โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถานีรถไฟบางเขน

ดัชนี สถานีรถไฟบางเขน

นีรถไฟบางเขน ตั้งอยู่ในแขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร บริเวณหัวมุมสี่แยกบางเขน เยื้องมุมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ด้านหน้าสถานีติดกับถนนวิภาวดีรังสิต ด้านหลังติดกับถนนกำแพงเพชร 6 ด้านทิศเหนือติดกับถนนงามวงศ์วาน เป็นสถานีย่านชานเมือง รับส่งผู้โดยสารทั้งสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีรถไฟบางเขนไม่ได้อยู่ในพื้นที่เขตบางเขนสาหตุที่ชื่อว่าสถานีรถไฟบางเขนก็เพราะว่า ในอดีต เขตจตุจักร เคยเป็นส่วนหนึ่งของเขตบางเขน ทำให้ชื่อในอดีตมาใช้ถึงปัจจุบัน และสถานีรถไฟบางเขนตั้งอยู่ติดกับสี่แยกบางเขนอีกด้วย ในอดีต สถานีรถไฟบางเขนเป็นหนึ่งในสถานีที่มีอาคารที่ทำการแบบเก่าที่สวยงาม แต่ต่อมาได้รื้อลงเนื่องจากมีการวางตอม่อของโครงการโฮปเวลล์ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม โดยใช้ฐานรากของเสาโฮปเวลล์เดิม ทำให้ต้องมีการรื้อสถานีเดิมลง และสร้างสถานีชั่วคราว พร้อมกับเปลี่ยนไปใช้ห่วงทางสะดวกแทนระบบอาณัติสัญญาณไฟสีอีกครั้ง ระหว่างป้ายหยุดรถไฟนิคมรถไฟ กม.11 กับสถานีรถไฟบางเขน จะมีสถานีรถไฟวัดเสมียนนารี ซึ่งไม่ได้เป็นสถานีรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่เป็นสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2559กรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟรายชื่อสถานีรถไฟ ย่านชานเมืองรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อสถานีรถไฟหลักสี่ถนนกำแพงเพชรถนนวิภาวดีรังสิตถนนงามวงศ์วานตราทางสะดวกแขวงลาดยาวโครงการโฮปเวลล์เขตบางเขนเขตจตุจักร

พ.ศ. 2559

ทธศักราช 2559 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2016 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ และเป็น.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและพ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Kasetsart University; อักษรย่อ: มก.) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตร ก่อตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ เดิมเป็นโรงเรียนช่างไหมในปี..

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ

ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ (Railway signalling system) เป็นระบบกลไก สัญญาณไฟ หรือระบบคอมพิวเตอร์ ในการเดินขบวนรถไฟเพื่อแจ้งให้พนักงานขับรถไฟทราบสภาพเส้นทางข้างหน้า และตัดสินใจที่จะหยุดรถ ชะลอความเร็ว หรือบังคับทิศทาง ให้การเดินรถดำเนินไปได้อย่างปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการเดินรถสวนกันบนเส้นทางเดียว หรือการสับหลีกเพื่อให้รถไฟวิ่งสวนกันบริเวณสถานีรถไฟ หรือควบคุมรถไฟให้การเดินขบวนเป็นไปตามที่กำหนดไว้กรณีที่ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบคอมพิวเตอร์ ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟจะควบคุมและกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ และระยะเวลาในการเดินรถ ของขบวนรถที่อยู่บนทางร่วมเดียวกัน รวมทั้งการสับหลีกบริเวณสถานีรถไฟ โดยการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ จะออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อให้พนักงานขับรถไฟสามารถตัดสินใจเดินรถได้อย่างมั่นใจ และไม่ให้เกิดความสับสน.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและระบบอาณัติสัญญาณรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสถานีรถไฟ ย่านชานเมือง

รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถไฟ ย่านชานเมือง เป็นกลุ่มสถานีในเขตใกล้กรุงเทพ ซึ่งมีการเดินรถอย่างหนาแน่น ประกอบด้วยส่วนทับซ้อนจากเส้นทางสายต่าง ๆ โดยรายชื่อสถานี มีดังนี้.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและรายชื่อสถานีรถไฟ ย่านชานเมือง · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม

รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (บ้านภาชี-มหาชัย) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟที่เป็นแกนหลักของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีแนวเส้นทางตามแกนหลักทิศเหนือ-ทิศใต้/ตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่โครงการส่วนใหญ่อยู่ในเขตทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม มีแผนงานรวม 114.3 กม.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ

'''สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ''' อาคารผู้โดยสาร 2 (สายใต้-สายตะวันตก) ปัจจุบันอาคารผู้โดยสาร 2 ใช้สำหรับ'''ร'''ถไฟทางไกลสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือและสายใต้ (มองไปทางอาคารผู้โดยสาร1 ปัจจุบันได้มีการรื้อถอนแล้ว) สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ (Bang Sue Junction) เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่ ถนนเทอดดำริ แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีชุมทางรถไฟหลักของประเทศไทย ซึ่งแยกทางรถไฟสายใต้ ออกจากทางรถไฟสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงยังเป็น 1 ใน 2 สถานีชุมทางรถไฟที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร คือ สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ และสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน และเป็น 1 ใน 15 สถานีชุมทางรถไฟในประเทศไท.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟหลักสี่

นีรถไฟหลักสี่ ตั้งอยู่ที่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ของทางรถไฟย่านชานเมือง.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและสถานีรถไฟหลักสี่ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกำแพงเพชร

นนกำแพงเพชร (Thanon Kamphaeng Phet) เป็นถนนที่สร้างขึ้นในเขตการรถไฟแห่งประเทศไทย บ้างขนานกับรางรถไฟ บ้างก็ไม่ขนานเป็นถนนโดด ตั้งชื่อว่าถนนกำแพงเพชร เพื่อระลึกถึง กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน บิดาแห่งกิจการรถไฟ ในตอนแรก การรถไฟแห่งประเทศไทย มีความประสงค์ที่จะตั้งชื่อถนนชุดนี้ว่า "ถนนบุรฉัตร" ตามพระนามเดิมใน กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ได้พระราชทานนามถนนในเขตที่ดินรถไฟชุดนี้ว่า "ถนนกำแพงเพชร".

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและถนนกำแพงเพชร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวิภาวดีรังสิต

นนวิภาวดีรังสิต (Thanon Vibhavadi Rangsit) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 (ดินแดง - ดอนเมือง) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานในภาคกลาง เชื่อมต่อถนนในกรุงเทพมหานครกับถนนพหลโยธินสู่ภาคกลาง, ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถนนสายนี้มีลักษณะเป็นทางหลวงพิเศษหรือซูเปอร์ไฮเวย์ ซึ่งแบ่งช่องทางเดินรถเป็นทางด่วนหรือทางหลัก และทางคู่ขนาน ยกเว้นช่วงที่ผ่านหน้าท่าอากาศยานดอนเมืองจะไม่แบ่งเป็นช่องทางด่วนและทางคู่ขนานเนื่องจากมีพื้นที่จำกัดเพราะถูกขนาบด้วยสนามบิน และทางรถไฟสายเหนือ ปัจจุบันมีทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) เป็นทางด่วนพิเศษยกระดับเก็บค่าผ่านทาง อยู่เหนือถนนวิภาวดีรังสิตด้วย เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้เดินทางที่ต้องการความรวดเร็วกว่าเดิม.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและถนนวิภาวดีรังสิต · ดูเพิ่มเติม »

ถนนงามวงศ์วาน

นนงามวงศ์วาน ถนนงามวงศ์วาน (Thanon Ngam Wong Wan) เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มจากทางแยกแครายซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนติวานนท์และถนนรัตนาธิเบศร์ ในท้องที่ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออก ผ่านบริเวณปากซอยงามวงศ์วาน 2 (อัคนี) เข้าเขตตำบลบางเขน ตัดกับทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ตรงไปทางทิศเดิม ข้ามคลองประปาและตัดกับถนนประชาชื่นเข้าสู่ท้องที่แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จากนั้นแนวเส้นทางเริ่มโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามคลองบางเขนเข้าสู่ท้องที่แขวงลาดยาว เขตจตุจักร ข้ามคลองเปรมประชากร ตัดกับถนนกำแพงเพชร 6 ทางรถไฟสายเหนือ และถนนวิภาวดีรังสิตที่ทางแยกบางเขน ผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกเกษตรซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธิน โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนงามวงศ์วานเป็นถนนที่กรมทางหลวงตัดขึ้นและตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายดำรง งามวงศ์วาน อดีตนายช่างกำกับหมวดนนทบุรี กรมทางหลวง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างถนนสายนี้ ตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ให้ตั้งชื่อถนนตามชื่อของนายช่างที่กำกับการก่อสร้างหรือผู้บังคับบัญชา ปัจจุบันถนนงามวงศ์วานเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 (แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - ต่างระดับบางใหญ่) อยู่ในความดูแลของแขวงทางหลวงนนทบุรีและแขวงทางหลวงกรุงเทพ กรมทางหลวง ยกเว้นช่วงตั้งแต่สะพานข้ามคลองประปาถึงหน้าเรือนจำกลางคลองเปรมซึ่งมีฐานะเป็นทางหลวงท้องถิ่นในความดูแลของกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและถนนงามวงศ์วาน · ดูเพิ่มเติม »

ตราทางสะดวก

รื่องตราทางสะดวกแบบมีลูกตรา มือจับของเครื่องแสดงท่า "ขบวนรถจะถึง" คืออนุญาตให้รถจากสถานีข้างเคียงเดินเข้าสู่สถานีนี้ได้ ตราทางสะดวก (token) เป็นวัตถุอย่างหนึ่งอย่างใดเช่นลูกกลม เหรียญ ตั๋ว หรืออาณัติสัญญาณอย่างอื่น ซึ่งพนักงานสัญญาณต้องมอบหรือแสดงให้แก่พนักงานรถจักร ก่อนที่จะนำขบวนรถเข้าสู่ทางช่วงระหว่างสถานีสองสถานี (นิยมเรียกว่า ตอน) ตามที่ตรานั้นได้ระบุไว้ ในกรณีที่ง่ายที่สุด พนักงานสัญญาณจะโทรศัพท์หรือโทรเลขสอบถามสถานีข้างเคียงว่าทางที่ขบวนรถจะไปนั้นมีขบวนรถกีดขวางหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ได้ชื่อว่าทางสะดวก และสามารถออกตั๋วทางสะดวกแก่พนักงานขับรถได้ ในเวลาต่อมา ตราทางสะดวกอาจใช้เป็นโลหะ เรียกว่าเหรียญตราทางสะดวก หรือลูกตราทางสะดวก ติดตั้งไว้ที่ทั้งสองข้างของตอนต่อทางรถไฟหนึ่งทาง หากเป็นทางคู่ ก็จะมีสี่เครื่อง (สองเครื่องสำหรับด้านหนึ่งของแต่ละสถานี) เพื่อใช้ขอและให้ทางสะดวกแยกกันระหว่างขบวนรถขึ้นกับขบวนรถล่อง เมื่อจะใช้งาน พนักงานสัญญาณจะเคาะเครื่องทางสะดวกเป็นสัญญาณกระดิ่งสอบถามกับสถานีข้างเคียง หากสถานีข้างเคียงตอบกลับมาว่า "ขบวนรถจะถึง" เจ้าหน้าที่จะดึงมือจับเครื่องทางสะดวก บิดไปที่ตำแหน่ง "ขบวนรถออกแล้ว" เพื่อให้ลูกตราหรือเหรียญตราหล่นออกจากเครื่อง ลูกตราที่ได้นี้จะต้องส่งมอบให้พนักงานรถจักร เสมือนว่าเป็นสัญญาณอนุญาตให้ขบวนรถผ่านเข้าสู่ทางช่วงที่ระบุได้ ตราทางสะดวกที่ได้นี้จะไม่สามารถออกใหม่ได้ถ้าขบวนรถยังไม่ได้ส่งคืนตราให้สถานีถัดไป ดังนั้นตราทางสะดวกจึงเป็นหลักประกันว่าไม่มีขบวนรถใดอยู่ในทางระหว่างสถานีมากกว่าหนึ่งขบวน เนื่องจากการใช้ตราทางสะดวก พนักงานรถจักรต้องเบารถลงบ้างเพื่อให้สามารถรับตราทางสะดวกผ่านทางห่วงหนังที่พนักงานสัญญาณยื่นให้หรือแขวนไว้กับเสาซึ่งเป็นการลำบากไม่ใช่น้อย จึงได้มีการพัฒนาให้เครื่องทางสะดวกไม่ปล่อยลูกตราอีกต่อไป แต่จะไปควบคุมอาณัติสัญญาณประจำที่อันนอกสุดมิให้แสดงท่าอนุญาตหากสถานีถัดไปไม่อนุญาต เรียกเครื่องทางสะดวกนี้ว่าเครื่องทางสะดวกสัมพันธ์สัญญาณประจำที่ เมื่อสัญญาณประจำที่แสดงท่าอนุญาตก็ได้ชื่อว่าพนักงานรถจักรได้ตราทางสะดวกแล้ว ในปัจจุบันระบบตราทางสะดวกได้รวมเข้าเป็นหนึ่งกับแผงควบคุมแบบรีเลย์และแบบคอมพิวเตอร์ ในบางกรณี อาจต้องให้มีขบวนรถในทางระหว่างสถานีมากกว่าหนึ่งขบวน โดยให้ขบวนรถที่ไม่ได้ทางสะดวกยึดถือตั๋วไม่ได้ทางสะดวก เพื่อให้ขับรถอย่างช้า ไม่ชนกับขบวนรถที่ได้ตั๋วทางสะดวกแล้ว ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงอย่างยิ่งจึงไม่นิยมทำ เป็นเหตุให้ในเวลาต่อมาได้มีการพัฒนาระบบตอนอัตโนมัติ หรือตอนย่อย ซึ่งจะมีสัญญาณประจำที่ตั้งไว้ระหว่างสถานีที่ไกลกันมาก ๆ เมื่อขบวนรถออกจากสถานีหนึ่งและพ้นตอนอัตโนมัติอันแรกสุดแล้วก็จะสามารถให้ทางสะดวกได้อีก วิธีนี้นิยมทำในเขตที่มีการจราจรหนาแน่น.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและตราทางสะดวก · ดูเพิ่มเติม »

แขวงลาดยาว

แขวงลาดยาว เป็นท้องที่การปกครองแห่งหนึ่งของเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและแขวงลาดยาว · ดูเพิ่มเติม »

โครงการโฮปเวลล์

รงการโฮปเวลล์ หรือ โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพมหานคร (Bangkok Elevated Road and Train System - BERTS) เป็นโครงการก่อสร้างถนน ทางรถไฟ และรถไฟฟ้ายกระดับ บนพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ในเครือโฮปเวลล์โฮลดิงส์ บริษัทสัญชาติฮ่องกง ของนายกอร์ดอน วู โครงการก่อสร้างประกอบด้วย โครงสร้างยกระดับทางรถไฟขึ้นไปเหนือผิวการจราจร เพื่อลดจุดตัดกับทางรถยนต์ (Grade Crossing) เพื่อลดปัญหาการให้รถยนต์ต้องหยุดรอรถไฟ ก่อสร้างคร่อมทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน ระยะทางทั้งสิ้น 60.1 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท และให้ผลตอบแทนรายปี 30 ปี รวม 53,810 ล้านบาท โดยโฮปเวลล์จะได้รับสิทธิสร้างถนนยกระดับ เรียกเก็บค่าผ่านทาง คู่ขนานกับทางรถไฟยกระดับ และได้รับสัมปทานเดินรถบนทางรถไฟยกระดับด้วย และสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ใต้ทางรถไฟยกระดับ และอสังหาริมทรัพย์สองข้างทาง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 600 ไร.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและโครงการโฮปเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางเขน

ตบางเขน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร และเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตบางแ.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและเขตบางเขน · ดูเพิ่มเติม »

เขตจตุจักร

ตจตุจักร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: สถานีรถไฟบางเขนและเขตจตุจักร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »