โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ

ดัชนี สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ

ันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Space Telescope Science Institute; STScI) เป็นศูนย์ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เพื่อดูแลกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (ขึ้นสู่วงโคจรตั้งแต่ ค.ศ. 1990) และกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (จะขึ้นสู่วงโคจรประมาณ ค.ศ. 2013) สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ วิทยาเขตโฮมวูด ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1981 ในฐานะศูนย์ข้อมูลวิทยาศาสตร์ภายใต้การดูแลของสภามหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยด้านดาราศาสตร์ (Association of Universities for Research in Astronomy; AURA) ทำหน้าบริหารข้อมูลที่ได้รับจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลให้เกิดประโยชน์ต่อวงการดาราศาสตร์สูงสุด นอกเหนือจากงานดูแลปฏิบัติการตามปกติของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล และเตรียมการรองรับการปฏิบัติงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์แล้ว สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศยังทำหน้าที่บริหารและปฏิบัติภารกิจด้านข้อมูลของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ (Multi-mission Archive at Space Telescope; MAST) งานบริหารศูนย์ข้อมูลปฏิบัติการเคปเลอร์ (Kepler mission) และกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ความชำนาญพิเศษหรือโครงสร้างพื้นฐานที่สถาบันมีเพื่อรองรับการทำงานอื่นใดในการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในอวกาศ รายได้ของสถาบันส่วนใหญ่มาจากสัญญาจ้างโดยศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดขององค์การนาซา นอกนั้นเป็นเงินรายได้เล็กน้อยที่ได้จาก ศูนย์ข้อมูลเอมส์ขององค์การนาซา ห้องทดลองการขับเคลื่อนด้วยไอพ่นของนาซาและจากองค์การอวกาศยุโรป เจ้าหน้าที่ของสถาบันประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ (ส่วนใหญ่เป็นนักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์) วิศวกรซอฟต์แวร์ เจ้าหน้าที่ข้อมูล เจ้าหน้าที่ควบคุมกล้องโทรทรรศน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ รวมถึงธุรการและเจ้าหน้าที่สนับสนุนทางธุรกิจอีกจำนวนหนึ่ง ประมาณว่ามีนักวิทยาศาสตร์ระดับปริญญาเอกมากกว่า 100 คนทำงานอยู่ที่สถาบันแห่งนี้ โดยเป็นเจ้าหน้าที่จากองค์การอวกาศยุโรปที่ได้รับมอบหมายมาในโครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลจำนวน 15 คน รวมเจ้าหน้าที่ทั้งหมดของสถาบันประมาณ 350 คน.

17 ความสัมพันธ์: บอลทิมอร์พ.ศ. 2524พ.ศ. 2533พ.ศ. 2556กล้องโทรทรรศน์อวกาศกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์รัฐแมริแลนด์ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดสมาคมมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยด้านดาราศาสตร์สหรัฐองค์การอวกาศยุโรปดาราศาสตร์นักวิทยาศาสตร์นักดาราศาสตร์นาซา

บอลทิมอร์

อินเนอร์ฮาร์เบอร์ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในบอลทิมอร์ บอลทิมอร์ (Baltimore) เป็นเมืองอิสระ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา โดยอยู่ห่างจากวอชิงตัน ดี.ซี. ประมาณ 64 กิโลเมตร ในตัวเมืองบอลทิมอร์มีประชากรประมาณ 630,000 คน บอลทิมอร์ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1729 โดยเป็นเมืองท่าที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออกแห่งหนึ่ง ในปัจจุบันสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงในบอลทิมอร์คือ มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ โดยภายนอกเมืองมีสนามบินนานาชาติ สนามบินบอลทิมอร์-วอชิงตัน เป็นสนามบินหลักในบริเวณ ในปี 2561 บอลทิมอร์ ติดใน 50 อันดับเมืองที่อันตรายที่สุดในโลก.

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและบอลทิมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2524

ทธศักราช 2524 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1981 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและพ.ศ. 2524 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2533

ทธศักราช 2533 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1990 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและพ.ศ. 2533 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2556

ทธศักราช 2556 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2013 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและพ.ศ. 2556 · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศ

กล้องโทรทรรศน์อวกาศ คืออุปกรณ์สำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่อยู่ในอวกาศภายนอกในระดับวง โคจรของโลกเพื่อทำการสังเกตการณ์ดาวเคราะห์อันห่างไกล ดาราจักร และวัตถุท้องฟ้าต่างๆ ที่ช่วยให้มนุษย์ทำความเข้าใจกับจักรวาลได้ดีขึ้นการสังเกตการณ์ในระดับวงโคจรช่วยแก้ปัญหาทัศนวิสัยในการสังเกตการณ์บนโลกที่ มีอุปสรรคต่างๆ เช่น การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ เป็นต้น นอกจากนี้การถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้ายังสามารถทำได้ที่ความยาวคลื่นต่างๆ กัน ซึ่งบางอย่างไม่สามารถทำได้บนผิวโลก โครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ สำคัญของนาซา คือโครงการหอดูดาวเอก (Great Observatories) ซึ่งประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ 4 ชุดได้แก่ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องรังสีแกมมาคอมพ์ตัน กล้องรังสีเอกซ์จันทรา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ นอกจากนี้ยังมีกล้องโทรทรรศน์อวกาศอื่นๆ อีกที่อยู่ในวงโคจรแล้ว และกำลังจะขึ้นสู่วงโคจรในอนาคต.

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและกล้องโทรทรรศน์อวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (James Webb Space Telescope; JWST) เป็นโครงการหอดูดาวอินฟราเรดในอวกาศขององค์การนาซาที่วางแผนไว้ในอนาคต เพื่อสืบทอดภารกิจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล มีเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ในการสังเกตการณ์วัตถุอันห่างไกลในเอกภพ ซึ่งอยู่ไกลเกินกว่าความสามารถของกล้องฮับเบิลจะจับภาพได้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์การนาซา กับองค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การอวกาศแคนาดา (CSA) เดิมมีชื่อเรียกโครงการว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศแห่งยุคหน้า (Next Generation Space Telescope; NGST) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์

ห้องสมุดในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University ตัวย่อ JHU) หรือเรียกอย่างย่อว่า ฮอปกินส์ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ริเริ่มก่อตั้งโดยประธานาธิบดี เดวิด คอยต์ กิลแมน ตั้งอยู่ที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) โดยมีการเปิดการเรียนการสอบในหลายระดับ มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีประมาณ 4,500 คน และในระดับสูงกว่าระดับปริญญาตรี 15,000 คน จอนส์ ฮอปกินส์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยในเยอรมนี และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การสัมมนาแทนการสอนโดยการบรรยายเพียงอย่างเดียว รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งแรกที่จัดให้มีวิชาเอก (major) แทนหลักสูตรศิลปศาสตร์ทั่วไป ดังนั้นจอนส์ ฮอปกินส์จึงเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งใน 14 สมาชิกก่อตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยอเมริกัน หรือ Association of American Universities จากสถิติของกองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) ของสหรัฐอเมริกา จอนส์ ฮอปกินส์เป็นมหาวิทยาลัยที่ครองอันดับ 1 ในด้านการใช้งบประมาณการวิจัยและพัฒนาในสาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นเวลา 30 ปีต่อเนื่องกันและเป็นสถาบันที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จอห์น ฮอปกินส์ มีชื่อเสียงในด้านการแพทย์ สาธารณสุข และ การพยาบาล โดยได้รับการจัดอันดับจากยูเอสนิวส์ในอันดับต้นของประเทศหลายครั้ง นอกจากนั้นจอนส์ฮอปกินส์ยังมีสถาบันชั้นนำระดับโลกในสาขาอื่น อาทิ สถาบันด้านการดนตรีพีบอดี (Peabody Institute) และด้านการระหว่างประเทศ (The Paul H. Nitze School of Advanced International Studies หรือ SAIS) จนถึงพ.ศ. 2552 มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์จำนวน 33 คนที่ได้รับรางวัลโนเบล.

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแมริแลนด์

รัฐแมริแลนด์ (Maryland) เป็นรัฐทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และอยู่ทางตอนใต้ของรัฐเพนซิลเวเนีย เมืองหลวงของรัฐคือ แอนแนโพลิส เมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐคือ บอลทิมอร์ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ มหาวิทยาลัยจอหนส์ฮอปกินส์ และ มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ บอลทิมอร์ โอเรี่ยลส์ (เบสบอล) และ บอลทิมอร์ เรเวนส์ (อเมริกันฟุตบอล) จุดสูงสุดในรัฐคือภูเขาแบ็กโบน และจุดต่ำสุดคือมหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและรัฐแมริแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด

ทางอากาศ ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด (Goddard Space Flight Center; GSFC) เป็นห้องทดลองด้านอวกาศที่สำคัญแห่งหนึ่งขององค์การนาซา ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1959 เป็นศูนย์การบินอวกาศแห่งแรกของนาซา มีเจ้าหน้าที่พลเรือนประมาณ 10,000 คน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ห่างออกไปประมาณ 6.5 ไมล์ ในเขตเมืองกรีนเบลท์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดเป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดซึ่งรวบรวมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรมาไว้ด้วยกันเพื่อศึกษาเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับโลก ระบบสุริยะ และเอกภพ โดยอาศัยการสังเกตการณ์ผ่านอุปกรณ์สังเกตการณ์ในอวกาศ รวมถึงเป็นห้องทดลองในการวิจัยพัฒนาและควบคุมการทำงานของยานอวกาศสำหรับงานวิทยาศาสตร์ที่ไม่ต้องใช้มนุษย์ควบคุม นอกเหนือจากงานวิจัยเกี่ยวกับอวกาศ ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดยังศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนภารกิจการปฏิบัติงานในอวกาศรวมถึงการออกแบบและสร้างยานอวกาศด้วย นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดคนหนึ่งคือ จอห์น ซี. เมเทอร์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี..

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยด้านดาราศาสตร์

มาคมมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยด้านดาราศาสตร์ (Association of Universities for Research in Astronomy; AURA) เป็นหน่วยงานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและสถาบันหลายแห่งเพื่อร่วมกันทำงานในโครงการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และการใช้งานกล้องโทรทรรศน์ ดาวเคราะห์น้อย 19912 Aurapenenta ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติในโอกาสครบรอบปีที่ 50 ขององค์กรเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2007.

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและสมาคมมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยด้านดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอวกาศยุโรป

องค์การอวกาศยุโรป หรือ อีเอสเอ (European Space Agency, ESA; Agence spatiale européenne, ASE) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1975 โดยเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในยุโรป มีเป้าหมายเพื่อการสำรวจอวกาศ ปัจจุบันมีสมาชิก 20 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีจำนวนพนักงานเกือบ 2,000 คน และมีงบประมาณประจำปีราว 2.9 พันล้านยูโรในปี..

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและองค์การอวกาศยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นักวิทยาศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 โดย วิลเลียม วีเวลล์ โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ" หรือ "บุคคลแห่งวิทยาศาสตร์".

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและนักวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นักดาราศาสตร์

''กาลิเลโอ'' ผู้ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นบิดาของนักดาราศาสตร์ยุคใหม่ นักดาราศาสตร์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือฟิสิกส์ดาราศาสตร์ แต่เดิมมาในอดีตกาล นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ หรือนักปรัชญา มักจะเป็นบุคคลคนเดียวกัน เพราะเป็นผู้สืบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ ต่อมาผู้ที่ให้ความสนใจกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าเป็นพิเศษ จึงเรียกเฉพาะเจาะจงไปว่าเป็น "นักดาราศาสตร์" หมวดหมู่:อาชีพ.

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและนักดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »