โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)

ดัชนี แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)

แยกนพวงศ์ (Nopphawong Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีลักษณะเป็นห้าแยกตัดกันระหว่างถนนหลวง, ถนนกรุงเกษม และถนนมิตรพันธ์ สะพานนพวงศ์ โดยชื่อ "นพวงศ์" นั้นมาจากสะพานนพวงศ์ที่อยู่ใกล้เคียงบนถนนหลวง (ซึ่งตัวสะพานอยู่ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน) อันเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี..

21 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสกรุงเทพมหานครการรถไฟแห่งประเทศไทยรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครวงเวียน 22 กรกฎาคมสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสสถานีรถไฟกรุงเทพถนนกรุงเกษมถนนหลวงทีเอ็นเอ็น24คลองผดุงกรุงเกษมตลาดนางเลิ้งแยกพลับพลาไชยแยกกษัตริย์ศึกแยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)แยกไมตรีจิตต์โรงเรียนเทพศิรินทร์เขตปทุมวันเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส หรือ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้านพวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย (ธิดาพระอินทรอำไพ (สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย) พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 แรม 10 ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก..

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

การรถไฟแห่งประเทศไทย

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และการรถไฟแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียน 22 กรกฎาคม

วงเวียน 22 กรกฎาคม เป็นวงเวียนน้ำพุเกิดจากถนน 3 สายตัดกัน คือ ถนนไมตรีจิตต์ ถนนมิตรพันธ์ และถนนสันติภาพ อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ถนนรอบวงเวียนมีชื่อว่า ถนนวงเวียน 22 กรกฎาคม วงเวียน 22 กรกฎาคม สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระทัยนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม..

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และวงเวียน 22 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับมหาสมณุตตมาภิเษกเมื่อปี พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงพระอิสริยยศ 11 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2464 พระชันษา 61 ปี.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟกรุงเทพ

นอกสถานีรถไฟกรุงเทพ ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในปัจจุบันสถานีรถไฟหัวลำโพง มีทางเชื่อมต่อที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ดูกลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานครหรือรถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณถนนพระรามที่ 4 การก่อสร้างสถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี การประดับหลัก ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง สถานีกรุงเทพ มีรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารหลายหมื่นคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2561) โดยเฉพาะช่วงวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และสถานีรถไฟกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกรุงเกษม

นนกรุงเกษมช่วงโบ๊เบ๊ ถนนกรุงเกษม (Thanon Krung Kasem) เป็นถนนเลียบคลองผดุงกรุงเกษมฝั่งใต้ เริ่มจากบริเวณท่าเรือเทเวศร์ในพื้นที่แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตัดกับถนนสามเสน (แยกเทเวศร์) เข้าสู่พื้นที่แขวงบางขุนพรหม จากนั้นตัดกับถนนประชาธิปไตย (แยกประชาเกษม) และตัดกับถนนราชดำเนินนอก (แยกมัฆวานรังสรรค์) เข้าสู่พื้นที่แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนนครสวรรค์ (แยกเทวกรรม) ถนนหลานหลวง (แยกสะพานขาว) เข้าสู่พื้นที่แขวงคลองมหานาค จากนั้นโค้งลงมาทางทิศใต้ตัดกับถนนบำรุงเมือง และถนนพระรามที่ 1 (แยกกษัตริย์ศึก) เข้าสู่พื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์ และตัดกับถนนหลวง (แยกนพวงศ์-โรงเรียนเทพศิรินทร์) เข้าสู่พื้นที่แขวงป้อมปราบ จนกระทั่งไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 4 (แยกไมตรีจิตต์) ถนนกรุงเกษมเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2435 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2441 มีความยาวตลอดสาย 4.5 กิโลเมตร ตั้งต้นจากปากคลองผดุงกรุงเกษมทางด้านเหนือเลียบริมคลองมาจนถึงเชิงสะพานพิทยเสถียรซึ่งจะข้ามไปหัวลำโพง ถนนเส้นนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการขุดคลอง และสร้างถนนขนาบข้าง และโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนกรุงเกษม".

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และถนนกรุงเกษม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนหลวง

250px ถนนหลวง (Thanon Luang) เป็นถนนเส้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนมหาไชย (สามแยกเรือนจำ) ในท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร ข้ามคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จากนั้นตัดกับถนนวรจักร (สี่แยกวรจักร) ถนนยุคล 2 (สี่แยกโรงพยาบาลกลาง) และถนนพลับพลาไชย (ห้าแยกพลับพลาไชย) โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงป้อมปราบกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ จนกระทั่งไปจรดถนนกรุงเกษมที่ห้าแยกนพวงศ์ ถนนหลวงเป็นถนนที่สร้างในปี พ.ศ. 2436 โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ควรจะตัดถนนใหม่ระหว่างถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ตั้งต้นตั้งแต่ป้อมเสือทยานไปบรรจบถนนริมคลองผดุงกรุงเกษมโดยข้ามคลองคูพระนคร ตรงไปออกถนนหน้าวัดเทพศิรินทราวาส ถึงสถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งชื่อว่าถนนหลวง อันมีควาหมายว่า "ถนนของพระเจ้าแผ่นดิน" ทรงให้เหตุผลในการตัดถนนสายนี้ว่า เพื่อสำหรับผู้ที่จะไปขึ้นรถไฟ เพื่อเดินทางไปนครราชสีมาได้สะดวก และเป็นที่งดงามและแสดงถึงความเจริญของบ้านเมืองด้วย โดยสร้างเป็นถนนสำหรับคนเดินและรถม้า ระหว่างการก่อสร้างถนนหลวงใน พ.ศ. 2440 ปรากฏว่ามีผู้ขัดขวางการสร้างถนน โดยทำร้ายกุลีชาวจีนที่ก่อสร้างจนไม่สามารถก่อสร้างได้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล โดยทรงต่อว่ากระทรวงนครบาลซึ่งส่งมอบที่ดินให้กระทรวงโยธาธิการ เข้าใจว่าทรงจัดการเรื่องการเวนคืนที่ดินเรียบร้อยแล้ว และถือว่าเป็นหน้าที่ของกระทรวงนครบาลที่จะป้องกันระงับการทะเลาะวิวาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงนครบาลไม่ได้อารักขาการสร้างถนน ทำให้เกิดเหตุขึ้นและปล่อยให้เรื่องล่าช้าจนหมดเขตฟ้องร้อง ต้องจ่ายพระราชทรัพย์ทำขวัญกุลี ในการก่อสร้างถนนหลวงนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานนพวงศ์ขึ้นด้วย โดยมีพระราชปรารภให้เปิดสะพานทันวันเฉลิมพระชนมพรรษาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2440 ซึ่งเป็นวันที่มีพระชนมพรรษาเท่าพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส (พระองค์เจ้านพวงศ์) จึงต้องเร่งดำเนินการสร้างถนนหลวง ให้เสร็จทันเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานนพวง.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และถนนหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ทีเอ็นเอ็น24

นีโทรทัศน์ทีเอ็นเอ็น24 (TNN24) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550 เดิมชื่อ ยูบีซี นิวส์ (UBC News) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ทรู นิวส์ 24 ทรู นิวส์ 2 (True News 24) True news 2 แล้วจึงเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ทีเอ็นเอ็นนำเสนอรายการข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่าน 2 ช่องรายการ คือช่อง ทีเอ็นเอ็น24 (ออกอากาศทาง ทรูวิชั่นส์ ช่อง 7) และ ทีเอ็นเอ็น2 (ออกอากาศทาง ทรูวิชั่นส์ ช่อง 8) ต่อมา เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ในโอกาสครบรอบ 2 ปี สถานีฯ เปิดตัวเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอข่าวสารทางอินเทอร์เน็ต และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 TNN24 ได้มีการนำเสนอเนื้อหาผ่านทางสถานีวิทยุ TNN RADIO ทางสถานีวิท.2 FM 103 อีกด้วย ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2553 TNN24 ได้เริ่มส่งสัญญาณการออกอากาศในระบบ Free To Air เพื่อขยายฐานสู่ผู้ชมทั่วประเทศและทั่วโลก ท่านสามารถรับชม TNN24 ผ่านทางจาน DTV และ PSI ช่อง 60 หรือที่ระบบ KU-Band ความถี่ 12604 H 30000 และ C-Band ความถี่ 3600 H 26667 จากนั้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2555 TNN24 ได้ปรับปรุงระบบส่งสัญญาณและการออกอากาศใหม่ เป็นระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง High Definition และเริ่มออกอากาศช่อง TNN24 ระบบ HD โดยระยะแรกออกอากาศทางระบบดิจิตอลเคเบิลใยแก้วของทรูวิชั่นส์ที่ช่อง 124 ต่อมาได้เปลี่ยนเลขช่องไปยังทรูวิชั่นส์ช่อง 121 แต่ในปัจจุบันออกอากาศทางทรูวิชั่นส์ช่อง 111 ทั้งระบบจานดาวเทียม และระบบดิจิตอลเคเบิลใยแก้ว พร้อมกันนี้ช่อง TNN24 ระบบ SD ยังได้ปรับสัดส่วนภาพจาก 4:3 เป็น 16:9 อีกด้วย และเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 TNN24 ได้เริ่มออกอากาศมาสู่ทีวีในระบบดิจิตอลแบบภาคพื้นดิน โดยออกอากาศทางช่องหมายเลข16 ผ่านเสาสัญญาณ มัลติเพล็กซ์ 2 ของกองทัพบก จนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และทีเอ็นเอ็น24 · ดูเพิ่มเติม »

คลองผดุงกรุงเกษม

ลองผดุงกรุงเกษมบริเวณสะพานเจริญสวัสดิ์ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5) คลองผดุงกรุงเกษม ในปัจจุบัน คลองผดุงกรุงเกษม เป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก ขุดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดเมื่อ..

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และคลองผดุงกรุงเกษม · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดนางเลิ้ง

ตลาดนางเลิ้ง เป็นชุมชนและตลาดที่ตั้งอยู่บนถนนนครสวรรค์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นตลาดบกแห่งแรกของประเทศไทย มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี ตลาดนางเลิ้งก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2443 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเอง แต่เดิมเรียกว่าบ้านสนามควาย ก่อนจะเรียกว่า “อีเลิ้ง” ตามชื่อคือตุ่มชนิดหนึ่งของชาวมอญ จนมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า “นางเลิ้ง” สถานที่สำคัญของตลาดนางเลิ้งได้แก่ โรงภาพยนตร์เฉลิมธานี ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 80 ปี สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นที่บันเทิงที่จะได้ชมภาพยนตร์จากทุกชาติทั้งไทย, จีน อินเดีย, ฝรั่ง จากจำนวนคนดูที่เคยมากถึงรอบละ 300–400 คนก็เหลือเพียงรอบละไม่ถึง 10 คน จนต้องเลิกฉายไปเมื่อปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นเพียงโกดังเก็บของ ปัจจุบัน ตลาดนางเลิ้ง เป็นชุมชนที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร อาคารบ้านเรือนแถบนี้มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม และเป็นตลาดและย่านที่ขึ้นชื่ออย่างมากด้านอาหารนานาชนิด เช่น ขนมหวาน และที่ขึ้นชื่ออย่างมาก คือ กล้วยทอด หรือกล้วยแขก ที่มีขายกันหลายรายริมถนนรอบด้านจนเป็นที่เลื่องชื่อ ในการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี พ.ศ. 2552 ตลาดนางเลิ้งเป็นแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมด้วย มีผู้เสียชีวิต 2 คนเป็นบุคคลในชุมชน จากการออกมาปกป้องชุมชนแห่งนี้.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และตลาดนางเลิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

แยกพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย เป็นทางห้าแยกจุดตัดถนนพลับพลาไชย กับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ ในพื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์และแขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นย่านชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพฯ ที่ต่อเนื่องกับย่านถนนเยาวราชและถนนเจริญกรุง บริเวณทางแยกมีร้านข้าวหน้าไก่ ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ และภัตตาคารอาหารจีนที่ขึ้นชื่อหลายแห่ง.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และแยกพลับพลาไชย · ดูเพิ่มเติม »

แยกกษัตริย์ศึก

แยกกษัตริย์ศึก (Kasat Suek Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่แขวงคลองมหานาคและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกที่เป็นจุดกันระหว่างถนนพระราม 1, ถนนกรุงเกษม และถนนบำรุงเมือง ชื่อทางแยกมาจาก "สะพานกษัตริย์ศึก" ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่อยู่ตรงทางแยกฝั่งถนนพระราม 1 เดิมสะพานนี้มีชื่อที่เรียกกันว่า "สะพานยศเส" ซึ่งเป็นสะพานไม้ ต่อมาสะพานยศเสมีความชำรุด ในปี..

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และแยกกษัตริย์ศึก · ดูเพิ่มเติม »

แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)

แยกนพวงศ์ (Nopphawong Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีลักษณะเป็นห้าแยกตัดกันระหว่างถนนหลวง, ถนนกรุงเกษม และถนนมิตรพันธ์ สะพานนพวงศ์ โดยชื่อ "นพวงศ์" นั้นมาจากสะพานนพวงศ์ที่อยู่ใกล้เคียงบนถนนหลวง (ซึ่งตัวสะพานอยู่ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน) อันเป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และแยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

แยกไมตรีจิตต์

แยกไมตรีจิตต์ (Maitri Chit Intersection) เป็นทางแยกแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นห้าแยกตัดกันระหว่างถนนไมตรีจิตต์, ถนนมิตรภาพไทย-จีน, ถนนพระราม 4, ถนนกรุงเกษม และซอยโปริสภา ซึ่งเป็นซอยหนึ่งของถนนข้าวหลาม แยกไมตรีจิตต์ อยู่บริเวณเชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมในด้านที่มาจากแยกหัวลำโพง อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟหัวลำโพง ถือได้ว่าเป็นจุดที่เริ่มต้นเข้าสู่ย่านเยาวราช หรือไชน่าทาวน์ของกรุงเทพมหานคร และยังเป็นจุดตัดระหว่างพื้นที่เขตสามเขตอีกด้วย คือ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์ และเขตปทุมวัน ชื่อ "ไมตรีจิตต์" มาจากชื่อของถนนไมตรีจิตต์ อันเป็นถนนสายหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่ประเทศไทยได้เข้าร่วม เช่นเดียวกับ วงเวียน 22 กรกฎาคม, ถนนมิตรพันธ์ และถนนสันติภาพ ที่สร้างขึ้นในวาระเดียวกัน บริเวณใกล้ทางแยก ทางฝั่งถนนไมตรีจิตต์ ยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานสองแห่งในสองศาสนา สองความเชื่อที่แตกต่างกัน คือ คริสตจักรไมตรีจิต เป็นคริสตจักรแบบโปรเตสแตนต์แห่งแรกในประเทศไทยและของทวีปเอเชียด้วย โดยก่อตั้งมาตั้งแต..

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และแยกไมตรีจิตต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนเทพศิรินทร์

รงเรียนเทพศิรินทร์ (Debsirin School, ย่อ: ท.ศ., DS) เป็นโรงเรียนรัฐบาลชายล้วนขนาดใหญ่ในกลุ่มจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ตั้งอยู่ เลขที่ 1466 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โรงเรียนเทพศิรินทร์ อยู่ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนประจำ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร ก่อตั้งขึ้นใน 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปัจจุบันโรงเรียนเทพศิรินทร์มีอายุ ปี นอกจากนี้โรงเรียนเทพศิรินทร์ยังประกอบด้วย โรงเรียนเครือข่ายที่มีคำนำหน้าว่า "เทพศิรินทร์" อีก 10 แห่ง โรงเรียนเทพศิรินทร์เป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเข้ารับการศึกษา คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 นอกจากนี้ยังมีนักเรียนเก่าที่ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองมากมาย อาทิ นายกรัฐมนตรีไทย 4 คน รวมถึง นายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งมาเลเซี.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และโรงเรียนเทพศิรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตปทุมวัน

ตปทุมวัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และเขตปทุมวัน · ดูเพิ่มเติม »

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร.

ใหม่!!: แยกนพวงศ์ (กรุงเทพมหานคร)และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สะพานนพวงศ์สะพานนพวงษ์ห้าแยกนพวงศ์แยกนพวงศ์ (เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »