โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สะพานเหล็ก

ดัชนี สะพานเหล็ก

นดำรงสถิตในปี พ.ศ. 2545 สะพานเหล็ก คือ สะพานเหล็กข้ามคลองรอบกรุง บริเวณคลองโอ่งอ่าง ของกรุงเทพมหานคร บนถนนเจริญกรุง ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร มีชื่อเรียกอย่างทางการว่า "สะพานดำรงสถิต" ในปีพุทธศักราช 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนเจริญกรุงและรื้อสร้างสะพานเหล็กใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้ การก่อสร้างสะพานเหล็กบนทำให้ต้องมีการย้ายประตูและกำแพงวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ริมถนนเจริญกรุงบางส่วน จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "สะพานดำรงสถิต" เพื่อเป็นเกียรติแด่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำหรับสะพานเหล็กล่าง พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งมีวังที่ประทับตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน โดยทั้ง 2 สะพานนี้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ในฐานะแม่กองจัดสร้าง สิ้นเงินไปทั้งสิ้น 23,200 บาท ในปีพุทธศักราช 2518 ทั้ง 2 สะพานได้ถูกขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรให้เป็นโบราณสถานของชาติ บริเวณเชิงสะพานเหล็ก และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียงคือ คลองถม เคยเป็นแหล่งค้าขายสินค้าที่คับคังมาก โดยเฉพาะในวันหยุดสัปดาห์ มีสินค้าหลากหลายประเภท เช่น วิดีโอเกม, โมเดลตุ๊กตา, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ซีดี และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงสื่อลามกอนาจารอีกจำนวนมาก จนกลายเป็นแหล่งการค้าที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่ทว่าในช่วงกลางปีค่อนไปทางปลายปี..

20 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดากรมศิลปากรกรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)วิดีโอเกมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)สะพานสะพานพระปกเกล้าสะพานพิทยเสถียรสะพานภาณุพันธุ์สะพานหันถนนเจริญกรุงคลองรอบกรุงคลองถมคลองโอ่งอ่างงานลามกแผ่นซีดีเขตพระนคร

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: สะพานเหล็กและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 62 ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด) ซึ่งท้าววรจันทร์(เจ้าจอมมารดาวาด)เป็นธิดานายสมบุญ งามสมบัติ กับท้าวปฏิบัติบิณฑทาน (ถ้วย) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดาประสูตรเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุนเบญจศก..

ใหม่!!: สะพานเหล็กและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา · ดูเพิ่มเติม »

กรมศิลปากร

กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาต.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและกรมศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

กรุงเทพมหานคร (ย่อ: กทม.; Bangkok Metropolitan Administration, BMA) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่บริหารเขตการปกครองพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) · ดูเพิ่มเติม »

วิดีโอเกม

กม ''ป็อง'' ถือได้ว่าเป็นวิดีโอเกมส์ชนิดแรกที่เกิดขึ้น เกม ''Space Invaders'' เป็นอีกหนึ่งเกมดังในยุคกำลังพัฒนาของวิดีโอเกม เกม ''Pac-Man'' เป็นเกมที่โด่งดังที่สุดในขณะวิดีโอเกมกำลังพัฒนา วิดีโอเกม (Video game) คือ เครื่องเกมอิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์ใช้ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ส่งผลการกระทำ (input) กลับเข้าไปยังหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor Unit) ในตัวเครื่อง ให้คิดคำนวณแล้วแสดงผลโต้ตอบกลับมาด้วย แสง-เสียง-การสั่น-หรือภาพบนจอภาพ วิดีโอ คำว่า วิดีโอ ในวิดีโอเกม แต่เดิมหมายถึงอุปกรณ์แสดงภาพแบบแรสเตอร์ แต่ปัจจุบันสามารถใช้เรียกอุปกรณ์แสดงภาพใด ๆ ก็ได้ที่สร้างภาพสองมิติหรือสามมิติขึ้นมา ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเครื่องเล่นวิดีโอเกม อุปกรณ์เหล่านี้เป็นไปได้ตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์มือถือขนาดเล็ก วิดีโอเกมแบบเฉพาะอย่างเช่น เกมตู้ เคยมีแพร่หลายในอดีต แต่ปัจจุบันค่อย ๆ มีใช้น้อยลง วิดีโอเกมได้พัฒนาไปจนกลายเป็นอุตสาหกรรมและงานศิลปะ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าเป็นที่ใช้กันในการบังคับวิดีโอเกมเรียกว่า อุปกรณ์ควบคุมเกม (game controller) และแตกต่างกันไปในเครื่องเล่นแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ควบคุมอาจประกอบด้วยเพียงแค่ปุ่มกดและก้านควบคุม (joystick) หรืออาจมีปุ่มกดถึงสิบปุ่ม และอาจจะมีมากกว่าหนึ่งก้านควบคุมก็ได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยุคแรกจำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ดในการเล่นเกม หรือต้องการให้ผู้ใช้ซื้อก้านควบคุมที่มีปุ่มกดอย่างน้อยหนึ่งปุ่มด้วย เกมคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จำนวนมากให้ผู้เล่นหรือต้องการให้ผู้เล่นใช้คีย์บอร์ดควบคู่ไปกับเมาส์ อุปกรณ์ควบคุมเกมที่พบได้บ่อยกันคือ เกมแพด เมาส์ คีย์บอร์ด และก้านควบคุม ในหลายปีที่ผ่านมานี้ มีวิธีการนำข้อมูลเข้าเพิ่มเติมเช่น การให้ผู้เล่นสังเกตการณ์ในเครื่องเล่นที่ใช้กล้อง และระบบจอสัมผัสบนโทรศัพท์มือถือ วิดีโอเกมโดยทั่วไปใช้วิธีการเพิ่มเติมมากมายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และสารสนเทศให้กับผู้เล่น เสียงออดิโอในวิดีเกมนั้นเกือบจะเป็นสากล คือใช้อุปกรณ์ผลิตเสียง อย่างเช่น ลำโพง และหูฟัง ผลป้อนกลับอาจมาจากอุปกรณ์ต่อพ่วงสัมผัส (haptic peripheral) เช่นระบบการสั่น หรือผลป้อนกลับโดยใช้กำลัง (force feedback) บางครั้งการสั่นใช้กระตุ้นผลป้อนกลับแบบใช้กำลัง ผู้เล่นบางส่วนเชื่อว่าวิดีโอเกมสามารถพัฒนาทักษะทางจิตใจได้.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและวิดีโอเกม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามเดิม ช่วง บุนนาค (พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2425) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 74 ปี.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สะพาน

น Akashi-Kaikyō ในญี่ปุ่นเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก สะพานจากท่อนซุง เชื่อมต่อเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำ สะพาน คือโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งสำหรับข้ามหุบเขา แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ หรือพื้นน้ำต่างๆ การออกแบบความสูงของสะพาน จะขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางด้านล่าง รวมถึงการจราจรด้านล่าง (เช่น รถ เรือ สามารถผ่านได้) การก่อสร้างสะพานมีจุดประสงค์เพื่อให้การสัญจรมีการต่อเนื่องระหว่างทางที่มีการสร้างไว้แล้ว555.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและสะพาน · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระปกเกล้า

นพระปกเกล้า (Phra Pok Klao Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เชื่อมระหว่างถนนจักรเพชร ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี เป็นสะพานคู่ขาไปและขากลับ สร้างเคียงข้างขนานกันกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า เนื่องจากการจราจรบริเวณนั้นถึงจุดวิกฤต รัฐบาลจึงเห็นว่าควรมีสะพานอีกแห่งหนึ่งเพื่อช่วยระบายการจราจร โดยได้เว้นที่ช่วงกลางสะพานไว้สำหรับก่อสร้างรถไฟฟ้าลาวาลินด้วย ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและสะพานพระปกเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพิทยเสถียร

นพิทยเสถียร สะพานพิทยเสถียร เป็นหนึ่งในสะพานที่สร้างข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ในพื้นที่แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีประวัติและที่มาควบคู่ไปกับสะพานดำรงสถิต หรือที่นิยมเรียกว่าสะพานเหล็ก ที่ข้ามคลองโอ่งอ่าง ในเขตพระนคร สะพานพิทยเสถียรตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุงช่วงที่มาจากเขตบางรัก ในช่วงที่ตัดกับถนนมหาพฤฒาราม ที่มุ่งหน้ามาจากถนนพระราม 4 ใกล้กับแยกไมตรีจิตต์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อโปรดให้ประกาศบอกบุญผู้ที่มีจิตศรัทธา ให้ช่วยกันสร้างสะพานข้ามคูคลองในพระนครนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงค์ (ช่วง บุนนาค) ได้สร้างเป็นสะพานโครงเหล็กคู่กับสะพานดำรงสถิต เรียกว่า "สะพานเหล็กล่าง" (ในขณะที่สะพานดำรงสถิต เรียกว่า "สะพานเหล็กบน") พื้นสะพานข้างล่างมีล้อ และรางเหล็กสำหรับเปิดสะพานให้แยกจากกันได้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้กรมโยธาธิการสร้างใหม่ในพุทธศักราช 2442 เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดได้เช่นเดียวกันกับสะพานดำรงสถิต พระราชทานนามว่า "สะพานพิทยเสถียร" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ซึ่งมีวังที่ประทับอยู่ในบริเวณใกล้เคียง สร้างเสร็จในพุทธศักราช 2443 ในรัชกาลที่ 6 โปรดให้ปรับปรุงสะพานนี้ใหม่ ซึ่งคือสะพานที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน สภาพสะพานเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีสถาปัตยกรรมแบบเวนีเชียน มีคานล่างเป็นรูปโค้ง สะพานนี้มีลวดลายตกแต่งประณีตงดงามมาก โดยเฉพาะเสาลูกกรง เสาโคมไฟฟ้าทั้ง 8 ต้น ตลอดจนลายหัวสิงห์ที่ปลายรอดสะพาน ทั้งสะพานพิทยเสถียรและสะพานดำรงสถิต ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกรมศิลปากรตั้งแต่พุทธศักราช 2518.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและสะพานพิทยเสถียร · ดูเพิ่มเติม »

สะพานภาณุพันธุ์

นภาณุพันธุ์ ในกลางปี พ.ศ. 2557 สะพานภาณุพันธุ์ เป็นสะพานแห่งหนึ่ง ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานที่ข้ามคลองรอบกรุง ช่วงคลองโอ่งอ่างหรือคลองบางลำพู ตั้งอยู่ปลายสุดของถนนเยาวราชตัดกับถนนพีระพงษ์, ถนนจักรเพชรและถนนมหาไชย สะพานภาณุพันธุ์ สร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: สะพานเหล็กและสะพานภาณุพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานหัน

นหัน เป็นสะพานขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในย่านสำเพ็ง แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ ทอดข้ามคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง ชื่อนี้เรียกตามจาก ลักษณะของตัวสะพานที่ สมัยก่อนนั้นจะเป็นไม้แผ่นเดียวพาดข้ามคลอง ปลายข้างหนึ่งตรึงแน่นกับที่ ส่วนอีกข้างจะไม่ตอกติด จับหันไปมาได้เพื่อให้เรือแล่นผ่าน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนทำเป็นแบบสะพานริอัลโตที่นครเวนิส และที่ปองเตเวกคิโอ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี คือ เป็นสะพานไม้โค้งกว้าง สองฟากสะพานมีห้องแถวเล็ก ๆ ให้เช่าขายของ ส่วนตรงกลางเป็นทางเดิน สำหรับตัวสะพานปัจจุบัน ได้สร้างใหม่ขึ้นแทนของเก่าที่ชำรุด ในปี พ.ศ. 2505 ปัจจุบัน สะพานหันได้ปิดงานใช้ไปนานแล้ว และได้กลายมาเป็นศูนย์การค้า โดยมากจะจำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อผ้า และแฟชั่น.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและสะพานหัน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

คลองรอบกรุง

ลองรอบกรุงและป้ายในปัจจุบัน คลองรอบกรุงในอดีต ด้านหลังคือ ภูเขาทอง วัดสระเกศ คลองรอบกรุง (Khlong Rop Krung) เป็นคลองขุด ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: สะพานเหล็กและคลองรอบกรุง · ดูเพิ่มเติม »

คลองถม

ลองถม เป็นแหล่งขายของมือสองและของเก่า รวมทั้งอุปกรณ์รถยนต์ประดับยนต์ รวมไปถึงของจิปาถะ เป็นย่านการค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนวรจักรและถนนเจริญกรุงกับเยาวราชมาแต่โบราณ ปัจจุบันตั้งอยู่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เดิมคลองถมนั้นเรียกกันว่า คลองสำเพ็ง โดยมีปลายคลองด้านหนึ่งติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนปลายคลองอีกด้านออกสู่คลองมหานาค เมื่อมีการตัดถนนเพิ่มขึ้น และทางการได้ลดจำนวนคลองลง ในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จากนั้นก็ได้มีการสร้างถนนขึ้นบริเวณคลองนี้ ตอนแรกก็ถมกันด้วยขยะทั่วไป ต่อมาก็แปรสภาพมาเป็นถนน ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ละแวกนั้นมาแต่เดิม เรียกกันติดปากเรื่อยมากันว่า "คลองถม" จนถึงทุกวันนี้ คลองถม ถือเป็นแหล่งขายของมือสอง อุปกรณ์รถยนต์ ตลอดจนถึงของจิปาถะเป็นเวลายาวนานจนเป็นที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะในวันหยุดสัปดาห์จะมีทั้งผู้ค้าและผู้ซื้อคับคั่ง จนเกิดเป็นปัญหาการจราจร จนกระทั่งหลังการรัฐประหารใน พ.ศ. 2557 รัฐบาลมีนโยบายจัดระเบียบสังคม จึงมีนโยบายให้ผู้ค้าคลองถมเลิกขาย โดยจะหาพื้นที่ใหม่ให้ ซึ่งในวันที่ 1 มีนาคม..

ใหม่!!: สะพานเหล็กและคลองถม · ดูเพิ่มเติม »

คลองโอ่งอ่าง

ลองโอ่งอ่าง คลองโอ่งอ่าง คือส่วนหนึ่งของคลองรอบกรุงที่ต่อจากคลองบางลำพู ตรงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ปลายคลองไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้วัดบพิตรพิมุข เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและคลองโอ่งอ่าง · ดูเพิ่มเติม »

งานลามก

งานลามก (pornography หรือมักเรียกโดยย่อว่า porn) เป็นการสำแดงสิ่งอันเป็นสาระสำคัญทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง เพื่อประโยชน์แห่งการเร้ากามารมณ์และประลุความใคร่ทางกาม.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและงานลามก · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นซีดี

แผ่นซีดี แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (compact disc) คือแผ่นจานแสง หรือดิสก์แสงเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตราฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและแผ่นซีดี · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: สะพานเหล็กและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สะพานดำรงสถิตสะพานดำรงสถิตย์สะพานเหล็กบน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »