โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

ดัชนี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

Tempietto di San Pietro in Montorio (ค.ศ. 1502) โรม โดย โดนาโต ดันเจโล บรามันเต ซึ่งเป็นวัดที่สร้างบนที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่นักบุญปีเตอร์สิ้นชีวิด มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ (Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิก สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่น.

10 ความสัมพันธ์: ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีกรีซโบราณสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมกอทิกทวีปยุโรปซีโมนเปโตรปรัชญาโรมันโรมโบราณโดนาโต ดันเจโล บรามันเต

ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี

รูปปั้นฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี (Filippo Brunelleschi) (ค.ศ. 1377 - 15 เมษายน ค.ศ. 1446) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี และเป็นหนึ่งในสถาปนิกกลุ่มแรกที่เข้าร่วมกระบวนการเรอเนซองซ์ในเมืองฟลอเรนซ์ งานออกแบบส่วนใหญ่ของเขาจะอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์แห่งนี้ บรูเนลเลสกีเป็นสถาปนิกที่โด่งดังและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในยุคของเขา ผลงานหนึ่งที่สำคัญของเขาอันเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อวงการออกแบบสถาปัตยกรรมของโลกมาจนถึงทุกวันนี้คือ การคิดค้นระบบการเขียนแบบทัศนียภาพหรือเพอร์สเปกทีฟ (perspective).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและฟีลิปโป บรูเนลเลสกี · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ซีโมนเปโตร

ซีโมนเปโตร (Σιμων Πέτρος ซีมอน เปโตฺรส) หรืออัครทูตเปโตร (Απόστολος Πέτρος อะโปสโตโลส เปโตฺรส) ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเปโตร (Saint Peter) เดิมชื่อซีโมน เป็นชาวประมงคนหนึ่งของตำบลเบทไซดา (ลก. 5:3;ยน.1:44) แต่ว่าต่อมาได้ย้ายมาตั้งหลักแหล่งที่เมืองคาร์เปอร์นาอุม (มก. 1: 21.29) นักบุญอันดรูว์ น้องชายของท่านได้เป็นคนแนะนำให้ท่านติดตามพระเยซู (ยน. 1:42) และอาจเป็นนักบุญยอห์นผู้ให้บัพติศมาที่ได้เป็นผู้ตระเตรียมจิตใจของท่านสำหรับการพบปะครั้งสำคัญของท่านกับพระเยซู พระเยซูทรงได้เปลี่ยนชื่อท่านใหม่ว่าเปโตร ซึ่งแปลว่า "ศิลา" (มธ. 16: 17-19) ครั้งหนึ่งพระเยซูตรัสถามท่านว่า "ท่านคิดว่าเราเป็นใคร" และเปโตรได้ทูลว่า "พระองค์คือพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า" พระเยซูจึงตรัสว่า "เราจะตั้งเราเป็นหัวหน้าแทนท่าน ทั้งจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์" (มธ. 16: 15-19) สัญลักษณ์ที่เห็นเด่นชัดในภาพคือ มือของท่านมีลูกกุญแจ เปโตรเป็นพยานบุคคลผู้หนึ่งที่ได้แลเห็นพระคูหาว่างเปล่าของพระอาจารย์ (ยน. 20:6) และได้เห็นการคืนพระชนม์ของพระเยซู (ลก. 23:34) หลังจากที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว ท่านก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำบรรดาคริสตชน (กจ. 1: 15; 15:7) ได้กล่าวสรุปข่าวดี (พระวรสาร) (กจ. 2:14-41) และท่านเองเป็นคนแรกที่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเปิดคริสตจักรไปสู่พวกคนต่างชาติ (กจ.10-11) เปโตรเขียนจดหมาย 2 ฉบับที่ทรงคุณค่าอย่างมากคือ 1 และ 2 เปโตร ท้ายที่สุดเปโตรได้เสียสละชีวิตเพื่อพระเยซูตามคำทำนายของพระองค์ (ยน 21.18-19) ภารกิจด้านวิญญาณที่ได้รับมอบหมายมิใช่ว่าจะช่วยให้ท่านหมดจากสภาพของความเป็นคนหรือจากข้อบกพร่องต่าง ๆ ทางอารมณ์ก็หาไม่ (มธ.10: 41; 14:26,66-72; ยน. 13: 6;18:10; มธ. 14: 29-31) เปาโลอัครทูตเองก็มิได้ลังเลใจแต่อย่างใดที่จะพูดจาต่อว่าท่านเวลาที่พบกันที่เมืองแอนติออก (กจ.15; กท. 2:11-14) เพื่อเชิญชวนท่านว่าไม่ต้องปฏิบัติตามแบบของพวกยิว ในเรื่องนี้รู้สึกว่าเปโตร ยังตัดสินใจช้าและยังถือว่ากลุ่มคริสตชนซึ่งเดิมทีเป็นคนต่างศาสนาก็ยังด้อยกว่าหรือเป็นรองกลุ่มคริสตชนที่เดิมทีเป็นชาวยิว (กจ. 6: 1-2) ต่อเมื่อเปโตรได้มาที่กรุงโรม เมื่อนั้นแหละท่านจึงจะได้กลายเป็นอัครทูตของทุก ๆ คน และได้ทำหน้าที่ของท่านอย่างครบถ้วนคือเป็น "ศิลาหัวมุม" ของคริสตจักรของพระเยซูโดยรวมชาวยิวและคนต่างศาสนาให้เข้ามาอยู่ภายในอาคารเดียวกัน และท่านได้ประทับตราภารกิจหน้าที่นี้ด้วยการหลั่งโลหิตของท่านตามแบบพระอาจารย์ คริสตจักรโรมันคาทอลิกถือว่าท่านเป็นพระสันตะปาปาองค์แรก ท่านถูกจับตรึงกางเขน และได้ขอร้องให้หันศีรษะท่านลง เพราะคิดว่าไม่สมควรที่จะตายในลักษณะเดียวกับพระเยซูผู้เป็นพระอาจาร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและซีโมนเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

โรมัน

รมัน อาจหมายถึง;ประวัติศาสตร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

โรมโบราณ

ตามตำนานโรมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชโดยรอมิวลุส และรีมุสที่ถูกเลี้ยงด้วยแม่หมาป่า โรมโบราณ (Ancient Rome) คือวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการขึ้นมาจากชุมชนเกษตรกรบน คาบสมุทรอิตาลีที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนโรมโบราณกลายมาเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โบราณ ในช่วงเวลาที่โรมโบราณเจริญรุ่งเรืองอยู่วัฒนธรรมโรมันเปลี่ยนจากการปกครองตั้งแต่เป็นแบบราชาธิปไตยไปเป็นระบอบสาธารณรัฐคณาธิปไตย และในที่สุดก็ไปเป็นระบบจักรวรรดิแบบอัตตาธิปไตย อารยธรรมโรมันมามีอำนาจอันมีอิทธิพลต่อทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้/คาบสมุทรบอลข่าน และในบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนโดยการพิชิตและการการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับท้องถิ่นที่เข้าไปปกครอง จักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันตกเสื่อมโทรมลงและสลายตัวไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในและการถูกโจมตีโดยชนกลุ่มต่างๆ ในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน จักรวรรดิโรมันตะวันตกที่รวมทั้งฮิสปาเนีย กอล บริทาเนีย และอิตาลี ได้แบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรอิสระในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล ประกอบด้วยกรีซ ส่วนที่พิชิตโดยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 อานาโตเลีย ซีเรีย และอียิปต์รอดจากวิกฤติการณ์ที่จักรวรรดิทางด้านตะวันตกประสบ และแม้ว่าจะเสียซีเรียและอียิปต์แก่จักรวรรดิอิสลามของอาหรับจักรวรรดิก็รุ่งเรืองต่อมาอีกหนึ่งสหัสวรรษ จนกระทั่งมาเสียเมือง ให้กับจักรวรรดิออตโตมันของตุรกี นักประวัติศาสตร์มักจะเรียกจักรวรรดิโรมันตะวันออกมักจะเรียกว่าเป็น จักรวรรดิไบแซนไทน์ วัฒนธรรมโรมันมักจะจัดอยู่ใน “ยุคโบราณ” (classical antiquity) ร่วมกับกรีกโบราณซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เป็นต้นตอและแรงบันดาลใจให้แก่วัฒนธรรมโรมโบราณ โรมโบราณมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการวิวัฒนการทางด้านกฎหมาย การสงคราม ศิลปะ วรรณคดี สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และภาษาของโลกตะวันตก และประวัติศาสตร์โรมก็ยังคงเป็นประวัติที่ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและโรมโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

โดนาโต ดันเจโล บรามันเต

โดนาโต ดันเจโล บรามันเต โดนาโต ดันเจโล บรามันเต (ค.ศ. 1444 - 11 มีนาคม ค.ศ. 1514) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี ซึ่งเป็นผู้นำรูปแบบหรือสไตล์ที่เรียกว่าเออร์ลี่เรเนซองส์เข้ามาในเมืองมิลาน และไฮเรเนซองส์สู่โรม ซึ่ง ณ โรมแห่งนี้ เขาได้ทำการออกแบบผลงานที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกได้แก่มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter's Basilica) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 1987 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวอิตาลี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นมาร์เค.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดนาโต ดันเจโล บรามันเต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Renaissance architectureสถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมยุคเรอเนสซองซ์สถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »