สารบัญ
25 ความสัมพันธ์: บลูทูธกราวด์ (ไฟฟ้า)การแมทชิงอิมพีแดนซ์กูลเยลโม มาร์โกนีระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกระบบโทรศัพท์สถานีวิทยุกระจายเสียงสถานีโทรทัศน์สนามไฟฟ้าคลื่นวิทยุตัวขยายสัญญาณตัวแปรสัญญาณตัวเก็บประจุแลนไร้สายใยแก้วนำแสงโทรศัพท์เคลื่อนที่โทรทัศน์ไฟฟ้ากระแสสลับไวไฟไฮน์ริช เฮิรตซ์เกน (อิเล็กทรอนิกส์)เรดาร์เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์เครือข่ายไฟฟ้าเครื่องรับวิทยุ
บลูทูธ
ลูทูธ (Bluetooth) เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Networks - PAN) แบบไร้สาย บลูทูธช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อกันได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านทางคลื่นวิทยุ ที่มาของชื่อบลูทูธนั้นนำมาจากพระนามพระเจ้าฮาราลด์ บลูทูท (King Harald Bluetooth) ของประเทศเดนมาร์ก เพื่อเป็นการรำลึกถึงกษัตริย์ Bluetooth ผู้ปกครองประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ซึ่งในปัจจุบันเป็นกลุ่มผู้นำในด้านการผลิตโทรศัพท์มือถือป้อนสู่ตลาดโลก และระบบ Bluetooth นี้ ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับโทรศัพท์มือถือ และเริ่มต้นจากประเทศในแถบนี้ด้วยเช่นกัน.
กราวด์ (ไฟฟ้า)
รูปแบบหนึ่งของขั้วดิน (ด้านซ้ายของท่อสีเทา) ประกอบด้วยแท่งตัวนำหนึ่งแท่งที่ฝังลงในดินที่บ้านในประเทศออสเตรเลีย กราวด์ (ground) ในด้านวิศวกรรมไฟฟ้า หมายถึงจุดๆ หนึ่งในวงจรไฟฟ้าที่ใช้เป็นจุดอ้างอิงในการวัดแรงดันไฟฟ้า หรือใช้เป็นเส้นทางกลับร่วมกันของกระแสไฟฟ้าจากหลายๆที่ หรือจุดเชื่อมต่อทางกายภาพโดยตรงกับพื้นดิน สายไฟที่ลงดิน (สายดิน) จะต้องถูกกำหนดเป็นมาตรฐานให้ใช้สีที่แน่นอนเพื่อป้องกันการใช้ที่ไม่ถูกต้อง วงจรไฟฟ้าอาจจะถูกเชื่อมต่อกับพื้นดิน (พื้นโลก) ด้วยเหตุผลหลายประการ ในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟ AC เมนส์ ชิ้นส่วนโลหะที่ผู้ใช้สัมผัสได้จะถูกเชื่อมต่อกับพื้นดินเพื่อป้องกันผู้ใช้ไม่ให้สัมผ้สกับแรงดันไฟฟ้าที่เป็นอันตรายในกรณีที่ฉนวนไฟฟ้าล้มเหลว การเชื่อมต่อกับพื้นดินจะจำกัดกระแสไฟฟ้าสถิตที่ถูกสร้างขึ้นในการรับมือกับผลิตภัณฑ์ที่ติดไฟง่าย หรืออุปกรณ์ที่มีความไวต่อไฟฟ้าสถิต ในบางวงจรโทรเลขและบางระบบส่งกำลังไฟฟ้า แผ่นดินหรือผิวโลกเองสามารถถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในตัวนำสายส่งของวงจร ซึ่งจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งตัวนำสายส่งที่เป็นสายรีเทินที่แยกต่างหากไปหนึ่งเส้น (ดูระบบสายดินกลับ(single-wire earth return)) สำหรับวัตถุประสงค์ในการวัด กราวด์ทำหน้าที่เป็นจุดที่มีค่าความดันคงที่(พอสมควร) ที่สามารถถูกใช้เป็นจุดอ้างอิงสำหรับการวัดแรงดันที่จุดใดๆในวงจรได้ ระบบสายกราวด์ไฟฟ้าควรจะมีความสามารถในการเคลื่อนกระแสที่เหมาะสมในการทำหน้าที่เป็นแรงดันไฟฟ้าระดับอ้างอิงเป็นศูนย์ ในทางทฤษฎีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ "กราวด์" ในทางอุดมคติมักจะเป็นแหล่งจ่ายประจุหรือแหล่งระบายประจุที่ไม่มีที่สิ้นสุด ที่สามารถดูดซับกระแสได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแรงดันที่จุดนั้น ในขณะที่การเชื่อมต่อกับพื้นดินที่แท้จริงมักจะมีความต้านทานเกิดขึ้น ดังนั้นแรงดันของดินที่ใกล้เคียงกับศูนย์จึงไม่สามารถทำได้ แรงดันไฟฟ้ากระจัดกระจายหรือผลกระทบของแรงดันดินจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจสร้างการรบกวนในสัญญาณต่างๆ หรือถ้าผลกระทบนั้นมีขนาดใหญ่พอ การรบกวนนั้นอาจจะสร้างอันตรายจากการช็อก(shock)ไฟฟ้าได้ การใช้คำว่ากราวด์เป็นเรื่องธรรมดาในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ใชัในอุปกรณ์แบบพกพาเช่นโทรศัพท์มือถือ และเครื่องเล่นสื่อในยานพาหนะที่อาจจะพูดว่ามี"กราวด์" โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นจริงกับดินแต่อย่างใด โดยปกติจะเป็นแค่สายไฟตัวนำขนาดใหญ่ที่ต่ออยู่กับ ด้านใดด้านหนึ่งของแหล่งจ่ายไฟ (เช่น"ground plane" ในแผงวงจรพิมพ์) ซึ่งทำหน้าที่เป็น เส้นทางกลับร่วมกันสำหรับกระแสจากชิ้นส่วนต่างๆหลายจุดในวงจร.
การแมทชิงอิมพีแดนซ์
ในสาขาอิเล็กทรอนิกส์ การแมทชิงอิมพีแดนซ์ (impedance matching)อิมพีแดนซ์ทางไฟฟ้าหมายถึงอัตราส่วนของเฟสแรงดันไฟฟ้าต่อเฟสกระแสไฟฟ้า เป็นการวัดแรงต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าที่เปลียนแปลงไปตามเวลาในวงจรไฟฟ้าหนึ่ง คือการปฏิบัติเพื่อการออกแบบอิมพีแดนซ์ด้านขาเข้า (input impedance) ของโหลดไฟฟ้า เพื่อเพิ่มการถ่ายโอนพลังงานจากแหล่งกำเนิดสัญญาณให้ได้มากสุด หรืออิมพีแดนซ์ด้านขาออก (output impedance) ของแหล่งกำเนิดสัญญาณเพื่อลดการสะท้อนสัญญาณจากโหลดไฟฟ้าให้ต่ำสุด ในกรณีที่มีความซับซ้อน อิมพีแดนซ์ของแหล่งจ่ายไฟ ZS และอิมพีแดนซ์ของโหลด ZL การถ่ายโอนพลังงานสูงสุดจะเป็นไปได้เมื่อ เมื่อเครื่องหมายดอกจันหมายถึงค่า complex conjugateค่าซับซ้อนสองค่า ส่วนที่เป็นค่าจริงจะเท่ากันแต่ส่วนที่เป็นค่าในอุดมคติมีเครื่องหมายต่างกัน เช่นค่า complex conjugate ของ 3+4i คือ 3−4i เป็นต้น ของตัวแปร เมื่อ ZS หมายถึงอิมพีแดนซ์ลักษณะเฉพาะ (characteristic impedance) (หรือแค่อิมพีแดนซ์) ของสายส่ง, การสะท้อนต่ำสุดจะเป็นไปได้เมื่อ แนวคิดของการแมชชิงอิมพีแดนซ์พบการใช้งานครั้งแรกในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แต่ก็มีความเกี่ยวข้องในการใช้งานอื่น ๆ ในที่ซึ่งรูปแบบหนึ่งของพลังงาน, ไม่จำเป็นต้องเป็นไฟฟ้า, จะมีการโอนระหว่างแหล่งจ่ายกับโหลด ทางเลือกในการแมทชิงอิมพีแดนซ์ก็คือการสะพานอิมพีแดนซ์ (impedance bridging) ซึ่งอิมพีแดนซ์ของโหลดจะถูกเลือกให้มีขนาดใหญ่กว่าความต้านทานของแหล่งจ่ายไฟอย่างมาก เพื่อให้สามารถถ่ายโอนแรงดันให้มากที่สุด (มากกว่าจะเป็นการถ่ายโอนพลังงาน) อันเป็นเป้าหมายในการทำงานแบบนี้.
ดู สายอากาศและการแมทชิงอิมพีแดนซ์
กูลเยลโม มาร์โกนี
กูลเยลโม มาร์โกนี กูลเยลโม มาร์โกนี (Guglielmo Marconi; 25 เมษายน ค.ศ. 1874 – 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1937) เป็นวิศวกรไฟฟ้าชาวอิตาลี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ.
ดู สายอากาศและกูลเยลโม มาร์โกนี
ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก
วาดแสดงดาวเทียม NAVSTAR ของสหรัฐ เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส KAMAZ NAAV450 เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส แมเกลลัน เบลเซอร์ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก เรียกย่อว่า จีพีเอส (Global Positioning System: GPS) หรือรู้จักในชื่อ นาฟสตาร์ (Navstar) คือระบบดาวเทียมนำร่องโลก (์Global Navigation Satellite System: GNSS) เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลกทำให้สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลกและในทุกสภาพอากาศ รวมถึงสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางเพื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ในการนำทางได้.
ดู สายอากาศและระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก
ระบบโทรศัพท์
รูปแสดงระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ระบบโทรศัพท์ (telephony) เป็นสาขาหนึ่งของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา, การนำไปประยุกต์ใช้งาน, การใช้งานบริการโทรคมนาคมสำหรับการส่งผ่านแบบอิเล็กทรอนิกส์ของเสียง, โทรสาร และข้อมูลระหว่างบุคคลที่อยู่ห่างไกล.
สถานีวิทยุกระจายเสียง
งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุกระจายเสียง เป็นสถานที่ของหน่วยงาน ซึ่งทำหน้าที่สื่อสารมวลชน ด้วยการใช้เครื่องส่งกระจายเสียงผ่านคลื่นวิทยุ โดยใช้เสากระจายสัญญาณ ออกไปยังผู้ฟังผ่านเครื่องรับวิท.
ดู สายอากาศและสถานีวิทยุกระจายเสียง
สถานีโทรทัศน์
นีโทรทัศน์ เป็นหน่วยงาน ที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ หรือเป็นผู้รับสัมปทานคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ รวมถึงเป็นผู้จัดสรรเวลาในการออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ ผ่านคลื่นความถี่ดังกล่าว และยังเป็นบริการส่งสัญญาณออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ ไปสู่เครื่องรับโทรทัศน์ โดยผ่านคลื่นความถี่ทางอากาศ โดยมากจะอยู่ในรูปของนิติบุคคล บริษัทจำกั.
สนามไฟฟ้า
นามไฟฟ้า (electric field) คือปริมาณซึ่งใช้บรรยายการที่ประจุไฟฟ้าทำให้เกิดแรงกระทำกับอนุภาคมีประจุภายในบริเวณโดยรอบ หน่วยของสนามไฟฟ้าคือ นิวตันต่อคูลอมบ์ หรือโวลต์ต่อเมตร (มีค่าเท่ากัน) สนามไฟฟ้านั้นประกอบขึ้นจากโฟตอนและมีพลังงานไฟฟ้าเก็บอยู่ ซึ่งขนาดของความหนาแน่นของพลังงานขึ้นกับกำลังสองของความหนานแน่นของสนาม ในกรณีของไฟฟ้าสถิต สนามไฟฟ้าประกอบขึ้นจากการแลกเปลี่ยนโฟตอนเสมือนระหว่างอนุภาคมีประจุ ส่วนในกรณีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้น สนามไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับสนามแม่เหล็ก โดยมีการไหลของพลังงานจริง และประกอบขึ้นจากโฟตอนจริง.
คลื่นวิทยุ
ลื่นวิทยุ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงความถี่วิทยุบนเส้นสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นวิทยุไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ใช้ในการสื่อสารมี 2 ระบบคือ A.M.
ตัวขยายสัญญาณ
ตัวอย่างวงจรขยายกำลังสัญญาณ ตัวขยายสัญญาณ หรือ วงจรขยายสัญญาณ (Electronic Amplifier or Amplifier) หรือเรียกสั้นๆว่า Amp เป็นอุปกรณ์หรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยเพิ่มขนาดหรือกำลังของสัญญาณ โดยการใช้พลังงานจากแหล่งจ่ายไฟและการควบคุมสัญญาณเอาต์พุทให้มีรูปร่างเหมือนสัญญาณอินพุท แต่มีขนาดใหญ่กว่า ในความหมายนี้ ตัวขยายสัญญาณทำการกล้ำสัญญาณ (modulate) เอาต์พุทของแหล่งจ่ายไฟ ตัวขยายอิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทพื้นฐานได้แก่ ตัวขยายแรงดัน, ตัวขยายกระแส, ตัวขยาย transconductance และตัวขยาย transresistance ความแตกต่างอยู่ที่สัญญาณเอาต์พุตจะแทนความหมายของสัญญาณอินพุทแบบเชิงเส้นหรือแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล ตัวขยายสัญญาณยังสามารถถูกแยกประเภทโดยการแทนที่ทางกายภาพในขบวนของสัญญาณด้วย ในบทความนี้ ตัวขยายสัญญาณหมายถึงอุปกรณ์เช่นทรานซิสเตอร์, หลอดสูญญากาศ ฯลฯ วงจรขยายสัญญาณหมายถึงอุปกรณ์ขยายสัญญาณหรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆที่ขยายสัญญาณ.
ตัวแปรสัญญาณ
ตัวแปรสัญญาณ (Transducer) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงสัญญาณของพลังงานในรูปแบบหนึ่งเป็นพลังงานในอีกรูปแบบหนึ่ง พลังงานดังกล่าวรวมถึง (แต่ไม่จำกัด เพียงเท่านี้) พลังงานไฟฟ้า, เครื่องกล, แม่เหล็กไฟฟ้า (รวมทั้งแสง), พลังงานเคมี, พลังงานเสียง, หรือพลังงานความร้อน ตัวแปรสัญญาณปกติจะหมายถึงเซ็นเซอร์/เครื่องตรวจจับ และใช้กันอย่างแพร่หลายในเครื่องมือวัดต่างๆ เซ็นเซอร์จะใช้ในการตรวจสอบพารามิเตอร์ในรูปแบบหนึ่ง และรายงานในอีกรูปแบบหนึ่งของพลังงาน ซึ่งมักจะเป็นสัญญาณไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น เซ็นเซอร์ความดันอาจตรวจจับความดัน (รูปแบบเชิงกลของพลังงาน) และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าสำหรับจอแสดงผลที่เครื่องวัดระยะไกล Actuator จะทำงานตรงกันข้ามกับ transducer นั่นคือ actuator รับพลังงานไฟฟ้าและเปลี่ยนเป็นการเคลื่อนไหว เช่นมอเตอร์ไฟฟ้าและ ลำโพงเป็น actuator ทั้งสองอย่างนี้แปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นการเคลื่อนไหว เพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน.
ตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุ หรือ คาปาซิเตอร์ (capacitor หรือ condenser) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในรูปสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บ้างเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) แต่ส่วนใหญ่เรียกสั้น ๆ ว่า แคป (Cap) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร มีคุณสมบัติตรงข้ามกับตัวเหนี่ยวนำ จึงมักใช้หักร้างกันหรือทำงานร่วมกันในวงจรต่าง ๆ เป็นหนึ่งในสามชิ้นส่วนวงจรเชิงเส้นแบบพาสซีฟที่ประกอบขึ้นเป็นวงจรไฟฟ้า ในระบบจ่ายไฟฟ้าใช้ตัวเก็บประจุเป็นชุดหลายตัวเพิ่มค่าตัวประกอบกำลัง (Power factor) ให้กับระบบไฟฟ้าที่เรียกว่า แคปแบงค์ (Cap Bank) ตัวเก็บประจุบางชนิดในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกนำมาใช้แทนแบตเตอรี่ เช่น ตัวเก็บประจุยิ่งยวด (Supercapacitor).
แลนไร้สาย
ตัวอย่างของแลนไร้สาย แลนไร้สาย (wireless LAN) หรือ WLAN คือ เทคโนโลยีที่เชื่อมอุปกรณ์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการกระจายแบบไร้สาย (ส่วนใหญ่แล้ว จะใช้คลื่นวิทยุแบบกระจายความถี่ หรือ OFDM(Orthogonal Frequency Division Multiplex) และโดยปกติแล้ว จะมีการเชื่อมต่อผ่านทาง Access Point (AP) เพื่อเข้าไปยังโลกอินเทอร์เน็ต แลนไร้สายทำให้ผู้ใช้สามารถนำพาหรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปยังพื้นที่ใดก็ได้ที่มีสัญญาณของแลนไร้สาย และยังสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ตามปกติ WLANs ที่ทันสมัยส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานมาจากมาตรฐาน IEEE 802.11 ที่ถูกวางตลาดภายใต้ชื่อแบรนด์ Wi-Fi.
ใยแก้วนำแสง
ใยแก้วนำแสงใยแก้วนำแสง หรือ ออปติกไฟเบอร์ หรือ ไฟเบอร์ออปติก เป็นแก้วหรือพลาสติกคุณภาพสูง ที่สามารถยืดหยุ่นโค้งงอได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 8-10 ไมครอน (10 ไมครอน.
โทรศัพท์เคลื่อนที่
ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน..
ดู สายอากาศและโทรศัพท์เคลื่อนที่
โทรทัศน์
อรมนี สมัยปี พ.ศ. 2501 โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) เครื่องรับโทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นในปี ค.ศ.
ไฟฟ้ากระแสสลับ
แสดงความแตกต่างระหว่างไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ กระแสตรงอาจเป็นบวกหรือลบก็ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ไปก็กลับ แต่กระแสสลับ วิ่งไปวิ่งกลับตลอดเวลา จำนวนรอบของไทยคือ 50 รอบต่อวินาที หรือ 50 Hz ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Electricity: AC หรือ ac) หมายถึงกระแสที่มีทิศทางไปและกลับตลอดระยะเวลา มีการสลับขั้วบวกและลบกันอยู่ตลอดเวลา ไม่เหมือนกระแสตรง (Direct Current, DC หรือ dc) ที่ไฟฟ้าจะไหลไปในทิศทางเดียวและไม่ไหลกลับ เช่น ไฟฟ้าที่ได้จากถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ของรถยนต์ เป็นต้น ไฟฟ้ากระแสสลับจึงเป็นไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับบ้านเรือนหรือธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าปริมาณมากๆ รูปคลื่นเป็น sine wave ในบางกรณี รูปคลื่นอาจเป็นสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม ภาพจำลองการส่งคลื่น AC จาก generator ซึ่งส่งพลังงานกลับทิศทางตลอดเวล.
ไวไฟ
วไฟ (Wi-Fi หรือ WiFi) เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมที่ช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายโดยใช้คลื่นวิทยุ คำ ๆ นี้เป็นเครื่องหมายการค้าของ Wi-Fi Alliance ที่ได้ให้คำนิยามของไวไฟว่าหมายถึง "ชุดผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (แลนไร้สาย) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11" อย่างไรก็ตามเนื่องจากแลนไร้สายที่ทันสมัยส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับมาตรฐานเหล่านี้ คำว่า "ไวไฟ" จึงนำมาใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไปโดยเป็นคำพ้องสำหรับ "แลนไร้สาย" เดิมทีไวไฟออกแบบมาใช้สำหรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ และใช้เครือข่าย LAN เท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมใช้ไวไฟเพื่อต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องเล่นเกมส์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กล้องดิจิทัลและเครื่องเสียงดิจิทัล สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอคเซสพอยต์รือ ฮอตสปอต และบริเวณที่ระยะทำการของแอคเซสพอยต์ครอบคลุมอยู่ที่ประมาณ 20 ม.ในอาคาร แต่ระยะนี้จะไกลกว่าถ้าเป็นที่โล่งแจ้ง ภาพของอุปกรณ์ส่งข้อมูลแบบไร้สายไปยังอุปกรณ์อื่นทั้งที่เชื่อมต่อกับแลนไร้สายและเครือข่ายท้องถิ่นใช้สายในการพิมพ์เอกสาร Wi-Fi มีความปลอดภัยน้อยกว่าการเชื่อมต่อแบบมีสาย (เช่น Ethernet) เพราะผู้บุกรุกไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อทางกายภาพ หน้าเว็บที่ใช้ SSL มีความปลอดภัย แต่การใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เข้ารหัสสามารถจะตรวจพบโดยผู้บุกรุก ด้วยเหตุนี้ Wi-Fi ได้พัฒนาเทคโนโลยีการเข้ารหัสต่าง ๆ มากมาย WEP เป็นการเข้ารหัสรุ่นแรก ๆ พิสูจน์แลัวว่าง่ายต่อการบุกรุก โพรโทคอลที่มีคุณภาพสูงกว่าได้แก่ WPA, WPA2 มีเพิ่มขึ้นมาในภายหลัง คุณลักษณะตัวเลือกที่เพิ่มเข้ามาในปี 2007 ที่เรียกว่า Wi-Fi Protected Setup (WPS) มีข้อบกพร่องร้ายแรงที่ยอมให้ผู้โจมตีสามารถกู้คืนรหัสผ่านของเราเตอร์ได้ Wi-Fi Alliance ได้ทำการปรับปรุงแผนการทดสอบและโปรแกรมการรับรองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเพื่อให้แน่ใจว่า อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองใหม่ทั้งหมดสามารถต่อต้านการโจมตีได้.
ไฮน์ริช เฮิรตซ์
น์ริช เฮิรตซ์ (Heinrich Hertz; 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 — 1 มกราคม พ.ศ. 2437) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน และเป็นคนแรกที่พิสูจน์ถึงการมีอยู่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากทฤษฎีของแมกซ์เวลล์ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าของแสง เฮิรตซ์พิสูจน์ทฤษฎีโดยการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ส่งและรับคลื่นวิทยุโดยใช้การทดลอง นั่นให้เหตุผลถึงปรากฏการณ์แบบไร้สายอื่น ๆ ที่รู้จัก หน่วยวิทยาศาสตร์ของความถี่ รอบต่อวินาที ถูกตั้งชื่อเป็น เฮิรตซ์ เพื่อเป็นเกียรติแก.
เกน (อิเล็กทรอนิกส์)
ในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ เกน เป็นการวัดความสามารถของวงจรอิเล็กทรอนิกส์สองพอร์ต (มักจะเป็นตัวขยายสัญญาณ) เพื่อเพิ่มพลังหรือความสูง (amplitude) ของสัญญาณจากพอร์ตอินพุทไปยังพอร์ตเอาท์พุท โดยการเพิ่มพลังงานที่ถูกแปลงจากแหล่งจ่ายไฟไปเป็นสัญญาณ มันมักจะถูกกำหนดให้เป็นอัตราส่วนเฉลี่ยของขนาดสัญญาณหรือกำลังงานที่พอร์ตเอาท์พุทต่อขนาดสัญญาณหรือกำลังงานที่พอร์ตอินพุต มันมักจะแสดงค่าโดยใช้หน่วยเป็นเดซิเบล (dB)("dB gain") เกนที่มากกว่าหนึ่ง (ศูนย์เดซิเบล) เป็นการขยายสัญญาณและเป็นคุณสมบัติที่กำหนดให้กับองค์ประกอบหรือวงจรแบบแอคทีฟ (active element) ในขณะที่วงจรแบบ passive จะมีเกนน้อยกว่าหนึ่ง คำว่า เกน เฉย ๆ จะกำกวมไม่ชัดเจนและสามารถหมายถึงอัตราส่วนของเอาท์พุทต่ออินพุตของแรงดันไฟฟ้า (เกนแรงดันไฟฟ้า) ของกระแส (เกนกระแสไฟฟ้า) หรือของกำลังงานไฟฟ้า (เกนกำลังงานไฟฟ้า) ก็ได้ ในด้านเสียงและตัวขยายสัญญาณอเนกประสงค์, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ออปแอมป์ คำนี้มักจะหมายถึงเกนแรงดันไฟฟ้า แต่ในตัวขยายสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ มันมักจะหมายถึงเกนกำลังงาน นอกจากนี้คำว่าเกนยังถูกนำไปประยุกต์ใช้ในระบบเซ็นเซอร์ที่ input และ output มีหน่วยที่แตกต่างกัน ในกรณีดังกล่าวหน่วยของเกนจะถูกระบุใหม่ เช่นเป็น "5 microvolts ต่อโฟตอน" สำหรับค่าความสามารถในการตอบสนอง (responsivity) ของตัวตรวจจับแสง (photosensor) เป็นต้น.
ดู สายอากาศและเกน (อิเล็กทรอนิกส์)
เรดาร์
รดาร์ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีขององค์การนาซา เสาอากาศเรดาร์ระยะไกลที่เรียกว่า Altair ที่ใช้ในการตรวจจับและติดตามวัตถุในพื้นที่ร่วมกับการทดสอบ ABM ที่ไซต์ทดสอบโรนัลด์ เรแกนบนเกาะควาจาลีน (Kwajalein) เรดาร์ (radar) เป็นระบบที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการระบุระยะ (range), ความสูง (altitude) รวมถึงทิศทางหรือความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ เดิมทีตั้งแต่ปี..
เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์
เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ นักฟิสิกส์ เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell พ.ศ. 2374-2422) นักฟิสิกส์ เกิดที่เมืองเอดินเบิร์ก สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กและเคมบริดจ์ และเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยอาเบอร์ดีน (พ.ศ.
ดู สายอากาศและเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์
เครือข่ายไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้าอย่างง่ายประกอบไปด้วยแหล่งจ่ายไฟและตัวต้านทาน ในวงจรนี้จะเห็นว่า V.
เครื่องรับวิทยุ
รื่องรับวิทยุรุ่นเก่า เครื่องรับวิทยุ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางเดียวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รับและเลือกคลื่นวิทยุจากสายอากาศ แล้วนำไปสู่ภาคขยายต่อไป โดยมีช่วงความถี่ของคลื่นที่กว้าง แล้วแต่ประเภทของการใช้งาน โดยทั่วไป คำว่า "เครื่องวิทยุ" มักจะใช้เรียกเครื่องรับสัญญาณความถี่กระจายเสียง เพื่อส่งข่าวสาร และความบันเทิง โดยมีย่านความถี่หลักๆ คือ คลื่นสั้น คลื่นกลาง และคลื่นยาว.