกว่าสตรีนางนี้สดใสสะคราญ จนไม่อาจจับจ้องมองตรง.

ใหม่!!: สำนักฉวนเจินและเซียวเหล่งนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ลัทธิฉวนเจินสำนักช้วนจินก่าช่วนจินก่าช้วนจินก่า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »