โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ

ดัชนี สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ

มเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ (ภาษากรีก: Γεώργιος Β', Βασιλεύς των Ελλήνων) (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 - 1 เมษายน พ.ศ. 2490) ทรงปกครองกรีซตั้งแต..

42 ความสัมพันธ์: บูคาเรสต์ฟลอเรนซ์พ.ศ. 2433พ.ศ. 2457พ.ศ. 2465พ.ศ. 2468พ.ศ. 2478พ.ศ. 2490พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งกรีซพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซภาษากรีกยุทธการเกาะครีตราชวงศ์ชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์กราชอาณาจักรกรีซรายพระนามพระมหากษัตริย์กรีซลอนดอนวันเมษาหน้าโง่สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนียสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซสมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนียสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทิวซิดิดีสครีตประเทศบัลแกเรียประเทศกรีซประเทศอังกฤษประเทศอิตาลีประเทศอียิปต์ประเทศตุรกีประเทศแอลเบเนียประเทศโรมาเนียนาซีเยอรมนีเพลโตเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซเอเธนส์เจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย1 เมษายน19 กรกฎาคม

บูคาเรสต์

ูคาเรสต์ (Bucharest; București บูคูเรชติ) เป็นเมืองหลวง เมืองอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศโรมาเนีย เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของโรมาเนีย ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศที่ และตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแดมโบวิตา เมืองบูคาเรสต์มีระบุไว้ในเอกสารมาตั้งแต่ปี 1459 จากนั้นก็หายไปอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง จนกลางเป็นเมืองหลวงของโรมาเนียในปี 1862 เป็นเมืองมีจุดแข็งในเรื่องเป็นศูนย์กลางของสื่อมวลชนโรมาเนีย วัฒนธรรมและศิลปะ มีสถาปัตยกรรมหลายรูปแบบ ที่รวม สถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์ (นีโอคลาสสิก), สถาปัตยกรรมหลังสงคราม (เบาเฮาส์และอาร์ตเดโค), ยุคคอมมิวนิสต์และยุคใหม่ ในช่วงระหว่าง 2 สงครามโลก ความงามด้านสถาปัตยกรรมของเมืองทำให้เมืองมีชื่อเล่นว่า "ปารีสน้อยแห่งตะวันออก" (Micul Paris) และถึงแม้อาคารหลายหลังและเขตในศูนย์กลางประวัติศาสตร์จะถูกทำลายในช่วงสงครามหรือแผ่นดินไหว รวมถึงโครงการปรับปรุงโครงสร้างเมืองของนิโคไล เชาเชสกู แต่ก็มีอาคารสวยงามหลงเหลืออยู่ ในปีหลัง ๆ เมืองมีความรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม จากข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและบูคาเรสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2433

ทธศักราช 2433 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1890 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและพ.ศ. 2433 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2457

ทธศักราช 2457 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1914 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและพ.ศ. 2457 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2465

ทธศักราช 2465 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1922 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและพ.ศ. 2465 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2468

ทธศักราช 2468 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1925 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและพ.ศ. 2468 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2478

ทธศักราช 2478 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1935.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและพ.ศ. 2478 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2490

ทธศักราช 2490 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1947.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและพ.ศ. 2490 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์

ระเจ้าฟารูกที่ 1 แห่งอียิปต์ (อาหรับ:فاروق الأول Fārūq al-Awwal) (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920-18 มีนาคม ค.ศ. 1965) กษัตริย์แห่งอียิปต์และซูดาน และองค์อธิปัตย์แห่งนิวเบีย, คูร์ดูฟาน และดาร์ฟูร์ แห่งราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี โดยพระองค์ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ พระราชบิดา ส่วนพระขนิษฐาของพระองค์ เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ ได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี เป็นราชินีแห่งอิหร่าน ก่อนเกิดการปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952 ได้ทำการถอดพระองค์ออกจากราชสมบัติ แล้วยกพระราชโอรสของพระองค์เป็นกษัตริย์องค์ต่อมาพระนามว่า พระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ แต่ปกครองได้เพียงปีเดียวรัฐบาลก็ได้ทำการล้มล้างราชวงศ์ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรั.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและพระเจ้าฟารูกแห่งอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งกรีซ

ระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งกรีซ (Ἀλέξανδρος, Aléxandros; 1 สิงหาคม พ.ศ. 2436 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2463) เป็นพระมหากษัตริย์กรีซจาก 11 มิถุนายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและพระเจ้าอเล็กซานเดอร์แห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ

มเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ (Γεώργιος A', Βασιλεύς των Ελλήνων; 24 ธันวาคม พ.ศ. 2388 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2456) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกรีซ ตั้งแต่ พ.ศ. 2406 - พ.ศ. 2456 โดยเป็นพระประมุขของราชวงศ์กรีกใหม่ ระยะเวลาการครองราชย์ 50 ปีของพระองค์ (ซึ่งถือว่ายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์กรีกยุคใหม่) อยู่ในช่วงการได้ดินแดนเพิ่มขึ้นและการพัฒนาทางการเมืองในฐานะที่ประเทศกรีซได้ตั้งตัวเองเป็นประเทศขึ้นในยุโรปช่วงก่อนสงครามโลก.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ

ระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ (Κωνσταντῖνος Αʹ, Βασιλεὺς τῶν Ἑλλήνων, Konstantínos Αʹ, Vasiléfs ton Ellínon; 12 สิงหาคม พ.ศ. 2411 – 11 มกราคม พ.ศ. 2466) เป็นพระมหากษัตริย์กรีซตั้งแต..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและพระเจ้าคอนสแตนตินที่ 1 แห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการเกาะครีต

ทธการเกาะครีต (Luftlandeschlacht um Kreta; Μάχη της Κρήτης) เป็นชื่อของการรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งดำเนินไปบนเกาะครีต ประเทศกรีซ โดยเริ่มต้นในเช้าวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เมื่อกองทัพนาซีเยอรมนีส่งกองกำลังพลร่ม (Fallschirmjäger, parachute rangers) เข้ารุกรานเกาะครีตภายใต้ชื่อรหัส "ปฏิบัติการเมอร์คิวรี" (Unternehmen Merkur, Operation Mercury) ฝ่ายตั้งรับที่อยู่บนเกาะครีตประกอบด้วยกองทัพกรีซ กองกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตร และพลเรือนชาวเกาะครีต หลังการสู้รบดำเนินไปได้หนึ่งวัน ฝ่ายเยอรมนีต้องพบกับความสูญเสียอย่างหนักและยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ใดๆ ในการรบครั้งนี้ ในวันถัดมา ด้วยปัญหาการสูญเสียการติดต่อและความล้มเหลวในการควบคุมสถานการณ์ของฝ่ายสัมพันธมิตร สนามบินในเมืองมาเล็ม (Maleme) จึงเสียให้แก่ฝ่ายเยอรมนี ทำให้เยอรมนีได้รับกำลังเสริมและครองความเหนือกว่าฝ่ายที่ตั้งรับได้ การสู้รบได้ดำเนินต่อไปอีกเกือบ 10 วันจึงยุติลง ยุทธการเกาะครีตได้สร้างประวัติการณ์ขึ้นใหม่ 3 ประการ คือ เป็นการรบครั้งแรกที่ใช้พลร่มเป็นกำลังรบหลัก เป็นการปฏิบัติการครั้งสำคัญครั้งแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในการใช้สายลับถอดรหัสลับเครื่องอีนิกมาของนาซีเยอรมนี และเป็นครั้งแรกที่การรุกของฝ่ายเยอรมนีที่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างหนักจากประชาชนพลเรือน ด้วยความเสียหายอย่างหนักที่กองกำลังพลร่มได้รับ ทำให้ฮิตเลอร์ได้สั่งยุติการปฏิบัติการขนาดใหญ่สำหรับกองกำลังพลร่ม อย่างไรก็ตาม ฝ่ายสัมพันธมิตรรู้สึกประทับใจในศักยภาพของกองกำลังพลร่ม จึงได้ริเริ่มการจัดตั้งกองพลพลร่มของตัวเองขึ้นเช่นกัน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและยุทธการเกาะครีต · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์ก

ราชวงศ์ชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก (Slesvig-Holsten-Sønderborg-Lyksborg, House of Schleswig-Holstein-Sonderburg-Glücksburg) เป็นราชตระกูลจากกลึคสบวร์กทางเหนือสุดของเยอรมนี ที่เป็นสาขาย่อยของราชวงศ์โอลเดินบูร์กที่สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าคริสเตียนที่ 3 แห่งเดนมาร์ก สมาชิกของตระกูลนี้มาจากดยุคแห่งชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-เบ็ค ผู้สืบเชื้อสายคนสุดท้ายเป็นดยุคแห่งกลึคสบวร์กและเปลี่ยนบรรดาศักดิ์ตามฟรีดิช วิลเฮล์ม ดยุคแห่งชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก ฟรีดิช วิลเฮล์มสมรสกับเจ้าหญิงหลุยส์ คาโรไลน์ แห่งเฮสส์-คาสเซิลพระราชธิดาของพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและราชวงศ์ชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรกรีซ

ราชอาณาจักรกรีซ (Βασίλειον τῆς Ἑλλάδος, Vasíleion tīs Elládos; Kingdom of Greece) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรเฮลเลนิก (Kingdom of Hellenic) สถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1832 ในการประชุมกรุงลอนดอน โดยกลุ่มประเทศมหาอำนาจซึ่งได้แก่ สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส และจักรวรรดิรัสเซีย จนได้รับการรับรองจากนานาประเทศในโลกอันเป็นผลมาจากสนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิล ทำให้ราชอาณาจักรกรีซมีเอกราชเป็นของตนเองอย่างสมบูรณ์และมั่นคง ซึ่งไม่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิออตโตมันอีกต่อไป โดยเอกราชของกรีซนี้เป็นผลสำเร็จมาจากการเรียกร้องเอกราชโดยรัฐบาลพลัดถิ่นแห่งกรีซ และมาจากสงครามเรียกร้องเอกราชของกรีซ (โดยมีสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และจักรวรรดิรัสเซียคอยให้การช่วยเหลือและสนับสนุน) ซึ่งในการปกครองของราชอาณาจักรนั่นมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขของประเทศมาตั้งแต่สถาปนาเอกราช จนในปี ค.ศ. 1924 พระราชวงศ์และสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ถูกล้มล้าง จนได้สถาปนา สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2 ขึ้นมา แต่ในภายหลังก็ได้มีการฟื้นฟูพระราชวงศ์ขึ้นมาและได้สถาปนาสถาบันพระมหากษัตริย์กลับมาเป็นพระประมุขของประเทศดังเดิมอีกครั้ง จนในท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1974 พระราชวงศ์ก็ถูกล้มล้างอีกครั้งอันเป็นผลมาจากการปกครองแบบเผด็จการทหาร ภายใต้การนำโดยพรรคการเมืองทหารของกรีซ และได้ก่อตั้งสาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3 มาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและราชอาณาจักรกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์กรีซ

รายพระนามกษัตริย์กรีซ เป็นรายชื่อของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงปกครองราชอาณาจักรกรีซ ราชวงศ์วิทเทลส์บัคปกครองราชบัลลังก์กรีซระหว่าง ค.ศ. 1832 จนถึง ค.ศ. 1862 เมื่อผ่านไปยังราชวงศ์ชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึคส์บูร์ก.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและรายพระนามพระมหากษัตริย์กรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

วันเมษาหน้าโง่

วันเอพริลฟูล (April Fool's Day) หรือ "วันโกหกโลก" เฉลิมฉลองในหลายประเทศในวันที่ 1 เมษายนของทุกปี โดยผู้คนจะเล่นมุกตลกและเรื่องหลอกลวงต่อกัน มุกตลกและคนที่ถูกหลอกจะเรียกว่าเป็น "คนโง่เดือนเมษา" ตามสำนักพิมพ์หรือสื่อต่าง ๆ อาจรายงานเรื่องหลอกลวงในวันนี้ และออกมาเฉลยในวันต่อมา วันนี้ไม่ใช่วันหยุดราชการ เริ่มเป็นที่นิยมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในแคนาดา ยุโรป ออสเตรเลีย บราซิล และสหรัฐอเมริกา การเชื่อมโยงระหว่างวันที่ 1 เมษายนกับความเขลาที่เก่าแก่ที่สุดที่มีบันทึกสามารถพบได้ใน ตำนานแคนเตอร์บรี ของชอเซอร์ (ค.ศ. 1392) นักเขียนจำนวนมากเสนอว่า การฟื้นฟูวันที่ 1 มกราคมให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีผลต่อการสร้างสรรค์วันดังกล่าว แต่ทฤษฎีนี้มิได้อธิบายการอ้างถึงก่อนหน้านั้น.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและวันเมษาหน้าโง่ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย

มเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย หรือ เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินเบอระ (มารี อเล็กซานดรา วิกตอเรีย, 27 ตุลาคม ค.ศ. 1875 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1938) เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนียพระองค์สุดท้าย โดยเป็นพระมเหสีในพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย ทรงประสูติในฐานะพระราชวงศ์อังกฤษ พระองค์ทรงได้รับพระอิสริยยศ เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินเบอระเมื่อครั้งประสูติ พระบิดาและพระมารดาของพระองค์คือ เจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งเอดินเบอระและแกรนด์ดัชเชสมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย ในวัยเยาว์ เจ้าหญิงมารีทรงใช้พระชนมชีพในเคนต์, มอลตาและโคบูร์ก หลังจากการปฏิเสธข้อเสนอที่จะอภิเษกสมรสกับพระญาติของพระองค์เองคือ พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรในอนาคต พระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นพระชายาในมกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์แห่งโรมาเนีย องค์รัชทายาทของพระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย ในปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ

มเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ (Παύλος, Βασιλεύς των Ελλήνων, 14 ธันวาคม พ.ศ. 2444 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2507) เป็นพระราชาธิบดีแห่งเฮเลนส์ ตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2490 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2507.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและสมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย

มเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย (24 สิงหาคม พ.ศ. 2408 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2470) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรโรมาเนียตั้งแต่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2457 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและสมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ทิวซิดิดีส

ทิวซิดิดีส (Thucydides; Θουκυδίδης,; ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก และเป็นผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน (History of the Peloponnesian War) ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์ และชนวนสาเหตุของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ในช่วงระหว่าง ปี 500 ถึง 411 ก่อนคริสต์ศักราช ตัวทิวซีดิดีสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงครามนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนำทัพเอเธนส์รบในต่างแดนหลายครั้ง แต่ความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส ทำให้ท่านถูกเนรเทศตามกฎหมายของเอเธนส์ ทิวซิดิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน และการวิเคราะห์ในด้านเหตุและผล โดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเกี่ยวข้อง หรือการแทรกแทรงจากเทพเจ้า ซึ่งจะพบได้จากสรุปใจความสำคัญในบทคำนำในงานเขียนของท่าน ทิวซิดิดีสได้รับสมญานามว่า เป็นบิดาแห่งสำนักความคิดสัจนิยมทางการเมือง ซึ่งมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาติว่า เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจมากกว่าความชอบธรรม นอกจากนี้ทิวซิดิดีสยังแสดงความสนใจในเรื่องการใช้ประวัติศาสตร์ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมในวิกฤตการณ์ดังเช่น การเกิดโรคระบาด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ดังเช่นกรณีของชาวเมเลียน) และสงครามกลางเมือง งานเขียนสำคัญจากยุคสมัยกรีกโบราณของท่าน ยังคงได้รับการศึกษาอย่างแพร่หลายในสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และบทสนทนาโบราณระหว่างทหารเอเธนส์กับผู้ปกครองชาวเมเลียน (The Melian Dialogue) ที่บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน ก็ยังทรงอิทธิพลต่องานเขียนในด้านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและทิวซิดิดีส · ดูเพิ่มเติม »

ครีต

รีต (Crete) หรือ ครีตี (Κρήτη: Krētē, Kriti) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะกรีกและเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับห้าในบรรดาเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีเนื้อที่ 8,336 ตารางกิโลเมตร ครีตเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมมิโนอัน (Minoan civilization) ที่เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาอารยธรรมกรีกที่รุ่งเรืองระหว่างราว 2600 ถึง 1400 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในปัจจุบันครีตเป็นหนึ่งในสิบสามเขตการปกครองของกรีซ (Peripheries of Greece) และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมต่อกรีซ เดิมเกาะครีตรู้จักกันในชื่อภาษาอิตาลีว่า “คันเดีย” (Candia) จากชื่อเมืองหลวงในยุคกลางเฮราคลิออน (Heraklion) “Chandax” (ภาษากรีก: Χάνδαξ หรือ Χάνδακας, "คู", ตุรกี: Kandiye) ในภาษาละตินเรียกว่า “เครตา” (Creta) และในภาษาตุรกีเรียกว่า “กิริต” (Girit) ที่ตั้งของครีตมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ในปัจจุบันเป็นสถานที่ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ครีตเป็นที่ตั้งของ สถาที่สำคัญของอารยธรรมมิโนอันที่รวมทั้งคนอสซอส และ ไฟทอส (Phaistos), กอร์ทิส (Gortys), เมืองท่าคาเนีย (Chania) ของเวนิส, ปราสาทเวนิสที่เรธิมโน (Rethymno) และ ซอกเขาซามาเรีย (Samaria Gorge) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเกาะครีตเป็นฐานทัพเรือของอิตาลี.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและครีต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบัลแกเรีย

ัลแกเรีย (България) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบัลแกเรีย (Република България) เป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีชายฝั่งบนทะเลดำไปทางตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศกรีซและประเทศตุรกีทางใต้ ประเทศเซอร์เบียและสาธารณรัฐมาซิโดเนียทางตะวันตก และประเทศโรมาเนียทางเหนือตามแม่น้ำดานูบบัลแกเรียเคยเป็นอาณานิคมของรัสเซี.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและประเทศบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอลเบเนีย

แอลเบเนีย (Albania; Shqipëri) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (Republic of Albania; Republika e Shqipërisë) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเซอร์เบีย (คอซอวอ) ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไต.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและประเทศแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโรมาเนีย

รมาเนีย (Romania; România) แต่ก่อนเรียกว่า รูมาเนีย (Rumania หรือ Roumania) เป็นประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศยูเครนและประเทศมอลโดวา ทิศตะวันตกจดประเทศฮังการีและประเทศเซอร์เบีย ทิศใต้จดประเทศบัลแกเรีย โรมาเนียมีชายฝั่งบนทะเลดำด้ว.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและประเทศโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เพลโต

"แนวคิดหลักทางปรัชญาของยุโรป ล้วนแต่เป็นเชิงอรรถของเพลโต" -- อัลเฟรด นอร์ท ไวท์เฮด, Process and Reality, ค.ศ. 1929 เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, Plato.) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราตีส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์ เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้ ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราตีสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราตีส และส่วนใดเป็นของเพลโต.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและเพลโต · ดูเพิ่มเติม »

เอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ

อลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ (12 ตุลาคม พ.ศ. 2437 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 พระนามเต็ม: เอลิซาเบธ ชาร์ล็อต โจเซฟีน อเล็กซานดรา วิกตอเรีย) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ พระมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ พระนางเป็นพระธิดาของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนียกับเจ้าหญิงมารีแห่งเอดินบะระ พระนางมีพระราชดำรัสสำคัญอยู่ประโยคหนึ่งว่า"ฉันได้กระทำผิดทุกๆอย่างในชีวิตของฉันนอกจากการเป็นฆาตกรและฉันไม่ปรารถนาที่จะตายโดยปราศจากการทำสิ่งเหล่านั้น".

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและเอลิซาเบธแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์

อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ. 2004) ส่วนประชากรในเขตเมือง (urban area) ทั้งหมด บนขนาดพื้นที่ มี 3,090,508 คน ตามสถิติเมื่อปี..

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย

้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย (Princess Sophia of Prussia) (โซเฟีย โดโรเธีย อุลริเคอ อลิซ; 14 มิถุนายน พ.ศ. 2413 - 13 มกราคม พ.ศ. 2475) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและเจ้าหญิงโซเฟียแห่งปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

1 เมษายน

วันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 91 ของปี (วันที่ 92 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 274 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและ1 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

19 กรกฎาคม

วันที่ 19 กรกฎาคม เป็นวันที่ 200 ของปี (วันที่ 201 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 165 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่ 2 แห่งกรีซและ19 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

George II of Greeceสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งกรีซ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »