เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

สถาปัตยกรรมภายใน

ดัชนี สถาปัตยกรรมภายใน

ปัตยกรรมภายในเป็นงานสถาปัตยกรรมสาขาหนึ่งที่แยกออกมาจาก สถาปัตยกรรมหลัก (อาคาร) ความหมายของคำว่า สถาปัตยกรรมภายใน จะมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "ออกแบบตกแต่งภายในและมัณฑนศิลป์" ซึ่งมีความหมายค่อนข้างตรงตัวอยู่แล้ว สถาปัตยกรรมภายใน น่าจะหมายรวมถึง "การก่อเกิดความงามที่ยังประโยชน์ แฝงความหมายแห่งศิลปกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม เพื่อตอบสนองการใช้งานของมนุษย์ ที่เป็นผู้ใช้สอยพื้นที่ว่างภายในอาคาร (space) มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (human and environment) โดยเกี่ยวโยงถึงการพิจารณาถึงระยะและขนาดเนื้อที่ต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับ สัดส่วนของมนุษย์ (human scale in architecture) ความต้องการระยะและเนื้อที่ใช้สอยภายในอาคาร (human scale) อันจะเกี่ยวพันกับการ ยืน เดิน นั่ง นอน และการที่มนุษย์จะทำกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ว่างของอาคาร การที่จะออกแบบให้อาคารมีรูปแบบและพื้นที่เพื่อตอบสองการใช้งานของมนุษย์ โดยการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ตามคุณสมบัติมาใช้งานให้ก่อเกิดเป็นรูปร่าง ทั้ง พื้น ผนัง เพดาน ทั้งสามมิติ และห่อหุ้มพื้นที่ว่างเอาไว้ให้มนุษย์ได้ใช้งาน ทั้งจากร่างกาย และสายตา รวมถึงอารมณ์ ความรู้สึก ผ่านรูปแบบ สีสัน ผิวสัมผัส (Texture)ของวัสดุต่างๆ อาจหมายรวมให้กว้างไปถึงงานระบบต่างๆที่เข้ามามีส่วนร่วมกับการใช้อาคาร เช่น แสง สี เสียง และระบบวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลายที่กล่าวมาพอจะประกอบรวมกัน เป็นคำว่า สถาปัตยกรรมภายใน ในยุคสมัยปัจจุบันได้ หรืออาจกล่าวสั้นๆได้คือ "การออกแบบพื้นที่ว่างภายในอาคาร (space) และการเลือกใช้วัสดุมาก่อสร้างเพื่อห่อหุ้มพื้นที่ว่างภายในอาคารเพื่อตอบสนองการใช้งานของมนุษย์(human scale) รวมถึงการประดับตกแต่ง ศิลปะแขนงต่างๆ (arts)" "ถ้ากล่าวถึงการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมภายใน" ในประเทศไทยก็ให้ยึดถือเอาตามสภาสถาปนิก ถ้ากล่าวถึงความหมายแต่อย่างเดียวมิใช้การประกอบวิชาชีพควบคุม "ให้ยึดถือข้างต้นเป็นหลัก" ในประเทศไทยสถาปัตยกรรมภายใน เป็นสาขาวิชาชีพควบคุม อยู่ภายใต้ สภาสถาปนิก คำจำกัดความของสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ ถูกระบุใน พรบ.สถาปนิก 2543 และ กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม..

สารบัญ

  1. 11 ความสัมพันธ์: กฎกระทรวงมนุษย์วิศวกรรมศาสตร์ศิลปกรรมสภาสถาปนิกไทยสิ่งแวดล้อมสถาปัตยกรรมสถาปนิกจิตรกรรมประติมากรรมใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม

กฎกระทรวง

กฎกระทรวง (ministerial regulation) เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ หรือแห่งกฎหมายที่มีฐานะเสมอกัน เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด กฎกระทรวงนั้นเดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี.

ดู สถาปัตยกรรมภายในและกฎกระทรวง

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ดู สถาปัตยกรรมภายในและมนุษย์

วิศวกรรมศาสตร์

การจะออกแบบสร้างกังหันลมในทะเลต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในหลายๆสาขาประกอบเข้าด้วยกัน วิศวกรรมอาจจะหมายถึงพระวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, ระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้.

ดู สถาปัตยกรรมภายในและวิศวกรรมศาสตร์

ศิลปกรรม

ลปกรรม (อ่านว่า สิน-ละ-ปะ-กัม) มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า สิ่งที่เป็นศิลปะ, สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ ศิลปกรรม มีความหมายตรงกับวลีภาษาอังกฤษว่า "work of art" และคำภาษาอังกฤษว่า "art".

ดู สถาปัตยกรรมภายในและศิลปกรรม

สภาสถาปนิกไทย

ตราสัญลักษณ์สภาสถาปนิก ในประเทศไทย, สภาสถาปนิก (Architect Council of Thailand หรือชื่อเดิม Council Of Architects) คือองค์กรควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสถาปนิก..

ดู สถาปัตยกรรมภายในและสภาสถาปนิกไทย

สิ่งแวดล้อม

งแวดล้อม หมายถึง.

ดู สถาปัตยกรรมภายในและสิ่งแวดล้อม

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ดู สถาปัตยกรรมภายในและสถาปัตยกรรม

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ดู สถาปัตยกรรมภายในและสถาปนิก

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ดู สถาปัตยกรรมภายในและจิตรกรรม

ประติมากรรม

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด โรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ประติมากรรม (Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร.

ดู สถาปัตยกรรมภายในและประติมากรรม

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ระดับวุฒิสถาปนิก แนวความคิดในการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรมแต่ละสาขา ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม หรือเดิม (ก่อน พ.ร.บ.

ดู สถาปัตยกรรมภายในและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม