โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

ดัชนี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

Tempietto di San Pietro in Montorio (ค.ศ. 1502) โรม โดย โดนาโต ดันเจโล บรามันเต ซึ่งเป็นวัดที่สร้างบนที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่นักบุญปีเตอร์สิ้นชีวิด มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรมในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ สถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ (Renaissance architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่15 และรุ่งเรืองไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อบางประเทศในทวีปยุโรปหันมาฟื้นฟูความสนใจเกี่ยวกับปรัชญากรีก และ โรมันโบราณ และวัตถุนิยม สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเน้นความมีความสมมาตร (symmetry) ความได้สัดส่วน (proportion) การใช้รูปทรงเรขาคณิต และลักษณะที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่นสถาปัตยกรรมสมัย โรมัน การวางโครงสร้างจะเป็นไปอย่างมีแบบแผนไม่ว่าจะเป็นเสา หรือ คานรับเสา และการใช้ซุ้มโค้งครึ่งวงกลม การใช้โดม มุข (niche) หรือ aedicule ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้ามาแทนที่จะเป็นแบบตรงกันข้ามกับรูปทรงที่ซับซ้อนและไม่เป็นระเบียบ (irregular profile) ที่เป็นที่นิยมของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิก สถาปนิกคนแรกที่เริ่มแบบแผนของสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาคือ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีหลังจากนั้นไม่นานลักษณะสถาปัตยกรรมที่ว่านี้ก็แพร่หลายไปทั่วประเทศอิตาลี และต่อไปยังฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอื่น.

70 ความสัมพันธ์: บลัวชเตฟันสโดมฟลอเรนซ์พระราชวังช็องบอร์พระราชวังลุกซ็องบูร์พระที่นั่งอนันตสมาคมการ์โล มาแดร์โนมหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเรมหาวิหารซันตามาเรียโนเวลลามหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์มหาวิหารซีเอนามหาวิหารปาโดวามหาวิหารนักบุญแอนโทนีแห่งปาดัวมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพงมหาวิหารนักบุญเปโตรมารีบอร์วัลเลตตาวัดคอนเซ็ปชัญวัดซางตาครู้สวังฟาร์เนเซ (โรม)วังวาล็องแซวังวีล็องดรีวังปิตตีวังเชอนงโซศิลปะคริสเตียนสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีสถาปัตยกรรมบาโรกสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกสถาปัตยกรรมตะวันตกสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สถาปัตยกรรมเอลิซาเบธหม่อมเจ้าทินทัต สุขสวัสดิ์หลุมเพดานอาสนวิหารบลัวอาสนวิหารฟลอเรนซ์อาสนวิหารลูว์ซงอาสนวิหารวานอาสนวิหารอานซีอาสนวิหารอ็อชอาสนวิหารตูร์อาสนวิหารตูลอาสนวิหารน็องซีอาสนวิหารแซ็ง-มาโลอาคารคิวนาร์ดอินิโก โจนส์ผังอาสนวิหาร...จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีจุดตัดกลางโบสถ์จูลิอาโน ดา ซานกาลโลตำหนักออสบอร์นซันลุยจีเดย์ฟรันเชซีซันตาตรีนีตาซันซักกาเรีย เวนิสซันโตสปีรีโต ฟลอเรนซ์ปราสาทอัมบรัสปราสาทครอนบอร์แชร์โตซาดีซันมาร์ตีโนแม่พระรับสารโบสถ์กางเขนเดรสเดินโบสถ์ลามาดแลนโบสถ์น้อยกอนตาเรลลีโบสถ์น้อยสโกรเวญญีโบสถ์น้อยซิสทีนเมดีชีเอลเอสโกเรียลเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ขยายดัชนี (20 มากกว่า) »

บลัว

ลัว (Blois) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดลัวเรแชร์ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส เมืองบลัวตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝรั่งเศสบนฝั่งแม่น้ำลัวร์ระหว่างออร์เลอ็องกับตูร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและบลัว · ดูเพิ่มเติม »

ชเตฟันสโดม

การขยายอาสนวิหารนักบุญสเทเฟน: The '''หอโรมันและประตูยักษ์''' จากซากไหม้ของโบสถ์แรกใช้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างแบบโรมาเนสก์'''โบสถ์ที่สอง''' สร้างแทนโบสถ์เดิม สี่สิบปีต่อมา ก็เริ่มก่อสร้าง '''Albertine Choir''' แบบกอธิค; ห้าสิบห้าปีหลังจากนั้นก็สร้าง '''ส่วนต่อเติมดยุกรูดอล์ฟที่ 4''' รอบบริเวณ '''โบสถ์ที่สอง''' ที่ต่อมาถูกรื้อทิ้ง เหลือโบสถ์ที่สามให้เป็นสิ่งก่อสร้างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน อาสนวิหารนักบุญสเทเฟน หรือ ชเตฟันสโดม (Stephansdom, St.) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกในอัครมุขมณฑลเวียนนา และเป็นที่ตั้งอาสนะของอาร์ชบิชอปแห่งเวียนนา ตัวอาสนวิหารตั้งอยู่ใจกลางกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ และ กอทิก ริเริ่มโดยรูดอล์ฟที่ 4 ดยุกแห่งออสเตรีย โบสถ์ปัจจุบันตั้งอยู่บนซากโบสถ์เดิมที่สร้างก่อนหน้านั้นสองโบสถ์ โบสถ์แรกเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริชที่ได้รับการเสกในปี ค.ศ. 1147 อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนเป็นสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเวียนนาที่เห็นได้อย่างเด่นชัดจากหลังคากระเบื้องหลากสี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและชเตฟันสโดม · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังช็องบอร์

ระราชวังช็องบอร์ (Château de Chambord) เป็นวังที่ตั้งอยู่ที่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ในช็องบอร์ในจังหวัดลัวเรแชร์ ประเทศฝรั่งเศส พระราชวังช็องบอร์เป็นวังที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดวังหนึ่งในโลกจากลักษณะสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาที่เป็นเอกลักษณ์ของสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะผสานระหว่างการก่อสร้างแบบยุคกลางของฝรั่งเศสกับสถาปัตยกรรมคลาสสิกของอิตาลี พระราชวังช็องบอร์สร้างโดยพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสสำหรับเป็นที่ประทับที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากโกลด โรอ็อง พระสนมเคาน์เทสส์แห่งตูรี ภรรยาของฌูว์เลียง เคานต์แห่งแกลร์มง ซึ่งเป็นตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศส ที่พำนักอยู่ที่วังมุยด์ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก ตราอาร์มของโคลดใช้ตกแต่งพระราชวัง ช็องบอร์เป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวังต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำลัวร์ แต่เดิมเป็นเพียงตำหนักล่าสัตว์ของพระเจ้าฟร็องซัว ผู้ทรงมีที่ประทับอยู่ที่พระราชวังบลัวและพระราชวังอ็องบวซ กล่าวกันว่าช็องบอร์เดิมออกแบบโดยโดเมนีโก ดา กอร์โตนา ผู้ที่มีจำลองไม้ที่มีอายุยืนพอที่จะให้อ็องเดร เฟลีเบียงวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่นักเขียนบางท่านกล่าวว่าผู้มีส่วนสำคัญในการออกแบบคือสถาปนิกยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวฝรั่งเศสฟีลีแบร์ เดอลอร์ม ในระยะยี่สิบปีของการก่อสร้างระหว่างปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและพระราชวังช็องบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังลุกซ็องบูร์

ระราชวังลุกซ็องบูร์ (Palais du Luxembourg; Luxembourg Palace) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสวนลุกซ็องบูร์ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส ในปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของวุฒิสภา (French Senate) สวนลุกซ็องบูร์มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 25 เฮ็คตาร์ที่เป็นลานหญ้าและทางเดินกรวดที่มีรูปปั้นตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ สลับกับอ่างน้ำ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและพระราชวังลุกซ็องบูร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งอนันตสมาคม

ระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นท้องพระโรงเดิมของพระราชวังดุสิต ชื่อของพระที่นั่งนี้ นำมาจากพระที่นั่งองค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งอนันตสมาคมสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2451 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แต่สร้างไม่ทันเสร็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต จึงสร้างต่อแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมใช้เวลาสร้างทั้งหมด 8 ปี พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นอาคารทรงยุโรปล้วน เป็นพระที่นั่งหินอ่อนเพียงองค์เดียวในประเทศไทยวลัญช์ สุภากร,, กรุงเทพธุรก.วันที่ 29 มิถุนายน 2558 ซึ่งก่อสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวชั้นหนึ่งจากเมืองคาร์รารา ประเทศอิตาลี ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาลีนามว่า มาริโอ ตามานโญ มีแรงบรรดาลใจมาจากโดม วิหารเซนต์ปีเตอร์ แห่งนครรัฐวาติกัน และโบสถ์เซนต์ปอลแห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร งานก่อสร้างทั้งหมดมาจากแรงงานทั้งคนไทยและจีน ส่วนงานภายในที่มีการตกแต่งด้วยศิลปะเฟรสโก เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลต่างๆ มาจากฝีมือช่างจากอิตาลีเป็นส่วนใหญ่ พระที่นั่งอนันตสมาคมมีจุดเด่นที่โดมใหญ่ตรงกลางซึ่งทำจากทองแดงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เมตร และรวมไปถึงโดมย่อยอีก 6 โดม แต่เนื่องจากสนิมทำให้เปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมน้ำเงินในปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ยังจัดได้ว่า เป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศไทย เนื่องจากในช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้ใช้พระที่นั่งองค์นี้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ ณ อาคารรัฐสภา ปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ข้างๆพระที่นั่งองค์นี้ พระที่นั่งอนันตสมาคม ยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธี รัฐพิธี สำคัญๆ มากมาย อาทิ รัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ และการเสด็จออกมหาสมาคมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอีก 4 ครั้ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและพระที่นั่งอนันตสมาคม · ดูเพิ่มเติม »

การ์โล มาแดร์โน

้านหน้ามหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ การ์โล มาแดร์โน (Carlo Maderno; ค.ศ. 1556 - 30 มกราคม ค.ศ. 1629) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี-สวิสเกิดที่ตีชีโน (Ticino) ที่อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ส่วนที่พูดภาษาอิตาลี การ์โล มาแดร์โนถือกันว่าเป็นบิดาแห่งสถาปัตยกรรมบาโรก งานของมาแดร์โนด้านหน้าของมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ วัดซานตาซูซานนา (Santa Susanna) และวัดซานตันเดรอาเดลลาวัลเล (Sant'Andrea della Valle) ถือกันว่าเป็นกุญแจสำคัญของการวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมบาโรกของอิตาลี การ์โล มาแดร์โนมักจะรู้จักว่าเป็นพี่ชายของประติมากรสเตฟาโน มาแดร์โน (Stefano Maderno) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและการ์โล มาแดร์โน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร

มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร (Basilica di Santa Maria Maggiore) ในภาษาอังกฤษมักเรียกว่า St.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและมหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันตามาเรียโนเวลลา

มหาวิหารซานตามาเรียโนเวลลา (ภาษาอังกฤษ: Basilica of Santa Maria Novella; ภาษาอิตาลี: Santa Maria Novella) เป็นวัดคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอธิคและเรอเนซองส์ตอนต้น มหาวิหารซานตามาเรียโนเวลลามีงานจิตรกรรมฝาผนังสำคัญๆ ของจิตรกรผู้มีชื่อเสียงหลายคนของฟลอเรนซ์ เช่นงานในชาเปลทอร์นาบุโอนิ โดย โดเมนนิโค เกอร์ลันเดา, ในชาเปลสปาโยลิ หรืองานในระเบียงคดโดย เปาโล อูเชลโล และงานศิลปะชนิดอื่นๆ เช่นกางเขนของ ฟีลิปโป บรูเนลเลสกี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและมหาวิหารซันตามาเรียโนเวลลา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์

ซิลิกาซานโลเร็นโซ หรือ บาซิลิกาเซนต์ลอว์เรนซ์แห่งฟลอเรนซ์ (Basilica of San Lorenzo, Florence, Basilica di San Lorenzo) เป็นวัดคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นมหาวิหารที่ตั้งอยู่กลางเมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบฟื้นฟูศิลปวิทยา บาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณตลาดเก่าในใจกลางเมืองฟลอเรนซ์และเป็นวัดที่ใช้ในการบรรจุศพบุคคลสำคัญๆ หลายคนของตระกูลเมดิชิตั้งแต่โคสิโม เดอ เมดิชิผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1464 มาจนถึงโคสิโม เดอ เมดิชิที่ 3 แกรนดยุคแห่งทัสเคนี (Cosimo III de' Medici, Grand Duke of Tuscany) ผู้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1723 บาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นวัดหนึ่งที่อ้างตนเองว่าเป็นวัดที่เก่าที่สุดในฟลอเรนซ์ที่เดิมสร้างในปี ค.ศ. 393 นอกกำแพงเมือง และเป็นมหาวิหารแห่งเมืองฟลอเรนซ์อยู่ 300 ปี ก่อนที่จะย้ายไปเป็นวัดซานตาเรพาราตา นอกจากนั้นแล้วบาซิลิกาซานโลเร็นโซก็ยังเป็นวัดประจำตระกูลเมดิชิ ในปี ค.ศ. 1419 จิโอวานนิ ดิ บิชชิ เดอ เมดิชิ (Giovanni di Bicci de' Medici) อาสาออกเงินให้สร้างวัดใหม่แทนวัดโรมาเนสก์เดิมที่สร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยจ้างให้ฟีลิปโป บรูเนลเลสกีผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นผู้ออกแบบ แต่ไม่ได้สร้างเสร็จจนกระทั่งจิโอวานนิเสียชีวิตไปแล้ว บาซิลิกาซานโลเร็นโซเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคริสต์ศาสนสถานที่เป็นของสำนักสงฆ์ ที่ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างสำคัญๆ อื่นๆ ที่รวมทั้งห้องเก็บสมบัติเก่า (Sagresta Vecchia) โดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี, ห้องสมุดบาซิลิกาซานโลเร็นโซ (Laurentian Library) โดยมีเกลันเจโล, ห้องเก็บสมบัติใหม่โดยมีเกลันเจโล และชาเปลเมดิชิ (Medici Chapel) โดยมัตเตโอ นิเก็ตติ (Matteo Nigetti).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและมหาวิหารซันโลเรนโซ ฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารซีเอนา

อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (cattedrale metropolitana di Santa Maria Assunta) หรือ มหาวิหารซีเอนา (Duomo di Siena) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ที่เมืองซีเอนาในประเทศอิตาลี เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลซีเอนา-กอลเลดีวัลเดลซา-มอนตัลชีโน มหาวิหารซีเอนาเริ่มออกแบบและสร้างเป็นครั้งแรกระหว่างปี ค.ศ. 1215 ถึง ค.ศ. 1263 บนฐานของโบสถ์หลังเดิม แผนผังมหาวิหารเป็นแบบกางเขนละตินโดยมีส่วนขวางด้านหนึ่งยื่นออกมากว่าปกติ พร้อมกับโดมและหอระฆัง โดมที่ตั้งอยู่บนหอแปดเหลี่ยมมาสร้างเพิ่มโดยจัน โลเรนโซ แบร์นีนี ทางเดินกลางแยกจากทางเดินข้างด้วยซุ้มโค้งครึ่งวงกลม ภายนอกและภายในตกแต่งด้วยแถบหินอ่อนขาวสลับเขียวดำยกเว้นด้านหน้าที่แทรกด้วยหินอ่อนสีชมพูแก่เกือบแดง สีขาวดำเป็นสีสัญลักษณ์ของเมืองเซียนาซึ่งตามตำนานกล่าวว่าเป็นสีของม้าของเซเนียสและอาสเคียสผู้ก่อตั้งเมือง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและมหาวิหารซีเอนา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารปาโดวา

อาสนมหาวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งปาโดวา (Basilica Cattedrale di Santa Maria Assunta) หรือ มหาวิหารปาโดวา (Duomo di Padova) เป็นคริสต์ศาสนสถานของคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีฐานะเป็นอาสนวิหาร ตั้งอยู่ที่เมืองปาโดวา ในประเทศอิตาลี สร้างขึ้นเพื่ออุทิสแก่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ อาคารปัจจุบันเป็นสิ่งก่อสร้างที่สาม สิ่งก่อสร้างแรกสร้างหลังจากพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเมื่อปี ค.ศ. 313 แต่มาถูกทำลายในแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1117 โบสถ์ที่สองสร้างเป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และมารื้อทิ้งในปี ค.ศ. 1551 เพื่อสร้างใหม่ตามแบบที่ออกโดยมีเกลันเจโล ลักษณะที่ยังเป็นโบสถ์สมัยกลางยังคงเห็นได้จากจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยจุสโต เด เมนาบูโออีในหอล้างบาป การสร้างเป็นแบบฟื้นฟูศิลปวิทยาสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1754 แต่ด้านหน้ายังคงเป็นอิฐเปลือยที่ยังไม่ได้รับการตกแต่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและมหาวิหารปาโดวา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญแอนโทนีแห่งปาดัว

ซิลิกาซานอันโตนิโอแห่งปาดัว (Basilica of Saint Anthony of Padua, Basilica di Sant'Antonio da Padova) เป็นคริสต์ศาสนสถาน นิกายโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นบาซิลิกา ที่ตั้งอยู่ที่เมืองปาดัวในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบฟื้นฟูศิลปวิทยา แม้ว่าจะเป็นคริสต์ศาสนสถานที่มีผู้มาเยี่ยมชมและแสวงบุญมากที่สุดแต่มิได้เป็นมหาวิหาร มหาวิหารของปาดัวเป็นอีกสิ่งก่อสร้างหนึ่ง บาซิลิกาซานอันโตนิโอรู้จักกันในท้องถิ่นว่า “il Santo”.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและมหาวิหารนักบุญแอนโทนีแห่งปาดัว · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง

้านหน้ามหาวิหาร มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง (Basilica di San Paolo fuori le Mura; Basilica of St Paul Outside the Walls/St Paul-without-the-Walls) เป็นหนึ่งในสี่มหาวิหารเอกหรือมหาวิหารสันตะปาปา อีกสามแห่งที่เหลือ ได้แก่ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปโตร.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหารนักบุญเปโตร

มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica of Saint Peter, Basilica Sancti Petri) รู้จักกันโดยชาวอิตาลีว่า Basilica di San Pietro in Vaticano หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่าเซนต์ปีเตอร์สบาซิลิกา (Saint Peter's Basilica) เป็นมหาวิหารเอกหนึ่งในสี่แห่งในกรุงโรม นครรัฐวาติกัน (อีกสามมหาวิหาร คือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร และมหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและมหาวิหารนักบุญเปโตร · ดูเพิ่มเติม »

มารีบอร์

มหาวิทยาลัยมารีบอร์ ศาลากลางเมืองมารีบอร์ มารีบอร์ (Maribor) เป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของประเทศสโลวีเนีย รองจากกรุงลูบลิยานาซึ่งเป็นเมืองหลวง โดยมีประชากรประมาณ 133,000 คน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำดราวา เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของภูมิภาคโลว์เออร์สติเรียของประเทศ มีท่าอากาศยานนานาชาติมารีบอร์เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ และมีเมืองกราซ ประเทศออสเตรียเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด ห่างออกไปประมาณ 60 กิโลเมตร โดยสัญลักษณ์ของเมืองเป็นรูปนกพิราบกำลังบินบนปราสาทสีขาวซึ่งมีหอคอย 2 หอ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและมารีบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วัลเลตตา

วัลเลตตา (Valletta) เป็นเมืองหลวงของประเทศมอลตา หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการในภาษามอลตาว่า Il-Belt (แปลว่า เมือง) ตั้งอยู่ตอนตะวันตก-กลาง ของเกาะมอลตาและมีประชากรราว 6,315 คน วัลเลตตามีอาคารสถาปัตยกรรมของศตวรรษที่ 16 ลงมา สร้างในช่วงที่ปกครองโดยอัศวินเซนต์จอห์นแห่งเยรูซาเลม เมืองมีเอกลักษณ์พื้นฐานแบบสถาปัตยกรรมบาโรก กับองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก และสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ในบางพื้นที่ และถึงแม้ว่าจะเกิดความเสียหายครั้งใหญ่กับเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เมืองวัลเลตตาก็ได้รับประกาศอย่างเป็นทางการจากยูเนสโก เป็นมรดกโลกในปี 1980.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและวัลเลตตา · ดูเพิ่มเติม »

วัดคอนเซ็ปชัญ

วัดคอนเซ็ปชัญ หรืออ่านออกเสียงว่า วัดคอนเซ็ปชั่น (Conception Church) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยสามเสน 11 ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร วัดคอนเซ็ปชัญประกอบด้วย ตัวอาคารหลังเดิม ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงหลังคาจั่วแบบไทย เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดคาดว่าก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ และส่วนของตัวโบสถ์คอนเซ็ปชัญซึ่งสร้างขึ้นโดยบาทหลวงฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว ชาวฝรั่งเศส ที่ได้เดินทางมาเป็นเจ้าอาวาส โดยได้ทำการเสกในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2380 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) นอกจากนี้ในบริเวณที่ตั้งของวัด ยังมีวัดนักบุญฟรังซีสเซเวียร์ ซึ่งตั้งอยู่ข้างกับวัดอีกด้วย ปัจจุบันตัวโบสถ์นี้มีอายุรวมแล้ว ปี ทำให้เป็นหนึ่งในโบสถ์คาทอลิกที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย วัดคอนเซ็ปชัญ มีประวัติมาตั้งแต่ครั้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชทานที่ดินให้กับชาวโปรตุเกสที่ร่วมรับราชการทำสงครามให้กับพระองค์ ในราวปี พ.ศ. 2217 ต่อมาในปี พ.ศ. 2325 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้ชาวเขมร 500 คน ที่หลบหนีลี้ภัยมาจากเขมร มาอยู่รวมกับชาวโปรตุเกสในหมู่บ้านนี้เท่านั้น และตังแต่นั้นมาก็มีการเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านเขมร" จนในเวลาต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานที่กับชาวญวน เข้ามารวมกับที่อยู่เดิมของชาวเขมร ทำให้ชาวญวนในเวลาต่อมาก็ได้เข้ารีตนิกายคริสต์กันเป็นส่วนใหญ่ ตัวโบสถ์คอนเซ็ปชัญ มีความโดดเด่นในด้านงานสถาปัตยกรรมกว่าโบสถ์ทั่วๆไป เนื่องจากเป็นโบสถ์ลูกครึ่งไทยและฮอลันดา หรือที่เรียกว่า "วิลันดา" ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีลักษณะคือใช้ระบบผนังรับน้ำหนัก มีเสาไม้รับโครงของหลังคาแบบไทย และตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น ซึ่งโดยมากจะเป็นลายเทศ เลียนแบบฝรั่ง โดยลดลายเส้นกนกออกไป, bloggang.com/.สืบค้นเมื่อ 29/05/2559 จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดได้มีการเพิ่มเติมส่วนของหอระฆัง (Bell Tower) โดยมีสถาปนิกโจอาคิม กรัสซี ชาวออสเตรีย (Joachim Grassi) เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งเป็นการออกแบบหอระฆัง ด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา มีหัวเสาแบบโรมาเนสก์รองรับช่วงชั้นต่างๆของอาคาร และการวางเป็นซุ้มโค้งแบบโรมัน ด้วยเหตุนี้เองทำให้โบสถ์คอนเซ็ปชัญ ประกอบด้วยงานสถาปัตยกรรมถึง 3 รูปแบบ คือ ไทย ฮอลันดา และโรมัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและวัดคอนเซ็ปชัญ · ดูเพิ่มเติม »

วัดซางตาครู้ส

วัดซางตาครู้ส, โบสถ์ซางตาครู้ส หรือ วัดกุฎีจีน (Santa Cruz Church) เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในซอยกุฎีจีน แยกซอยอรุณอมรินทร์ 4 (ถนนเทศบาล สาย 1) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร อาคารวัดแห่งนี้เป็นอาคารหลังที่สามซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนอาคารวัดหลังเดิมที่คับแคบและชำรุดทรุดโทรมมาก โดยมีคุณพ่อกูเลียลโม กิ๊น ดา ครู้ส เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2459 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และได้รับการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2539 โดยมีคุณพ่อศวง ศุระศรางค์ เป็นผู้ริเริ่มเพื่อการอนุรักษ์ต่อไป ปัจจุบันวัดหลังนี้มีอายุรวมแล้ว ปี อาคารวัดซางตาครู้สเป็นอาคารรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกเช่นเดียวกับอาสนวิหารอัสสัมชัญ มีจุดเด่นที่ยอดโดมแบบอิตาลีซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับโดมแห่งมหาวิหารฟลอเรนซ์หรือโดมของพระที่นั่งอนันตสมาคม ภายในเป็นอาคารชั้นเดียว มีจุดเด่นอีกประการคือ การใช้เสาลอยรับน้ำหนักของฝ้าเพดานแบบโค้ง รวมถึงกระจกสีที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา วัดซางตาครู้สเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่อยู่คู่กับชุมชนกุฎีจีนเก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยบริเวณที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้กับพระราชวังเดิม สมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระราชทานที่ดินให้แก่ชาวโปรตุเกสซึ่งร่วมทำการศึกต่อต้านพม่าจนได้รับชัยชนะ นักบวชชาวโปรตุเกสจึงได้เริ่มก่อสร้างอาคารวัดหลังแรกที่สร้างด้วยไม้ทั้งหมดแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2313 ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในชุมชนในปี พ.ศ. 2376 ทำให้อาคารวัดพังเสียหายทั้งหมด จึงต้องก่อสร้างใหม่ด้วยอิฐถือปูน และได้ก่อสร้างใหม่อีกครั้งในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและวัดซางตาครู้ส · ดูเพิ่มเติม »

วังฟาร์เนเซ (โรม)

วังฟาร์เนเซ หรือ พาลัซโซฟาร์เนเซ (Palazzo Farnese) เป็นวังที่ตั้งอยู่ในกรุงโรมในประเทศอิตาลีที่สร้างในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศอิตาลี สถาปนิกอังกฤษบานิสเตอร์ เฟล็ทเชอร์กล่าวว่า “ฟาร์เนเซเป็นวังอิตาลีที่มีลักษณะสง่างามที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 16” ที่ออกแบบโดยอันโตนิโอ ดา ซานกาลโลผู้เยาว์ (ค.ศ. 1484-ค.ศ. 1546) ผู้เป็นผู้ช่วยคนหนึ่งของโดนาโต ดันเจโล บรามันเตในการออกแบบมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ การก่อสร้างวังฟาร์เนเซเริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและวังฟาร์เนเซ (โรม) · ดูเพิ่มเติม »

วังวาล็องแซ

วังวาล็องแซ (Château de Valençay) เป็นคฤหาสน์ที่พำนักของตระกูลเดต็องป์แห่งวาล็องแซและตาแลร็อง-เปรีกอร์ที่ตั้งอยู่ที่วาล็องแซในจังหวัดแอ็งดร์ทางตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส แม้ว่าที่ตั้งของวังจะอยู่ในจังหวัดแบรีแต่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมดูคล้ายคลึงกับสิ่งก่อสร้างแบบเรอเนซองซ์แบบเดียวกับปราสาทและวังแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับพระราชวังช็องบอร์ คฤหาสน์วาล็องแซได้รับการสรรเสริญโดยนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสฌอร์ฌ ซ็องด์ว่าเป็น "สิ่งก่อสร้างที่งดงามที่สุดในโลก" และกล่าวต่อไปว่า "ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดที่เป็นเจ้าของอุทยานอันงดงามมากไปกว่าอุทยานของวาล็องแซ".

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและวังวาล็องแซ · ดูเพิ่มเติม »

วังวีล็องดรี

ปราสาทวีล็องดรี (Château de Villandry) เป็นปราสาทแห่งหนึ่งในหมู่ปราสาทแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ สร้างในแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา ตั้งอยู่ห่างจากเมืองตูร์ประมาณ 15 กิโลเมตร ที่เมืองวีล็องดรี จังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส ตัวปราสาทได้ผ่านการบูรณะครั้งใหญ่โดยโคอาคิน การ์บาโย (Joachim Carvallo) โดยมีเอกลักษณ์สำคัญที่รู้จักกันดีคือ สวนตกแต่งจำนวนหกแบบ ประกอบด้วยสวนพืชผักสวนครัว (potager) ซึ่งมองเห็นได้ชัดจากหอกลาง (บนพื้นที่ 1 เฮกตาร์), สวนไม้พุ่มประดับเรขาคณิตรูปทรงต่าง ๆ, สวนน้ำพุแบบคลาสสิก, สวนพระอาทิตย์ (jardin du soleil) สร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและวังวีล็องดรี · ดูเพิ่มเติม »

วังปิตตี

วังปิตตี (Palazzo Pitti) เป็นวังแบบเรอแนซ็องส์ที่ตั้งอยู่ที่ด้านใต้ของแม่น้ำอาร์โน ไม่ไกลจากสะพานเวกกีโอ (Ponte Vecchio) ในเมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ตัววังเดิมสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1458 และเดิมเป็นที่พำนักของลูกา ปิตตี (Luca Pitti) นายธนาคารชาวฟลอเรนซ์ ต่อมาวังก็ถูกตระกูลเมดีชีซื้อไปในปี ค.ศ. 1539 และกลายมาเป็นที่พำนักหลักของตระกูลแกรนด์ดุ๊กแห่งทัสกานี นอกจากนั้นก็ยังใช้เป็นที่สะสมงานศิลปะต่าง ๆ เป็นจำนวนมหาศาล ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 วังปิตตีใช้เป็นที่บัญชาการของจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส และต่อมาก็ใช้เป็นวังหลวงของอาณาจักรอิตาลีแต่ก็เพียงระยะเวลาอันสั้น วังและข้าวของภายในวังได้รับการอุทิศให้เป็นสมบัติของประชาชนอิตาลีโดยพระเจ้าวิกเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 ในปี ค.ศ. 1919 ปัจจุบันเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ และเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง มีงานสะสมต่าง ๆ นอกเหนือจากงานสะสมที่มาจากตระกูลเมดีชี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและวังปิตตี · ดูเพิ่มเติม »

วังเชอนงโซ

วังเชอนงโซ (Château de Chenonceau) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเชอนงโซ (Chenonceaux) ในจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส วังเดิมสร้างบนโรงป่นแป้งเก่าบนฝั่งแม่น้ำแชร์ และสร้างมาก่อนหน้าที่จะมีหลักฐานทางเอกสารเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 วังปัจจุบันออกแบบโดยฟีลีแบร์ เดอ ลอร์ม (Philibert De l'Orme) สถาปนิกเรอเนซองซ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและวังเชอนงโซ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและศิลปะคริสเตียน · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (ภาษาอังกฤษ: Italian Renaissance) เป็นจุดแรกของการเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งเป็นช่วงเวลาของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สูงสุดในยุโรปที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไปจนสิ้นสุดลงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นช่วงเวลาที่เชื่อมระหว่างยุคกลางของยุโรปกับยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Europe) คำว่า “เรอเนสซองซ์” เป็นคำสมัยใหม่ที่มาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในงานของนักประวัติศาสตร์เช่นเจคอป เบิร์คฮาร์ดท์ (Jacob Burckhardt) ที่มาของขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเริ่มจากการวิวัฒนาการทางวรรณกรรมของผู้ก่อตั้งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ วัฒนธรรมด้านอื่นๆของอิตาลีในขณะนั้นยังคงเป็นวัฒนธรรมของยุคกลาง ปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยามิได้แพร่หลายอย่างเต็มที่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 คำว่า “เรอเนสซองซ์” หรือ “Rinascimento” ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “เกิดใหม่” และเป็นสมัยที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในการฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมของกรีกโรมันหลังจากสมัยที่นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์ (Renaissance humanist) ตั้งชื่อว่ายุคมืด (Dark Ages) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแต่จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มชนชั้นสูงและทิ้งให้ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ต่างจากสมัยกลางที่ผ่านมา สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเริ่มในทัสเคนีโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ฟลอเรนซ์และเซียนา และต่อมาในเวนิสที่มีผลเป็นอันมาก เพราะงานต่างๆ ของกรีกโบราณถูกนำไปรวบรวมไว้ที่เวนิสซึ่งทำให้กลายเป็นแหล่งความรู้ต่างๆ ที่ใหม่ๆ ให้แก่นักมนุษยนิยม ผู้คงแก่เรียนในเวนิสในขณะนั้น ต่อมาปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยาก็มามีอิทธิพลในกรุงโรม ที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ มากมายที่ส่วนใหญ่โดยการอุปถัมภ์ของพระสันตปาปาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นก็ลดถอยลงหลังจากการรุกรานจากต่างประเทศที่ก่อสงครามในอิตาลี แต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีก็มิได้หยุดนิ่งลงแต่เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและเริ่มสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือของยุโรปและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอังกฤษและประเทศอื่นๆ ในยุโรป สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในความสำเร็จทางด้านวัฒนธรรม วรรณกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรวมนักมนุษยนิยมผู้มีชื่อเสียงเช่นเปตรากที่รู้จักกันดีในงานซอนเน็ต “Il Canzoniere”; จิโอวานนิ บอคคาซิโอ (Giovanni Boccaccio) ในงานเรื่องเล่า “Decameron” และนักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์เช่นโปลิซิอาโน (Poliziano), มาร์ซิลิโอ ฟิซิโน (Marsilio Ficino), โลเร็นโซ วาลลา (Lorenzo Valla), อัลโด มานูซิโอ (Aldo Manuzio), โพจจิโอ บราชชิโอลินิ (Poggio Bracciolini) นอกจากนั้นก็มีนักประพันธ์มหากาพย์เรอเนสซองซ์เช่นบัลดัสซาเร คาสติกลิโอเน (Baldassare Castiglione) (“The Book of the Courtier”), ลุโดวิโค อริโอสโต (Ludovico Ariosto) (“Orlando Furioso”) และทอร์ควาโท ทาสโซ (Torquato Tasso) (“Jerusalem Delivered”) และนักประพันธ์ร้อยแก้วเช่นนิคโคโล มาเคียเวลลี (“The Prince”) จิตรกรรมเรอเนสซองซ์อิตาลีเป็นจิตรกรรมที่มีอิทธิพลต่อจิตรกรรมตะวันตกต่อมาอีกหลายร้อยปี โดยมีจิตรกรเช่นไมเคิล แอนเจโล, ราฟาเอล, ซานโดร บอตติเชลลี, ทิเชียน และเลโอนาร์โด ดา วินชี และเช่นเดียวกันกับสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยมีสถาปนิกเช่นอันเดรอา ปัลลาดีโอ และงานเช่นมหาวิหารฟลอเรนซ์ และมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเห็นว่าเป็นสมัยของความหดตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมามีความก้าวหน้ามากกว่าในวัฒนธรรมของโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ

ท้องพระโรงเวสต์มินสเตอร์ที่เป็นเพดานแบบ “hammerbeam roof” ภาพจากคริสต์ศตวรรษที่ 18 สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ (English Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองขึ้นในอังกฤษระหว่างราวปี ค.ศ. 1180 ถึงราวปี ค.ศ. 1520 ลักษณะของสถาปัตยกรรมกอทิกของอังกฤษก็เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมกอทิกของส่วนอื่น ๆ ในยุโรป ที่บ่งลักษณะได้จากการใช้ซุ้มโค้งแหลม, เพดานโค้งแหลม, ค้ำยัน, หน้าต่างกว้างและสูง และหอหรือหลังคาที่เป็นยอดแหลม (spire) สถาปัตยกรรมกอทิกเข้ามาในอังกฤษจากฝรั่งเศส เมื่อองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีลักษณะที่เรียกว่า “กอทิก” ได้รับการสร้างรวมกันในวัดเดียวที่บาซิลิกาแซงต์เดอนีส์นอกกรุงปารีสเป็นครั้งแรกโดยแอบบ็อตซูแกร์ ที่ได้รับการสถาปนาในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ

มหาวิหารเดอรัมเหนือแม่น้ำเวียร์ ด้านหน้ามหาวิหารเซนต์อัลบัน ปุ่มหินกลางหอประชุมนักบวชในมหาวิหารยอร์ก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ (Architecture of the medieval cathedrals of England) เป็นช่วงระยะเวลาการก่อสร้างมหาวิหารที่เกิดขึ้นในอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1040 ถึงปี ค.ศ. 1540 กลุ่มสิ่งก่อสร้างยี่สิบห้าปีหลังที่ถือว่ามีเอกลักษณ์ของการก่อสร้างที่เป็นของอังกฤษแท้ แม้ว่าสิ่งก่อสร้างจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งก่อสร้างทั้งหมดต่างก็มีจุดประสงค์ร่วมกันเพียงจุดประสงค์เดียว ในการเป็นมหาวิหารอันเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นศูนย์กลางของการบริหารมุขมณฑลและเป็นที่ตั้งของคาเทดราJohn Harvey, English Cathedrals แม้ว่าลักษณะของสิ่งก่อสร้างแต่ละสิ่งจะเป็นลักษณะอังกฤษแต่ก็เป็นลักษณะที่ต่าง ๆ กันออกไปทั้งความแตกต่างจากกันและกัน และความแตกต่างภายในมหาวิหารเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ต่างจากมหาวิหารสมัยกลางอื่น ๆ เช่นทางตอนเหนือของฝรั่งเศสที่มหาวิหารและแอบบีย์ใหญ่ ๆ เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับกลุ่มชนเดียวกัน และการสืบประวัติของลักษณะสถาปัตยกรรมก็สามารถทำได้โดยศึกษาจากสิ่งก่อสร้างหนึ่งไปยังสิ่งก่อสร้างถัดไปภายในกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่เป็นของอารามเดียวกันAlec Clifton-Taylor, ‘’The Cathedrals of England’’ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจของมหาวิหารอังกฤษก็คือประวัติของสถาปัตยกรรมสมัยกลางทั้งสมัยสามารถที่จะบรรยายได้จากสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียว ที่มักจะประกอบด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมเด่น ๆ ของแต่ละยุคโดยไม่มีการพยายามแต่อย่างใดในการพยายามผสานลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละสมัยที่สร้างขึ้นมาก่อนหน้านั้น ฉะนั้นลำดับเหตุการณ์ของการก่อสร้างจากสมัยหนึ่งไปอีกสมัยหนึ่งในมหาวิหารเดียวกันจึงอาจจะย้อนกลับไปกลับมาภายในบริเวณต่างๆ ของสิ่งก่อสร้าง จะมีข้อยกเว้นอยู่ก็แต่มหาวิหารซอลสบรีที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมตระกูลเดียวที่กลมกลืนกันไปทั้งตัวสิ่งก่อสร้าง เพราะเป็นการสร้างรวดเดียวเสร็จBanister Fletcher, ‘’History of Architecture on the Comparative Method.’’.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมตะวันตก

ปัตยกรรมตะวันตก (Western Architecture) สถาปัตยกรรมโรโคโค มหาวิหารโนเตรอดาม - ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมกอ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี

ร์ลส์ แบร์รีhttp://www.touruk.co.uk/houses/housebucks_clive.htm Historic Houses In Buckinghamshireที่เป็นคฤหาสน์ฟื้นฟูเรอเนซองส์ลักษณะแบบอิตาลีที่แสดงลักษณะที่ “บ่งเป็นนัยยะอย่างชัดแจ้งว่าเป็นสิ่งก่อสร้างของคหบดีพ่อค้าผู้มั่งคั่งชาวอิตาลี”“Direct quote from: Walton, John. ''Late Georgian and Victorian Britain'' Page 50. George Philip Ltd. 1989. ISBN 0-540-01185-1 สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี (Italianate architecture หรือ Italianate style of architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของยุคสถาปัตยกรรมที่เรียกว่ายุคฟื้นฟูสถาปัตยกรรมคลาสสิก การสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นแบบสถาปัตยกรรมอิตาลีเป็นการใช้ลักษณะทรงและศัพท์สถาปัตยกรรมของสถาปัตยกรรมอิตาลีของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นพื้นฐานในการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ทั้งลัทธิพาลเลเดียน และลัทธิฟื้นฟูคลาสสิกในการผสานกับความงามอันต้องตา (picturesque aesthetics) ฉะนั้นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม “ฟื้นฟูเรอเนซองส์” ด้วยจึงเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของยุค นักประวัติศาสตร์ชาวสวิสเชื้อสายเยอรมันซิกฟรีด กีเดียนบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของปรัชญาของการเปลี่ยนแปลงลักษณะสถาปัตยกรรมว่า “การมองอดีตแปรสภาพของสิ่งของ ผู้ชมทุกคนทุกสมัย—ทุกช่วงเวลา—ในที่สุดก็จะเปลี่ยนแปรลักษณะที่เห็นในอดีตในบริบทของความเข้าใจของตนเอง” สถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเริ่มขึ้นในบริเตนราว..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ

หาสน์ฮาร์ดวิคฮอลล์ ค.ศ. 1590- ค.ศ. 1597 ลักษณะเด่นคือหน้าต่างกระจกที่เป็นซี่หินซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์แบบอังกฤษขณะที่มีหอทัศนาแบบอิตาลี คฤหาสน์เบอห์ลีย์สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1587 โรเบิร์ต สมิธสัน สถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ (Elizabethan architecture) หมายถึงลักษณะสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ตอนต้นของอังกฤษที่รุ่งเรืองในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งตรงกับสมัยซิงเคเชนโตในอิตาลี หรือสมัยสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ตอนต้นของฝรั่งเศส หรือ Plateresque style ในสเปน สถาปัตยกรรมเอลิซาเบธสืบต่อมาจากสถาปัตยกรรมทิวดอร์และตามมาด้วยสถาปัตยกรรมพาลเลเดียนที่ริเริ่มโดยอินิโก โจนส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์มาถึงอังกฤษระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ จากบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำที่นำเอาลักษณะ “หน้าจั่วบันได” หรือ “หน้าจั่วดัตช์” และแถบตกแต่ง (Strapwork) แบบฟลานเดอร์สที่เป็นลายเรขาคณิตที่ใช้ตกแต่งผนังเข้ามาด้วยเข้ามาด้วย ลักษณะทั้งสองอย่างดังกล่าวปรากฏในงานสร้างคฤหาสน์โวลลาทันฮอลล์ และ ที่คฤหาสน์มองตาคิวท์ ในช่วงเดียวกันนี้สถาปัตยกรรมอังกฤษก็เริ่มรับรูปแบบของสถาปัตยกรรมอิตาลีในการสร้างระเบียงแล่นยาวที่ใช้เป็นบริเวณสำหรับเป็นห้องรับรอง ในอังกฤษสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์มักจะออกมาในรูปของสิ่งก่อสร้างสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เช่นคฤหาสน์ลองลีท สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มักจะมีหอที่มีลักษณะเป็นสมมาตรที่เป็นนัยยะของการวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมการสร้างป้อมปราการในสมัยกลาง คฤหาสน์แฮ็ทฟิลด์ที่สร้างโดยโรเบิร์ต เซซิล เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 1 ระหว่าง..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและสถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมเจ้าทินทัต สุขสวัสดิ์

ร้อยเอก หม่อมเจ้าทินทัต สุขสวัสดิ์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดชกับหม่อมแช่ม สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา สมรสกับหม่อมผิว สุขสวัสดิ์ ณ อ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและหม่อมเจ้าทินทัต สุขสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

หลุมเพดาน

หลุมเพดานภายในตึกแพนธีออนในกรุงโรม หลุมเพดาน (coffer, coffering) เป็นหลุมที่มีลักษณะเป็นแผงติดต่อกัน (อาจจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม หรือผสมกันหลายทรง) ลึกเข้าไปในเพดานหรือภายใต้โค้งหรือส่วนราบแบนภายในสิ่งก่อสร้าง แผงสี่เหลี่ยมลึกใช้เป็นเครื่องตกแต่ง บางครั้งก็เรียกว่า “caissons” (กล่อง) หรือ “lacunaria” (ช่อง) ทำให้บางครั้งก็เรียกว่า “lacunar ceiling” (เพดานช่อง) หลุมเพดานที่ทำด้วยหินของกรีกโบราณ และโรมันโบราณ เป็นตัวอย่างแรกของการสร้างเพดานลักษณะนี้ที่ยังเหลือให้เห็นอยู่ แต่เมื่อ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราชใช้ในการสร้างห้องเก็บศพอิทรัสกันที่เนินสุสาน (necropolis) ที่ซานจูลิอาโนที่ตัดจากหินทูฟา หลุมเพดานที่ทำด้วยไม้สร้างกันเป็นครั้งแรกโดยการไขว้สลับคานบนเพดานเข้าด้วยกัน ที่ใช้ในการตกแต่งวังในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้น การทดสอบรูปทรงของการวางหลุมเพดานจะเห็นได้ในทั้งสถาปัตยกรรมของอิสลามและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา ปัญหาที่ซับซ้อนคือการค่อยลดขนาดของหลุมลงไปตามลำดับในการสร้างเพดานโค้งหรือโดม ตัวอย่างของหลุมเพดานของโรมันที่ใช้การลดน้ำหนักของเพดานคือเพดานของโดมโรทันดา (Rotunda) ในตึกแพนธีออนในกรุงโรม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและหลุมเพดาน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารบลัว

อาสนวิหารบลัว (Cathédrale de Blois) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญหลุยส์แห่งบลัว (Cathédrale Saint-Louis de Blois) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลบลัว ตั้งอยู่ในเขตเมืองบลัว จังหวัดลัวเรแชร์ ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญหลุยส์ อาสนวิหารแรนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาสนวิหารบลัว · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารฟลอเรนซ์

อาสนวิหารฟลอเรนซ์ (Florence Cathedral) หรือชื่อเต็มคือ อาสนวิหารซันตามาเรียแห่งฟลอเรนซ์ (Cattedrale di Santa Maria del Fiore) เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขนายกแห่งฟลอเรนซ์ ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ มณฑลฟลอเรนซ์ แคว้นตอสคานา ประเทศอิตาลี สร้างขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ออกแบบโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี ด้านหน้าโบสถ์ประดับตกแต่งด้วยหินอ่อนสีขาว เขียว และชมพู อาสนวิหารแห่งนี้ใหญ่เป็นลำดับที่ 4 ของทวีปยุโรป รองจากมหาวิหารนักบุญเปโตร มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง และอาสนวิหารมิลาน มีความยาว 153 เมตร และฐานของโดมกว้างถึง 90 เมตร หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 13 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1290 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1430 หมวดหมู่:แคว้นตอสคานา หมวดหมู่:อาสนวิหารในประเทศอิตาลี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาสนวิหารฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารลูว์ซง

อาสนวิหารลูว์ซง (Cathédrale de Luçon) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์แห่งลูว์ซง (Cathédrale Notre-Dame-de-l'Assomption de Luçon) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลลูว์ซง ตั้งอยู่ในเขตเมืองลูว์ซง จังหวัดว็องเด แคว้นเปอีเดอลาลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ อาสนวิหารแห่งนี้สร้างขึ้นในแบบกอทิก และยังมีองค์ประกอบบางส่วนในแบบโรมาเนสก์ รวมทั้งในยุคที่ใหม่กว่านั้น คือ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (หรือคลาสสิก) ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ นี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1906, ค.ศ. 1915 และของระดับแคว้นเมื่อปี ค.ศ. 1992.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาสนวิหารลูว์ซง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารวาน

อาสนวิหารวาน (Cathédrale de Vannes) หรือเรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งวาน (Cathédrale Saint-Pierre de Vannes) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกประจำมุขมณฑลวาน และยังมีฐานะเป็นมหาวิหารด้วย ตั้งอยู่ที่เมืองวาน จังหวัดมอร์บีอ็อง แคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร อาสนวิหารวานสร้างในแบบสถาปัตยกรรมกอทิก โดยตั้งอยู่บนสถานที่ของอาสนวิหารเดิมซึ่งเป็นแบบโรมาเนสก์ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 การก่อสร้างกินเวลายาวนานถึง 500 ปี ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และถ้ายังนับรวมกับอายุของหอระฆังเก่าแบบโรมาเนสก์แล้วจะรวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้นถึงกว่า 700 ปีด้วยกัน อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1903.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาสนวิหารวาน · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอานซี

อาสนวิหารอานซี (Cathédrale d'Annecy) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งอานซี (Cathédrale Saint-Pierre d'Annecy) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลอานซี ตั้งอยู่ที่เมืองอานซีในจังหวัดโอต-ซาวัว แคว้นโอแวร์ญ-โรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาสนวิหารอานซี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารอ็อช

อาสนวิหารอ็อช (Cathédrale d'Auch) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญมารีย์แห่งอ็อช (Cathédrale Sainte-Marie d'Auch) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกประจำอัครมุขมณฑลอ็อช ตั้งอยู่ที่เมืองอ็อช จังหวัดแฌร์ แคว้นอ็อกซีตานี ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี อาสนวิหารแห่งนี้ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ถึง 3 ด้าน ด้วยความยาวถึง 102 เมตร และกว้าง 35 เมตร เริ่มการก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1489 โดยการสนับสนุนของฟร็องซัว เดอ ซาวัว โดยสร้างบนซากปรักหักพังของอาสนวิหารโรมาเนสก์เก่าซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของอาสนวิหารนักบุญอ็อสแต็งด์ และมีการเสกขึ้นเป็นอาสนวิหารเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1548 ในขณะที่งานก่อสร้างทั้งหมดยังไม่เสร็จสิ้น จนกระทั่งอีกราวสองร้อยกว่าปีต่อมา ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบกอธิกวิจิตร (ฟล็องบัวย็อง) ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ทั้งหมดสร้างเสร็จสมบูรณ์ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยหน้าบันหลัก และมุขทางเข้าตกแต่งด้วยเสาแบบคอรินเทียน ภายในประกอบด้วยชาเปลกว่า 21 หลัง งานตกแต่งภายในมีความโดดเด่นด้วยงานกระจกสีถึง 18 ชิ้น โดยศิลปินอาร์โน เดอ มอล บริเวณร้องเพลงสวดได้รับการประดับประดาด้วยงานไม้ถึง 115 ชิ้น ซึ่งไม่ทราบผู้ออกแบบ ซึ่งต่อเป็นฉากในพระคัมภีร์ไบเบิลซึ่งเล่าเรื่องต่อมาจากงานกระจกสีโดยรอบ อาสนวิหารอ็อชได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906 รวมทั้งยังอยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางซานเตียโกเดกอมโปสเตลาในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาสนวิหารอ็อช · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารตูร์

อาสนวิหารตูร์ (Cathédrale de Tours) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญกาเซียงแห่งตูร์ (Cathédrale Saint-Gatien de Tours) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายก ประจำมุขมณฑลตูร์ ตั้งอยู่ที่เมืองตูร์ จังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้นักบุญกาเซียงแห่งตูร์ อดีตมุขนายกผู้ก่อตั้งมุขมณฑลตูร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 อาสนวิหารแห่งตูร์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1862.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาสนวิหารตูร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารตูล

อาสนวิหารตูล (Cathédrale de Toul) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูล (Cathédrale Saint-Étienne de Toul) เป็นอาสนวิหารในนิกายโรมันคาทอลิก สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสเทเฟน (ปฐมมรณสักขี) ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของตูล จังหวัดเมอร์เตมอแซล ในแคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องซี-ตูลร่วมกับอาสนวิหารแม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์แห่งน็องซี อาสนวิหารแห่งนี้เป็นหนึ่งตัวอย่างของอาคารกอทิกที่สวยงามและสมบูรณ์ โดยเฉพาะหน้าบันทางเข้าทิศตะวันตก อีกทั้งยังเป็นงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกแบบกอทิกแบบฟล็องบัวย็องซึ่งรวมถึงระเบียงคดแบบกอทิก ซึ่งถือว่าเป็นระเบียงคดแห่งที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังมีชาเปลแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาอีก 2 แห่งด้วย อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840 (รายชื่อครั้งที่ 1).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาสนวิหารตูล · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารน็องซี

อาสนวิหารน็องซี (Cathédrale de Nancy) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์แห่งน็องซี (Cathédrale Notre-Dame-de-l’Annonciation et Saint-Sigisbert de Nancy) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นทั้ง ไมเนอร์บาซิลิกา (Minor Basilica) และ ไพรเมต (Primate) เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลน็องซี-ตูลร่วมกับอาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งตูล ตั้งอยู่ในเขตเมืองน็องซี จังหวัดเมอร์เตมอแซล แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่แม่พระรับสารและนักบุญซีฌแบร์ (พระเจ้าซีฌแบร์ที่ 3 แห่งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง) อาสนวิหารน็องซีได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาสนวิหารน็องซี · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแซ็ง-มาโล

อาสนวิหารแซ็ง-มาโล (Cathédrale de Saint-Malo) หรือเรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญบิเซนเตแห่งแซ็ง-มาโล (Cathédrale Saint-Vincent de Saint-Malo) ในปัจจุบันมีฐานะเป็นโบสถ์ประจำเขตแพริช นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งในอดีตเคยมีฐานะเป็นอาสนวิหารประจำมุขมณฑลแซ็ง-มาโล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1146 ซึ่งต่อมาได้ถูกยุบลงเป็นส่วนหนึ่งของอัครมุขมณฑลแรน, มุขมณฑลวาน และมุขมณฑลแซ็ง-บรีเยอตั้งแต่ปี ค.ศ. 1801 เป็นต้นมา (ตามความตกลง ค.ศ. 1801) ตั้งอยู่ที่เมืองแซ็ง-มาโล จังหวัดอีเลวีแลน ในแคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญบิเซนเตแห่งอูเอสกา อาสนวิหารนี้มีความหลากหลายทางสถาปัตยกรรมตั้งแต่โรมาเนสก์ กอทิก และฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1910.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาสนวิหารแซ็ง-มาโล · ดูเพิ่มเติม »

อาคารคิวนาร์ด

อย่าสับสนกับ อาคารคิวนาร์ด (นครนิวยอร์ก) อาคารคิวนาร์ด (Cunard Building) เป็นสิ่งก่อสร้างที่ได้รับการประกาศให้เป็นอาคารอนุรักษ์ประเภท 2 และเป็น 1 ใน 3 อาคารที่สำคัญของเมืองลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำพื้นที่หัวมุมใกล้กับตึกลิเวอร์ และท่าเรือของเมือง นอกจากนี้ยังได้รับรองจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ผู้ออกแบบอาคารคือวิลเลียม เอ็ดเวิร์ด วิลลิงก์ (William Edward Willink) และฟิลิป โคลด์เวลล์ ทิกเนสส์ (Philip Coldwell Thicknesse) สร้างขึ้นระหว่างปี 1914–1917 เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากพระราชวังในอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีและกรีก ที่เน้นการตกแต่งด้านนอกอาคารให้มีความหรูหรา ปี 1960 บริษัทคิวนาร์ดได้สร้างอาคารนี้ขึ้นเพื่อเป็นสถานีท่าสำหรับดำเนินธุรกิจการเดินทางจากลิเวอร์พูลไปแอตแลนติก โดยตั้งอยู่ตรงข้ามอาคารแอลเบียน สำนักงานใหญ่บริษัทไวต์สตาร์ไลน์ ปัจจุบันอาคารคิวนาร์ดได้ขายให้แก่บริษัทกองทุนเมอร์ซีย์ไซด์ และเปิดให้เข้าชมได้เป็นบางส่วน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอาคารคิวนาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

อินิโก โจนส์

อินิโก โจนส์ (Inigo Jones; 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1573 - 21 มิถุนายน ค.ศ. 1652) ถือกันว่าเป็นสถาปนิกคนสำคัญคนแรกของสถาปัตยกรรมสหราชอาณาจักรสมัยใหม่ และเป็นสถาปนิกคนแรกที่นำสถาปัตยกรรมแบบอิตาลีเข้ามายังอังกฤษ งานชิ้นสำคัญๆ ของโจนส์เป็นตึกโดดเช่นคฤหาสน์รับรอง, ไวท์ฮอลล์ และโคเวนต์การ์เดน ที่กลายมาเป็นแบบอย่างของการพัฒนาในบริเวณเวสต์เอ็นด์ นอกจากนั้นโจนส์ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการออกแบบเวทีในฐานะนักออกแบบฉากละครสำหรับ งานสวมหน้ากากเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ตามพระราชประสงค์จากราชสำนัก และอีกหลายชิ้นเป็นงานที่ทำร่วมกับเบ็น จอนสัน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและอินิโก โจนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและผังอาสนวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี

การแต่งงานของเวอร์จินแมรี” ภาพ “พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี (Italian Renaissance painting) คือสมัยประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมที่เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ไปจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เกิดขึ้นในบริเวณของประเทศอิตาลีในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นแบ่งการปกครองเป็นอาณาบริเวณต่างๆ จิตรกรในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับราชสำนักหรือสำนัก หรือเมือง แต่ก็มีโอกาสได้ท่องเที่ยวอย่างกว้างไกลไปทั่วอิตาลี และมักจะได้รับฐานะเป็นทูตในการเผยแพร่อิทธิพลความคิดทั้งทางศิลปะและปรัชญา เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและโดยเฉพาะในสาขาจิตรกรรมก็คือเมืองฟลอเรนซ์ที่อ่านประกอบได้ในบทความ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา”, ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี และ “สถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา” จิตรกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีแบ่งเป็นสี่สมัย.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

จุดตัดกลางโบสถ์

แผนผังคริสต์ศาสนสถานที่แสดง “จุดตัด” เป็นสีเทา จุดตัด (crossing) ในคริสต์ศาสนสถานคือจุดที่ช่องทางเดินกลางตัดกับแขนกางเขนของวัดที่มีผังเป็นรูปกางเขน ถ้าเป็นวัดตั้งตามหลักตะวันตก-ตะวันออกโดยเฉพาะวัดแบบโรมาเนสก์ และกอธิค) แล้ว “จุดตัด” ก็จะเป็นจุดที่เป็นทางไปสู่ช่องทางเดินกลางทางตะวันตก (ด้านหน้าวัด) มุขข้างโบสถ์เหนือและใต้ และบริเวณร้องเพลงสวดทางตะวันออก เหนือกางเขนบางครั้งก็จะมีหอหรือโดม หอจุดตัดเป็นสิ่งที่นิยมสร้างกันในสถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารของสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษ เมื่อมาถึงสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาสิ่งตกแต่งเหนือจุดตัดก็มักจะนิยมสร้างเป็นโดม หอเหนือจุดตัดอาจจะเป็น “หอโคม” (lantern tower) ที่ยกสูงขึ้นไปและเปิดข้างเพื่อให้แสงส่องลงมายังบริเวณจุดตัด การที่จุดตัดเปิดออกไปทั้่งสี่ด้านทำให้น้ำหนักของหอหรือโดมเหนือจุดตัดหนักลงมาตรงมุมรอบหอหรือโดม ฉะนั้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงและสามารถรับน้ำหนักของหอได้โดยไม่พังทลายลงมาจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของสถาปนิก เรื่องหอพังทลายลงมาเกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจจะเกิดจากความทะเยอทะยานในการสร้างหอที่สูงใหญ่แต่หนักเกินกว่าที่โครงสร้างจะรับได้ หรือจากการทรุดของพื้นดินที่อยู่ภายใต้ตัวอาคาร หรือจากภัยธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหวเป็นต้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและจุดตัดกลางโบสถ์ · ดูเพิ่มเติม »

จูลิอาโน ดา ซานกาลโล

ูลิอาโน ดา ซานกาลโล โดย เปียโร ดิ โคสิโม (Piero di Cosimo) จูลิอาโน ดา ซานกาลโล (Giuliano da Sangallo หรือชื่อเต็ม Giuliano Giamberti da Sangallo; ประมาณปี ค.ศ. 1443 - ปี ค.ศ. 1516) เป็นประติมากรและวิศวกรทางยุทธศาสตร์ ชาวอิตาลีสมัยเรอเนซอง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและจูลิอาโน ดา ซานกาลโล · ดูเพิ่มเติม »

ตำหนักออสบอร์น

ตำหนักออสบอร์น (Osborne House) เป็นอดีตที่ประทับของราชวงศ์อังกฤษ ตั้งอยู่ในอีสต์คอว์สบนเกาะไอล์ออฟไวต์ในช่องแคบอังกฤษ ตำหนักหลังนี้ถูกสร้างขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและตำหนักออสบอร์น · ดูเพิ่มเติม »

ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี

ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี (Chiesa di San Luigi dei francesi; Church of Saint Louis of France) เป็นนักบุญหลุยส์ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสมาก่อนเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ลักษณะแบบฝรั่งเศสเห็นได้ชัดในการออกแบบด้านหน้าของวัดที่เป็นที่ตั้งของประติมากรรมหลายรูปที่ทำให้รำลึกถึงประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งชาร์เลอมาญ พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 นักบุญโคลทิลด์, นักบุญเดนีส์ และ นักบุญฌานแห่งวาลัว ภายในตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังบรรยายเรื่องราวของนักบุญหลุยส์ (โดยชาร์ลส์-โจเซฟ นาตัวร์ (Charles-Joseph Natoire)), นักบุญเดนีส์ และพระเจ้าโคลวิสที่ 1 (Clovis I) โบสถ์ซันลุยจีเดย์ฟรันเชซีได้รับเลือกให้เป็นที่บรรจุศพของนักบวชคนสำคัญ ๆ และบุคคลที่เป็นสมาชิกของชุมชนฝรั่งเศสที่อยู่ในกรุงโรมที่รวมทั้วพอลลีน เดอ โบมองต์ที่เสียชีวิตด้วยวัณโรคในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและซันลุยจีเดย์ฟรันเชซี · ดูเพิ่มเติม »

ซันตาตรีนีตา

ซันตาตรีนีตา หรือโบสถ์พระตรีเอกภาพ (Santa Trinita; Church of the Holy Trinity) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ โบสถ์ซันตาตรีนีตาเป็นโบสถ์แม่คณะวัลลุมโบรซัน (Vallumbrosan Order) ที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1092 โดยขุนนางชาวฟลอเรนซ์ งานศิลปะที่มีชื่อเสียงและสำคัญที่สุดภายในวัดเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังภายในชาเปลซาสเซ็ตติ (Sassetti Chapel) โดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดาผู้ถือกันว่าเป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและซันตาตรีนีตา · ดูเพิ่มเติม »

ซันซักกาเรีย เวนิส

ซันซักกาเรีย เวนิส (San Zaccaria) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองเวนิสในประเทศอิตาลี เป็นโบสถ์ที่อุทิศแก่นักบุญเศคาริยาห์ผู้เป็นบิดาของนักบุญยอห์นผู้ให้รับบัพติสมาและเชื่อกันว่าเป็นที่ฝังศพของนักบุญเศคาริยาห์องด้วย สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบผสมระหว่างกอธิค และ ฟื้นฟูศิลปวิทยาที่สร้างระหว่าง ค.ศ. 1444 ถึง ค.ศ. 1515 โดยมีอันโตนิโอ กัมเบลโลเป็นสถาปนิกเอกแต่ด้านหน้าสร้างโดยมอโร โคดุซซิ โบสถ์เดิมสร้างโดยดยุกจุสตินาโน พาร์ติชิอาโนในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โบสถ์ซันซักกาเรียเป็นที่ฝังศพของดยุกแห่งเวนิส 8 องค์ วัดโรมาเนสก์เดิมมาได้รับการสร้างใหม่เมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1170 เมื่อมีการสร้างหอระฆังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน และมาสร้างเป็นแบบกอธิคในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ตัววัดตั้งติดกับอารามของคณะเบเนดิกตินที่ดยุกแห่งเวนิสมาทำพิธีเทศกาลอีสเตอร์ประจำปีทุกปีที่รวมทั้งพิธีการมอบหมวกดยุก (cornu) ด้วย ซึ่งเป็นพิธีที่เริ่มขึ้นหลังจากนักบวชจากโบสถ์มอบที่ดินสำหรับการขยายจตุรัสซันมาร์โกในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ภายในตัวโบสถ์เป็นมุขโค้งด้านสกัดที่ล้อมด้วยจรมุขประดับด้วยหน้าต่างกอธิคสูง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบตอนเหนือของยุโรปโดยทั่วไป ซึ่งกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของโบสถ์นี้ใน เวนิส ผนังทางด้านทางเดินประดับด้วยภาพเขียนโดยทินโทเรตโต อันเจโล เทรวิซานี จุยเซปเป ซาลวิอาติ โจวันนี เบลลินี อันโตนีโอ บาเลสตรา, โจวันนี โดเมนนิโก ตีเอโพโล, พาลมาผู้อาวุโส และ แอนโทนี แวน.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและซันซักกาเรีย เวนิส · ดูเพิ่มเติม »

ซันโตสปีรีโต ฟลอเรนซ์

ซันโตสปีรีโต หรือ บาซิลิกาซันตามาเรียเดลซันโตสปีรีโต (Santo Spirito, Florence หรือ Basilica of Santa Maria del Santo Spirito) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกที่มีฐานะเป็นบาซิลิกา ที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบฟื้นฟูศิลปวิทยา โบสถ์ซันโตสปีรีโตสร้างบนซากโบสถ์เดิมที่เคยเป็นคอนแวนต์ของคณะออกัสติเนียนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่มาถูกทำลายโดยเพลิงไหม้ในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและซันโตสปีรีโต ฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทอัมบรัส

ปราสาทอัมบราส ปราสาทอัมบรัส (Schloss Ambras) เป็นปราสาทสถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ ตั้งอยู่บนเนินเขาในเมืองอินส์บรุค ประเทศออสเตรีย ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 587 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในรัฐทีโรล ปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นจนแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและปราสาทอัมบรัส · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทครอนบอร์

รอนบอร์ (Kronborg) ตั้งอยู่ใกล้เมืองเฮลซิงเงอร์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของเซแลนด์ในเดนมาร์ก ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดของเออเรซุนด์ ซึ่งเป็นอ่าวระหว่างเดนมาร์กและสวีเดน ตรงจุดนี้อ่าวมีความกว้างเพียง 4 กิโลเมตร ซึ่งทำให้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของการรักษาป้อมในตำแหน่งที่สามารถควบคุมการเดินเรือในบริเวณทะเลบอลติก ปราสาทโครนบอร์กเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นสำคัญของปราสาทแบบสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางตอนเหนือของยุโรป ซึ่งทำให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและปราสาทครอนบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แชร์โตซาดีซันมาร์ตีโน

แชร์โตซาดีซันมาร์ตีโน (Certosa di San Martino) หรือชาร์เตอร์เฮาส์ (อาราม) แห่งเซนต์มาร์ติน (St.) เดิมเป็นอาราม ของคณะคาร์ทูเซียนในคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองเนเปิลส์ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี แต่ในปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ อารามเป็นสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นอยู่บนเนินโวเมโรที่มองเห็นได้แต่ไกล และจากตัวสิ่งก่อสร้างก็จะเป็นทิวทัศน์ของอ่าว อารามนี้สร้างเสร็จและทำการเปิดใช้ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีโจนที่ 1 แห่งเนเปิลส์ในปี ค.ศ. 1368 เป็นคริสต์ศาสนสถานที่อุทิศให้แก่นักบุญมาร์ตินแห่งทัวร์ ระหว่างครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 อารามก็ได้รับการขยายต่อเติม ต่อมาในปี ค.ศ. 1623 ก็ได้รับการขยายเพิ่มขึ้นในรูปทรงที่ใกล้เคียงกับที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1800 อารามก็ถูกปิดลงตามคำสั่งของคณะ ในปัจจุบันตัวสิ่งก่อสร้างเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สำหรับแสดงศิลปะของสมัยบูร์บองและสเปน และเป็นที่แสดงงานสะสมงานศิลปะ “ฉากการประสูติของพระเยซู” (Nativity scene หรือ presepe) ที่ถือว่าเป็นงานสะสมชุดที่ดีที่สุดชุดหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแชร์โตซาดีซันมาร์ตีโน · ดูเพิ่มเติม »

แม่พระรับสาร

“แม่พระรับสาร” รูปเคารพจากมาเซโดเนีย แม่พระรับสาร (Annunciation, Annunciation of Mary, Annunciation of the Lady หรือ Annunciation of the Blessed Virgin Mary) หมายถึง เหตุการณ์ที่ที่พระแม่มารีย์รับสารจากทูตสวรรค์กาเบรียลว่านางจะตั้งครรภ์พระบุตรพระเป็นเจ้า เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดเมื่อไร ไม่ทราบได้ แต่เมื่อมีการฉลองวันการประสูติของพระเยซูในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ก็มีผู้ริเริ่มจัดการฉลองเหตุการณ์แม่พระรับสารนี้ขึ้นในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เรียกว่า "วันแม่พระรับสาร" (Annunciation of the Lady's Day) โดยนับถอยหลังจากวันคริสต์มาสขึ้นไปเก้าเดือน นอกจากนี้ เหตุการณ์แม่พระรับสารเกิดที่ไหนก็ไม่มีใครทราบได้ ทว่าฝ่ายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธ ประเทศอิสราเอล ที่ "โบสถ์ออร์ทอดอกซ์แม่พระรับสาร" (Orthodox Church of the Annunciation) ส่วนฝ่ายโรมันคาทอลิกก็เชื่อว่าเกิดที่เมืองนาซาเรธนั้น และเกิดที่ "โบสถ์แม่พระรับสาร" (Church of the Annunciation).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแม่พระรับสาร · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์กางเขนเดรสเดิน

กางเขนเดรสเดิน โบสถ์กางเขน (Kreuzkirche) เป็นโบสถ์คริสต์โปรเตสแตนต์สำนักลูเทอแรน ตั้งอยู่ในเมืองเดรสเดิน ถือเป็นโบสถ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในรัฐซัคเซิน ประเทศเยอรมนี โบสถ์แห่งนี้มีประวัติย้อนหลังไปตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14 โดยเริ่มแรกเป็นเพียงโบสถ์น้อย ซึ่งหลังปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและโบสถ์กางเขนเดรสเดิน · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์ลามาดแลน

โบสถ์ลามาดแลน (L'église de la Madeleine) มีชื่อเรียกเต็มว่า โบสถ์นักบุญมารีย์ชาวมักดาลา (L'église Sainte-Marie-Madeleine) เรียกกันอย่างลำลองในฝรั่งเศสว่า มาดแลน เป็นโบสถ์สำคัญในคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก ในสังกัดอัครมุขมณฑลปารีส ที่สร้างอุทิศแก่นักบุญมารีย์ชาวมักดาลา ถือเป็นสถานที่สำคัญในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ในเขตที่ 8 ติดกับจัตุรัสเดอลากงกอร์ด ทางด้านทิศใต้ ทิศตะวันออกติดกับจัตุรัสว็องโดม และทิศตะวันตกติดกับโบสถ์แซ็ง-โอกุสแต็ง ตัวอาคารเป็นแบบเทวสถานโรมันทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบไปด้วยเสาโรมันสูง 20 เมตร จำนวน 52 ต้น โดยนำแบบมาจากแมซงกาเร อันเป็นเทวสถานยุคโรมันที่สมบูรณ์ที่สุด ที่หลงเหลือจนถึงปัจจุบัน หน้าจั่วเป็นรูปปั้นนูนสูงฝีมือของเลอแมร์ บอกเล่าเรื่องราวของการพิพากษาครั้งสุดท้าย ประตูโบสถ์ทำจากทองแดงสลักนูนต่ำเรื่องราวของบัญญัติสิบประการ ภายในประกอบไปด้วยทางเดินกลาง ด้านบนมีโดม จำนวน 3 โดม ไม่มีแขนกางเขน อันเป็นแบบวิหารโรมันทั่วไป ด้านในตกแต่งประดับประดาแบบห้องอาบน้ำตามสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และเหนือแท่นบูชามีรูปปั้นนักบุญมารีย์ชาวมักดาลาขึ้นสวรรค์ ด้านบนเป็นภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังบอกเล่าประวัติของศาสนาคริสต์ ''แมซงกาเร'' ณ เมืองนีม ภายในโบสถ์ หมวดหมู่:สถานที่ท่องเที่ยวในปารีส หมวดหมู่:โบสถ์คริสต์ในประเทศฝรั่งเศส.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและโบสถ์ลามาดแลน · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยกอนตาเรลลี

ปลคอนทราเรลลิ (Contarelli Chapel) เป็นชาเปลหรือคูหาสวดมนต์ภายในวัดซานลุยจิเดอิฟรานเชซิที่ตั้งอยู่ที่จตุรัสนาโวนาในกรุงโรมในประเทศอิตาลี เป็นวัดที่สร้างในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่ออกแบบโดย จาโคโม เดลลา พอร์ตา (Giacomo della Porta) และสร้างโดยสถาปนิกโดเมนิโค ฟอนทานา (Domenico Fontana) ระหว่างปี ค.ศ. 1518 ถึงปี ค.ศ. 1589 เพื่อเป็นวัดประจำชาติของฝรั่งเศสในกรุงโรม ชาเปลคอนทราเรลลิมีความสำคัญในการเป็นที่ตั้งของภาพเขียนสามภาพโดยคาราวัจโจจิตรกรคนสำคัญของยุคบาโรกระหว่างปี ค.ศ. 1599 ถึงปี ค.ศ. 1600 ที่เป็นฉากชีวิตของนักบุญแม็ทธิวที่รวมทั้งภาพ: “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว”, “แรงบันดาลใจของนักบุญแม็ทธิว” และ “การพลีชีพของนักบุญแม็ทธิว” ชาเปลสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่คาร์ดินัลชาวฝรั่งเศสขื่อแม็ทธิว ควงแทรล (Matthieu Cointrel) หรือ “คอนทราเรลลิ” ในภาษาอิตาลีผู้ที่ก่อนเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและโบสถ์น้อยกอนตาเรลลี · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยสโกรเวญญี

ปลสโครเวนยี หรือ ชาเปลอารีนา (Cappella degli Scrovegni, Scrovegni Chapel หรือ Arena Chapel) เป็นชาเปลของนิกายโรมันคาทอลิกที่ตั้งอยู่ที่เมืองปาดัวในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบโรมานเนสก์ กอธิค ฟื้นฟูศิลปวิทยา บาโรก ชาเปลสโครเวนยีมีจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยจอตโต ดี บอนโดเนที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1305 ที่เป็นงานศิลปะชิ้นเอกที่มีความสำคัญที่สุดในศิลปะตะวันตก ชาเปลอุทิศให้ “พระแม่มารีคาริตา” (Santa Maria della Carità) ในโอกาสการสมโภชน์การประกาศของเทพในปี ค.ศ. 1305 จิตรกรรมฝาผนังของจอตโตเป็นภาพชีวิตของพระแม่มารีเพื่อฉลองบทบาทในการไถ่บาปให้แก่มนุษยชาติของพระองค์ ชาเปลรู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ชาเปลอารีนา” เพราะก่อตั้งบนที่ดินที่ซื้อโดยเอ็นริโค เดกลิ สโครเวนยีที่ติดกับโรงละครโรมัน (Amphitheatre) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ในการแห่ฉลองการสมโภชน์การประกาศของเทพมาเป็นเวลานานก่อนที่จะมาสร้างชาเปลแล้ว ในโอกาสวันอุทิศมาร์เคตโตดาปาโดวาก็ประพันธ์บทสรรเสริญ (Motet) เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1305 เอ็นริโค เดกลิ สโครเวนยีผู้มีอาชีพให้ยืมเงินเป็นผู้สั่งให้สร้างชาเปลส่วนตัวนี้ติดกับคฤหาสน์ของครอบครัวในบริเวณที่ดินที่กว้างขวาง กล่าวกันว่าเอ็นริโคสร้างชาเปลนี้เพื่อแก้บาปให้บิดา เรจินาลโด เดกลิ สโครเวนยีบิดาของสโครเวนยีเป็นคนขูดเลือด (usurer) ที่ดานเตกล่าวถึงว่าเป็นลำดับหนึ่งในเจ็ดลำดับของ “โทษภูมิ” ในมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” แต่จากการค้นคว้าศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ก็พบว่าเอ็นริโคเองก็คิดดอกเบี้ยแบบขูดเลือดขูดเนื้อ ฉะนั้นการสร้างชาเปลจึงอาจจะเป็นการแก้บาปของตนเองก็เป็นได้ อนุสรณ์ของเอ็นริโคอยู่ในบริเวณมุขตะวันออกของชาเปล และภาพของเอ็นริโคปรากฏในภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” ในการถวายชาเปลจำลองแก่พระแม่มารี แม้ว่าจะเป็นชาเปลส่วนตัวของตระกูลแต่ก็ใช้ในโอกาสการฉลองการประกาศของเทพสำหรับสาธารณชนด้วย นอกจากจะมีงานจิตรกรรมของจอตโตแล้วชาเปลก็ไม่มีสิ่งตกแต่งอื่นใด มีเพดานเป็นแบบเพดานโค้งประทุน ภาพ “การตัดสินครั้งสุดท้าย” เขียนบนผนังด้านในเหนือประตูทางเข้าทั้งผนัง แต่ละผนังจัดเป็นสามระดับของกลุ่มจิตรกรรม แต่ละระดับมีที่กว้างพอสำหรับภาพสี่ภาพที่แต่ละภาพกว้างสองตารางเมตร ด้านที่หันไปทางแท่นบูชาเริ่มเรื่องจากตอนบนขวาของผนังที่เป็นฉากชีวิตของพระแม่มารีที่รวมทั้งการประกาศของเทพแก่พระมารดาถึงการกำเนิดของพระองค์ และการนำพระองค์เข้าวัดเป็นครั้งแรก เรื่องดำเนินต่อไปจนถึงการประสูติของพระเยซู, ความทุกข์ทรมานของพระเยซู และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขน สิ่งที่มีลักษณะเด่นของจิตรกรรมชุดนี้คือการแสดงอารมณ์อันรุนแรงของภาพ, ลักษณะตัวแบบ และ ความเป็นธรรมชาติ จอตโตแยกภาพจากกันโดยการวาดสิ่งตกแต่งทางสถาปัตยกรรมเป็นภาพหินอ่อนและคูห.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและโบสถ์น้อยสโกรเวญญี · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อยซิสทีน

“พระยาห์เวห์ทรงสร้างอาดัม” ''God creates Adam'' โดย มีเกลันเจโลหลังจากการปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 4 โบสถ์น้อยซิสทีน (Sistine Chapel; Cappella Sistina) เป็นโบสถ์น้อยภายในพระราชวังพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของพระสันตะปาปาในนครรัฐวาติกัน โบสถ์น้อยซิสทีนมึชื่อเสียงในทางสถาปัตยกรรมเพราะเป็นสถานที่ที่ทำให้ระลึกถึงพระวิหารของพระเจ้าโซโลมอนในพันธสัญญาเดิม, การตกแต่ง, จิตรกรรมฝาผนังโดยจิตรกรผู้มีชื่อเสียงในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยารวมทั้งมีเกลันเจโลผู้วาดเพดานของโบสถ์จนที่เป็นที่เลื่องลือ และสุดท้ายคือความสำคัญในการเป็นสถานที่ทำการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและโบสถ์น้อยซิสทีน · ดูเพิ่มเติม »

เมดีชี

ตระกูลเมดีชี (Medici) เป็นตระกูลที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของฟลอเรนซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมาชิกจากตระกูลนี้ 3 คนได้เป็น พระสันตะปาปา (สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10, สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7, และ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 11) และนักปกครองของฟลอเรนซ์เองโดยเฉพาะโลเรนโซ เด เมดีชี ก็เป็นผู้อุปถัมภ์งานชิ้นสำคัญๆ ในสมัยเรอเนซองส์ ต่อมาตระกูลเมดีชีก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของฝรั่งเศสและอังกฤษ ความมีอิทธิพลของตระกูลเมดีชีสามารถทำให้ฟลอเรนซ์กลายมามีบทบาทสำคัญต่อความรุ่งเรืองของศิลปะและสถาปัตยกรรม ตระกูลเมดีชีและตระกูลสำคัญอื่นๆของประเทศอิตาลีในสมัยนั้นเช่น ตระกูลวิสคอนติ (Visconti) ตระกูลสฟอร์เซ (Sforza) ตระกูลต่างๆ จากมิลาน ตระกูลเอสเตแห่งเฟอร์รารา (Este of Ferrara) ตระกูลกอนซากาจากมานตัว (Gonzaga of Mantua) และตระกูลอื่นๆ ต่างก็มีส่วนสำคัญในความเจริญของศิลปะเรอเนซองส์ และ สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ ธนาคารเมดีชีเป็นธนาคารที่มั่งคั่งที่สุดในทวีปยุโรปและกล่าวกันว่าตระกูลเมดีชีเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรปสมัยนั้น ซึ่งทำให้สามารถสร้างอำนาจทางการเมืองโดยเริ่มจากฟลอเรนซ์และอิตาลีจนในที่สุดก็ขยายไปทั่วยุโรป สิ่งที่ตระกูลเมดีชีเป็นต้นตำรับทางการบัญชีคือการปรับปรุงวิธีทำบัญชีโดยการลงหลักฐานที่สามารถทำให้ติดตามเงินเข้าเงินออกได้ง่ายขึ้น (double-entry bookkeeping system).

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและเมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

เอลเอสโกเรียล

ระราชฐานซานโลเรนโซเดเอลเอสโกเรียล (Real Sitio de San Lorenzo de El Escorial) หรือเรียกอย่างย่อว่า เอลเอสโกเรียล ในอดีตเป็นที่ประทับของกษัตริย์แห่งสเปน สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเรอแนซ็องส์ เริ่มสร้างเมื่อ..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและเอลเอสโกเรียล · ดูเพิ่มเติม »

เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

ออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก (Eugène Viollet-le-Duc,; 27 มกราคม ค.ศ. 1814 - 17 กันยายน ค.ศ. 1879) เป็นสถาปนิกและนักทฤษฎีคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีชื่อเสียงจากงานบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างจากยุคกลาง วียอแล-เลอ-ดุกเป็นสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญของขบวนการสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคในฝรั่งเศสที่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่ว่าสถาปัตยกรรมควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกอย่าง “ซื่อตรง” ที่ในที่สุดก็กลายมาเป็นปรัชญาของขบวนการของการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมทั้งหมดและเป็นรากฐานของลัทธิสมัยใหม่นิยมที่เริ่มก่อตัวขึ้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Renaissance architectureสถาปัตยกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมยุคเรอเนสซองซ์สถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »