โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แยกอุภัยเจษฎุทิศ

ดัชนี แยกอุภัยเจษฎุทิศ

แยกอุภัยเจษฎุทิศ เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกจุดตัดกันระหว่างถนนราชวิถี กับถนนสวรรคโลก โดยมีทางรถไฟสายเหนือ, สายตะวันออก และสายใต้ตัดผ่าน ชื่อ "อุภัยเจษฎุทิศ" มาจากชื่อของสะพานอุภัยเจษฎุทิศที่ตั้งอยู่บนถนนราชวิถี ซึ่งแต่เดิมเป็นสะพานข้ามทางรถไฟเชื่อมถนนซางฮี้ (ถนนราชวิถี) บริเวณพระราชวังดุสิต มีที่มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างขึ้น เนื่องในวโรกาศที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ มีพระชนมายุครบ 18 พรรษา เท่ากับพระบรมเชษฐาสองพระองค์ คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ซึ่งได้เสด็จสวรรคตไปก่อนหน้านั้นด้วยพระชนมายุ 18 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลสร้างสะพานแห่งนี้ขึ้นเพื่ออุทิศส่วนพระราชกุศล พระราชทานแก่เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ เสด็จทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ 9 มกราคม..

16 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวังดุสิตพันทิป.คอมกรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์สะพานชมัยมรุเชฐถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)ถนนสวรรคโลกทางรถไฟสายตะวันออกทางรถไฟสายใต้ทางรถไฟสายเหนือแยกตึกชัยเขตดุสิต

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังดุสิต

ระราชวังดุสิต ตั้งอยู่ที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่เสด็จประทับชั่วคราว เนื่องจากภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นพระราชนิเวศน์ที่ประทับนั้น ประกอบด้วย พระราชมณเฑียร หมู่พระตำหนัก หมู่เรือนในเขตพระราชฐานชั้นใน และหมู่เรือนข้าราชบริพาร ปลูกสร้างอยู่กันอย่างแออัด ปิดทางลม ทำให้ที่ประทับร้อนจัด ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทรงพระประชวรกันเสมอ ต่อมา จึงสร้างขึ้นเพื่อเป็นพระราชวังที่ประทับถาวรจนตลอดรัชกาล โดยได้สร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและพระราชวังดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

พันทิป.คอม

ันทิป.คอม หรือพันทิป ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม..

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและพันทิป.คอม · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

นายร้อยโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หรือ สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (27 มิถุนายน พ.ศ. 2421 – 4 มกราคม พ.ศ. 2437 นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2438) เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของประเทศไทย แต่หลังจากดำรงตำแหน่งสยามกุฎราชกุมารได้เพียง 8 ปี ก็เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุ 15 พรรษ.

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

มหาอำมาตย์ตรี พันเอกพิเศษ จอมพลเรือ นายกองเอกเสือป่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (1 มกราคม พ.ศ. 2435 – 24 กันยายน พ.ศ. 2472) เป็นพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นพระอัยกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีที่ประสูติร่วมพระราชมารดา 7 พระองค์ พระองค์มีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยประชาชนโดยทั่วไปคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์" หรือ "พระราชบิดา" และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า "เจ้าฟ้าทหารเรือ" และ "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล" หลังพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระองค์ทรงพระประชวรต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. ด้วยพระโรคฝีบิดในพระยกนะ(ตับ) โดยมีโรคแทรกซ้อนคือพระปัปผาสะบวมน้ำและพระหทัยวาย พระชนมายุได้ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน.

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์

มเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ (๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๕ - ๑๗ มิถุนายน ๒๔๔๒) พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระนามเดิมอย่างเต็มว่า สมเด็จเจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย ศตสมัยมงคลเขตร บรมนฤเบศร์จักรีวงศ์ จุฬาลงกรณ์นาถนรินทร์ สยามินทรราชวโรรส อุกฤษฐวรยศอุภัยปักษ์ วิสุทธิศักดิ์อรรควิมลรัตน์ ขัตติยราชกุมาร ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมน้อย" สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย เสด็จเข้ารับการศึกษาในยุโรป ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อ..

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานชมัยมรุเชฐ

นชมัยมรุเชฐ สะพานชมัยมรุเชฐ เป็นสะพานข้ามคลองเปรมประชากร อยู่บนถนนพิษณุโลกบริเวณแยกพาณิชยการจุดจัดกับถนนพระรามที่ 5 แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โรงเรียนราชวินิต มัธยม และใกล้เคียงกับวัดเบญจมบพิตร สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2444 โดยสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงสร้างเพื่ออุทิศถวายแด่สมเด็จพระเชษฐา 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ เนื่องในวโรกาสที่ในปีนั้น พระองค์มีพระชนมายุ 15 พรรษา และจะก้าวเข้าสู่พระชนมายุ 17 พรรษา เสมอด้วยพระเชษฐาทั้งสองพระองค์ โดยชื่อของสะพานได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "สะพานชมัยมรุเชฐ" (ในราชกิจจานุเบกษาสะกดว่า "ชมัยมรุเชษฐ") ซึ่งหมายถึง "พี่ชายผู้เป็นเทพ 2 พระองค์" ปัจจุบัน สะพานชมัยมรุเชฐถูกต่อเติมขยายออกไปจนหมดสภาพดั้งเดิม คงเหลือเพียงป้ายโลหะชื่อสะพาน ที่ยังเป็นของเดิม.

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและสะพานชมัยมรุเชฐ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)

นนราชวิถี (ถ่ายจากมุมสูง) ถนนราชวิถี (Thanon Ratchawithi) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากจุดบรรจบระหว่างถนนราชปรารภกับถนนดินแดงในท้องที่แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพญาไท และถนนพหลโยธินที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เข้าสู่ท้องที่แขวงทุ่งพญาไท ผ่านโรงพยาบาลราชวิถี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ไปตัดกับถนนพระรามที่ 6 (สี่แยกตึกชัย) ตัดกับถนนกำแพงเพชร 5 และทางรถไฟสายเหนือ เข้าสู่ท้องที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต ตัดกับถนนสวรรคโลก (สี่แยกอุภัยเจษฎุทิศ) และถนนพระรามที่ 5 (สี่แยกราชวิถี) ผ่านสวนสัตว์ดุสิต จากนั้นตัดกับถนนอู่ทองใน (สามแยกอู่ทองใน) ถนนนครราชสีมา (สี่แยกการเรือน) และถนนสามเสน (สี่แยกซังฮี้) เข้าสู่ท้องที่แขวงวชิรพยาบาล ก่อนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (สะพานกรุงธนบุรี) เข้าเขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งการพื้นที่ปกครองระหว่างแขวงบางพลัดกับแขวงบางยี่ขันไปจนถึงถนนจรัญสนิทวงศ์ (สี่แยกบางพลัด) ถนนราชวิถี เดิมชื่อ ถนนซางฮี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิตบริเวณพื้นที่ระหว่างคลองผดุงกรุงเกษมและคลองสามเสน โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนรอบพระราชวังดุสิต 3 สาย คือ ถนนลก (ปัจจุบันคือถนนพระรามที่ 5) ถนนดวงตะวัน (ปัจจุบันคือถนนศรีอยุธยา) และถนนซางฮี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซังฮี้ (ปัจจุบันคือถนนราชวิถี) นามถนนทั้ง 3 สายนี้ พระราชทานตามชื่อเครื่องกิมตึ๋งคือภาพเครื่องลายครามจีน "ซางฮี้" (อักษรจีน: 双喜) ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋วแปลว่า มงคลคู่ หมายความว่า สุข สนุก สบาย อักษรซางฮี้ใช้เป็นเครื่องหมายในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน และใช้เป็นลวดลายประดับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนซางฮี้เป็น "ถนนราชวิถี".

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสวรรคโลก

นีรถไฟจิตรลดา ถนนสวรรคโลก (Thanon Sawankhalok) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่แยกยมราช ผ่านแยกเสาวนี จุดตัดกับถนนศรีอยุธยา จากนั้นทอดผ่านแยกอุภัยเจษฎุทิศ จุดตัดกับถนนราชวิถี ทอดผ่านแยกสวรรคโลก จุดตัดกับถนนสุโขทัย และไปสิ้นสุดลงที่แยกสามเสน จุดตัดระหว่างถนนเทอดดำริและถนนนครไชยศรี เดิมมีชื่อว่า "ถนนสิ้ว" (อักษรจีน: 寿 หรือสะกด ซิ่ว) ซึ่งมีความหมายถึง "อายุยั่งยืน" อันมาจากชื่อเครื่องลายครามของจีนที่เป็นรูปผลท้อหรือต้นสน ที่เป็นที่นิยมสะสมและครอบครองกันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนิยมนำมาตั้งชื่อเป็นชื่อถนนหรือสถานที่ต่าง ๆ ในยุคนั้น โดยเป็นถนนที่ตัดจากสะพานยมราชไปจรดคลองสามเสน ขนานไปกับเส้นทางรถไฟ ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศของกระทรวงนครบาล โดยเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นเสนาบดี ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๒ ให้เปลี่ยนชื่อถนนรอบพระราชวังสวนดุสิตที่ได้ชื่อตามเครื่องลายครามจีน ๑๕ สาย หนึ่งในนั้นคือ ถนนสิ้ว ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ถนนสวรรคโลก" ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี พระธิดาพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานที่สำคัญที่ถนนสวรรคโลกตัดผ่าน คือ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และสถานีรถไฟจิตรลดา อันเป็นสถานีรถไฟที่สร้างขึ้นสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เมื่อมีการเสด็จฯ ทางรถไฟโดยเฉพาะ รวมถึงอาจใช้เป็นสถานที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะในบางโอกาส มีอาคารสถานีที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงาม.

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและถนนสวรรคโลก · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟสายตะวันออก

ทางรถไฟสายตะวันออก เป็นเส้นทางเดินรถไฟทางไกลระหว่างจังหวัดของการรถไฟแห่งประเทศไทย เริ่มต้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ สิ้นสุดที่สถานีรถไฟอรัญประเทศ ชายแดนกัมพู.

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและทางรถไฟสายตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟสายใต้

ทางรถไฟสายใต้ เป็นทางรถไฟที่เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดนครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และไปสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และไปบรรจบกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ที่สถานีรถไฟรันเตาปันจาง ทางรถไฟสายใต้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากสถานีรถไฟธนบุรีถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขยายเส้นทางไปภาคใต้และสร้างทางแยกที่สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหกไปบรรจบกันที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ความยาวของทางรถไฟสายใต้ นับจากสถานีรถไฟธนบุรี ถึง ชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 1,144.29 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและทางรถไฟสายใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟสายเหนือ

ทางรถไฟสายเหนือ หรือ ทางรถไฟสายชุมทางบ้านภาชี–เชียงใหม่ แยกออกจากทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี ผ่านจังหวัดลพบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดแพร่ (อำเภอเด่นชัย อำเภอลอง) จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน และสุดปลายทางที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รวมระยะทาง 751 กิโลเมตร และที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา จะมีทางแยกไปยังสถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย รวมระยะทาง 457 กิโลเมตร (นับตั้งแต่สถานีรถไฟกรุงเทพ).

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและทางรถไฟสายเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

แยกตึกชัย

แยกตึกชัย (Tuek Chai Intersection) ทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเวที กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่เป็นจุดระหว่างถนนราชวิถีกับถนนพระราม 6 โดยมีทางพิเศษศรีรัชผ่านอยู่ด้านบน ชื่อ "ตึกชัย" นั้นมาจากชื่อของตึกแห่งหนึ่งของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี หรือบ้านราชวิถี ที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณแยก มีชื่อว่า "ตึกชัย" ซึ่งมีชื่อมาจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิที่อยู่ใกล้เคียง เนื่องด้วยตึกชัยตั้งอยู่ในที่โล่งและกว้างขวาง มองเห็นได้ชัดเจน ผู้คนจึงนิยมเรียกชื่อทางแยกนี้ว่า แยกตึกชัย ตราบจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและแยกตึกชัย · ดูเพิ่มเติม »

เขตดุสิต

ตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้.

ใหม่!!: แยกอุภัยเจษฎุทิศและเขตดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สะพานอุภัยเจษฎุทิศสี่แยกวังสวนจิตรฯสี่แยกอุภัยเจษฎุทิศแยกวังสวนจิตรฯแยกอุภัย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »