โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมุหราชมนเทียร

ดัชนี สมุหราชมนเทียร

มุหราชมนเทียร (Mayor of the Palace) เป็นตำแหน่งขุนนางตำแหน่งหนึ่งในทวีปยุโรปช่วงต้นสมัยกลาง ใช้ในราชอาณาจักรแฟรงก์ราวคริสต์ศตวรรษที่ 6-7 ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 สมุหราชมนเทียรได้กลายเป็นผู้มีอำนาจเบื้องหลังราชบัลลังก์ออสเตรเชีย (ดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรแฟรงก์สมัยราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง) มีอำนาจว่าการต่าง ๆ ในราชอาณาจักร ส่วนพระมหากษัตริย์ถูกลิดรอนพระราชอำนาจลงมาเหลือเพียงบทบาทด้านพิธีการ สมุหราชมนเทียรจึงมีอำนาจคล้ายโชกุนในประเทศญี่ปุ่น หรือนายกรัฐมนตรีในประเทศที่ปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจบริหารจริง ส่วนพระมหากษัตริย์เป็นเพียงผู้นำแต่ในทางพิธี ตำแหน่งนี้ยังสืบทอดตามสายโลหิตในตระกูลของพวกพิปปินิด ชาร์ล มาร์แตลถือเป็นหนึ่งในสมุหราชมนเทียรทรงอิทธิพลซึ่งมาจากตระกูลนี้และได้สถาปนาตนเองเป็นดยุกแห่งชาวแฟรงก์ด้วย เมื่อออสเตรเชียและนิวสเตรียรวมกันเป็นอาณาจักรเดียว เปแป็งซึ่งดำรงตำแหน่งสมุหราชมนเทียรมาตั้งแต่ปี..

14 ความสัมพันธ์: ชาร์ล มาร์แตลชาร์เลอมาญพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยราชวงศ์การอแล็งเฌียงราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงราชอาณาจักรแฟรงก์ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญจักรพรรดิโรมันทวีปยุโรปต้นสมัยกลางประวัติศาสตร์ยุโรปประเทศญี่ปุ่นนายกรัฐมนตรีโชกุน

ชาร์ล มาร์แตล

ร์ล มาร์แตล (Charles Martel; ราว ค.ศ. 688 – 22 ตุลาคม ค.ศ. 741) เป็นผู้นำทางการทหารและการเมืองของชาวแฟรงก์ ดำรงมีตำแหน่งสมุหราชมนเทียรในสมัยราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง และเป็นประมุขในทางพฤตินัยในช่วงว่างระหว่างรัชกาล ค.ศ. 737 ถึง ค.ศ. 743 ในบั้นปลายของชีวิตโดยใช้ตำแหน่ง “ดยุกและเจ้าชายแห่งชาวแฟรงก์” ในปี ค.ศ. 739 พระสันตะปาปาเสนอให้รับตำแหน่งกงสุลแต่ชาร์ลไม่ยอมรับ ชื่อเสียงที่ทำให้ชาร์ลเป็นผู้ที่เป็นที่รู้จักกันดีต่อมาการที่ได้รับชัยชนะในยุทธการที่ตูร์ในปี ค.ศ. 732 732 ซึ่งเป็นยุทธการที่เป็นการหยุดยั้งการรุกรานของกองทัพมุสลิมขึ้นมาทางเหนือและทางตะวันตกของยุโรป ชาร์ลเป็นนักการทหารผู้มีความสามารถ—พ่ายแพ้ในยุทธการเพียงยุทธการเดียวในชีวิตการต่อสู้ในยุทธการที่โคโลญ ชาร์ลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในยุคกลาง และเชื่อกันว่ามีส่วนก่อให้เกิดระบบเจ้าขุนมูลนายและระบบอัศวินและวางรากฐานของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงFouracre, John.

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและชาร์ล มาร์แตล · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์เลอมาญ

ร์เลอมาญ (Charlemagne) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (Karl der Große) เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและชาร์เลอมาญ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย

ระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย (Pepin the Short หรือ Pippin the Short) (ค.ศ. 714 – 24 กันยายน ค.ศ. 768) นอกจากจะทรงได้รับฉายานามว่า "the Short" แล้วก็ยังรู้จักกันในพระนามอื่นด้วยเช่น "เปแป็งผู้เยาว์" หรือ "เปแป็งที่ 3" เปแปงเดิมเป็นสมุหราชมนเทียร (Mayor of the Palace) และดยุกแห่งแฟรงก์ ตั้งแต่ ค.ศ. 741 และพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิแฟรงค์ระหว่าง ค.ศ. 751 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 768 พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ยเป็นพระราชโอรสของชาร์ลส์ มาร์เตล และเป็นพระราชบิดาของชาร์เลอมาญ.

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและพระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์การอแล็งเฌียง

ราชวงศ์กาโรแล็งเฌียง (หรือ ฌีแย็ง) (Carolingiens /ka.ʁɔ.lɛ̃,ʒjɛ̃/) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ในยุโรปหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน เป็นอาณาจักรที่นับถิอศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์เมโรแว็งเฌียง ราชวงศ์เมโรแว็งเฌียงเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ ก่อตั้งโดยพระเจ้าคลอวิสที่ 1 เมื่อพระองค์ขึ้นปกครองแคว้นกอทหรืออาณาจักรแฟรงก์ พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์และนำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักร อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง อำนาจทั้งหมดตกไปอยู่ในมือของขุนนางตระกูลคาโรลินเจียน โดยเฉพาะชาร์ล มาร์แตลที่สามารถยกกองทัพไปต้านทานการรุกรานของชาวมุสลิมจากคาบสมุทรไอบีเรีย ต่อมาใน พ.ศ. 1294 เปแปงร่างเตี้ยบุตรของชาร์ล มาร์เตลได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ล้มล้างราชวงศ์เมโรแว็งเฌียง ตั้งราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ สันตะปาปาได้ให้การสนับสนุนราชวงศ์ใหม่นี้ด้วย กษัตริย์ราชวงศ์นี้ได้ให้การอุปถัมภ์ศาสนาคริสต์และสนับสนุนอำนาจของสันตะปาปาจนทำให้สันตะปาปามีอำนาจทางโลกมากขึ้น จนในที่สุดสันตะปาปาลีโอที่ 3 ได้สถาปนาพระเจ้าชาร์เลอมาญพระราชโอรสของพระเจ้าเปแปงขึ้นเป็นจักรพรรดิของชาวโรมันในวันตริสต์มาส พ.ศ. 1343 จักรวรรดิแฟรงก์ในยุคของราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงเริ่มเสื่อมสลายเมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาแบ่งดินแดนให้โอรส 3 พระองค์ตามสนธิสัญญาแวร์เดิง พ.ศ. 1386 หลังจากนั้น เมื่อถูกพวกไวกิ้งรุกราน การรวมศูนย์อำนาจจึงล่มสลาย อำนาจตกไปอยู่ในมือของพวกขุนนาง จนเข้าสูการปกครองระบอบฟิวดัลในที.

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและราชวงศ์การอแล็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง

ราชวงศ์เมโรวินเจียน (Merovingian; Mérovingiens) (ค.ศ. 481 - ค.ศ. 751) (พ.ศ. 1024 - พ.ศ. 1294) ราชวงศ์เมโรวินเจียนเป็นราชวงศ์ของชนเผ่าแฟรงก์หรือฟรอง ปกครองดินแดนฝรั่งเศสเป็นราชวงศ์แรกหลังเข้ายึดดินแดนโกล กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์คือพระเจ้าโคลวิสที่ 1 (Clovis I) ทรงประกาศพระองค์เป็นคริสต์ศาสนิกชน ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์จากสมเด็จพระสันตะปาปา พระเจ้าโคลวิสทรงขยายอาณาเขตของฝรั่งเศสไปเกือบครอบคลุมอาณาเขตประเทศในปัจจุบันและดินแดนทางตะวันตกของเยอรมนี หลังสิ้นพระชนม์อาณาจักรฝรั่งเศสแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ อยู่ภายใต้การปกครองของพระโอรสหลายพระองค์ ก่อนที่จะรวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้งในสมัยพระเจ้าโกลแตร์ที่ 1 (Clotaire I) กษัตริย์ในยุคหลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 (Dagobert I) (ครองราชย์ พ.ศ. 1172-1182) หลังจากรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรฝรั่งเศสถูกแบ่งแยกเป็นเขตต่าง ๆ อยู่ในอำนาจของขุนนางนักรบหลายตระกูล ตระกูลที่มีอำนาจมากที่สุดคือตระกูลคาโรลินเจียน (Carolingian) ขุนนางในตระกูลนี้เริ่มดำรงตำแหน่งสำคัญในราชสำนักและควบคุมกษัตริย์เมโรวินเจียนจนไร้พระราชอำนาจ ในที่สุด เปแปง หัวหน้าตระกูลจึงถอดถอนพระเจ้าชิลเดริกที่ 3 (Childeric III) ออกจากราชบัลลังก์และตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่แห่งราชวงศ์คาโรลินเจียน.

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรแฟรงก์

ราชอาณาจักรแฟรงก์ (Frankish Kingdom) หรือ ฟรังเกีย (Francia) เป็นดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานและปกครองโดยชาวแฟรงก์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาบริเวณเกิดจากการรณรงค์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ชาร์ล มาร์แตล (Charles Martel) พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย และชาร์เลอมาญ-- พ่อ, ลูก, และหลาน--มามั่นคงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ธรรมเนียมของการแบ่งดินแดนของพ่อระหว่างลูกชายหมายความว่าดินแดนแฟรงก์ปกครองเป็นอย่างหลวม ๆ เป็นจักรวรรดิที่แบ่งย่อยเป็นส่วนย่อย ๆ (ราชอาณาจักร หรือ อนุราชอาณาจักร) ที่ตั้งและจำนวนอนุราชอาณาจักรก็ต่างกันไปตามเวลา แต่ฟรังเกียโดยทั่วไปมาหมายถึงบริเวณหนึ่งที่เรียกว่าออสเตรเชีย ที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณแม่น้ำไรน์ และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ทางตอนเหนือของยุโรป แต่กระนั้นบางครั้งก็จะครอบคลุมไปถึงนิวสเตรีย (Neustria) ทางเหนือของแม่น้ำลัวร์ และทางตะวันตกของแม่น้ำแซนในที่สุดบริเวณนี้ก็เคลื่อนมาทางปารีส และมาสิ้นสุดลงในบริเวณลุ่มแม่น้ำแซนรอบ ๆ ปารีส ที่ยังใช้ชื่ออีล-เดอ-ฟร็องส์ และเป็นชื่อในที่สุดก็กลายเป็นชื่อของราชอาณาจักรฝรั่งเศสทั้งราชอาณาจักร.

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและราชอาณาจักรแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโรมัน

จักรพรรดิโรมัน เป็นผู้ที่ปกครองจักรวรรดิโรมันตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสตกาล ถึง ค.ศ. 476 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันตก และปี ค.ศ. 1453 สำหรับ จักรวรรดิโรมันตะวันออก.

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและจักรพรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ยุโรป

ทความนี้ว่าด้วยประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรปโดยรวม.

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและประวัติศาสตร์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของรัฐบาล เป็นตำแหน่งสูงสุด โดยมีพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ บางประเทศยังต้องเลือกประธานาธิบดีแล้วแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีหรือบางประเทศอาจจะให้กษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งก็ได้ แต่ในระบบสาธารณรัฐแบบประธานาธิบดีจะไม่มีนายกรัฐมนตรี เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล เป็นต้น รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในขณะที่นายกรัฐมนตรีมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือมีหน้าที่อื่นให้ปฏิบัติ เช่น เดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศ ลาราชการ พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น.

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและนายกรัฐมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

โชกุน

กุน เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการทหารแห่งญี่ปุ่นระหว่าง..

ใหม่!!: สมุหราชมนเทียรและโชกุน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »